ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

มูลค่า ODA ประจำปี ๒๕๖๑ ผ่าน TICA ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

มูลค่า ODA ประจำปี ๒๕๖๑ ผ่าน TICA ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,917 view

มูลค่าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ต่างประเทศโดย TICA  ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

             การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ที่มีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นแกนหลัก  โดยดำเนินการผ่านรูปแบบ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (Annual International Training Course – AITC) ทุนศึกษาปริญญาโท (Thailand International Postgraduate Programme - TIPP) และ ทุนปริญญาโทตามคำขอ

๑. หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses : AITC)

             จากการดำเนินการแผนงาน 3 ปี ระยะที่ 1 (2560 – 2562) ของการจัดหลักสูตร AITC จำนวน 95 หลักสูตร โดย TICA ได้ให้ทุนกับประเทศต่างๆ กว่า 133 ประเทศ มีผู้สมัครกว่า 5,800 คน และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมหลักสูตรกว่า 1,724 คน โดยปี 2560 มีจำนวน 30 หลักสูตร มีผู้ได้รับทุน 547 คน ปี 2561 มีจำนวน 31 หลักสูตร มีผู้ได้รับทุน 547 คน และปี 2562 มีจำนวน 34 หลักสูตร มีผู้ได้รับทุน 630 คน ในปี 2560-2562

             ประเทศใดที่ได้รับทุนในหลักสูตร AITC มากที่สุด คือ ประเทศศรีลังกา จำนวน 72 คน รองลงมาคือ เมียนมา ส่วนประเทศในภูมิภาคใดที่ได้รับทุนจาก TICA มากที่สุด คือ ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา คิดเป็นร้อยละ 35 โดยเป็นผู้รับทุนจากประเทศไนจีเรีย 42 คน มาดากัสการ์ และยูกันดา ประเทศละ 33 คน รองลงมาคือประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกา คิดเป็น ร้อยละ 22 โดยเป็นผู้รับทุนจากเม็กซิโก จำนวน 23 คน ชิลี 20 คน ลำดับที่ 3 คือ ประเทศในภูมิภาคยุโรป คิดเป็นร้อยละ 11 ได้แก่ ประเทศจอร์เจีย จำนวน 15 คน ตรุกี และอาเซอร์ไบจาน ประเทศละ 14 คน ส่วนประเทศในอาเซียน เมียนมาได้รับทุนมากถึง 66 คน รองลงมาคือ กัมพูชา 58 คน เวียดนาม 23 คน และ ลาว 36 คน สำหรับประเทศไทยมีข้าราชการไทยและเอกชนไทยได้เข้าร่วมหลักสูตรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างเครือข่ายจำนวน 70 คน

             สำหรับหลักสูตรที่จัดจะสอดคล้องกับ 5 หัวข้อที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นหัวข้อสำคัญระดับประเทศและประเด็นปัญหาระดับโลก (Global issues) กำหนดไว้ คือ (1) Sufficiency Economy Philosophy หรือ SEP (2) Public Health (3) Food Security (4) Climate Change และ (5) สาขาอื่นที่ไทยมีศักยภาพในการแบ่งปันหลักปฏิบัติที่ดี (Best practices) หรือประสบการณ์ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยในปี 2560-2562 เราจัดหลักสูตร ทั้งหมด 95 หลักสูตร คือ

             ๑. หัวข้อ  Climate Change มีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28 หรือ 27 หลักสูตร

             ๒. หัวข้อ  Public Health คิดเป็นร้อยละ 26 หรือ 25 หลักสูตร

             ๓. หัวข้อ  SEP คิดเป็นร้อยละ 22 หรือ 21 หลักสูตร

             ๔. หัวข้อ  Food Security คิดเป็นร้อยละ 16 หรือ 16 หลักสูตร และ

             ๕. หัวข้อ  SDGs คิดเป็นร้อยละ 8 หรือ 8 หลักสูตร

             ในปี 2560 กรมความร่วมมือฯ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมภายใต้โครงการ AITC จำนวน 30 หลักสูตร โดยมีผู้เข้าร่วม  การฝึกอบรมภายใต้โครงการ AITC จำนวน 522 คน จาก 108 ประเทศ  แบ่งเป็นชาย 279 คน และหญิง 243 คน  โดยสัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำแนกตามภูมิภาคและเพศ ดังแผนภาพด้านล่าง

             ในปี 2561 กรมความร่วมมือฯ ได้ดำเนินการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 31 หลักสูตร โดยมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน จำนวน 542 คน จาก 101 ประเทศ แบ่งเป็นชาย 276 คน และหญิง 266 คน โดยสัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำแนกตามภูมิภาคและเพศดังแผนภาพด้านล่าง

 

             ในปี 2562 กรมความร่วมมือฯ ได้ดำเนินการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 34 หลักสูตร โดยมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม จำนวน 630 คน จาก 133 ประเทศ แบ่งเป็นชาย 322 คน และหญิง 308 คน โดยสัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำแนกตามภูมิภาคและเพศดังแผนภาพด้านล่าง

             สำหรับแผนงานในระยะที่ 2 ปี 2563 – 2565 TICA ได้ค้ดเลือกหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติเพื่อบรรจุในแผนงาน 3 ปีแล้ว จำนวน 75 หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรหัวข้อ Public Health 24 หลักสูตร หัวข้อ Climate Change 13 หลักสูตร หัวข้อ SEP 11 หลักสูตร หัวข้อ Food Security 17 หลักสูตร และหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จำนวน 10 หลักสูตร ทั้งนี้ ในปี 2563 จะจัดจำนวน 35 หลักสูตร ขณะนี้ได้แจ้งเวียนไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว

๒. โครงการทุนรัฐบาลไทยหลักสูตรศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme: TIPP)

             การให้ทุนการศึกษาภายใต้โครงการ TIPP เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายทางการทูตในรูปแบบ Soft Diplomacy ที่รัฐบาลไทยใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันยุทธศาสตร์การต่างประเทศเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของหน่วยงาน/สถาบันการศึกษาของไทยในการจัดหลักสูตรนานาชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาคในสาขาที่ไทยมีความพร้อม รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างเครือข่าย ความเชื่อมโยงและความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน (Institutional Linkages) ระหว่างหน่วยงานและสถาบันการศึกษาของไทยกับต่างประเทศ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงได้กำหนดสาขาในการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ความเชี่ยวชาญของไทยและประเด็นที่ไทยต้องการแสดงบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ โดยกำหนดหลักสูตรโครงการ TIPP เป็นแผนระยะ 3 ปี ซึ่งในระหว่างปี 2560 – 2562 จำแนกได้เป็น 5 หัวข้อหลัก (Theme) ได้แก่

             ๑.     Sufficiency Economy Philosophy (SEP)

             ๒.     Food Security

             ๓.     Climate Change

             ๔.     Public Health

             ๕.     สาขาอื่น ๆ ที่ไทยมีศักยภาพในการแบ่งปันหลักปฏิบัติที่ดี (Best practices) และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

             การดำเนินงานตามแผนงานระยะที่ 1 ปี 2560-2562  TICA และ 11 สถาบันการศึกษา ให้ทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ จำนวน 122 คน  จาก 32 ประเทศ เพื่อศึกษาใน 51 หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรในด้าน Public Health จำนวน 17 หลักสุตร รองลงมาคือหลักสูตรในด้าน Climate Change จำนวน 15 หลักสูตร 

             จากจำนวนผู้ได้รับทุน 122 คน ประเทศที่ได้รับทุนมากที่สุดคือ เมียนมา 26 คน รองลงมาคือ   เนปาล 18 คน และ ติมอร์-เลสเต 10 คน   โดยหลักสูตรที่มีผู้ได้รับทุนมากที่สุดคือ หลักสูตรในด้าน Public Health จำนวยน 41 คน รองลงมาคือ  หลักสูตรในด้าน SEP และ Climate Change หลักสูตรละ 26 คน

             ปีการศึกษา 2560 กรมความร่วมมือฯ ได้ดำเนินการให้ทุนรัฐบาลไทยหลักสูตรศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ จำนวน 20 หลักสูตร โดยมีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและเข้าศึกษา จำนวน 52 คน จาก 17 ประเทศ แบ่งเป็นเพศชาย 36 คน และเพศหญิง 16 คน โดยสัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้รับทุนจำแนกตามภูมิภาคและเพศดังแผนภาพด้านล่าง

             ปีการศึกษา 2561 กรมความร่วมมือฯ ได้ดำเนินการให้ทุนรัฐบาลไทยหลักสูตรศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ จำนวน 19 หลักสูตร โดยมีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและเข้าศึกษา จำนวน 31 คน จาก 15 ประเทศ แบ่งเป็นเพศชาย 18 คน และเพศหญิง 13 คน โดยสัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้รับทุนจำแนกตามภูมิภาคและเพศดังแผนภาพด้านล่าง

             ปีการศึกษา 2562 กรมความร่วมมือฯ ได้ดำเนินการให้ทุนรัฐบาลไทยหลักสูตรศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ จำนวน 18 หลักสูตร โดยมีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและกำลังศึกษาอยู่ จำนวน 39 คน จาก 17 แบ่งเป็นเพศชาย 20 คน และเพศหญิง 19 คน โดยสัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้รับทุนจำแนกตามภูมิภาคและเพศดังแผนภาพด้านล่าง

             สำหรับแผนงานในระยะที่ 2 ปี 2563 – 2565 TICA ได้ค้ดเลือกหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติเพื่อบรรจุในแผนงาน 3 ปีแล้ว จำนวน 65 หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรหัวข้อ Public Health 30 หลักสูตร หัวข้อ Food Security 12 หลักสูตร หัวข้อ Climate Change 11 หลักสูตร หัวข้อ SEP 4 หลักสูตร และหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จำนวน 8 หลักสูตร ทั้งนี้ ในปี 2563  ได้แจ้งเวียนประกาศรับสมัครไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว จำนวน  24  หลักสูตร ท่านสามารถเข้าไปดูที่ website ของ TICA http://tica.thaigov.net/main/en/relation/113593-TIPP-2020.html

             ในปี ๒๕๖๑ เป็นการสนับสนุน  ทุนฝึกอบรม AITC จำนวน ๕๙๓ คน จาก ๑๑๑ ประเทศ มูลค่า ๙๐.๘๖ ล้านบาท สนับสนุนทุนศึกษา TIPP ให้แก่ผู้รับทุน ๔๐ คน จาก ๑๘ ประเทศ มูลค่ารวม ๒๘.๘๗ ล้านบาท

 

          ในปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือฯ สนับสนุนทุนศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามคำขอรายประเทศ (Individual Request: IR) ระดับ ป. โท แก่ประเทศที่มีนัยสำคัญเชิงยุทธศาสตร์หรือทางการเมือง ได้แก่ สปป. ลาว (๓๐ ทุน/ปี) กัมพูชา (๑๕ ทุน/ปี) เมียนมา (๑๕ ทุน/ปี) ภูฏาน (๑๕ ทุน/ปี) โดยในภาพรวม ได้มอบทุน IR ให้แก่ผู้รับทุน ๑๐๗ คน จาก ๑๑ ประเทศ มูลค่า ๗๙.๐๘ ล้านบาท ทุนฝึกอบรมให้ผู้รับทุน ๒๔๔ คน จาก ๒๑ ประเทศ มูลค่า ๒๑.๒๖ ล้านบาท