สรุปผลการจัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ๒๕๖๕

สรุปผลการจัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ๒๕๖๕

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 ก.พ. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 22 ก.พ. 2566

| 652 view

การจัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติ (Annual International Training Course: AITC) ในรูปแบบออนไลน์ ประจำปี ๒๕๖๕ จำนวน ๓๐ หลักสูตร ภายใต้ ๕ หัวข้อหลัก ได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สาธารณสุข ความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนออนไลน์ทั้งหมด จำนวนรวม ๑,๕๖๘ ราย จาก ๘๘ ประเทศ และมีผู้เข้าร่วมและผ่านเกณฑ์การประเมินระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม จำนวน ๖๔๙ คน จาก ๗๐ ประเทศ แบ่งเป็นชาย ๓๐๘ คน และหญิง ๓๔๑ คน จำแนกเป็นภูมิภาคได้ ดังนี้

- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน ๓๘๐ ราย ผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๑๙๕ ราย จาก ๑๐ ประเทศ (บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย ติมอร์-เลสเต และเวียดนาม) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๓๔) ความมั่นคง  ทางอาหาร (ร้อยละ ๒๔) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ ๑๘) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๔) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๑๐) ตามลำดับ

- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๑ ราย จากประเทศมองโกเลีย

- ภูมิภาคเอเชียใต้ จำนวน ๔๐๖ ราย ผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๒๑๖ ราย จาก ๘ ประเทศ (อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาสาธารณสุข (ร้อยละ ๓๓) ความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๓๑) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๒๒) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ ๘) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๖) ตามลำดับ                   

- ภูมิภาคเอเชียกลาง จำนวน ๙๕ ราย ผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๘ ราย จาก ๓ ประเทศ (คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๗๕) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ ๑๒.๕) และสาขาอื่น ๆ   ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๑๒.๕) ตามลำดับ

- ภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน ๑๘๙ ราย ผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๖๘ ราย จาก ๖ ประเทศ (อิหร่าน อิรัก จอร์แดน โอมาน ปาเลสไตน์ และซาอุดิอาระเบีย) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ ๔๓) ความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๓๑) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๒) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๙) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๖) ตามลำดับ

- ภูมิภาคแอฟริกา จำนวน ๒๕๑ ราย ผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๗๘ ราย จาก ๒๔ ประเทศ (บูกินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน อียิปต์ เอสวาตินี เอธิโอเปีย กานา กินี เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มาลี มอริเชียส โมร็อกโก โมซัมบิก ไนจีเรีย เซียร์ราลีโอน โซมาเลีย แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย โตโก ยูกันดา และแซมเบีย) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๒๗) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๒๒) สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๒๒) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ ๑๙) และสาธารณสุข (ร้อยละ ๑๐) ตามลำดับ

- ภูมิภาคยุโรป จำนวน ๒๕ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๖ ราย จาก ๒ ประเทศ (อาเซอร์ไบจาน และทูร์เคีย) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาสาธารณสุข (ร้อยละ ๕๐) ความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๓๓) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๑๗) ตามลำดับ

- ภูมิภาคลาตินอเมริกา จำนวน ๒๒๑ ราย ผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๗๗ ราย จาก ๑๖ ประเทศ (อาร์เจนตินา บาฮามัส เบลิซ ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กายอานา เม็กซิโก นิการากัว ปานามา ปารากวัย เซนต์คิตส์และเนวิส ซูรินาเม และเวเนซุเอลา) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสาขาสาธารณสุข (ร้อยละ ๓๑) ความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๒๐) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ ๑๘) สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๑๗) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๑๔) ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า

(๑) ความสอดคล้องและการนำหลักสูตรไปใช้ ความพึงพอใจร้อยละ ๘๙
(๒) ความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตร  ความพึงพอใจร้อยละ ๙๐
(๓) การออกแบบหลักสูตร  ความพึงพอใจร้อยละ ๘๗
(๔) การประสานงาน/การจัดการของผู้จัดหลักสูตร ความพึงพอใจร้อยละ ๙๑

 

ผลการวิเคราะห์ความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมพบว่า เนื้อหาหลักสูตรการประสานงาน/การจัดการฯ และความเหมาะสมที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้มีความเหมาะสมและผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ต่อไป                                      

การจัดหลักสูตรฝึกอบรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทั้งกับประเทศยุทธศาสตร์และกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับไทยไม่มากนัก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับสถานะทางยุทธศาสตร์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ