โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ สาธารณรัฐโมซัมบิก

โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ สาธารณรัฐโมซัมบิก

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 พ.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ค. 2564

| 33,951 view

โมซัมบิก3-01

Factsheet


ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ สาธารณรัฐโมซัมบิก

(Sustainable Community Development by
the Application of SEP in Mozambique)

 

ความเป็นมาของโครงการ

ภูมิหลัง

1. เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2559 นายไพศาล หรูพาณิชย์กิจ (อดีต) รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้พบและหารือกับ นาย Belmiro Jose Malate อธิบดีกรม Asia and Oceania กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐโมซัมบิก ในระหว่างการประชุม Tokyo International Cooperation on African Development VI Ministerial Preparatory Meeting ณ กรุงบันจูล สาธารณรัฐอิสลามแกมเบีย ซึ่งรองอธิบดีไพศาลฯ เล็งเห็นว่าโมซัมบิกเป็นประเทศที่มีศักยภาพและเป็นประเทศที่ไทยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด จึงได้หยิบยกประเด็นการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเชิญชวนโมซัมบิกพิจารณาเข้าร่วมโครงการ โดยนาย Malate อธิบดีกรม Asia and Oceania
ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับโครงการฯ

2. เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2559 นายรัศม์ ชาลีจันทร์ (อดีต) ออท. สอท. ณ กรุงมาปูโต และเจ้าหน้าที่ สอท. ร่วมกับนาย Olegario dos Anjos Banze อธิบดีกรมพัฒนาชุมชนโมซัมบิก และนาย Matias Albino Parruque นายอำเภอ Bilene ลงพื้นที่ร่วมสำรวจพื้นที่ ต. Tuane อ. Bilene จ. Gaza

3. เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2559 นายรัศม์ ชาลีจันทร์ (อดีต) ออท. สอท. ณ กรุงมาปูโต และเจ้าหน้าที่ สอท. ร่วมกับนาง Leia Bila รองอธิบดี กรมพัฒนาชุมชนโมซัมบิก และนาง Cristina de Jesus Chavier Mafumo นายอำเภอ Mahiça และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตำบล Ilha Machel ลงพื้นที่ร่วมสำรวจพื้นที่ ต. Ilha Machel
อ. Mahica จ. มาปูโต

4. หลังจากการลงสำรวจพื้นที่ทั้ง ๒ แห่ง (อ. Bilene และ อ. Mahica) แล้ว ได้พิจารณาเลือกใช้พื้นที่
ต. Tuane อ. Bilene จ. Gaza เป็นพื้นที่ตั้งศูนย์ Community Learning Center (CLC) และที่ตั้งที่ Praia do Bilene                                                                                                                                                                                                                                                                                                        

ระยะเวลาโครงการ

แผนงานโครงการระยะ 3 ปี (มกราคม 2561 – ธันวาคม 2563)

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้ง Community Learning Center (CLC) ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้
แนวทางการพัฒนาของไทยผ่านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พื้นที่โครงการ

 

(1) ศูนย์เพาะพันธุ์ปลานิลไทย-โมซัมบิก เขต Praia do Bilene อ. Bilene จ. Gaza และ

(2)  CLC ที่เขต Tuane อ. Bilene จ. Gaza

หน่วยงาน
ดำเนินงาน

ฝ่ายไทย: (1) กต. (กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ สอท. ณ กรุงมาปูโต)

 (2) มูลนิธิชัยพัฒนา

 (3) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรฯ

 

ฝ่ายโมซัมบิก: (1) กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงเกษตรและพัฒนา - โมซัมบิก

(2) กระทรวงการต่างประเทศโมซัมบิก

(3) สถาบันส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำโมซัมบิก (IDEPA)

(4) อำเภอ Bilene จังหวัด Gaza

กลไกการบริหารโครงการ (PCC/PSC)

จัดประชุม Project Steering Committee (PSC) โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใช้

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ สาธารณรัฐโมซัมบิก

ผลผลิต/ กิจกรรม

ประกอบด้วย ๕ ผลผลิต (Outputs)

ระยะเวลาดำเนินการ

หมายเหตุ

1

1. SEP concept is better understood and transferred along with agricultural know-hows to agencies involved and target communities.

 

1.1 คณะผู้แทนกรมฯ กปร. พช. กรม อชต. เดินทางไปโมซัมบิกและเลโซโท หารือ/เก็บข้อมูลและสำรวจพื้นที่ โดยฝ่ายโมซัมบิก มีกระทรวงที่ดิน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชนบท เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ  

8 - 15 ม.ค. 60

 

 

1.2 จัดดูงานด้านการพัฒนาชุมชนให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นจาก อ. Bilene และ อ. Manhica จนท.
การพัฒนาชนบท และ กต.โมซัมบิก จำนวน 5 คน
ใน ปทท. และ ปช./หารือพิจารณาร่างโครงการต้นแบบด้านการเกษตรกับ มซบ. (Log Frame) ร่วมกัน

20 - 29 เม.ย. 60

 

 

1.3 จัดการฝึกอบรมด้านการเพาะเลี้ยงปลานิลให้แก่เกษตรกรภายใต้โครงการ ผอ.ศูนย์ประมง จ. Gaza และ จนท.สถาบันประมง มซบ.จำนวน 5 คน ณ ม.เกษตร กำแพงแสน 

1 - 12 ธ.ค. 60

 

2.

Establishment of a Community Learning Center (CLC) in Mozambique

 

2.1 ฝ่ายไทยเริ่มก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ SEP ที่
ต. Tuane อ. Bilene ในพื้นที่ติดกับโรงเรียนประถม โดยได้ปรับปรุงอาคารเก่า 1 หลัง ที่ทางการ
อ. Bilene อนุญาตให้ใช้ และแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 62

มิ.ย. - ก.ค. 60

 

 

2.2 นายรัศม์ ชาลีจันทร์ (อดีต) ออท. สอท.
ณ กรุงมาปูโต ร่วมกับ H.E. Mr. Henriques Bongece รับมนตรช่วยว่าการกระทรวงทะเลแหล่งน้ำในดินและการประมง และ Ms. Stella de Graca Pinto Novo Zeca ผู้ว่าราชการจังหวัดกาซา เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เพาะพันธุ์ปลานิลไทย-โมซัมบิก

15 ก.ย. 60

 

 

2.3 คณะผู้แทนไทย (ผู้แทนมูลนิธิชัยฯ ผู้แทน
คณะประมง กำแพงแสน และ กต. ไปสำรวจพื้นที่จัดตั้งศูนย์ CLC ที่ อ. Bilene

19 - 23 ก.พ. 61

 

3.

Community Learning Center and target communities in Tuane, Bilene District,
are strengthened.

 

3.1 สอท. เริ่มก่อสร้างโรงเพาะฟักไข่ปลา และโรงเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา ที่ฟาร์มเลี้ยงเอกชน และแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. 60 เพื่อเป็นศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย-โมซัมบิก ใช้ในการเรียนรู้และวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประกอบด้วย การสร้างโรงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1 หลัง บ่อปูน 14 บ่อ จัดซื้อเครื่องมือ อาทิ เครื่องวัดคุณภาพน้ำ กระชังปลา ปั้มน้ำปั้มลม ระบบแผงโซลาเซลส์ ชุดเพาะฟัก ฮอร์โมนแปลงเพศลูกปลา พ่อแม่พันธุ์ปลาจิตรลดา 3 และปลานิลแดงสายพันธุ์ปทุมธานี 1 (สอท.ใช้งบภารกิจประเทศไทย และงบกรมความร่วมมือฯ)

พ.ค. – ก.ย. 60 

 

 

3.2 ส่ง ผชช.ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(นำโดย อ.สุชาติ อิงธรรมจิตร์ ม.เกษตรกำแพงแสนฯ)
 ไปปฏิบัติงาน 4 ครั้ง 

ครั้งที่ 1 เมื่อ 17 - 26 ก.พ. 61,

ครั้งที่ 2 เมื่อ 31 มิ.ย. – 9 ก.ค. 61,

ครั้งที่ 3 เมื่อ 6 - 15 ต.ค. 61,

ครั้งที่ 4 เมื่อ 15 - 24 ธ.ค. 61

 

ก.พ. - ธ.ค. 61

ผชช.ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไปปฏิบัติงานที่ มชบ.
ในการสนับสนุนเครื่องมือและคำแนะชาวบ้าน
จำนวน ประมาณ 5 กลุ่ม/ครัวเรือน ในการขุดบ่อเลี้ยงปลานิลด้วยอาหารธรรมชาติและรำข้าว/ใบมันสำปะหลัง

 

3.3 ผชช. มูลนิธิชัยพัฒนา (นายนนทกร พุ่มกล่อม)
ไปสำรวจพื้นที่และวางแผนการทำพื้นที่โครงการกับกรมพัฒนาชุมชน มซบ.

ก.พ. 61 และ
ม.ค. 62

 

 

3.4 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนฯ ปี 2563

   

4.

Knowledge-sharing by FFT Volunteers (Friends from Thailand) in SEP concept and agricultural know-hows with target communities.

 

4.1 ส่งอาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงปลา จำนวน 1 คน (น.ส.สุจิดานันท์ บุญทองเหลือ) ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงปลานิลไทย-โมซัมบิก ระยะเวลา 1 ปี

ก.พ. 61 - ก.พ. 62

 

 

4.2 ส่งอาสาสมัครด้านการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รุ่นที่ 1 จำนวน 1 คน (นายศุภวิฒย์ ปรารมภ์) ปฏิบัติงานที่พื้นที่โครงการที่เขต Tuane ระยะเวลา
6 เดือน

ต.ค. 61 - เม.ย. 62

 

 

4.3 จัดส่งอาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการปลูกข้าว จำนวน 2 คน (นายพันธ์ บุญเสริม และนายสิทธิกร เรียงวงศ์) จัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวพันธุ์ท้องถิ่น
2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ Magasin และ Simao
ในพื้นที่แปลงสาธิต ในพื้นที่โครงการ ต. Tuane ระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้เครื่องจักรกลเกษตร
(รถไถเดินตาม) ของไทย

ม.ค. - เม.ย. 62

 

 

4.4 ส่งอาสาสมัครด้านการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รุ่นที่ 2 จำนวน 2 คน ได้แก่ นายพิเชฐ คำมีแก่น และนายสมพงษ์ วรกุล มีระยะเวลา 1 ปี (อาสาสมัครทั้งสองคนจำเป็นต้องเดินทางกลับ ปทท. เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 63 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19)

   

5.

Project monitoring and evaluation

 

5.1 จัดการประชุมหารือร่วมกับ สอท. ณ กรุงมาปูโต ผ่านระบบ video comference

5.2 ปิดโครงการเนื่องจากได้ดำเนินกิจกรรมครบถ้วนและตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามแผนงาน

14 ก.ย. 63

 

31 ธ.ค. 63