การฝึกอบรมนานาชาติ หลักสูตร Sustainable Forest Management for Poverty Reduction and Food Security in Thailand: Harmonizing Local People and Forest in the Context of Sustainable Development Goals (SDG)

การฝึกอบรมนานาชาติ หลักสูตร Sustainable Forest Management for Poverty Reduction and Food Security in Thailand: Harmonizing Local People and Forest in the Context of Sustainable Development Goals (SDG)

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ก.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 ก.ค. 2565

| 727 view

TICA ร่วมกับ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ Best Practics การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

TICA ร่วมกับกรมป่าไม้ จัดอบรม Online Annual International Training Course on “Sustainable Forest Management for Poverty Reduction and Food Security in Thailand: Harmonizing Local People and Forest in the Context of Sustainable Development Goals (SDG)” ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

หลักสูตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทยด้านการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนผ่าน
การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ในสหสาขาวิชาชีพสู่ความมั่นคงทางอาหารและการบรรเทาความยากจนในอนาคต รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากประเทศผู้เข้าร่วมเพื่อเป็นแนวนโยบายในการจัดการป่าไม้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - ๑๙)

TICA ได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรดังกล่าวผ่านสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ของไทย พบว่า มีผู้สมัครเข้าร่วมจำนวน ๔๘ ราย จาก ๑๙ ประเทศ โดยเข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ จำนวน จำนวน ๓๖ ราย จาก ๑๗ ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ภูฏาน เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย จอร์แดน มาลี มอริเชียส มองโกเลีย โมร็อกโก ปากีสถาน ศรีลังกา ไทย โตโก ตุรกี แซมเบีย กายอานา และเวียดนาม

สำหรับพิธีเปิดหลักสูตรนั้น นายชีวินท์ ณ ถลาง รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ นายสภลท์ บุญเสริมสุข ผู้อำนวยการสำนักการป่าไม้ต่างประเทศ กรมป่าไม้ ได้กล่าวให้การต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม และได้แนะนำภารกิจและบทบาทของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบ

TICA ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การอบรม พบว่า การอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้ารับการอบรมจากหลากหลายประเทศ เนื่องจากเป็นการบรรยายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการปาไม้อย่างยังยืน เช่น (๑) ไผ่ : พืชมหัศจรรย์เพื่อบรรเทาความยากจนและส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร” โดยอธิบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากไผ่ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ในด้านอุปโภคและบริโภค (๒) การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการแก้ปัญหาและบรรเทาความยากจนของประชาชน (๓) วนเกษตรกับการเกษตรอย่างยั่งยืน (๔) “โอกาสทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์วนเกษตร” (๕) การท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการจัดการความยั่งยืนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID – ๑๙) และ (๖) การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อความยืดหยุ่นของชุมชน โดยบรรยายถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

ในด้านวิธีการจัดฝึกอบรมนั้น ได้ดำเนินการผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom Meeting เป็นช่องทางหลักในการบรรยายสด โดยผู้จัดหลักสูตรได้แจ้งลิ้งค์และรหัสเข้าห้องเรียนให้ผู้เข้าร่วมก่อนวันเปิดหลักสูตร ใช้ Line Application เป็นช่องทางที่ผู้จัดใช้จัดเก็บเอกสาร และวีดิโอการเรียนการสอนในแต่ละวัน ภายหลังจากการจัดหลักสูตรฝึกอบรม TICA ได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจให้ผู้เข้าร่วมอบรม โดยแบ่งการประเมินออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

๑) การประเมินความพึงพอใจผ่านการให้คะแนน สรุปผลการประเมินจากผู้ทำแบบประเมิน ๒๐ ราย ร้อยละ ๙๔ พึงพอใจกับความเกี่ยวข้องและการนำความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้กับงานที่ปฏิบัติได้ ร้อยละ ๙๑ พึงพอใจกับเนื้อหาหลักสูตรโดยเห็นว่า มีความน่าสนใจ ร้อยละ ๘๙ ค่อนข้างพึงพอใจกับรูปแบบการจัดหลักสูตร ร้อยละ ๙๔ พึงพอใจกับการบริหารจัดการหลักสูตร และการประสานงานของผู้จัดหลักสูตร

๒) การแสดงความคิดเห็นในการเข้าร่วมหลักสูตรผู้เข้าร่วมกล่าวถึงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปรับใช้ในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดความยั่งยืนในอนาคต รวมถึงการร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมในการจัดการ/แก้ไขปัญหาผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ