การฝึกอบรมนานาชาติ หลักสูตร The Development and Design of IOT Technology for Smart Farmers in the Context of Sustainable Development Goals (SDGs)

การฝึกอบรมนานาชาติ หลักสูตร The Development and Design of IOT Technology for Smart Farmers in the Context of Sustainable Development Goals (SDGs)

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ก.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 ก.ค. 2565

| 810 view

TICA ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติ The Development and Design of IOT Technology for Smart Farmers in the Context of Sustainable Development Goals (SDGs) ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕

การจัดอบรมครั้งนี้ เป็นการจัดในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meeting โดยพิธีเปิดและการบรรยายหลักสูตรนั้น ผศ.ดร. พงศ์ศรัณย์ บุญโญปกรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารเครือข่ายดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้บรรยายหลักตลอดทั้งหลักสูตร นำเสนอววีดิทัศน์ภารกิจของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมี ดร. หทัยชนก ศิริวัฒนกุล ผอ. กองความความร่วมมือด้านทุน กล่าวแนะนากรมฯ พร้อมทั้งแนะนำหลักสูตรให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทราบ

หลักสูตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ของบุคลากรชาวไทยที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ที่สามารถประยุกต์และปรับใช้กับเครื่องมือในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพทางการเกษตร จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) หรืออินเทอร์เน็ต ของสรรพสิ่ง มาอำนวยความสะดวกในการสร้างฟาร์ม โดยผู้เข้าร่วมอบรม จะสามารถนำองค์ความรู้ ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตนเอง เพื่อสร้างฟาร์มอัจฉริยะได้ เป็นการลดการใช้แรงงานจากมนุษย์ เกิดกระบวนการทางการเกษตรที่ยั่งยืนโดยไม่กระทบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างค่านิยมการพึ่งพาตนเอง

TICA ได้แจ้งเวียนทุนหลักสูตรนี้ผ่านสถานเอกอัครราชทูตของไทย มีผู้สนใจจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวน ๓๒ ราย จาก ๑๒ ประเทศ และมีผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ จำนวน ๙ ราย จาก ๔ ประเทศ ได้แก่ เบลีซ ภูฏาน เมียนมา และโมร็อกโก

TICA ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การอบรมพบว่า เนื้อหาและความรู้จากหลักสูตรนี้ น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยี Internet of Things หรือ ไอโอที (IoT) เป็นนวัตกรรมที่กำลังเป็นที่นิยมในวงการ เทคโนโลยี องค์ประกอบที่สาคัญที่สุดของเทคโนโลยีนี้ คือ การติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยง เครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันของเราโดยที่เราไม่ทันสังเกต อาทิ ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งล้วนมาจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT โดยอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น มักจะถูกเติมคาว่า “Smart” เข้าไปด้านหน้า เพื่อสื่อถึงเทคโนโลยีที่มีความฉลาดมากขึ้น อาทิ Smart Farm หรือ “ฟาร์มอัจฉริยะ” ที่จะช่วยเกษตรกรดูแลผลผลิตและควบคุมคุณภาพของพืชผลให้ออกมาคงที่อย่างสม่าเสมอ ซึ่งจะช่วยทั้งประหยัดเวลา และเพิ่มความแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดการใช้แรงงานมนุษย์ได้อีกด้วย หลักสูตรฝึกอบรมดังกล่าว จึงถือเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ แบ่งปันและเผยแพร่ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรชาวไทย ที่ให้ความสาคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถพัฒนาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการตระหนักว่า มนุษย์ควรติดตามการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ภายหลังจากการจัดหลักสูตร TICA ได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจให้ผู้เข้าร่วม โดยแบ่งการประเมินออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

๑. การประเมินความพึงพอใจผ่านการให้คะแนน สรุปผลการประเมิน ๑๐ ราย พบว่า ร้อยละ ๘๖ พึงพอใจการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว เนื่องจากหัวข้อและเนื้อหาการอบรมสามารถนำไปใช้ได้จริงกับอาชีพของตน ทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดในการใช้กับเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้หลากหลาย ผู้เข้าอบรมส่วนหนึ่งคาดหวังและรอคอยการอบรมในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันในรูปแบบ On-site โดยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าอาจจะทำให้เข้าถึงเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น

๒. การแสดงความคิดเห็นในการเข้าอบรมหลักสูตร ผู้เข้าราวมอบรมกล่าวถึงความเป็นไปได้ ในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศของตนในอนาคตทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ผู้เข้าร่วมบางราย เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้วิชาการด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ที่จะสามารถขับเคลื่อนการเกษตรที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ