เวียดนาม

เวียดนาม

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 เม.ย. 2566

| 24,716 view

           หนังสือทั้ง 6 เล่มเป็นผลงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหนังสือ ตำรา สื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาชาวเวียดนาม โดยอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ร่วมกับอาจารย์ชาวเวียดนาม ซึ่งชุดโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ TICA ได้พัฒนาครบทุก ๆ ด้าน ทั้งหลักสูตร บุคลากร ผู้เรียน และสื่อการเรียนการสอน ซึ่ง TICA ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ร่วมมือกันมา  โดยทั้ง 6 เล่ม มีรายละเอียดดังนี้

          1.“ภาษาไทยในเพลงสำหรับนักศึกษาเวียดนาม” (เล่มสีฟ้า) เป็นหนังสือเสียงหรือสื่อผสม ซึ่งเป็นผลผลิตจากงานวิจัยเรื่อง การใช้เพลงเป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาไทยให้นักศึกษาเวียดนาม งานวิจัยเรื่องนี้ทดลองกับนักศึกษาเวียดนาม วิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยดานัง (University of Foreign Language Studies-The University of Danang)

          2.“วัฒนธรรมไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม” (เล่มสีชมพู) เป็นหนังสือเสียงหรือสื่อผสม ซึ่งเป็นผลผลิตจากงานวิจัยเรื่อง การสร้างบทอ่านเชิงวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักศึกษาเวียดนาม งานวิจัยเรื่องนี้ทดลองกับนักศึกษาเวียดนาม วิชาเอกไทยศึกษา ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ณ นครโฮจิมินห์ (University of Social Sciences and Humanities-Vietnam National University, Ho Chi Minh City)

          3.“การพูดภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงจากการสอนวิชา “ภาษาไทยระดับสูง : การฟัง – พูด 2”  ผ่านระบบออนไลน์ให้นักศึกษาเวียดนามชั้นปีที่ 3 วิชาเอกไทยศึกษา คณะตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ณ นครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19

          4.“การฟังภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงจากการสอนวิชา “ภาษาไทยระดับสูง : การฟัง – พูด 2”  ผ่านระบบออนไลน์ให้นักศึกษาเวียดนามชั้นปีที่ 3 วิชาเอกไทยศึกษา คณะตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ณ นครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19

          5.“กรุงเทพมหานครกับอาหารริมทาง สำหรับนักศึกษาเวียดนาม” เป็นเครื่องมือวิจัยจากปริญญานิพนธ์ของนางสาว Nguyen Thi Loan Phuc นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วิชาเอกภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นผู้รับทุน TICA เป็นผลงานตีพิมพ์ลำดับแรกของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

          6.“วิถีชีวิตไทยจากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน สำหรับผู้เรียนชาวเวียดนาม” เป็นเครื่องมือวิจัยจากปริญญานิพนธ์ของ นางสาว Nguyen Kieu Yen นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วิชาเอกภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นผู้รับทุน TICA  เป็นผลงานตีพิมพ์ลำดับที่สองของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

          ผลผลิตจากงานวิจัยทั้ง 6  เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่อาจารย์ชาวเวียดนาม นักศึกษาเวียดนามที่เรียนวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกไทยศึกษา และวิชาโทภาษาไทย ที่เปิดสอนภาษาไทยใช้เป็นเครื่องมือสื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยให้แก่นักศึกษาเวียดนาม

ปกไทย-เวียดนาม1

(คลิ๊กที่รูปเพื่อรับชมและดาวน์โหลด)

ปกไทย-เวียดนาม2

(คลิ๊กที่รูปเพื่อรับชมและดาวน์โหลด)

Screenshot_(147)

คลิป VDO แนะนำหนังสือเรียนภาษาไทย เรื่อง วัฒนธรรมไทยและภาษาไทยในเพลง

preview_video_202

คลิป VDO รายการ TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน วัฒนธรรมไทยและภาษาไทยในเพลง

S__64667713

(คลิ๊กที่รูปเพื่อรับชมและดาวน์โหลด)

S__64667712

(คลิ๊กที่รูปเพื่อรับชมและดาวน์โหลด)

Screenshot_(148)

คลิป VDO แนะนำหนังสือเรียนภาษาไทย เรื่อง การพูด และการฟัง

preview_video_204

คลิป VDO รายการ TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การพูดและการฟัง

S__64667710

(คลิ๊กที่รูปเพื่อรับชมและดาวน์โหลด)

ปก_อาหารริมทาง

คลิป VDO แนะนำหนังสือเรียนภาษาไทย เรื่อง กรุงเทพมหานครกับอาหารริมทาง version ภาษาไทย และ ภาษาเวียดนาม

S__64667711

(คลิ๊กที่รูปเพื่อรับชมและดาวน์โหลด)

ปก_ขุนช้างขุนแผน

คลิป VDO แนะนำหนังสือเรียนภาษาไทย เรื่อง วิถีชีวิตไทยในขุนช้างขุนแผน version ภาษาไทย และ ภาษาเวียดนาม

preview_video_203

คลิป VDO รายการ TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน กรุงเทพมหานครกับอาหารริมทางและวิธีชีวิตไทยในขุนช้างขุนแผน

ปก_ขุนช้าง•ขุนแผน-ฉบับพิมพ์

(คลิ๊กที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ)

ปก_สังข์ทอง-ฉบับพิมพ์

(คลิ๊กที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ)

สอนไทย-เวียดนาม_new

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยในเวียดนาม

ภูมิหลังโครงการ

 รัฐบาลไทยโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ให้การสนับสนุนม. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ นครโฮจิมินห์ (University of Social Sciences and Humanities (USSH), Vietnam National University, Ho Chi Minh City)  ในการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย ระดับปริญญาตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อสร้างบุคลากรเวียดนามที่มีความรู้ เกี่ยวกับภาษาไทย เข้าทำงาน ในภาคธุรกิจของไทย ที่ลงทุนในเวียดนาม ต่อมา กรมความร่วมมือฯ ได้ขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดอื่น ๆ ของเวียดนาม ได้แก่ กรุงฮานอย และนครดานัง

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

ม. ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายเวียดนาม

๑. ม. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ นครโฮจิมินห์ (University of Social Sciences and Humanities: USSH, Vietnam National University, Ho Chi Minh City)

๒. ม. ภาษาต่างประเทศ ม. ดานัง (University of Foreign Language Studies, the University of Danang)

๓. ม. ภาษาต่างประเทศ แห่ง ม. แห่งชาติ กรุงฮานอย (University of Languages and International Studies (ULIS), Vietnam National University, Hanoi)

๔. ม. ฮานอย (University of Hanoi)

วัตถุประสงค์

๑. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม

๒. เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

๓. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมระหว่างกัน

๔. ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนของนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในเวียดนาม

ระยะเวลาโครงการ

ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบัน

แผนงานโครงการ

๑. ส่งผู้เชี่ยวชาญระยะสั้นไปนิเทศการสอนภาษาไทยให้แก่อาจารย์เวียดนาม

๒. ส่งอาสาสมัครไทยปีละ ๕ ราย ไปปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยสอนภาษาไทยที่ ม. USSH นครโฮจิมินห์ จำนวน ๔ ราย (ภาควิชาไทยศึกษา ๒ ราย และศูนย์ไทย ๒ ราย) และ ม. ดานัง จำนวน ๑ ราย

๓. สนับสนุนทุนศึกษาระดับปริญญาโทและเอกในประเทศไทย ให้แก่อาจารย์ เวียดนามที่สอนภาษาไทย

๔. จัดหลักสูตรฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มสำหรับนักศึกษาเวียดนาม จาก ๔ มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม. USSH นครโฮจิมินห์, ม. ULIS, ม. ดานัง และ ม. ฮานอย มหาวิทยาลัยละ ๑๐ ราย รวม ๔๐ ราย

๕. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ หนังสือ ตำรา และเอกสารสำหรับการสอนภาษาไทย (ตามคำขอของมหาวิทยาลัย)

๖. การจัด Refreshment Course ให้แก่อาจารย์เวียดนาม

๗. การทำงานวิจัย เพื่อสร้างแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาเวียดนาม

วิดีโอประกอบ

Ep.1/6 วัฒนธรรมไทย และภาษาไทยในเพลง
Ep.2/6 การพูด และการฟัง
Ep.3/6 กรุงเทพมหานครกับอาหารริมทาง version.ภาษาไทย
Ep.4/6 กรุงเทพมหานครกับอาหารริมทาง version.ภาษาเวียดนาม