Cambodia

Cambodia

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ม.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,290 view

ภาพรวมการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่กัมพูชา

1. ความเป็นมา

รัฐบาลไทยเริ่มให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2504 โดยการให้ทุนฝึกอบรม/ดูงาน และต่อมาในปี 2536 ได้เริ่มให้ความร่วมมือทางวิชาการระดับทวิภาคีอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน การดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการของไทยอยู่บนพื้นฐานความต้องการของประเทศคู่ร่วมมือ (Demand Driven Approach) และความเชี่ยวชาญของไทย ซึ่งมีประสบการณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่ร่วมมือในสาขาที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ เช่น การเกษตรและการพัฒนาชนบท การศึกษา และสาธารณสุข เป็นต้น โดยรัฐบาลกัมพูชาสามารถเสนอคำขอรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาต่อรัฐบาลไทยผ่าน Council for Development of Cambodia (CDC) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจากต่างประเทศ และจัดส่งให้ฝ่ายไทย คือ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณา

         

1.1 กลไกการหารือเพื่อการดำเนินงานความร่วมมือทวิภาคีมี 2 ระดับ คือ

               1) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission on Bilateral Cooperation) เป็นกลไก

ทวิภาคีสำคัญสูงสุดในการประสาน ติดตาม และผลักดันการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาในภาพรวมและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ให้มีพัฒนาการคืบหน้าต่อเนื่อง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม

               2) การประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปี (Annual Consultation on Technical Cooperation) เป็นเวทีในการเจรจาหารือแผนงานความร่วมมือทางวิชาการและกิจกรรมต่างๆ และการติดตามผลการดำเนินงานของทั้งสองประเทศ รวมทั้งพิจารณาคำขอความร่วมมือฯจากกัมพูชา

  • ประธานฝ่ายไทย คือ อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • ประธานฝ่ายกัมพูชา คือ Secretary-General of CDC

การประชุมความร่วมมือทางวิชาการฯ ครั้งที่ 14 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2560 ณ จังหวัดเชียงใหม่

 

1.2 รูปแบบการให้ความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วย (1) การส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำ (2) โครงการพัฒนา (3) การให้วัสดุอุปกรณ์ (4) การให้ทุนศึกษา/ฝึกอบรม และดูงาน และ (5) การส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงานภายใต้โครงการพัฒนาหรือตามคำขอ

         

1.3 การให้ทุนประจำปีเพื่อศึกษา/ฝึกอบรมในประเทศไทย ประกอบด้วย

                   1) ทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (Thai International Postgraduate Program – TIPP)

                   2) หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses – AITC)

                   3) ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral Programme) โดยร่วมกับแหล่งผู้ให้อื่นๆ เช่น UNICEF JICA    และสิงคโปร์ ในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยให้แก่ประเทศที่สาม

ระหว่างปี 2554 – 2559 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ให้ทุนภายใต้รูปแบบต่าง ๆ ข้างต้นแก่กัมพูชา ดังนี้

 


2. ความร่วมมือในปัจจุบัน

     2.1 ความร่วมมือทวิภาคี

          2.1.1 แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ตามคำขอของรัฐบาลกัมพูชา)

                    2.1.1.1 ทุนศึกษาระดับปริญญาโท

                    2.1.1.2 ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้น

          2.1.2 โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา จำนวน 6 โครงการ ได้แก่

                   1) โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยพนมเปญ

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

ระยะที่ 1: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ระยะที่ 2: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยงานดำเนินงานฝ่าย

กัมพูชา

มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ

วัตถุประสงค์

ระยะที่ 1:  เพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย

และเปิดสอนภาษาไทยระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย

ภูมินทร์พนมเปญ (บรรลุวัตถุประสงค์)

ระยะที่ 2:  เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหลักสูตร

การเรียนการสอนภาษาไทยระดับปิญญาตรี

ระยะเวลาโครงการ

ระยะที่ 1:  2548 – 2557

ระยะที่ 2:  2558 - 2564

 

 

2) โครงการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกัมพูชา- ไทย (เปลี่นยชื่อเป็นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน

    กัมพูชา - ไทย ตั้งแต่กันยายน 2559)

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หน่วยงานดำเนินงานฝ่าย

กัมพูชา

กระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพ

วัตถุประสงค์

เพื่อฝึกทักษะวิชาชีพด้านต่างๆ ให้กับบุคลากรผู้ด้อย

โอกาสของกัมพูชาให้มีงานทำ และมีรายได้เลี้ยงตนเอง

ระยะเวลาโครงการ

2543 -ปัจจุบัน

 

                   3) โครงการจัดตั้งศูนย์แรกรับเหยื่อการค้ามนุษย์และกลุ่มเสี่ยง ณ ปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม.

หน่วยงานดำเนินงานฝ่าย

กัมพูชา

กระทรวงกิจการสังคม ทหารผ่านศึก และการฟื้นฟู

เยาวชน

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งศูนย์แรกรับเหยื่อค้ามนุษย์ชาวกัมพูชา ให้

การฟื้นฟู ดูแล และฝึกทักษะอาชีพ ก่อนส่งคืนสู่สังคม

ระยะเวลาโครงการ

3 ปี นับแต่วันลงนามใน MOU

 

                   4) โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกผัก และ ผลไม้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร

                       ของราชอาณาจักรกัมพูชา

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หน่วยงานดำเนินงานฝ่าย

กัมพูชา

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง สำนักงานเกษตร

จังหวัดเสียมราฐ

วัตถุประสงค์

เพี่อพัฒนาการผลิต ผัก และผลไม้ ของกลุ่มเกษตรกร

ให้สอดคล้องตามมาตรฐานหลักการในการปฏิบัติเกษตรกรรมที่ดีของประเทศกัมพูชา และพื้นที่ และสร้างเกษตรกรต้นแบบเพื่อเผยแพร่การผลิตผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานต่อไป

ระยะเวลาโครงการ

3 ปี (1ตุลาคม  2556 - 30 เดือน กันยายน  2559

 

                   5) โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยพระตะบอง

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

หน่วยงานดำเนินงานฝ่าย

กัมพูชา

มหาวิทยาลัยพระตะบอง

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย และเปิดสอนภาษาไทยระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยพระตะบอง

ระยะเวลาโครงการ

กุมภาพันธ์ 2558 – ธันวาคม 2563

 

                   6) โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการค้าหัตถกรรม (The Establishment of Handicraft

                       Trade Training Center – HTTC)

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

หน่วยงานดำเนินงานฝ่าย

กัมพูชา

The National Committee for One Village One Product (OVOP) 

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งศูนย์ส่งเสริม OVOP (OVOP-RPC) ที่จังหวัดกำปงจาม

ระยะเวลาโครงการ

3 ปี (2562 – 2564)

 

          2.1.3 การจัดทำแผนงานความร่วมมือในลักษณะ Program based Approach

                   กรมความร่วมมือฯ ริเริ่มปรับปรุงการดำเนินงานความร่วมมือในลักษณะแผนงานความร่วมมือระยะกลาง 3 ปี (Program based Approach) และรายละเอียดโครงการในแต่ละแผนงานใน 3 สาขา ได้แก่ เกษตร สาธารณสุข และศึกษา ดังนี้

1. สาขาสาธารณสุข กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน 2 คู่เมือง ได้แก่ สระแก้ว – บันเตียเมียนเจย และ ตราด – เกาะกง จำนวน 4 แผนงาน ดังนี้      

แผนงานที่ 1: Communicable Disease Surveillance, Prevention and Control in Border Area; including Emerging, Re-emerging Disease

โครงการที่ 1.1   Project on Malaria Elimination along Cambodia – Thailand Borders 

โครงการที่ 1.2   Project on Public Health Emergency Response

โครงการที่ 1.3   Project on Point of Entry Development

โครงการที่ 1.4   Project on Promoting 'One Health' Approach

แผนงานที่ 2: Medical and Public Health Staff Capacity Building

โครงการที่ 2.1   Health Workforce Capacity Building in Health Service, Nursing and Communicable Disease Management

โครงการที่ 2.2   Training of Trainer on the Field Epidemiology

แผนงานที่ 3: Referral System Improvement

โครงการที่ 3.1  Strengthening Cambodian’s Referral System

แผนงานที่ 4: Sister Hospital Development

โครงการที่ 4.1   Development of Sister Hospital Co-operation and Networks between Koh Kong – Trat

โครงการที่ 4.2   Development of Sister Hospital Co-operation and Networks between Banteay Meanchey – Sa Kaeo

2. สาขาเกษตร ประกอบด้วย 4 แผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1: Enhancement of Agricultural Productivity

โครงการ 1.1     Development of Training Programme on Cassava in Border Provinces

                   (Farm and Soil Management)

โครงการ 1.2     Improvement of the Quality of Rice Seed Production

โครงการ 1.3     Promoting Climate Resilience in Farming Communities of Thailand

                   and Cambodia

แผนงานที่ 2: Development of Cooperative System

โครงการ 2.1     Project on the Development of Agricultural Cooperative Business in

                   Cambodia      

แผนงานที่ 3: Improving and Enhancing Fisheries and Aquaculture Production

โครงการที่ 3.1  Training Course on the Use of Mobile Hatchery as a Tools for

                   Promotion of Aquaculture and Fisheries Co-management in Cambodia

แผนงานที่ 4: Human Resource Development in Cambodia

3. สาขาศึกษา ประกอบด้วย 4 แผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1: General and Technical Education and Sport Education

โครงการที่ 1.1   Project on Capacity Building for Cambodian General Schools

โครงการที่ 1.2   Project on Capacity Building for Cambodian Technical Schools

โครงการที่ 1.3   Project on Capacity Building of Sport Human Resources

แผนงานที่ 2:  Development on Higher Education

โครงการที่ 2.1   Project on Producing Graduates to Meet the Demand of the Labour Market, and Social Economic Development

โครงการที่ 2.2   Project on Promoting Teaching and Learning Thai Language at RUPP

โครงการที่ 2.3   Project on Enhancement of the Capacity of University Management for Preparation toward Autonomous University

โครงการที่ 2.4   Project on Promoting R&D and Enhancing the Quality of the Research

แผนงานที่ 3: Enhancing School and Teaching Quality (Pre-primary, Primary, Secondary, and Non-Formal Education)

โครงการที่ 3.1   Enhancing School and Teaching Quality (Pre-primary, Primary, Secondary, and Non-Formal Education)

โครงการที่ 3.2   Project on Development and Improvement of CLCs

แผนงานที่ 4:  Capacity Development to Support Education Service Delivery

โครงการที่ 4.1  Project on Capacity Development to Support Education Service Delivery in Planning, Financing, Administration, Leadership and Management

 

     2.2 ความร่วมมือไตรภาคี

        กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ดำเนินโครงการความร่วมมือไตรภาคีกับแหล่งให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชา ได้แก่ ฝรั่งเศส เช่น โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (Royal Golden Jubilee) และเยอรมัน โครงการด้านสุขาภิบาลและสุขอนามัยในชนบท 

 

     2.3 ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค

      2.3.1 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศมีแผนงานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศสมาชิกกรอบอนุภูมิภาครวมทั้งกัมพูชา

                   2.3.1.1 ACMECS: จัดฝึกอบรมตามแผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้แผนปฏิบัติการ ACMECS (2554 – 2555) จำนวน 26 กิจกรรม และให้ทุนศึกษาระดับปริญญาโท ปีละ 8 ทุน (ประเทศละ 2 ทุน) รวมทั้งดำเนินงานตามแผนการต่อสู้โรคไข้หวัดนกและโรคติดต่ออื่นๆ เช่น การจัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายแดนของไทยและประเทศสมาชิก  นอกจากนี้ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศยังร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ผ่านสภาธุรกิจ ACMECS) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ทุนศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจแก่บุคลากรประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งกัมพูชา

                    2.3.1.2 GMS: จัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนานานาชาติตามแผนงานภายใต้สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระยะ 2 ปี (2555 - 2556) ด้านสาธารณสุข การพัฒนาฝีมือแรงงาน การต่อต้านการค้ามนุษย์

                    2.3.1.3 ASEAN สนับสนุนงบประมาณให้แก่ สำนักงาน ก.พ. ระหว่างปี 2553 - 2555 ในการดำเนิน โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศอาเซียน 10 ประเทศ (รวมทั้งกัมพูชา) รวม 19 โครงการ

 

     2.4 โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ (Buakaew Roundtable International on Sufficiency Economy: BRITSE)

         ในแต่ละปี กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้จัดการดูงานเพื่อเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งกัมพูชา

     2.5 ความร่วมมือตามแนวชายแดน

2.5.1 โครงการสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมสำหรับโรคติดต่อและอุบัติตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา-เมียนมาร์- สปป.ลาว ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2557 - 2559 และระยะที่ 2 ระหว่างปี 2560 – 2562 โดยสนับสนุนความร่วมมือสาธารณสุขชายแดนระหว่างคู่เมืองฝั่งไทยและกัมพูชา (ตราด – เกาะกง สระแก้ว – บันเตียเมียนเจย สุรินทร์ – อุดรมีชัย อุบลราชธานี – พระวิหาร) กิจกรรมสำคัญประกอบด้วย การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารและพัฒนา Web site ข้อมูลสาธารณสุขชายแดนระหว่างคู่จังหวัดของไทยและกัมพูชา พัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team: SRRT) สร้างเครือข่ายความร่วมมือรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานสาธารณสุขชายแดนระหว่างจังหวัดของไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้มีความใกล้ชิด พัฒนาขีดความสามารถในการเฝ้าระวังโรคของบุคลากรในประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มขีดความสามารถให้โรงพยาบาลจังหวัดชายแดนไทยฝั่งที่ติดกับกัมพูชา

2.5.2 โครงการสร้างทักษะแรงงาน / วิชาชีพ (เมียนมา / สปป.ลาว / กัมพูชา) เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการของไทยตามแนวชายแดนและพัฒนาขีดความสามารถของสถาบันฝึกฝีมือแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนสามารถพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของตนได้อย่างยั่งยืน (ตราด สระแก้ว จันทบุรี)

    2.6 ความร่วมมืออื่นๆ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนงบประมาณให้กองกำลังสุรนารี ปีละ 800,000 บาท ตั้งแต่ปี 2548 – 2556 เพื่อดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา และในปี 2557 - 2560 สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อดำเนินโครงการหมู่บ้านคู่ขนานตามแนวชายแดน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนงบประมาณให้สมาคมมิตรภาพไทย – กัมพูชา ดำเนินโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดรักษาโรคหูให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนกัมพูชาที่มีเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย