Peru

Peru

วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ก.พ. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 338 view

สาธารณรัฐเปรู (Republic of Peru)

ข้อมูลทั่วไป

1. ความตกลง  - บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับ the Peruvian International Cooperation Agency (APCI) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 (ค.ศ. 2006)

2. รูปแบบความร่วมมือ

2.1) ความร่วมมือทวิภาคี

- กิจกรรมความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย – เปรู ดำเนินอยู่ภายใต้แผนงานระยะ 3 ปี หรือ ACTION PLAN OF DEVELOPMENT COOPERATION PROGRAMME BETWEEN THAILAND AND PERU ปี ค.ศ.2019 – 2021 (ซึ่งล่าสุดฝ่ายเปรูได้ส่งร่างแผนงานที่มีการปรับปรุงและขยายระยะเวลาเป็น ปี ค.ศ. 2020 - 2022) ประกอบด้วยความร่วมมือ 3 ด้านหลักๆ ได้แก่

·         Sustainable development of tourism with community participation (ดำเนินการแล้ว 1 กิจกรรม กิจกรรมที่ 2 วางแผนจะจัดที่ไทยในช่วงเดือน เม.ย. 2563)

·         Green SMEs (ฝ่ายเปรูแจ้งว่าจะเสนอและอยู่ระหว่างการร่างรายละเอียด)

·         Alternative Development (Crop substitution drugs)

 

       - นอกจากการการดำเนินงานความร่วมมือตามแผนงานข้างต้นแล้ว ฝ่ายไทย โดยอธิบดีกรมความร่วมมือฯ ได้เสนอให้เปรูพิจารณาร่วมกันดำเนินกิจกรรมไตรภาคีภายใต้กรอบ FEALAC (ไทย – เปรู – FEALAC) ในอนาคตด้วยเพื่อเป็นประโยชน์ในวงกว้างของทั้งสองฝ่าย (ผลจากการหารือระหว่าง อธ.กรมความร่วมมือฯ  กับ ออท. Elard Escala อธิบดีกรมเอเชียและโอเชเนียของเปรูระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมการประชุม FEALAC FFM ครั้งที่ 9 ณ สาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2562)

หมายเหตุ (ข้อมูลเพิ่มเติม) :

1.       ในปี 2563 จะเป็นปีที่ครบรอบ 55 ปี คสพ. ไทย – เปรู

2.       กรมความร่วมมือฯ เปรู (APCI) ได้เชิญฝ่ายไทยไปร่วมประชุม Technical Cooperation ครั้งที่ 4 ที่ประเทศเปรูในช่วงเดือน เม.ย. 2563 เพื่อนำผลการประชุมดังกล่าวไปประกอบในการประชุม JC ไทย - เปรู ครั้งที่ 6 ซึ่งมีแผนจะจัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ในปี 2563 (ฝ่ายไทยตอบรับในหลักการแล้วอยู่ระหว่างพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสม)

3.       ระหว่างการหารือของอธิบดีฯ และ ออท.เปรู/ปทท. เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่กรมความร่วมมือฯ ทั้งสองฝ่ายได้มีการเสนอหัวข้อที่มีความเป็นไปได้ในความร่วมมือด้าน Universal health coverage (UHC) และ Development of Gastronomy Tourism ลงในแผนงานฯ ระยะ 3 ปี

 

2.2) ภายใต้เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia - Latin America Cooperation - FEALAC)

      - สำหรับปี 2563 ประเทศไทยได้สนับสนุนหลักสูตรการฝึกอบรมประจำปี (AITC) โดยให้ priority แก่กลุ่มประเทศสมาชิก FEALAC 4 หลักสูตร ประกอบด้วย

 

       1) Modern Technology for Sustainable Agricultural Systems (MoTSAS) (12 - 28 พฤษภาคม 2563) รับสมัครถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563

       2) Sustainable Community-based Eco-tourism Development (20 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2563) รับสมัครถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563

       3) Sufficiency Economy in Microfinance for SMEs Development (22 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2563) รับสมัครถึงวันที่ 1 เมษายน 2563

       4) Disaster Risk Management in Thailand (12 - 28 พฤษภาคม 2563) รับสมัครถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563

     - นอกจากนี้ ประเทศไทยได้แจ้งต่อที่ประชุม FEALAC FMM (ระดับ รมว.กต.) ครั้งที่ 9 ณ สาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ว่ากรมความร่วมมือฯ (TICA) ยินดีที่จะจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (10 – 14 วัน) ในหัวข้อ Sustainable Micro, small and medium-sized enterprises (MSMEs) ในรูปแบบ cost - sharing ให้กับประเทศสมาชิก FEALAC ในปี 2563 และปี 2564

* ความร่วมมือทวิภาคีกับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเป็น South – South Cooperation เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาที่ไทยและประเทศคู่ร่วมมือมีศักยภาพ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมในลักษณะ Cost – Sharing โดยประเทศเจ้าภาพรับผิดชอบ Local cost และประเทศผู้ส่งรับผิดชอบ International cost

 

2.3) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)

No.

หลักสูตร

2015

2016

2017

2018

2019

1

Towards Green Growth with Waste Utilisation

1

 

 

 

 

2

Household Food Security for Nutrition Well-being

1

 

 

 

 

3

Community Health Management and Empowerment to Promote Healthy Communities

 

 

 

 

4

Moving Towards SDGs via Corporate Social Responsibility and Sufficiency Economy Philosophy

 

 

1

 

 

5

R&D in Postharvest and Processing Technology for Food Security

 

 

1

 

 

6

International Training Course on Natural Disasters Management

 

 

 

 

7

Modern Technology for Sustainable Agricultural Systems

 

 

 

 

8

International Training Course on Toward a One Health Approach to Antimicrobial Resistance

 

 

 

 

Best Available Technique (BAT) and Best Environmental Practice (BEP) under the Context of United Nations Industrial Development Organization (UNIDO)

 

 

 

1

 

๑0

The Principle Concept and Practice of One Health for Emerging Disease Management

 

 

 

1

 

๑๑

Green Energy for Low Carbon Society

 

 

 

 

1

12

Promoting Livelihood and Food Security through Diversified Farming Practices using Integrated System and Participatory Approaches

 

 

 

 

1

13

Strengthening Health System: The Key Contributing to achieve Sustainable Development Goals(SDGs)

 

 

 

 

1

15

Food Security - Postharvest, Processing and Quality Assurance of Selected Agro-Industrial Products

 

 

 

 

1

16

Waste Management and Wastewater Treatment for Sustainability

 

 

 

 

1

 

รวมทั้งสิ้น 15 คน (ในรอบ 5 ปี)

-

2

5

5

 

-----------------------------------------------------------------

 

สถานะ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ