โครงการจัดตั้งศูนย์แรกรับเหยื่อการค้ามนุษย์และกลุ่มเสี่ยง ณ จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา

โครงการจัดตั้งศูนย์แรกรับเหยื่อการค้ามนุษย์และกลุ่มเสี่ยง ณ จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,408 view

Factsheet


ชื่อโครงการ

โครงการจัดตั้งศูนย์แรกรับเหยื่อการค้ามนุษย์และกลุ่มเสี่ยง
ณ จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์จากการค้ามนุษย์ ในจังหวัดปอยเปต เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ

ของผู้เคราะห์ร้ายก่อนกลับเข้าสู่สังคม ผ่านทางการฝึกอาชีพ เสริมทักษะ และอบรมด้านอาชีวศึกษา

ที่มา

ในการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๙ รว.วันที่ ๒๑ – ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘

เอกสารลงนามที่เกี่ยวข้อง

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการจัดตั้งศูนย์แรกรับเหยื่อการค้ามนุษย์และกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดบันเตียเมียนเจย กัมพูชา ลงนามในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๐ ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ส.ค. ๒๕๕๙

หน่วยงานดำเนินงาน

ฝ่ายไทย: กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง    ของมนุษย์

ฝ่ายกัมพูชา: Ministry of Social Affairs, Veterans and Youth Rehabilitation  (MOSVY)

ระยะเวลาโครงการ

๓ ปี (๒๕๖๒-๒๕๖๔)

งบประมาณโครงการ

ประมาณ ๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ประมาณ ๒.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ)

แผนงาน/กิจกรรม

ประกอบด้วย ๓ แผนงาน ได้แก่

ระยะเวลาดำเนินการ

สถานะล่าสุด

แผนงานที่ ๑

แผนงานการก่อสร้างศูนย์ฯ และสาธารณูปโภคที่จำเป็น

(กลุ่มอาคารอำนวยการ ประกอบด้วย อาคารอำนวยการและอาคารนอนเด็ก อาคารฝึกอาชีพและอาคารนอนชาย/หญิง อาคารหอประชุมเอนกประสงค์ และโรงอาหาร อาคารพักอาศัยเจ้าหน้าที่ ป้อมยาม

เสาธง สนามกีฬา รั้วรอบบริเวณ พร้อมป้ายชื่อและประตูเข้า-ออก

ระบบประปาบาดาลและไฟฟ้าภายในโครงการ ถังกรองน้ำบาดาล

ถังเก็บน้ำใส โรงสูบน้ำ หอถังสูบเก็บน้ำ)

๑ ปี

พม. ได้จัดทำแบบก่อสร้างและงวดงานงวดเงินเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการดำเนินการกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

แผนงานที่ ๒

แผนการพัฒนาองค์กร (การจัดทำโครงสร้างองค์กร พร้อมทั้งระบุคุณสมบัติของแต่ละตำแหน่ง)

- แผนการพัฒนาบุคลากร (การฝึกอบรม/ดูงานของผู้บริหารและบุคลากรของศูนย์ฯ รวมทั้งโครงสร้างองค์กร (Organisation Chart) ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายฝึกอาชีพ และฝ่ายสนับสนุน รวม ๑๖ตำแหน่ง) ทั้งนี้ ฝ่าย กพช.เสนอให้เป็นรูปแบบการส่ง ผชช.มาวางระบบศูนย์ฯ และเป็นพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการศูนย์ฯ เมื่อก่อสร้างศูนย์ฯ แล้ว  

- แผนการฝึกอาชีพ (สำหรับบุคลากรของศูนย์ฯ และกลุ่มเป้าหมาย)
ตามสาขาที่เคยหารือ ได้แก่ ๑) ตัดเย็บเสื้อผ้า ๒) การนวด ๓) การทำอาหารไทยและ กพช. ๔) เสริมสวย ๕) การซ่อมรถจักรยานยนต์

 

พม. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการดำเนินงาน โดยจะดำเนินงานพัฒนาบุคลากร ๖ เดือนก่อนก่อสร้างแล้วเสร็จ

แผนงานที่ ๓

แผนงานการจัดหาอุปกรณ์สำหรับอาคารและการดำเนินงานตามแผนงานที่ ๑ และ ๒

๒ ปี

พม. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการดำเนินงาน โดยจะดำเนินการจัดหา ภายใน ๘ เดือนก่อนการก่อสร้างแล้วเสร็จ

 

 

ผลลัพธ์ของโครงการ

๑) จำนวนผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มีจำนวนลดลง

๒) รัฐบาลกัมพูชามีศูนย์แรกรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ภายใต้การบริหารและกำกับดูแลของ Ministry of Social Affairs, Veterans and Youth Rehabilitation  (MOSVY) ของกัมพูชาทำให้สามารถดำเนินงานทั้งในการรองรับและพัฒนาอาชีพให้กับผู้เสียหายและกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์

๓) รัฐบาลกัมพูชามีความพร้อมและมีศักยภาพทั้งในด้านอาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากร ในการจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๑
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
 ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓