ความร่วมมือไตรภาคี

ความร่วมมือไตรภาคี

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,310 view

๑.๒ ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral Cooperation)

                        ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Partnership Programme - JTPP) เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๗ (๑๙๙๔) วัตถุประสงค์เพื่อร่วมสนับสนุนการถ่ายทอดประสบการณ์ ด้านการพัฒนาที่เหมาะสมให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป้าหมายของความตกลงดังกล่าว ได้แก่ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ประเทศที่สาม  (Third Country Training Programme : TCTP) จำนวน ๑๕ หลักสูตร ภายใน ๕ ปี (๒๕๓๘ – ๒๕๔๓) และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานในประเทศที่สาม การดำเนินโครงการภายใต้กรอบ JTPP I ได้ผลบรรลุเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยได้มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมถึง ๒๒ หลักสูตร และจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานถึง ๗๑ คน ต่อมา ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖ (๒๐๐๓) ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามกรอบความร่วมมือ JTPP II และเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๖                   

ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้ลงนามกรอบความร่วมมือ JTPP III เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของประชาคมอาเซียน แนวคิดเรื่องอินโด-แปซิฟิก ความร่วมมือแม่โขง–ญี่ปุ่นตามกรอบยุทธศาสตร์โตเกียว พ.ศ. ๒๕๖๑ และแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๖  รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ กิจกรรมจะประกอบด้วยการร่วมกันจัดหลักสูตรฝึกอบรมการดำเนินโครงการพัฒนา การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ การทำวิจัย และการสนับสนุนทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแก่ประเทศที่สาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย โดยยึดหลักความเท่าเทียมกัน และมีกลไกการประชุมประจำปี ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency -JICA)  เป็นกลไกหลักการดำเนินงานภายใต้ JTPP ที่ผ่านมา รูปแบบความร่วมมือ ประกอบด้วย

                        ๑.๒.๑ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมแก่ประเทศที่สามในประเทศไทย (Third Country Training  Programme : TCTP) ให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMV (เน้นการส่งเสริมประชาคมอาเซียน) ปีละ ๕-๑๐ หลักสูตร ปัจจุบัน (ปี ๒๕๖๒) มี ๔ หลักสูตร ในสาขาการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การผลิตอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้พิการ และการพัฒนาเส้นทางคมนาคมอาเซียน-BIMSTEC  

                        ๑.๒.๒ การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ (Third Country Expert Programme : TCEP) ปัจจุบันการส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานมีเฉพาะภายใต้โครงการไตรภาคี

                       ๑.๒.๓ ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ญี่ปุ่น-แอฟริกา ประกอบด้วย

                                 ๑.๒.๓.๑ โครงการด้านการเพาะเลี้ยงปลานิลให้แก่ซูดาน

                                       (๑) การพัฒนาบุคลากรให้แก่ศูนย์ Fishery and Aquaculture Research Centre เขตคาร์ทูม ซูดาน โดยการจัดศึกษาดูงานระดับนโยบายร่วมกับการฝึกอบรมระดับปฏิบัติด้านการเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม/กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ (๑๒ วัน) และจัดหาอุปกรณ์ (แหอวน) ให้แก่ Pilot Farm ที่จะจัดตั้งขึ้นที่ซูดาน รวมทั้งการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมงไปจัด workshop/ฝึกอบรมด้าน Genetic Improvement ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ที่ซูดาน เมื่อเดือนมีนาคม/เมษายน ๒๕๕๗ (๑๕ วัน)

                                       (๒) ไทยและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดฝึกอบรมด้านการเพาะเลี้ยงปลานิลและปลาดุก (Hatchery Practice & Genetic Improvement) ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติจากซูดาน (ระยะเวลา ๓ เดือน) ที่ประเทศไทย และการจัดทำโครงการหมู่บ้านตัวอย่างเพื่อเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ที่เป็นแนวระบบชลประทานในซูดาน

                                  ๑.๒.๓.๒ โครงการด้านการเพิ่มผลผลิตข้าวให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก Coalition for African Rice Development (CARD)

         (๑) ไทยและญี่ปุ่นได้สนับสนุนศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตกำแพงแสน) ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมภายใต้โครงการด้านการเพิ่มผลผลิตข้าวเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและบรรเทาความยากจนให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก Coalition for African Rice Development (CARD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในการประชุม Tokyo International Conference on  African Development (TICAD) ครั้งที่ ๔ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ ที่เมืองโยโกฮาม่า และที่ผ่านมา ได้มีการจัดฝึกอบรม Third Country Training Program (TCTP) ในประเทศไทยให้แก่กลุ่มประเทศเป็นสมาชิก CARD ประกอบด้วย (๑) ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ (Anglophone) รวม ๑๑ ประเทศ ได้แก่ Ethiopia, Gambia, Ghana, Kenya, Liberia, Nigeria, Sierra Leone, Tanzania, Uganda, Zambia, Mozambique และ (๒) ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophone) รวม ๑๒ ประเทศ ได้แก่ Benin, Burkina Faso, Cameroon, Central African Republic (CAR), Cote d’Ivore, Democratic Republic of Congo (DRC), Guinea, Madagascar, Mali, Rwanda, Senegal, Togo เป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ รวมทั้งสิ้น ๗ หลักสูตร ประกอบด้วย

               (๑.๑) จัดศึกษาดูงานระดับ Policy Maker ร่วมกับฝึกอบรม Training of

Trainer ระดับ Technician ด้าน Mechanization รวม ๔ หลักสูตรให้แก่

  ๑) กลุ่มประเทศ Francophone จำนวน ๒ หลักสูตร รวม ๙ ประเทศ

(Benin, Burkina Faso, Cote d’Ivore (CDI), Democratic Republic of Congo (DRC), Guinea, Madagascar, Mali, Senegal และ Togo รวมทั้งสิ้น ๔๑ คน) ในปี ๒๕๕๗ (เดือนมิถุนายน/กรกฎาคม) และปี ๒๕๕๘ (เดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม)  

  ๒) กลุ่มประเทศ Anglophone จำนวน ๒ หลักสูตร รวม ๑๐ ประเทศ

(Ethiopia, Gambia, Ghana, Kenya, Liberia, Mozambique, Nigeria, Tanzania, Uganda, และ Zambia รวมทั้งสิ้น ๔๑ คน) ในปี ๒๕๕๘ (เดือนกุมภาพันธ์/มีนาคม) และปี ๒๕๕๙ (เดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม)

               (๑.๒) จัดศึกษาดูงานร่วมกับฝึกอบรม ด้าน Rice Production ให้แก่กลุ่ม

ประเทศ Francophone รวม ๓ หลักสูตร ระหว่างปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ (เดือนมิถุนายน/สิงหาคม) รวม ๗๐ คน จาก ๙ ประเทศ (Benin, Burkina Faso, Cameroon, CDI, DRC, Guinea, Madagascar, Mali และ Togo)

                                       (๒) จัดส่งคณะ TICA/JICA Joint Follow-up Mission ไปติดตามประเมินผลผู้ที่เคยเข้าร่วมหลักสูตรจากทั้ง ๒ กลุ่มประเทศแล้ว ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (รวมวันเดินทาง) ณ Togo และ Cote d’Ivore และครั้งที่ ๒ ช่วงที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (รวมวันเดินทาง) ณ DRC และ Madagascar และช่วงที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ (รวมวันเดินทาง) ณ Kenya  Uganda และ Ethiopia โดยมีกำหนดจะไปติดตามประเมินผลอีก ๑ ครั้ง ในปี ๒๕๖๑  

                                       (๓) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดส่งข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น (ร่วมกับรัฐบาลไทย) ประจำปีงบประมาณญี่ปุ่น ๒๐๒๐ (พ.ศ. ๒๕๖๓) เพื่อจัดฝึกอบรมอีก ๓ ปี (กรมฯ ได้รวบรวมและจัดส่งข้อเสนอทั้งหมดสำหรับปี ๒๐๒๐ จากหน่วยงานไทยให้รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาแล้ว)  

 

                                ๑.๒.๓.๓ โครงการ Joint Technical Cooperation Project for Africa on the Promotion of Sustainable Development Approach based on Sufficiency Economy Philosophy (JOISEP)  

เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๐ กรมฯ และ JICA ได้ร่วมลงนามใน Partnership Arrangement (PA) ณ วิเทศสโมสร กระทรวงฯ เพื่อเป็นกรอบแนวทางความร่วมมือหุ้นส่วนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งแอฟริกา และสนองตอบประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การบรรลุเป้าหมาย SDGs ผลการประชุม TICAD ครั้งที่ ๖ ในปี ๒๕๕๙ และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทยไปประยุกต์ใช้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมกันดำเนินโครงการ JOISEP และคัดเลือกเซเนกัลที่มีความสนใจต่อโครงการ Sustainable Community Development Model based on the Application of SEP ของไทยเป็นพื้นที่โครงการ โดยได้ร่วมกันจัดส่งคณะพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปสำรวจพื้นที่ ๒ แห่ง คือ เมือง Thippe และ Lampoul (ตามที่ฝ่ายเซเนกัลเสนอมา) ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤษภาคม-๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ (รวมวันเดินทาง) ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้จัดส่งร่าง Concept Paper รายละเอียดโครงการให้ JICA พิจารณาแล้ว 

 

          ๑.๒.๔ ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ญี่ปุ่น-เมียนมา

๑.๒.๔.๑ ไทยและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะร่วมกันให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาเป็นเวลา ๓ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗/๒๕๕๘ – ๒๕๕๙/๒๕๖๐ ใน ๔ สาขา และที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้

                      (๑) สาขา Tourism Promotion – เน้นการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่เมืองพุกาม โดยจัดฝึกอบรมในประเทศไทยตามความต้องการของเมียนมา ด้าน hotel management ได้แก่

                           (๑.๑) จัดฝึกอบรมที่วิทยาลัยดุสิตธานี จำนวน ๔ หลักสูตร ได้แก่

                                    ๑) หลักสูตรระดับพื้นฐาน ๒ หลักสูตร คือ Front Office Operation ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน – ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ (๑๐ คน) และ Restaurant Service ระหว่างวันที่ ๕ – ๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ (๙ คน)

                                    ๒) หลักสูตรระดับ Manager ๒ หลักสูตร ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ คือ Front Office Management for Hotels and Resorts (๑๐ ราย) และ Restaurant Management (๙ ราย)

                          (๑.๒) จัดศึกษาดูงานด้าน Tourism Promotion for Sustainable Development ให้แก่เจ้าหน้าที่เมียนมาและเจ้าของธุรกิจโรงแรมในพุกาม รวม ๑๕ คน ระหว่างวันที่ ๒๗ สิงหาคม – ๒ กันยายน ๒๕๖๐ ณ จังหวัดสุโขทัย  

                    (๒) สาขา Foot and Mouth Disease (FMD) – จะจัดทำโครงการจัดตั้ง FMD Free Zone ในพื้นที่ชายแดนระหว่างไทย-เมียนมา โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้

                         (๒.๑) จัดศึกษาดูงานด้านการจัดตั้ง FMD Free Zone ในประเทศไทย ให้แก่เจ้าหน้าที่จาก Livestock Breeding and Veterinary Department, Ministry of Livestock, Fisheries and Rural Development (๕ คน) ระหว่างวันที่ ๒๙ มีนาคม - ๓ เมษายน ๒๕๕๘

                          (๒.๒) จัดฝึกอบรม/ศึกษาดูงานในประเทศไทย จำนวน ๒ หลักสูตร ได้แก่ ด้าน Animal Movement Control ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ (๕ ราย) และด้าน FMD Laboratory Diagnosis (๕ ราย) ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐

                     (๓) สาขา Disaster Prevention and Management – จัดฝึกอบรมในประเทศไทยตามคำขอของเมียนมา โดยเน้นเรื่องการป้องกันและบริหารจัดการอุทกภัย ได้แก่

                          (๓.๑) กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมชลประทานร่วมกันจัดฝึกอบรมหลักสูตร Hydrology (Advance Flood Forecasting, Flash Flood Forecasting, Remote Sensing and GIS Application in Hydrology) ให้แก่เจ้าหน้าที่จาก Department   of Metrology and Hydrology รวม ๒ หลักสูตร ระหว่างวันที่ ๑๗ มกราคม – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (๕ คน) และระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม – ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ (๕ คน)

                          (๓.๒) กรมชลประทานจัดฝึกอบรมหลักสูตร Water Resources Management and Hydrology ให้แก่เจ้าหน้าที่เมียนมา รวม ๕ คน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ 

                                    (๔) สาขา Aquaculture – จัดฝึกอบรมในประเทศไทยตามคำขอของเมียนมา จำนวน ๒ หลักสูตร ได้แก่ (๑) การเพาะเลี้ยงปลาเพื่อนำไปปรับใช้ในการเพาะเลี้ยงปลา Giant Butter Catfish (Silonia Silondia) (๒๐ คน) และ (๒) การเพาะเลี้ยงกุ้ง (Marine Shrimp Culture) (๒๐ คน) โดยกรมประมง ระหว่างวันที่ ๒๔ กันยายน – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

๑.๒.๔.๒ ไทยและญี่ปุ่นได้ขยายความช่วยเหลือให้แก่เมียนมาออกไปอีก ๒ ปี จนถึง ปี ๒๕๖๓ หลังจากความร่วมมือไตรภาคีระยะแรกมีกำหนดสิ้นสุด โดยลงนามร่วมกันเพื่อปรับแก้ไขข้อตกลง (Record of Discussion) เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ และจะดำเนินกิจกรรมแรกในปีงบประมาณญี่ปุ่น ๒๐๑๘ (ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๒) คือ สาขา Aquaculture ประกอบด้วย (๑) จัดส่งผู้เชี่ยวชาญกรมประมงไปประเมินผลการจัดหลักสูตรเมื่อปี ๒๕๖๐ ที่เมียนมา ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ และ (๒) จัดฝึกอบรม  อีก ๒ หลักสูตร ในประเทศไทย ได้แก่ (๒.๑) การเพาะเลี้ยงกุ้ง (Marine Shrimp Culture) (๔ คน) ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม –  ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒ และ (๒.๒) การเพาะเลี้ยงปลา Giant Butter Catfish (Silonia Silondia) (๑๐ คน) ระหว่างวันที่ ๓ - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

๑.๒.๔.๓ ไทยและญี่ปุ่นจะร่วมกันจัดส่งคณะ ผชช. ไปประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วทั้ง ๔ สาขาให้แก่เมียนมา และเสนอกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไปในช่วงขยายระยะเวลา

          ๑.๒.๕ ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ญี่ปุ่น-ปาเลสไตน์

                             ๑.๒.๕.๑ ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับปาเลสไตน์เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ และสืบเนื่องจากการส่งคณะผู้แทนนำโดยรองปลัดวิชาวัฒน์ฯ เข้าร่วมประชุม Conference on Cooperation among East Asian Countries for Palestinian Development (CEAPAD) Ministerial Meeting ครั้งที่ ๑ ที่กรุงโตเกียว ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และร่วมกับ JICA จัดการประชุม CEAPAD Aid Coordination Meeting ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖ ซึ่งประเทศไทยได้ตกลงที่จะให้         ความร่วมมือไตรภาคีกับญี่ปุ่นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์ในสาขาการท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดย่อม  การพัฒนาทักษะวิชาชีพ และการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร รวมทั้งการเข้าร่วมประชุม CEAPAD Ministerial Meeting ครั้งที่ ๒ ที่กรุงจาการ์ตา ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๗ ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศจะร่วมมือไตรภาคีกับญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือปาเลสไตน์โดยเริ่มในสาขาการท่องเที่ยว กรมความร่วมมือระหว่างประเทศจึงได้

เอกสารประกอบ

travel-20200416-110254-659264.pdf