ติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเต

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 2,071 view

การประเมินผลโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ เมืองเฮรา กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต

(Project on Establishment of Model Village and Technology Transfer Centre based on His Majesty King’s Philosophy on “Sufficiency Economy” in Hera)


๑. ความเป็นมา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยและติมอร์-เลสเต ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖ ณ กระทรวงต่างประเทศ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลไทยแก่ติมอร์-เลสเต และกำหนดสาขาความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งการเกษตร ซึ่งในเบื้องต้นประเทศไทยจะช่วยส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตร และจัดตั้งโครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมการเกษตรในติมอร์-เลสเต

          ต่อมาระหว่างวันที่ ๑ - ๑๐ เมษายน ๒๕๕๒ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (ในขณะนั้นคือ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ - สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ นำคณะผู้แทนไทยจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เดินทางไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของติมอร์-เลสเต เพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระยะ ๓ ปี (๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) และได้ริเริ่มโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา โดยมีรายละเอียดสรุปจากเอกสารรายงานได้ดังนี้

          ๑.๑ วัตถุประสงค์ของโครงการ

      วัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ

๑.๑.๑  เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้/หมู่บ้านต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง

๑.๑.๒  เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมการเกษตรของติมอร์-เลสเตให้สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชตามแนวทางดังกล่าวให้แก่เกษตรกรติมอร์-เลสเตที่ร่วมโครงการ

      ๑.๑.๓  เพื่อพัฒนาเยาวชนด้านการเกษตร

๑.๒  ระยะเวลา โครงการมีระยะเวลาดำเนินงาน ๕ ปี ในระยะแรกระหว่างปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕ และต่อมาได้ขยายเวลาโครงการต่อไปอีกระหว่างปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘

          ๑.๓ พื้นที่โครงการ พื้นที่ดำเนินงานอยู่ในตำบล Hera อำเภอ Aldria Horidollar จังหวัด Dili

          ๑.๔ แผนงานและผลการดำเนินงาน

ระยะแรก: ระหว่างปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕

แผนงาน

ผลการดำเนินงาน

๑. การสำรวจข้อมูล ประกอบด้วยการจัดส่ง

    ผู้เชี่ยวชาญไปปฏิบัติงานที่ ติมอร์-เลสเต

๒. การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเป็น     

    ศูนย์เรียนรู้ของเกษตรกรในหมู่บ้าน ขนาด

    ๖๐ x ๑๐ เมตร เพื่อเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยน

    เรียนรู้ระหว่างเกษตรกรและนักวิชาการ และ    

    ฝึกปฎิบัติต่าง ๆ ด้านการเกษตร โดยติดตั้ง

    กระดานเผยแพร่ข้อมูลและเครื่องมืออุปกรณ์  

    ทางการเกษตรที่ใช้ประกอบการเรียนรู้จาก

    การปฎิบัติจริง

๓. การพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วยการฝึกอบรม

    เจ้าหน้าที่และการศึกษาดูงานในประเทศไทย

    ให้แก่ผู้แทนระดับสูง  เจ้าหน้าที่ และเกษตรกร

๔. การพัฒนาหมู่บ้านและถ่ายทอดเทคโนโลยี

    ประกอบด้วย การจัดทำแปลงสาธิต

    การจัดทำครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็น

    ตัวอย่างในหมู่บ้านต้นแบบ การจัดวันรณรงค์

    และเผยแพร่ความรู้

๑. จัดส่งผู้เชี่ยวชาญ ๒ คนไปสำรวจข้อมูลที่ติมอร์-เลสเต

    เป็นเวลา ๑ เดือน (๒๒ พฤศจิกายน – ๒๒ ธันวาคม

    ๒๕๕๓)

๒. จัดส่งผู้เชี่ยวชาญ ๒ คน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและ

    จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ติมอร์-เลสเต เป็นเวลา

    ๒ เดือน (๒๙ กรกฎาคม – ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔)

๓. จัดส่งผู้เชี่ยวชาญ ๒ คน เพื่อพัฒนาหมู่บ้านและถ่ายทอด

    เทคโนโลยีที่ติมอร์-เลสเต เป็นเวลา ๑ เดือน ๒๐ วัน

    (๑๑ สิงหาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕)

ระยะที่สอง: ระหว่างปี ๒๕๕๖ – ๒๕๕๘

แผนงาน

ผลการดำเนินงาน

๑. การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร ประกอบด้วย

    วิทยาการก่อนการเก็บเกี่ยว การจัดการหลัง

    การเก็บเกี่ยวผักสด และการแปรรูปอาหาร

๒. การเกษตรพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย

    การเลี้ยงปลาน้ำจืด  การเพาะเลี้ยงเห็ด

    การจัดทำแปลงข้าวโพดหวาน

๓. การส่งเสริมการเกษตร ประกอบด้วย

    การจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

    อบรมเกษตรกร การอบรมในพื้นที่ การจัดงาน

    เผยแพร่เทคโนโลยี และการศึกษาดูงานด้าน

    การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

๑. กรมความร่วมมือฯ ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อติดตาม

    แผนการดำเนินงาน รวมถึงดำเนินงานตามแผนงาน

    ระยะที่ ๒  ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญระยะสั้นและ

    ระยะกลาง

๒. กรมความร่วมมือฯ ได้จัดส่งอาสาสมัคระยะยาวไป

    ปฏิบัติงานที่โครงการฯ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีส่งเสริม

    การเกษตร และสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินงาน

    ระหว่างวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗  - ๒๘ พฤศจิกายน

    ๒๕๕๘ เป็นเวลา ๑ ปี ๕ เดือน

๓. จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการส่งเสริมการเกษตรใน

    ประเทศไทยจำนวน ๑๕ คน สำหรับการถ่ายทอด

    เทคโนโลยีต่อไปในยังพื้นที่อื่น ๆ ของติมอร์-เลสเต

    ระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม – ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๘

 

แผนงานเดิม

กิจกรรมเดิม

แผนงานใหม่

กิจกรรมใหม่

๑. การสำรวจข้อมูล

    สำรวจข้อมูลเชิงลึก

    เพื่อวางแผนคัดเลือก

    หมู่บ้านต้นแบบตาม

    แนวเศรษฐกิจพอเพียง

 

๑. การส่งผู้เชี่ยวชาญ

    ๒ คนไปปฏิบัติงาน

    โดยร่วมประชุมหารือ

    กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

    ของติมอร์ฯ

    ร่วมสำรวจและจัดทำ

    ข้อมูลเชิงลึก

    (ดำเนินการแล้ว)

 

 

๒. การพัฒนาบุคลากร

    การเสริมสร้างสมรรถนะ    

    แก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกร

    และยุวเกษตรกร

    ให้มีความรู้ความสามารถ

    ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี

    การผลิตพืช

 

๑. การจัดหลักสูตร

    ฝึกอบรมด้านส่งเสริม

    การเกษตรในประเทศ

    ไทยให้แก่ผู้แทน

    ระดับสูงจากส่วนกลาง

    จำนวน ๖ คน

๒. การจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านส่งเสริมการเกษตรและด้านพืชในประเทศไทย ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ระดับผู้ปฏิบัติงาน และยุวเกษตรกร จำนวน   ๑๐ คน

๓. การจัดฝึกอบรมระหว่างปฏิบัติงาน (On the job Training) ที่กรุงดิลีโดยผู้เชี่ยวชาญไทย    ๒ คน จำนวน ๓ ครั้งเป็นการให้ความรู้     ในเรื่องการทำแผนงานแผน การประชุม และสามารถสั่งงานให้แก่ เจ้าหน้าที่ได้

๑. แผนงานพัฒนาบุคลากร   การเสริมสร้างสมรรถนะ  แก่เจ้าหน้าที่และ    เกษตรกร ให้มีความรู้ความสามารถด้าน     ส่งเสริมการเกษตร        การถ่ายทอดเทคโนโลยี   การผลิตพืช การรวมกลุ่มและการตลาด

 

๑. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ Department of extensions จำนวน  ๔ คนระหว่างปฏิบัติงาน (On the job Training)       ครั้งที่ ๓ (สิงหาคม -  พฤศจิกายน ๒๕๕๕)

๒. การจัดการดูงานใน

    ประเทศไทยด้านการส่งเสริมการเกษตร    วิสาหกิจชุมชน            ยุวเกษตรกร ปราชญ์-ชาวบ้าน ฯลฯ ให้แก่  เจ้าหน้าที่และเกษตรกร     ผู้ร่วมโครงการจาก Dili  และ Alieu จำนวน        ๑๐ คน (มกราคม   ๒๕๕๖)

 

แผนงานเดิม

กิจกรรมเดิม

แผนงานใหม่

กิจกรรมใหม่

 

๔. การจัดการดูงานด้าน      การส่งเสริมการเกษตร    ในประเทศไทยให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร จำนวน ๑๐ คน คัดเลือกจากเจ้าหน้าที่และ  เกษตรกรผู้ร่วมโครงการ

 

 

๓. การจัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบ

    และถ่ายทอดเทคโนโลยี

    การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ     

    ที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจ

    พอเพียงและการพึ่งพา

    ตนเองเพื่อเป็นศูนย์

    การเรียนรู้ (ให้ความรู้แก่

    เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น)

 

 

๑. การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร

    ผู้ผลิตพืชและสัตว์ จำนวน ๑๒ กลุ่ม (หมู่บ้านละ ๓ กลุ่ม/ปี)

๒.  การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอด

    เทคโนโลยีในหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของเกษตรกรในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

๓. สาธิตการปลูกพืชเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เช่น การปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก

๔. การสาธิตการเขี่ยเห็ด ทำก้อนเชื้อเห็ด และเพาะเห็ด

๕. การจัดทำครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นตัวอย่างในหมู่บ้าน

๖. การจัดวันรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกรจากแหล่งอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง

๒. แผนงานการถ่ายทอด

    เทคโนโลยี

    การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

 

๑. การจัดทำแปลงสาธิต

    การปลูกพืชเพื่อใช้บริโภค

    ในครัวเรือน และ/หรือจำหน่ายในตลาด

    (ในช่วงผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงาน) สิงหาคม ๒๕๕๕

๒. การจัดทำครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นตัวอย่างในหมู่บ้านต้นแบบ ประกอบด้วย การผลิตอาหาร กลุ่มแป้ง พืชไร่

    ผัก การเลี้ยงปลาน้ำจืด

    ไม้ผล ฯลฯ (ในช่วงผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงาน สิงหาคม ๒๕๕๕)

๓. การจัดวันรณรงค์และเผยแพร่ความรู้จาก

    แปลงสาธิต การปลูกพืช ให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร จำนวน ๑ ครั้ง

    ๒ วัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง

    (ในช่วงผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงาน พฤศจิกายน ๒๕๕๕)

 

แผนงานเดิม

กิจกรรมเดิม

แผนงานใหม่

กิจกรรมใหม่

 

๗. การทำเอกสารสื่อ

    สิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่

    ความรู้เป็นภาษาท้องถิ่น

 

๔. การถ่ายทอดเทคโนโลยี

    จากแปลงสาธิตการปลูก

    พืช ได้แก่ เจ้าหน้าที่และ

    เกษตรกร ตามกระบวนการ

    โรงเรียนเกษตรกร สัปดาห์ละ

    ๑ ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิด

    การยอมรับในบริเวณ

    หมู่บ้านต้นแบบ (ในช่วง

     ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงาน)

    สิงหาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๕

๕. การสาธิตการเขี่ยเห็ด การทำ

    ก้อนเชื้อเห็ด และการเพาะเห็ด

    โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิด

    ประโยชน์ และสร้างรายได้เสริม

    ในครัวเรือน  (ในช่วง

     ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงาน)

    ตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๕

๖. การจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ เพื่อ

    เผยแพร่ความรู้เป็นภาษาท้องถิ่น          

    สิงหาคม – กันยายน ๒๕๕๕

๔. การพัฒนาเยาวชนด้าน

    การเกษตร (ควรดำเนินการ

    ในช่วงจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร)

 

๑. การจัดตั้งยุวเกษตรกร

    ระดับเมือง จำนวน ๒ กลุ่ม

๒. การจัดทำกิจกรรมกลุ่ม

    ยุวเกษตรกร เช่น การปลูกพืช

    เลี้ยงสัตว์

๓. การจัดอบรมด้านการ

    รวมกลุ่มและการเกษตร

๔. การจัดอบรมยุวเกษตรกร

    ด้านาอาชีพการเกษตรในประเทศไทย

๓. การพัฒนาเยาวชนด้าน

    การเกษตร

 

การพัฒนาเยาวชนการเกษตร โดยการรวบรวม ศึกษา และ

วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ

ศักยภาพการพัฒนาเยาวชน ด้านส่งเสริมการเกษตร

(ในช่วงผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงาน)

กันยายน ๒๕๕๕

 

๕. การติดตามประเมินผล

๑. การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ (Project Steering Committee – PSC)

๕. แผนงานการติดตามประเมินผล

การประชุมสรุปโครงการในประเทศไทย

มกราคม ๒๕๕๖

 

           ๑.๕ ผลสำเร็จของโครงการ

             ๑.๕.๑ เกิดครอบครัวตัวอย่างต้นแบบครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๒ ครัวเรือน ซึ่งสามารถทำบ่อเลี้ยงปลา กรงเลี้ยงไก่ สุกร และปลูกผัก ได้เพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและนำมาจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริม นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้ทำการทดลองโดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรเป็นสัดส่วนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกข้าว การปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง มะเขือม่วง แตงกวา ผักโขม และข้าวโพดหวาน การเลี้ยงไก่ในกรง และการขุดบ่อเลี้ยงปลานิล ซึ่งได้ผลดีกว่าการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์      ในลักษณะดั้งเดิมของติมอร์ฯ ซึ่งเกษตรกรพบว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงง่ายต่อการนำมาปฏิบัติใช้ได้จริง และ  ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

๑.๕.๒ มีศูนย์กลางเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมทั้งแปลงสาธิตการเกษตร โดยได้มีการติดตั้งถังบรรจุน้ำขนาด ๑,๒๐๐ ลิตร ถังทำปุ๋ยหมัก ปั๊มน้ำ เพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรต้นแบบโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งศูนย์ฯ ยังมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมอาชีพอื่น ๆ เช่น ปลูกผักไร้ดิน การเพาะเห็ด  โรงเรือนการแปรรูปผลผลิตจากกล้วย

๑.๕.๓. เกษตรกรจากพื้นที่อื่น ๆ เช่น ตำบล Matinaro ให้ความสนใจในการเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากศูนย์เรียนรู้ฯ และนำไปถ่ายทอดการทำแปลงปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจากข้อมูล       ในเอกสารรายงานของกรมความร่วมมือฯ ระบุว่า รัฐบาลติมอร์ฯ ได้พิจารณาที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณ   ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในลักษณะเดียวกันนี้อีก ๑๒ แห่งทั่วประเทศ

 ๑.๖ งบประมาณ

                 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๑,๖๙๓,๓๙๔.๙๔ บาท ดังรายละเอียด ดังนี้

 

กิจกรรม

งบประมาณที่เบิกจ่าย(บาท)

๑. การฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ทั้งในประเทศไทย

    และติมอร์-เลสเต

                                         ๗,๐๕๑,๘๖๐.๕๖

๒. การถ่ายทอดความรู้ รวมถึงการส่งผู้เชี่ยวชาญ

    และอาสาสมัครไทยไปปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ

                                         ๓,๗๐๖,๗๕๔.๓๘

๓. การเพาะปลูกในพื้นที่นำร่อง เช่น เมล็ดพันธุ์               

    พันธุ์ปลา ปั๊มน้ำ ถังบรรจุน้ำขนาด ๑,๒๐๐ ลิตร

    การสร้างบ่อปลา อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น

                                             ๘๐๖,๗๘๐.๐๐

๔. การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เช่นการปรับปรุงสถานที่

    การจัดหาโต๊ะ เก้าอี้

                                               ๖๕,๐๐๐.๐๐

๕. ค่าซื้อมอเตอร์ไซด์

                                               ๖๓,๐๐๐.๐๐

รวม

                                      ๑๑,๖๙๓,๓๙๔.๙๔

 

 ๑.๗ บุคลากรในโครงการ

                ๑.๗.๑ ผู้เชี่ยวชาญโครงการ

                          ๑) นายชยพัทธ์ โภคาวัฒนา ข้าราชการบำนาญ กรมส่งเสริมการเกษตร

                          ๒) นายบุญศรี อ่อนละออ     ผู้อำนวยการกองวิจัยและการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร                  

                                                             กรมส่งเสริมการเกษตร

                          ๓) นายกัสมัณ ยะมาแล       เกษตรอำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี (ร่วมปฏิบัติงานกับนายชยพัทธ์ฯ       

                                                             สอนทำแปลงผัก เพาะเลี้ยงเห็ด ปลูกข้าวโพดหวาน และ

                                                             ส่งเสริมการเกษตร)

                          ๔) น.ส. นิธิวดี อรัญอนุรักษ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักพัฒนาเกษตรกร

                                                                 (ร่วมปฏิบัติงานกับนายชยพัทธ์ฯ สอนการแปรรูปอาหาร)

๑.๗.๒  อาสาสมัคร นายซัดดัม ซะแต ปฏิบัติงานในพื้นที่ และร่วมกับนายชยพัทธ์ฯ ในการให้คำปรึกษา  แนะนำ ส่งเสริม และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในโครงการฯ

 ๑.๘ หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

๑.๘.๑ ฝ่ายไทย

๑) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

๒) กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๑.๘.๒  ฝ่ายติมอร์-เลสเต 

          Ministry of Agriculture and Fisheries

๒. เหตุผลสำคัญของการประเมินโครงการ

          การประเมินผลโครงการจะทำให้ทราบระดับความสำเร็จของกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้  การบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และผลกระทบที่เกิดขึ้นในโครงการ หากโครงการฯ  มีผลการดำเนินงาน            ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการเผยแพร่โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ต่อไป

 

๓. วัตถุประสงค์ของการประเมินผล

         ในการศึกษาวิเคราะห์โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง          มีวัตถุประสงค์ของการประเมินผลที่สำคัญ ดังนี้

          ๓.๑ เพื่อประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

          ๓.๒ ความพึงพอใจของเกษตรกร

          ๓.๓ การใช้ประโยชน์ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายหลังโครงการสิ้นสุด

          ๓.๔ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ

          ๓.๕ ผลกระทบทั้งทางบวก ทางลบ และผลกระทบที่ไม่ได้คาดหวังจากการดำเนินโครงการ

          ๓.๖ ข้อเสนอแนะ การขยายผลโครงการฯ และความยั่งยืนของโครงการ

 

๔. ขอบเขตของการศึกษา

ในการศึกษาวิเคราะห์โครงการหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ในตำบล Hera อำเภอ Aldria Horidollar จังหวัด Dili  และศูนย์การเรียนรู้ จังหวัด Matinaro โดยในการวิเคราะห์และประเมินโครงการจะเน้นโครงการหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในตำบล Hera อำเภอ Aldria Horidollar จังหวัด Dili  เป็นหลัก

 

๕. ระยะเวลาการประมินผล

          ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐

 

๖. นิยามศัพท์

          ๖.๑ โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พื้นที่เป้าหมาย     ในการดำเนินโครงการนำร่องที่เมืองเฮรา กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต โดยเลือกเกษตรกร จำนวน ๒ ครัวเรือนเป็นเกษตรกรต้นแบบ ได้แก่ พื้นที่การเกษตรของเกษตรกรที่ชื่อว่า เปาโล (Mr. Paulo Sequeira) และอเล็กซ์ (Mr. Alexandre Rua Hornai)

          ๖.๒ ศูนย์เรียนรู้ หมายถึง สถานที่ที่ชุมชนใช้เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ของชุมชน    เพื่อสร้างโอกาสและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยมและเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นการสร้างนิสัยการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิต ดำเนินการโดยประชาชนเพื่อประชาชน หวังผลการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน

          ๖.๓ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต และเกษตรกร   ที่เข้าร่วมโครงการ

          ๖.๔ การเกษตรพอเพียง (Self-sufficient Farming) หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและหรือ มีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อมและเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปลูกไม้ผลรอบบ่อปลา และเลี้ยงไก่เนื้อบนบ่อปลา แล้วพบว่า มูลและอาหารของไก่ที่ตกลงไปในบ่อปลา จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชอาหารของปลา ทำให้ปลามีอาหารอุดมสมบูรณ์

          ๖.๕ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร หมายถึง วิทยาการก่อนการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักสด และการแปรรูปอาหาร

          ๖.๖  การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) หมายถึง การประเมินสภาวะแวดล้อมบริเวณพื้นที่โครงการ เกษตรกรนำร่อง วิถีการดำเนินชีวิต ความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่าย          ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ความจำเป็นในการดำเนินโครงการ

          ๖.๗  การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) หมายถึง การประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร เช่น ผู้เชี่ยวชาญ อาสาสมัคร ผู้นำเกษตรกร ผู้จัดการโครงการ เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต วัสดุอุปกรณ์ และหน่วยงาน              ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

          ๖.  การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P) หมายถึง การประเมินกลไกในการบริหารงานโครงการ ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ

          ๖.๙  การประเมินผลงาน (Product Evaluation: P) หมายถึง การประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขี้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือความต้องการ/เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาในด้านผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcomes) และผลกระทบ (Impact)

 

ส่วนที่ ๒

          การประเมินนี้ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน ๒ รูปแบบ ได้แก่ การประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)  และเกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน

          ๒.๑ รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model)

                    รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model)      เป็นการประเมินที่ครอบคลุมองค์ประกอบของโครงการและเป็นโมเดลที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน ประกอบด้วยการประเมิน ๔ ด้าน ได้แก่

๑)  สภาพแวดล้อม (Context/Environment) เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมเปรียบเทียบก่อนดำเนินโครงการและภายหลังดำเนินโครงการ เพื่อประเมินว่า หลังจากที่โครงการเสร็จสิ้นแล้วในระยะยาว    ได้เกิดผลกระทบด้านใดบ้าง โดยเน้นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและข้อเท็จจริง เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง โดยเฉพาะสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เป็นต้น

๒) ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (Input)  เป็นการประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ การประเมินทรัพยากรจะช่วยในการพิจารณาว่าโครงการนั้น ๆ มีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการหรือไม่ และช่วยให้เกิดการวางแผน การพัฒนา การจัดกิจกรรมของโครงการต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสม

๓) กระบวนการ (Process) เป็นการประเมินเพื่อสรุปให้เห็นถึงกระบวนการดำเนินงาน      ของแผนงานและโครงการว่า มีขั้นตอนอย่างไร  ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน  การดำเนินงานอย่างไร รวมถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข

๔) ผลงาน (Product : Output and Outcome) เป็นการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์       ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมดว่า ได้ผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้หรือไม่  อย่างไร  เพื่อการตัดสินใจว่าจะปรับปรุงโครงการ ขยายพัฒนา ต่อยอดหรือล้มเลิกโครงการหรือไม่ อย่างไร

นอกจากการประเมินโครงการโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการดังกล่าวเพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการแล้ว คณะประเมินผลได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบสถานะก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการในพื้นที่ของเกษตรกรตัวอย่างว่า มีความสอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของกรมการพัฒนาชุมชน

 

          ๒.๒ เกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน

                    กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทยให้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปฏิบัติงานตามหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ ความชอบธรรมและคุณธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองบนความพอเพียง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับ   ทุกกรมและรัฐวิสาหกิจ

                    กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินวิถีชีวิตของชุมชน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด (๖ x ๒) เพื่อประเมินความพร้อมในการพัฒนาต่อให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

 

เกณฑ์

ตัวชี้วัด

๑. ด้านการลดรายจ่าย

    (ด้านเศรษฐกิจ)

๑.๑ ครัวเรือนทำสวนครัว

๑.๒ ครัวเรือนปลอดอบายมุข

๒. ด้านการเพิ่มรายได้

    (ด้านเศรษฐกิจ)

๒.๑ ครัวเรือนมีอาชีพเสริม

๒.๒ ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

๓. ด้านการประหยัด

    (ด้านเศรษฐกิจ)

๓.๑ ครัวเรือนมีการออมทรัพย์

๓.๒ ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ฯ

๔. ด้านการเรียนรู้

    (ด้านวัฒนธรรม)

๔.๑ ชุมชนมีการสืบทอดและ

      ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๔.๒ ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาของ

      เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิต

      ประจำวัน

๕. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ

    ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

    (ด้านสิ่งแวดล้อม)

 

๕.๑ ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน

      ในการประกอบอาชีพ

๕.๒ ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น

      เป็นหมู่บ้านน่าอยู่

๖. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน

    (ด้านสังคม)

๖.๑ ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน

      คนด้อยโอกาสและคนประสบปัญหา

๖.๒ ชุมชน “รู้รักสามัคคี”

 

 
 

ส่วนที่ ๓                                         ขั้นตอน วิธีการ และเครื่องมือในการประเมิน

 

 

          การประเมินครั้งนี้เป็นการประเมินภาพรวมผลสัมฤทธิ์ของโครงการ รูปแบบการประเมินเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

 

๓.๑  ขั้นตอนและวิธีการศึกษา มี  ๙ ขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

๑. เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น  คณะผู้ประเมินได้มีการประชุมร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัคร     ในโครงการฯ เพื่อศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว  ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ และได้กำหนดการเดินทางไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เป้าหมายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐

๒. ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารข้อมูลรายละเอียดของโครงการฯ ที่ได้จากการรายงานสรุปของผู้เกี่ยวข้องที่รายงานสรุปให้กรมความร่วมมือฯ

๓. ประมวลวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ และกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

          ๔. พัฒนาเครื่องมือประเมิน โดยกำหนดขอบเขตและเนื้อหาของแบบประเมิน แล้วสร้างแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการโดยใช้หลัก CIPP Model ซึ่งพิจารณา               ๑) สภาพแวดล้อม (Context / Environment) โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินโครงการ ๒) ทรัพยากร (Input)  ๓) กระบวนการ (Process) และ ๔) ผลงาน (Product)

ลักษณะแบบสอบถามแบ่งเป็น ๒ ชุด คือ แบบสัมภาษณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ       และแบบสอบถามสำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง

              ๔.๑ แบบสอบถาม สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วัดความพึงพอใจของเกษตรกร และผู้นำเกษตรกร ต่อการดำเนินโครงการฯ วัดข้อมูลเชิงปริมาณ         โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการในด้านต่าง ๆ คือ ด้านบุคลากร ด้านบริหารจัดการ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านผลผลิต/ผลลัพธ์

              ๔.๒ แบบสัมภาษณ์ สำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเตและผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดที่ต้องการข้อมูล  เชิงคุณภาพเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินงานโครงการฯ ทั้งจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยมีแนวสัมภาษณ์ ที่สอดคล้องกับประเด็นในการประเมินทั้ง ๔ ด้าน ตาม CIPP Model

๕. พิจารณากำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษา จากการแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ      โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำติมอร์-เลสเต ในการประสานงานกับกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต

๖. เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม ดำเนินการสำรวจสภาพพื้นที่และใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากพื้นที่ศึกษา ประกอบกับการสังเกตการณ์

๗. ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยจำแนกตามลักษณะของข้อมูล ดังนี้

๗.๑ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์ สอบถาม และสังเกตการณ์         แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)       ในลักษณะเชิงพรรณนา (Descriptive) ประกอบภาพถ่ายในพื้นที เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการบรรลุวัตถุประสงค์     ของโครงการ การบริหารจัดการโครงการ การใช้ประโยชน์ ปัญหา ข้อเสนอแนะ ผลกระทบจากโครงการ

๗.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบและ/หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย       จากโครงการ ใช้วิธีการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยตามประเด็นที่วัด โดยแบ่งเป็น ๖ ระดับ คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด และไม่ระบุ โดยกำหนดมาตราวัด (Rating  scale) ๕ ระดับ ซึ่งเทียบเป็นค่าคะแนนได้ดังนี้

เกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจ

น้อยที่สุด      เทียบเป็นค่าคะแนนเท่ากับ        ๑   คะแนน

น้อย            เทียบเป็นค่าคะแนนเท่ากับ        ๒   คะแนน

ปานกลาง     เทียบเป็นค่าคะแนนเท่ากับ        ๓   คะแนน

มาก            เทียบเป็นค่าคะแนนเท่ากับ        ๔   คะแนน

มากที่สุด       เทียบเป็นค่าคะแนนเท่ากับ        ๕   คะแนน

คะแนนเฉลี่ยและความหมายของระดับความพึงพอใจ

คะแนนเฉลี่ย  ๑.๐๐ – ๑.๘๐  คะแนน   หมายถึง   ระดับน้อยที่สุด

คะแนนเฉลี่ย  ๑.๘๑ – ๒.๖๐  คะแนน   หมายถึง   ระดับน้อย

คะแนนเฉลี่ย  ๒.๖๑ – ๓.๔๐  คะแนน   หมายถึง   ระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย  ๓.๔๑ – ๔.๒๐  คะแนน   หมายถึง   ระดับมาก

คะแนนเฉลี่ย  ๔.๒๑ – ๕.๐๐  คะแนน   หมายถึง   ระดับมากที่สุด

๘. สรุปผลและข้อเสนอแนะจากข้อมูลที่วิเคราะห์ นำมาศึกษาปัญหาอุปสรรคของโครงการ และหาแนวทาง  การปรับปรุงพัฒนาต่อยอด (Development) โครงการฯ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น

๙. จัดทำรายงานสรุปผลการประเมิน

 

๓.๒  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

๓.๒.๑ ประชากร ประชากรของโครงการ คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย

    ๑) เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและประมงในระดับต่าง ๆ จำนวน ๘ คน

                   ๒) เกษตรกร จำนวน ๑๙ คน

๓.๒.๒ กลุ่มตัวอย่าง จากประชากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประเมินได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มาให้สัมภาษณ์   รวม ๒๐ คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่กระทรวงเกษตรและประมง และผู้จัดการโครงการสามารถประสานและนัดหมายได้ คือ

๑) Mr. Alipio Pinto

๒) Mr. Cesaltino Ruas

๓) Mr. Alosius de Sausa

๔) Mr. Mateus Ruas

๕) Mr. Alexander Ruas

๖) Mr. Maximi Ano

๗) Mrs. Noemia Soares Ruas

๘) Ms. Serafin Ruas

๙) Mr. Vicenti Pinto

๑๐) Ms. Silviana Alberfina

๑๑) Ms. Efiana Francisca

๑๒) Ms. Elsa da Costa

๑๓) Mr. Domingas Soares

๑๔) Ms. Teresa P.

๑๕) Mr. Elizario

๑๖) Mr. Alexandre Rua Hornai (ผู้จัดการโครงการ)

๑๗) Mr. Nilton Ruas

๑๘) Ms. Getrudes Ruas

๑๙) Mr. Paulo Sequeira (ผู้นำเกษตรกร)

๒๐) Ms. Elzita da Sarmento

 

ส่วนที่ ๔                                                             ผลการประเมินโครงการ

 

 

           จากผู้เข้าร่วมการประชุมเพื่อให้ข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน ๒๐ คน พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๙ คน ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้

 

๔.๑. ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร

                 ๑) เพศของเกษตรกร  จากเกษตรกรทั้งสิ้น จำนวน 9 คน จำแนกเป็นเพศชาย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 77.80 เพศหญิง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 22.20 ดังรายละเอียดในตารางที่ ๑

 

ตารางที่ ๑  จำนวนเกษตรกรที่ให้ข้อมูล                                                                     

                                                                                                                                      n = 9

เพศ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ชาย

    7

77.80

หญิง

    2

22.20

๒) อายุของเกษตรกร

             จากเกษตรกรที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 9 คน พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็น ร้อยละ 66.70 รองลงมาคือ มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 22.20 โดยเกษตรกรทั้งหมดมีอายุเฉลี่ย 27 ปี ผู้ที่อายุน้อยที่สุดมีอายุ 14 ปี และผู้ที่อายุมากที่สุดมีอายุ 54 ปี          ดังรายละเอียดในตารางที่ ๒

 

ตารางที่ ๒ จำนวนเกษตกรจำแนกตามอายุ

n = 9

อายุ (ปี)

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ต่ำกว่า 20

2

22.20

2๑ – 3๐

6

66.70

มากกว่า 30 ขึ้นไป

1

11.10

อายุน้อยที่สุด 14 ปี

อายุมากที่สุด 54 ปี

อายุเฉลี่ย 27 ปี

 

๓) ระดับการศึกษาของเกษตรกร

             โดยภาพรวม พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ มีจำนวน  3 คน คิดเป็นร้อยละ 33.30 รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษา และระดับปริญญาตรี มีจำนวนเท่ากัน คือ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 22.25  ตามลำดับ ดังรายละเอียดในตารางที่ ๓

 

ตารางที่ ๓  ระดับการศึกษาของเกษตรกร

n = 9

    ระดับการศึกษา

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ประถมศึกษา

1

11.10

มัธยมศึกษา

2

22.25

อนุปริญญา/ปวส.

1

11.10

ปริญญาตรี

2

22.25

     ไม่ได้เรียน

                   3

                  33.30

 

๔.๒ ผลการประเมินโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

      ๔.๒.๑ ผลการวิเคราะห์บริบทของชุมชนก่อนและหลังโครงการ

                ๑) ก่อนการดำเนินโครงการ

                     สภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านเฮรา (Hera Suco) ก่อนการดำเนินโครงการ   ในปี ๒๕๕๔ ผลการศึกษาพบว่า คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังคงมีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท การตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบ้านและตามบริเวณเส้นทางการคมนาคมหลักของหมู่บ้าน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก หลาน เป็นต้น สำหรับแบบแผน  การประกอบอาชีพเป็นการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก แต่การบริโภคมีการพึ่งพาสินค้าจากภายนอกมากกว่าการผลิตเพื่อการบริโภคเอง สำหรับการประกอบอาชีพทางการเกษตรพบว่า เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง       แต่เป็นการเช่าที่ดินจากรัฐ อาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตรเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่แตกต่างกันมาก โดยอาชีพทางเกษตรส่วนใหญ่เป็นการปลูกผักเพื่อการบริโภคและจำหน่ายบริเวณหน้าบ้านและตลาดภายในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละครัวเรือนเน้นการปลูกพืชเพียงชนิดเดียว และชนิดพืชผักที่ปลูกมีความคล้ายคลึงกันทั้งหมู่บ้าน เช่น ผักกาดกวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือม่วง นอกจากนี้ พบว่า มีการนำสารเคมีมาใช้ในการกำจัดโรคและศัตรูพืชเป็นหลัก ด้านการจำหน่ายผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการจำหน่ายผลผลิตสด และกำหนดราคาผลผลิตตามลักษณะของพืช เช่น ราคาต่อตัว (ปลา ไก่) ราคาต่อหัว (ผักกาดกวางตุ้ง) ราคาต่อกำ (ผักบุ้ง) สำหรับองค์ความรู้ที่นำมาใช้ในการทำการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตนเองและบรรพบุรุษ

 ๒) หลังการดำเนินโครงการ

                     หลังการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นในปี ๒๕๕๘ ผลการศึกษาพบว่า การถือครองพื้นที่             ทำการเกษตรของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการยังคงเช่าพื้นที่ของรัฐอยู่ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ จากในอดีต    ที่แต่ละครอบครัวเลือกปลูกพืชเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการปลูกพืชผักหลากหลายชนิดมากขึ้นในพื้นที่ทำการเกษตร และมีกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการเพาะปลูกพืช เช่น ไก่เนื้อ สุกร โคเนื้อ โคนม ปลานิล ปลาดุก เป็นต้น  เพื่อให้เกิดความหลากหลายของวัตถุดิบที่นำมาบริโภคและจำหน่าย ลดการพึ่งพาสินค้า

จากภายนอกชุมชนให้น้อยลง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า พันธุ์พืชและสัตว์ที่เกษตรกรนำมาเลี้ยง ยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มสมาชิก โดยให้เหตุผลว่า สามารถหาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ได้เพียงเท่านี้ และพึงพอใจกับพันธุ์พืชและสัตว์ที่สามารถหาได้ภายในท้องถิ่น

                     ส่วนสภาพของดิน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า มีสภาพความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้นจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ แต่โดยภาพรวมคณะผู้ประเมินยังไม่สามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน      

 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเริ่มมีการขุดบ่อเก็บกักน้ำใช้ในการเกษตร

                    ด้านการใช้สารเคมีกำจัดโรคและศัตรูพืชพบว่า มีการใช้ในปริมาณที่ลดลง เนื่องจากเกษตรกร     ที่เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตสารชีวภาพกำจัดโรคและศัตรูพืชที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากศูนย์ฯ แทนการใช้สารเคมี

                     สำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ พบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัครชาวไทยที่ปฏิบัติงานในโครงการและจากผู้จัดการโครงการ (Project Manager) แต่ไม่ได้ผ่านการศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้อื่นเลย มีเพียงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและผู้นำเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและประมงให้มาศึกษาดูงาน ณ ประเทศไทย เท่านั้น

                    เมื่อเปรียบเทียบบริบทชุมชนของหมู่บ้านเฮราก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในบางประเด็น เช่น ลักษณะ   การผลิตพืช ลักษณะการผลิตสัตว์ การพัฒนาองค์ความรู้  และพบว่า ในบางประเด็นยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะการถือครองที่ดิน ดังตารางที่ ๔

 

ตารางที่ ๔  ผลการเปรียบเทียบบริบทชุมชนของหมู่บ้านเฮราก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการ

 

ประเด็น

ก่อนการดำเนินงานโครงการ

หลังการดำเนินงานโครงการ

สภาพความเป็นอยู่และ

วิถีชีวิต

มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท ลักษณะครอบครัวเป็นแบบขยาย เน้นการพึ่งพาธรรมชาติในการทำการเกษตร และ   พึ่งพาสินค้าจากภายนอกชุมชน           เพื่อการบริโภคมากกว่าการผลิต         ด้วยตนเอง

ยังคงมีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท ลักษณะครอบครัวเป็นแบบขยาย แต่มีการพึ่งพา  องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการทำการเกษตรมากขึ้น และลดการพึ่งพาสินค้าจากภายนอกชุมชนลง ด้วยการผลิตทางการเกษตรที่มีความหลากหลายมากขึ้น

ลักษณะการถือครองที่ดิน

ที่ดินเป็นของรัฐ รัฐจัดสรรที่ดินให้เกษตรกร

รัฐจัดสรรที่ทำกินให้เกษตรกร

สภาพดิน

ดินร่วนปนทราย

สภาพดินดีขึ้น แต่ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง    ที่ชัดเจน

สภาพการใช้น้ำเพื่อ การเกษตร

อาศัยน้ำฝนเป็นหลักในการทำการ

เกษตร

มีการขุดบ่อเก็บน้ำและขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อการเกษตร

ลักษณะการผลิตพืช

ปลูกพืชผักชนิดใดชนิดหนึ่งเพียง        ชนิดเดียว และปลูกคล้ายคลึงกัน           ทั้งหมู่บ้าน

ปลูกพืชผักหลากหลายชนิดมากขึ้น          แต่ยังคงปลูกคล้ายคลึงกัน

ลักษณะการผลิตสัตว์

ไม่นิยมเลี้ยงสัตว์

เลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการเพาะปลูก

การจำหน่ายและกำหนดราคาผลผลิต

จำหน่ายผลผลิตสด โดยการกำหนด    ราคาตามลักษณะของพืชและสัตว์

เหมือนก่อนการดำเนินงานโครงการ        โดยไม่มีการแปรรูปอาหารตามที่ได้เริ่ม เรียนรู้จากโครงการเพื่อการจำหน่าย       แต่เพียงแปรรูปเพื่อการบริโภค

ช่องทางการจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตร

นำมาตั้งโต๊ะขายบริเวณหน้าบ้าน            มีผู้มาซื้อถึงบ้าน และไปจำหน่ายที่     ตลาดภายในหมู่บ้าน

เหมือนก่อนการดำเนินงานโครงการ

องค์ความรู้ที่ได้รับ

จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองและบรรพบุรุษ

องค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญชาวไทย        ผู้นำเกษตรกร และผู้จัดการโครงการ          ที่ผ่านการอบรมในประเทศไทย

 

๔.๒.๒  ผลการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในโครงการ

                    คณะผู้ประเมินผลได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต สิ่งก่อสร้าง และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • การสนับสนุนงบประมาณ

                          จากการศึกษาพบว่า รัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ การก่อสร้างศูนย์ฯ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิต การจัดทำแปลงสาธิต การพัฒนาความรู้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้นำเกษตรกร และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ การจัดวันรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ เป็นต้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๑๑,๖๙๓,๓๙๔.๙๔ บาท (งบประมาณปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๘) ในขณะที่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่ทราบถึงจำนวนเงินและที่มาของแหล่งสนับสนุนงบประมาณของโครงการ ซึ่งการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญไทยเป็นผู้ขออนุมัติงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้ผู้นำเกษตรกร/ผู้จัดการโครงการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกภายในโครงการฯ  ซึ่งผู้นำเกษตรกร/ผู้จัดการโครงการมีความกังวลและค่อนข้างระมัดระวังในการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้เกิดความเท่าเทียมและยุติธรรม

๒) การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต และสิ่งก่อสร้าง

                        จากการศึกษาพบว่า โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต และสิ่งก่อสร้าง อาทิ  ศูนย์เรียนรู้ฯ โต๊ะ เก้าอี้ กระดาน ปั้มน้ำบาดาล เมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ยเคมี วัสดุทางการเกษตรอื่น ๆ ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                          ๑) วัสดุอุปกรณ์ ยังคงอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ เช่น ถังน้ำ ขนาด ๑,๒๐๐ ลิตร และปั้มน้ำ    แต่พบว่าภายในศูนย์ฯ  มีโต๊ะ จำนวน ๑ ตัว และเก้าอี้ จำนวนไม่เกิน ๑๐ ตัว ซึ่งไม่เพียงพอเมื่อต้องจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ศูนย์ฯ จึงแก้ไขปัญหาโดยให้เกษตรกรเป็นผู้นำเก้าอี้นั่งมากันเองในช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม

                        ๒) ปัจจัยการผลิต ในระยะแรกของโครงการ โครงการได้ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิต      ที่จำเป็นต่อการจัดทำแปลงเรียนรู้แก่สมาชิกในโครงการ และปัจจัยการผลิตที่อาสาสมัครได้ร้องขอจากโครงการ อาทิ เมล็ดพันธุ์พืช แม่พันธุ์ปลา ปุ๋ยเคมี จุลินทรีย์ (Effective Microorganisms: EM) ที่นำมาใช้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ วัสดุทางการเกษตรอื่น ๆ  ซึ่งหมู่บ้านต้นแบบได้นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้ในการผลิตตามที่ได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญชาวไทย และขยายผลนำไปทำต่อในครอบครัวของตนเองในปัจจุบัน

                        ๓) สิ่งก่อสร้าง ผู้ประเมินได้เข้าทำการสำรวจและศึกษาสภาพความพร้อมของศูนย์ฯ ทั้งที่เคยเป็นศูนย์ฯ เดิมบนพื้นที่ของ Mr. Paulo ที่ได้รับการพิจารณาจัดสร้างให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งแรก และศูนย์ฯ ปัจจุบันซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ของ Mr. Alex พบว่า

ศูนย์ฯ เดิม เป็นโรงเรือนชั้นเดียวอยู่ติดริมถนนหลักของหมู่บ้าน มีสภาพเปิดโล่ง ไม่มีกำแพง หลังคาสังกะสี  มีเสาปูนและพื้นเทปูนเรียบ นอกจากนี้ยังมีการสร้างห้องขนาดเล็ก ๑ ห้องบริเวณส่วนหลังของโรงเรือนซึ่งเป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ของศูนย์ฯ บริเวณหน้าจั่วมีการติดตั้งป้ายข้อความที่กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างประเทศติมอร์-เลสเตและประเทศไทยในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรภายใต้โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนด้านหน้าอาคารมีป้ายข้อความที่เกี่ยวกับโครงการเช่นกัน เช่น ชื่อโครงการ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (มีแสดงเฉพาะข้อมูล ๓ ห่วง ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกัน)

จากการศึกษาพบว่า โรงเรือนศูนย์ฯ ยังคงมีสภาพที่ใช้การได้ แม้ปัจจุบันมีการนำมาใช้ทำกิจกรรมของศูนย์ฯ หรือกิจกรรมด้านการเกษตรอื่น ๆ บ้างแต่น้อยลง โดย Mr. Paulo นำไปใช้เป็นที่ทำกิจการส่วนตัว เช่น เป็นที่ประกอบวัสดุตกแต่งบ้าน

สำหรับศูนย์ฯ ปัจจุบันซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ Mr. Alex  สภาพศูนย์ฯ เป็นโรงเรือนเปิดโล่งชั้นเดียว ไม่มีการก่อกำแพงเช่นเดียวกัน แต่ใช้สังกะสีเก่ามาทำเป็นผนังของโรงเรือน ๒ ด้าน ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้อง  พื้นยังไม่มีการเทปูน (เป็นพื้นดิน) ภายในศูนย์ฯ มีกระดานแสดงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ อาทิ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อมูลโครงการ รายชื่อคณะกรรมการศูนย์ฯ ภาพแสดงการสาธิตวิธีการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งลักษณะภาพมีความเก่า ไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ นี้ยังไม่มีป้ายข้อความที่แสดงให้เห็นว่าเป็นศูนย์ฯ ภายใต้โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเด่นชัด รวมทั้งไม่มีป้ายแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจนให้ทราบ ทำให้ไม่เกิดบรรยากาศการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

  ๓) บุคลากรในโครงการ

                      ๓.๑  ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทย

                                ก่อนเริ่มโครงการ กรมความร่วมมือฯ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญชาวไทยไปสำรวจข้อมูลเชิงลึก (Fact Finding) เพื่อวางแผนและจัดทำหมู่บ้านต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการให้ความรู้ และคำแนะนำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและผู้นำเกษตรกรในการจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์ฯ รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการต้องการตั้งแต่ปี ๒๕๕๓  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมาย        ในโครงการ ได้แก่ ผู้นำเกษตรกร ผู้จัดการโครงการ สมาชิกในโครงการ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมง ให้การยอมรับต่อความรู้ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญชาวไทยที่มาถ่ายทอดความรู้และให้คำแนะนำต่าง ๆ       โดยผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเท   เอาใจใส่ การประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญชาวไทย พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๓.๙๘  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุดมี ๒ ประเด็น ได้แก่ ๑) ความรับผิดชอบ และ ๒) การประสานงาน ความร่วมมือ และช่วยเหลือ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือ ๔.๒๒ คะแนน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ดังตารางที่ ๕

 

ตารางที่ ๕   ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและ    

                เอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญชาวไทย

 

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ความรู้ ความสามารถ

 

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

(๔.๔๐)

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

๓.๓๘

๑.๓๐

มาก

๒. ความรับผิดชอบ

 

(๓๓.๓๐)

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

๔.๒๒

.๙๗

มากที่สุด

๓. ความทุ่มเท เอาใจใส่  

(๑๑.๑๐)

(๒.๒๐)

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

๔.๑๑

๑.๑๗

มาก

๔. การประสานงาน ความร่วมมือ

    และช่วยเหลือ

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๒๒

.๖๗

มากที่สุด

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๓.๙๘

๑.๐๓

มาก

         

                     ๓.๒ อาสาสมัคร

                               ในการดำเนินงานโครงการพบว่า กรมความร่วมมือฯ ได้มีการส่งอาสาสมัครชาวไทยเข้าไปประจำอยู่ในหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ติมอร์-เลสเต ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๘) โดยอาสาสมัครได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นระยะเวลา ๑.๕ ปี ซึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ อาทิ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรและประมง

และผู้นำเกษตรกรของศูนย์ฯ การสอนวิชาเกษตรให้เกษตรกรและเยาวชนในโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครได้รับการยอมรับในเรื่องความรู้ความสามารถจากสมาชิกในชุมชนทุกระดับ ตลอดจนเจ้าหน้าที่      ของกระทรวงเกษตรและประมง  ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและเอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของอาสาสมัคร พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๔.๓๐ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ ความทุ่มเทเอาใจใส่ มีคะแนนเฉลี่ย คือ ๔.๕๗  คะแนนรองลงมาคือ ความรับผิดชอบ มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๓๘ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุดตามลำดับ ดังตารางที่ ๖

 

ตารางที่ ๖   ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและ   เอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของอาสาสมัคร

 

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ความรู้ ความสามารถ

 

(๑๑.๑๐)

(๒.๒๐)

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

๔.๐๐

.๘๒

มาก

๒. ความรับผิดชอบ

 

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

(๔๔.๔๐)

(๑๑.๑๐)

๔.๓๘

.๗๔

มากที่สุด

๓. ความทุ่มเท เอาใจใส่  

(๓๓.๓๐)

(๔๔.๔๐)

(๒.๒๐)

๔.๕๗

.๕๔

มากที่สุด

๔. การประสานงาน ความร่วมมือ     และช่วยเหลือ

(๖๖.๗๐)

(๒.๒๐)

(๑๑.๑๐)

๔.๒๕

.๔๖

มากที่สุด

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๔.๓๐

.๖๔

มากที่สุด

 

๓.๓ ผู้นำกลุ่มเกษตรกร (Mr. Paulo)

                                จากการศึกษาพบว่า ผู้นำกลุ่มเกษตรกรไม่ได้มีบทบาทในการตัดสินใจและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับศูนย์ฯ แต่ในฐานะที่เป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกรจึงรับรู้เพียงว่า มีการดำเนินงานของโครงการนี้ในชุมชนของตน อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและเอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของผู้นำกลุ่มเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๔.๒๐ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก     ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ ความทุ่มเทเอาใจใส่ มีคะแนนเฉลี่ย คือ ๔.๗๕ คะแนน  รองลงมาคือ การประสานงาน ความร่วมมือและช่วยเหลือ  มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๒๙  มีความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนประเด็นความรู้ความสามารถของผู้นำกลุ่มเกษตรกรพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ ๓.๕๐            มีความพึงพอใจในระดับมาก ดังตารางที่ ๗

ตารางที่ ๗  ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและ   เอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของผู้นำกลุ่มเกษตรกร

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ความรู้ ความสามารถ

 

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

(๗๗.๘๐)

๓.๕๐

๐.๗๑

มาก

๒. ความรับผิดชอบ

 

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

(๔๔.๔๐)

(๑๑.๑๐)

๔.๒๕

๑.๐๔

มากที่สุด

๓. ความทุ่มเท เอาใจใส่  

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

(๕๕.๖๐)

๔.๗๕

๐.๕๐

มากที่สุด

๔. การประสานงาน ความร่วมมือ

    และช่วยเหลือ

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

(๓๓.๓๐)

(๒.๒๐)

๔.๒๙

๐.๗๖

มากที่สุด

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๔.๒๐

๐.๗๕

มาก

 

                       ๓.๔ ผู้จัดการโครงการ (Mr. Alex)

                               ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ   ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและเอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของผู้จัดการโครงการ พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๔.๒๕ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ ความรู้ความสามารถ มีคะแนนเฉลี่ย คือ ๔.๖๗ คะแนนรองลงมาคือ ความรับผิดชอบ มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๓๓ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุดเช่นเดียวกัน ดังตารางที่ ๘

 

ตารางที่ ๘ ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและเอาใจใส่      และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของผู้จัดการโครงการ

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ความรู้ ความสามารถ

 

(๑๑.๑๐)

(๒.๒๐)

(66.70)

๔.๖๗

๐.๕๘

มากที่สุด

๒. ความรับผิดชอบ

 

 ๑

  (๑๑.๑๐)

(๒.๒๐)

(๓๓.๓๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๓๓

๐.๘๒

มากที่สุด

๓. ความทุ่มเท เอาใจใส่  

   (๒.๒๐)

(๑๑.๑๐)

(๒.๒๐)

(๔๔.๔๐)

๔.๐๐

๑.๐๐

มาก

๔. การประสานงาน ความร่วมมือ

    และช่วยเหลือ

   (๒.๒๐)

(๑๑.๑๐)

(๒.๒๐)

(๔๔.๔๐)

๔.๐๐

๑.๐๐

มาก

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๔.๒๕

๐.๘๕

มากที่สุด

 

                         ๓.๕ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต

                                เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมงในโครงการนี้มีบทบาทหน้าที่และ        ความรับผิดชอบในการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการของประเทศไทย และสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ในเบื้องต้นก่อนการดำเนินงานโครงการ เจ้าหน้าที่มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การร่วมเป็นคณะสำรวจและคัดเลือกหมู่บ้าน การติดต่อประสานงานและสื่อสารกับชุมชน เนื่องจากสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่สื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่น มีหน้าที่ในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของโครงการต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้อง      ในโครงการให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคที่พบ หากแต่พบว่า การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องเดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรในโครงการ เดือนละ   ๒ ครั้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการที่มีต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและเอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมง

                              ผลการประเมินพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๒.๑๒  อยู่ในระดับความพึงพอใจน้อย ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมง มีคะแนนเฉลี่ย ๒.๖๗ คะแนน  อยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง รองลงมาคือความทุ่มเทและเอาใจใส่ มีคะแนนเฉลี่ย ๒.๓๘ คะแนน อยู่ในระดับความพึงพอใจน้อย ส่วนประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจต่ำที่สุด ได้แก่ ความรู้ความสามารถ มีคะแนนเฉลี่ย ๑.๖๗ คะแนน อยู่ในระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด รองลงมาคือ ความรับผิดชอบ มีคะแนนเฉลี่ย ๑.๗๕    อยู่ในระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดเช่นเดียวกัน ดังตารางที่ ๙

 

ตารางที่ ๙      ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความทุ่มเทและ       เอาใจใส่ และการประสานงาน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ความรู้ ความสามารถ

 

(๗๗.๘๐)

(๒.๒๐)

๑.๖๗

๑.๓๒

น้อยที่สุด

๒. ความรับผิดชอบ

 

(๖๖.๗๐)

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

๑.๗๕

๑.๔๙

น้อยที่สุด

๓. ความทุ่มเท เอาใจใส่  

(๓๓.๓๐)

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

๒.๓๘

๑.๔๑

น้อย

๔. การประสานงาน ความร่วมมือ

    และช่วยเหลือ

(๓๓.๓๐)

(๒.๒๐)

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

๒.๖๗

๑.๘๖

ปานกลาง

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๒.๑๒

๑.๕๒

น้อย

 

  ๔) หน่วยงานระดับนโยบาย

                        ๔.๑ ความชัดเจนของนโยบายจากระดับสูงสู่การปฏิบัติ

                                เมื่อพิจารณาจากกระบวนการประสานงานความร่วมมือระหว่างกระทรวง               การต่างประเทศของประเทศไทยและกระทรวงเกษตรและประมงของประเทศติมอร์-เลสเต ในโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า การนำนโยบายจากระดับกระทรวงของติมอร์-เลสเต ไปสู่การปฏิบัติมีการดำเนินงานผ่านลำดับชั้นการบังคับบัญชาตามสายงานของกระทรวงเกษตรและประมง ไปยังกรมส่งเสริม (Department of Extension) โดยกรมส่งเสริมจะมีเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานส่วนภูมิภาคที่กำกับดูแล ในระดับ District, Sub-district และ village ตามลำดับ ดังโครงสร้างการบริหารงานโครงการในภาพที่ ๑        ซึ่งเจ้าหน้าที่ในระดับ Sub-district จะทำหน้าที่ในการประสานงานโครงการระหว่างเจ้าหน้าที่โครงการของไทย  กับเกษตรกรในพื้นที่

 

                    ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานจากระดับนโยบายสู่การปฏิบัตินั้นมีความชัดเจนดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการแต่งตั้งผู้ประสานงานตามลำดับชั้น ได้มีการมอบหมายเจ้าหน้าที่จากกระทรวงทำหน้าที่ประสานงานในโครงการ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในโครงการ ดังนี้

                              ๑) Mr. Julio Vicente ตำแหน่งในโครงการ คือ Project Coordinator และ Programmer ปัจจุบันย้ายไปสังกัดกรมปศุสัตว์

                              ๒) Mr. Marcelino Mendosa ตำแหน่งในโครงการ คือ Extension Coordinator

                              ๓) Mr. Atanacio Cairo ตำแหน่งในโครงการ คือ Extension Agent

                              ๔) Mr. Agostinno Ximeues ตำแหน่งในโครงการ คือ Extension Agent ปัจจุบันเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

                              ๕) Mr. Jose Soures ตำแหน่งในโครงการ คือ Extension Agent ปัจจุบันเป็น       นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบพื้นที่ในเขต Metinaro

                              ๖) Ms. Liliana Amema Lopes ตำแหน่งในโครงการ คือ Human Resource Development

                              ๗) Mr. Pedro Marcal ตำแหน่งในโครงการ คือ Extension Agent

                              ๘) Mr. Marcelino M. Pereira ตำแหน่งในโครงการ คือ Agricultural Staff

                              ๙) Mr. Paulo Sequeira ตำแหน่งในโครงการ คือ Chief of Agricultural Group (ปัจจุบันไม่ได้ทำบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวแล้ว โดยไม่ได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๕๗) แต่ยังมีสมาชิกเครือข่ายอยู่ (ไม่ใช่เจ้าหน้าที่)

                        ๔.๒ การประสานงาน

                              การประสานงานการดำเนินโครงการระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต มีการดำเนินงานภายในพื้นที่ผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร        ของติมอร์-เลสเต ซึ่งการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินมีโอกาสสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนามจากเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและประมงที่เกี่ยวข้องในโครงการ จำนวน ๒ ราย ได้แก่ Mr. Julio Vicente และ Mr. Jose Soures ซึ่งผลการศึกษามีดังนี้

                              ๑) Mr. Julio Vicente ตำแหน่ง Project Coordinator ในช่วงการดำเนินโครงการ  Mr. Julio สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร แต่ปัจจุบันย้ายไปสังกัดกรมปศุสัตว์ สำหรับการรับรู้เกี่ยวกับโครงการนี้พบว่า มีการรับรู้กระบวนการของโครงการ แต่ไม่ได้ลงสู่ระดับปฏิบัติในพื้นที่การเกษตรในโครงการ แต่ข้อมูล     การดำเนินงานโครงการผ่านการรายงานผลจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ นอกจากนี้ ผู้ประเมินยังเห็นว่า Mr. Julio เป็นผู้มีศักยภาพที่เหมาะแก่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) เนื่องจากพบว่า Mr. Julio ได้นำความรู้ที่ได้รับจากโครงการผ่านการศึกษาดูงานในประเทศไทยไปปรับใช้ในพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง    ได้อย่างชัดเจน และมีความกระตือรือร้นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และมีความยินดีที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ แม้ว่าจะไม่ได้สังกัดในกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว  

 

 
 

โรงเรือนเลี้ยงสุกรของ Mr. Julio

 

 

 

 

                              ๒) Mr. Jose Soures ตำแหน่ง Extension Agent ในอดีตเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบพื้นที่ในเขตดิลี ปัจจุบันได้ย้ายไปรับผิดชอบในพื้นที่เขต Matinaro ซึ่งห่างจากเมืองดิลี    เป็นระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร ในช่วงแรกของโครงการ Mr. Jose เคยได้รับการพัฒนาความรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน (On-the-job training) การศึกษาดูงานด้านการส่งเสริมการเกษตร การตลาด การพัฒนาสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน

๓๒

 

ณ ประเทศไทย  คณะผู้ประเมินได้ทำการเยี่ยมเยียนพื้นที่ภายใต้ความรับผิดชอบในปัจจุบันของ Mr. Jose ในเขต Matinaro  และพื้นที่ทำการเกษตรบริเวณที่อยู่อาศัย พบว่า มีการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในที่ดินของตนเอง  ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก กิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ การปลูกผักกาดกวางตุ้ง ส่วนที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ คือ   การเลี้ยงไก่บนบ่อปลานิล (กำลังดำเนินการก่อสร้างกรงไก่) นอกจากนี้ มีการขยายบ่อปลานิลเพิ่มขึ้นโดยได้รับ  การสนับสนุนจาก The Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) จากการ    เก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า Mr. Jose ไม่สามารถให้ข้อมูลที่แม่นยำ รวมถึงไม่มีการบันทึกข้อมูลผลผลิต            ทางการเกษตรที่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ที่สามารถเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรรายอื่นได้ทั้ง ๆ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่โดยตรง

 

                     ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่ดูแลพื้นที่ในเขตดิลี ได้แก่ Mr. Martin ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ถึง ๑ปี คณะผู้ประเมินไม่มีโอกาสพบและสัมภาษณ์ แต่จากการสอบถามพบว่า Mr. Martin ได้เข้ามาพบปะเยี่ยมเยียนเกษตรกรเป็นระยะแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มจัดกิจกรรมแต่อย่างใด

                     ๔.๓ งบประมาณจากกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเต

                            จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า กระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเตไม่ได้มีการจัดสรรงบประมาณสมทบการดำเนินโครงการในรูปตัวเงิน (in cash) แต่สนับสนุนบุคลากรมาปฏิบัติงาน           ในโครงการดังข้อมูลข้างต้น และสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญไทยในลักษณะ in kind คือ ให้พื้นที่ทำงาน (โต๊ะทำงาน) ในกระทรวงเกษตรฯ อำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญไทยในการเข้าพื้นที่โครงการ        แต่ภายหลังกระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้มีการอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่องในการเดินทางเข้าพื้นที่โครงการ      ของผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัคร ทำให้ฝ่ายไทยต้องจัดหามอเตอร์ไซด์ ๑ คัน (ยี่ห้อ Yamaha) โดยมอบให้อยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดิลี

 

๔.๓ ผลการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานโครงการ

           ๔.๓.๑ เกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกหมู่บ้าน

                   การคัดเลือกพื้นที่เพื่อเป็นหมู่บ้านต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นต้นโครงการพิจารณาจากข้อเสนอของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมงเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานส่งเสริมการเกษตรในระดับตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งระยะแรกของโครงการ ได้เลือกพื้นที่ของผู้นำกลุ่มเกษตรกร (Mr. Paulo) เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่เหมาะสม ไม่ห่างจากกรุงดิลี เมืองหลวง (ระยะทาง ๑๖กิโลเมตร)    ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการสามารถเดินทางไปยังหมู่บ้านนี้ได้สะดวก นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้นำเกษตรกรยังเป็นผู้ที่มีศักยภาพ  มีความรู้ความสามารถในการทำการเกษตร แม้ว่าจะเป็นการผลิตที่เน้นการปลูกพืชผัก ไม่มีการผสมผสานกับเลี้ยงสัตว์และประมงร่วมด้วย มีการประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้แก่ ธุรกิจผลิตเต้าหู้ อิฐบล็อก เป็นต้น แต่ก็เป็นผู้นำที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี สมาชิกในชุมชนรู้จัก และสามารถประสานงานกับสมาชิกในหมู่บ้านให้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี  ซึ่งแตกต่างจากผู้นำเกษตรกรและผู้จัดการโครงการในศูนย์ฯ แห่งใหม่ (Mr. Alex) ที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ เนื่องจากเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและตั้งใจจะนำหลักปรัชญา         ของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งเดิมมีการทำการเกษตรผสมผสานอยู่บ้างแล้ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เกณฑ์ที่นำมาใช้ในการคัดเลือกพื้นที่สำหรับดำเนินโครงการ ได้แก่ ๑) เป็นหมู่บ้านที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่  ๒) สภาพที่ตั้งของหมู่บ้านเหมาะแก่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่        ที่เกี่ยวข้องในโครงการ  และ ๓) ความรู้ความสามารถและความทุ่มเทเอาใจใส่ของผู้นำเกษตรกร (เกษตรกรต้นแบบ) เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมในระยะเริ่มต้นโครงการ

 

            ๔.๓.๒ การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลแก่สมาชิกและผู้เกี่ยวข้อง

                      การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลแก่สมาชิกและผู้เกี่ยวข้องนั้น ผู้ประเมินพบว่า มีการจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการให้สมาชิกทราบ โดยติดตั้งไว้ภายในบริเวณศูนย์ฯ อย่างไรก็ตามข่าวสารข้อมูลอื่น ๆ เช่น การจัดกิจกรรมภายในศูนย์ฯ สมาชิกมักได้รับทราบจากผู้นำเกษตรกร และผู้จัดการโครงการโดยตรง เนื่องจากเป็นบทบาทหน้าที่หลักของผู้นำเกษตรกรและผู้จัดการโครงการในการประสานงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโครงการจากกระทรวงฯ ไปยังสมาชิกในศูนย์ฯ

            ๔.๓.๓ การสำรวจความต้องการของชุมชน

                     การศึกษาพบว่า โครงการมีการสำรวจความต้องการของสมาชิกในศูนย์ฯ เพื่อกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น ความต้องการเลี้ยงปลานิลในบ่อซีเมนต์ ความต้องการเครื่องมือเครื่องจักรกลทางการเกษตร      แต่พบว่า บางกิจกรรมที่โครงการได้จัดฝึกอบรมให้ไปแล้วแต่สมาชิก ยังไม่ได้ดำเนินการต่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มจนเห็น เป็นรูปธรรม เช่น การแปรรูปกล้วยหินโดยทำเป็นกล้วยฉาบ/กล้วยทอด การเพาะเห็ดในโรงเรือน

 

 

 

 

 

            ๔.๓.๔ การจัดทำแผนการดำเนินงาน

                      การจัดทำแผนการดำเนินงานพบว่า โครงการได้มีการจัดทำแผนงานการให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตรและประมง ระหว่างปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕ ได้ระบุกิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย ๔ แผนงาน ๑๐ กิจกรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                     - แผนงานพัฒนาบุคลากร จัดกิจกรรม การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมระหว่าง             การปฏิบัติงาน การศึกษาดูงานในประเทศไทย

                     - แผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดกิจกรรม การจัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชเพื่อบริโภค       และจำหน่าย การจัดทำตัวอย่างครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง การจัดวันรณรงค์และเผยแพร่ความรู้จากแปลงสาธิต   การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากแปลงสาธิต การสาธิตการเพาะเห็ด การทำเอกสารสิ่งพิมพ์

                     - แผนงานพัฒนาเยาวชนเกษตร จัดกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านส่งเสริมการเกษตร

                    - แผนงานติดตามประเมินผล จัดกิจกรรม การประชุมสรุปโครงการในประเทศไทย

 

                    นอกจากนี้  ในการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญชาวไทยได้มีการกำหนดแผนการดำเนินงานรายวันของแต่ละสัปดาห์อย่างชัดเจน เพื่อเป็นข้อกำหนดในแนวปฏิบัติงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานของกระทรวงฯ และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และในระดับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงได้ระบุว่า มีแผนการดำเนินงานเช่นกันดังต่อไปนี้

                    - วันจันทร์                 ปฏิบัติงานด้านเอกสาร ณ กระทรวงเกษตรและประมง

- วันอังคาร                จัดซื้อและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิก

                    - วันพุธ-พฤหัสบดี        ถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิก

                    - วันศุกร์                   ถอดและสรุปบทเรียนจากการดำเนินงาน

               อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ศูนย์ฯ  หลังจากผู้เชี่ยวชาญไทยเดินทางกลับประเทศไทยแล้วไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่เคยปฏิบัติ การดำเนินงานที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เป็นไปในลักษณะเพื่อแก้ไขปัญหาตามที่สมาชิกประสบในแต่ละสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาตามที่เกิดขึ้น โดยมีการประชุมกลุ่มและกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

          ๔.๓.๕ การกำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงงาน

                    สำหรับการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงงาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญไทยมีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานเป็นระยะที่กำหนด แต่หลังจากผู้เชี่ยวชาญไทยเดินทางกลับประเทศไทย     และโครงการสิ้นสุด เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมงของติมอร์-เลสเตไม่ได้กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนงานแต่ประการใด เนื่องจากรัฐบาลมีการเปลี่ยนนโยบาย โครงการนี้จึงไม่ได้รับการสานต่อ

                     สำหรับผลการศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อกระบวนการดำเนินงานของโครงการพบว่า  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๓.๙๗ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก         ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ การจัดทำแผนการดำเนินงานหรือปฏิทินการเพาะปลูก          มีคะแนนเฉลี่ย คือ ๔.๓๓ คะแนน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ มีการสำรวจความต้องการ   ในการพัฒนาของชุมชน มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๒๒ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๐๐ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก  ส่วนประเด็นที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ด้านเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกหมู่บ้าน การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลแก่สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจในโครงการ รวมทั้งประเด็นหลังการประเมิน        มีการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการดำเนินงาน มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๗๘ ความพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ดังตารางที่ ๑๐

 

ตารางที่  ๑๐  ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อกระบวนการดำเนินงานของโครงการ

 

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. เกณฑ์และกระบวนการคัดเลือก

    หมู่บ้าน

(๓๓.๓๐)

(๕๕.๖๐)

(๑๑.๑๐)

๓.๗๘

๐.๖๗

ปานกลาง

๒. การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลแก่

    สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจ

    ในโครงการ

(๔๔.๔๐)

(๓๓.๓๐)

(๒.๒๐)

๓.๗๘

๐.๘๓

ปานกลาง

๓. การสำรวจความต้องการ

    ในการพัฒนาของชุมชน

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๒๒

๐.๖๗

มากที่สุด

๔. การจัดทำแผนการดำเนินงานหรือ

    ปฏิทินการเพาะปลูก

(๑๑.๑๐)

(๔๔.๔๐)

(๔๔.๔๐)

๔.๓๓

๐.๗๑

มากที่สุด

๕. การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน

    ที่กำหนดไว้

(๒.๒๐)

(๕๕.๖๐)

(๒.๒๐)

๔.๐๐

๐.๗๑

มาก

๖. การกำกับดูแลติดตามและ

    ประเมินผลของหน่วยงาน

    และผู้เกี่ยวข้อง

(๓๓.๓๐)

(๔๔.๔๐)

(๒.๒๐)

๓.๘๙

๐.๗๘

มาก

๗. หลังการประเมิน มีการปรับปรุง

    แก้ไข พัฒนาการดำเนินงาน

(๑๑.๑๐)

(๘๘.๙๐)

๓.๗๘

๐.๖๗

ปานกลาง

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๓.๙๗

๐.๗๒

มาก

 

๔.๔ ผลการวิเคราะห์ผลผลิตของโครงการ

               จากการศึกษาพบว่า ผลผลิตที่ได้จากโครงการมีดังต่อไปนี้

               ๔.๔.๑ ความรู้ที่สมาชิกได้รับจากการถ่ายทอดผ่านศูนย์ฯ ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ด้านการเกษตร ที่ได้จากการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการเข้าโรงเรียนเกษตรกร ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นหมวดหมู่       องค์ความรู้ที่ได้รับ ดังนี้

                         หมวดที่ ๑ การจัดการดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ การวางระบบจ่ายน้ำในแปลง

                         หมวดที่ ๒ การผลิตพืชและสัตว์ เช่น การปลูกผัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงไก่

                         หมวดที่ ๓ การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น การทำกล้วยฉาบ

                ๔.๔.๒ วัสดุอุปกรณ์ที่สมาชิกได้รับจากโครงการ ยังมีสภาพที่ใช้งานได้ และศูนย์ฯ ยังคงใช้ประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์อยู่ในปัจจุบัน เช่น แท้งก์น้ำ ๑,๒๐๐ ลิตร ปั๊มน้ำ บ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลา สถานที่ตั้งของศูนย์ฯ 

๓๗

 

 

                ๔.๔.๓ ความพึงพอใจของสมาชิกต่อผลผลิตของโครงการ

                        ผลการศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อผลผลิตของโครงการพบว่า สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๔.๓๕ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งประเด็น          ที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ระดับความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการมีคะแนนเฉลี่ย ๔.๕๖ คะแนน รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อการศึกษาดูงาน มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๕๐ และความพึงพอใจต่อโรงเรียนเกษตรกร     มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๒๒ ตามลำดับ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม          ในหลักสูตรของโครงการมีคะแนนเฉลี่ย ๔.๑๑ มีความพึงพอใจในระดับมาก ดังตารางที่ ๑๑

 

ตารางที่ ๑๑  ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อผลผลิตของโครงการ

 

                    รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม

    ในหลักสูตรของโครงการ

(๑๑.๑๐)

(๖๖.๗๐)

(๒.๒๐)

๔.๑๑

๐.๖๑

มาก

๒. ความพึงพอใจต่อการศึกษาดูงาน

(๑๑.๑๐)

(๑๑.๑๐)

(๗๗.๘๐)

๔.๕๐

๐.๗๑

มากที่สุด

๓. ความพึงพอใจต่อโรงเรียนเกษตรกร

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๒๒

๐.๖๗

มากที่สุด

๔. ระดับความรู้เพิ่มมากขึ้น

    หลังเข้าร่วมโครงการ

(๔๔.๔๐)

(๕๕.๖๐)

๔.๕๖

๐.๕๓

มากที่สุด

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๔.๓๕

๐.๖๓

มากที่สุด

 

๔.๕ ผลการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของโครงการ

              จากการศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการพบว่า ผลลัพธ์ของโครงการที่เกิดขึ้นมีดังนี้

              ๔.๕.๑ ความต่อเนื่องในการดำเนินงานของศูนย์ฯ  พบว่า ศูนย์ฯ ยังคงมีการดำเนินกิจกรรมอยู่ แม้ว่าโครงการได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยผู้จัดการโครงการเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับสมาชิก เช่น การระดมสมอง   เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเกษตร การใช้พื้นที่ศูนย์ฯ เพื่อทำกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ด้านอื่นแก่สมาชิก เช่น   การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีผู้กำกับดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิดจึงมีการใช้พื้นที่ศูนย์ฯ ผิดวัตถุประสงค์ไป

              ๔.๕.๒ การนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ มีผลการศึกษาดังนี้

                        ๑) การเพาะปลูก พบว่า เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากศูนย์ฯ ไปปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกได้ในระดับหนึ่ง โดยเน้นการปลูกพืชผักที่ลดการใช้สารเคมี การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี    การทำเกษตรแบบผสมผสาน การขยายพันธุ์พืชและสัตว์ ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถบริโภคผลผลิตมีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าในอดีต 

๓๘

 

                        ๒) การแปรรูปอาหาร  พบว่า แม้ว่าเกษตรกรจะสามารถแปรรูปอาหารจากผลผลิตที่มีอยู่ในพื้นที่ได้  แต่ไม่แปรรูปหรือถนอมอาหารเพราะกรรมวิธียุ่งยากซับซ้อน โดยนิยมปลูกเพื่อการบริโภคสด และจำหน่ายผลผลิตสดมากกว่า เนื่องจากได้ราคาสูง เช่น ผักกาดกวางตุ้งขายได้ ๓ – ๕ ต้น ราคา ๑ ดอลลาร์ กล้วยหิน ราคาหวีละ ๑ – ๒ ดอลลาร์ เป็นต้น

 ๔.๕.๓ ผลิตผลทางการเกษตร (Productivity) พบว่า การพัฒนาความรู้ด้านการผลิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น และมีผลผลิตที่มีความปลอดภัย มีการใช้สารเคมีลดลง สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น

               ๔.๕.๔ การขยายผลโครงการ พบว่า แนวคิดของโครงการได้รับการขยายผลไปยังเกษตรกรพื้นที่อื่น ๆ  อย่างชัดเจน ซึ่งการขยายผลนั้นเกิดจากการยอมรับของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่เข้ารับการฝึกอบรม และผู้นำเกษตรกรและผู้จัดการโครงการที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ ทำให้เกิดความตั้งใจและสามารถนำแนวปฏิบัติต่าง ๆ ไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมในพื้นที่การเกษตรของตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่า มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อร่วมมือกันทำกิจกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่น การลงแขกช่วงการเก็บเกี่ยว

              ๔.๕.๕ ระดับความพึงพอใจของสมาชิกต่อผลลัพธ์ของโครงการ พบว่า สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ   มีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๑ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีระดับ ความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ความพึงพอใจต่อหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปปฏิบัติในชุมชนได้           มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๔๔ รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อการนำความรู้ของเกษตรกรสู่การปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๓๓ และความพึงพอใจต่อการเพิ่มผลิตภาพของผลผลิตมีคะแนนเฉลี่ย ๔.๒๒ ตามลำดับ ทุกประเด็นมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนประเด็นที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการขยายผลจากโครงการให้กว้างขวางสู่ชุมชนอื่น ๆ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๕๖ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ดังตารางที่ ๑๒

 

ตารางที่ ๑๒  ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อผลลัพธ์ของโครงการ

 

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    สามารถนำไปปฏิบัติในชุมชนได้

(๕๕.๖๐)

(๔๔.๔๐)

๔.๔๔

๐.๕๓

มากที่สุด

๒. ความต่อเนื่องของการพัฒนางาน

    ของศูนย์ถ่ายทอด

(๒.๒๐)

(๕๕.๖๐)

(๒.๒๐)

๔.๐๐

๐.๗๑

มาก

๓. การนำความรู้ของเกษตรกรสู่           

    การปฏิบัติ

(๑๑.๑๐)

(๔๔.๔๐)

(๔๔.๔๐)

๔.๓๓

๐.๗๑

มากที่สุด

๔. การขยายผลจากโครงการให้กว้างขวาง

    สู่ชุมชนอื่นๆ

(๔๔.๔๐)

(๕๕.๖๐)

๓.๕๖

๐.๕๓

ปานกลาง

๕. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนา

    อาชีพ

(๒.๒๐)

(๓๓.๓๐)

(๓๓.๓๐)

(๑๑.๑๐)

๔.๑๓

๐.๘๔

มาก

๖. การเพิ่มผลิตภาพของผลผลิต

(๑๑.๑๐)

(๕๕.๖๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๒๒

๐.๖๗

มากที่สุด

รวมเฉลี่ย

 

 

 

 

 

 

๔.๑๑

๐.๖๗

มาก

 

๔.๖ ผลการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการ

                ๔.๖.๑ ผลกระทบในมิติทางสังคม

                         ผลกระทบที่เกิดขึ้นในมิติทางสังคมหลังการดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้นไปแล้วพบว่า ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วม การช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน และความสามัคคีมากขึ้น เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์ฯ ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการและสมาชิกในครัวเรือนของสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกหลานของเกษตรกรที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครองด้วย ส่วนการตอบสนองความต้องการ       ของชุมชนพบว่า มีความชัดเจนมากขึ้น เพราะมีการประชุมสรุปและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างสมาชิกและผู้นำชุมชนโดยใช้ศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน

               ๔.๖.๒ ผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจ

                         หลังจากโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อปี ๒๕๕๘ พบว่า เกิดผลกระทบเชิงบวก   ในมิติทางเศรษฐกิจต่อสมาชิกในศูนย์ฯ และชุมชน โดยเฉพาะการมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถส่งบุตรเข้าเรียนในระดับ  ที่สูงขึ้นและในต่างประเทศได้ เนื่องจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้เพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้มากขึ้นกว่าในอดีต แต่ในเรื่องของการลดรายจ่าย พบว่า เกษตรกรไม่สามารถระบุประเด็นนี้ได้อย่างชัดเจนเพราะไม่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบต้นทุนในการผลิตที่ชัดเจน

               ๔.๖.๓ ผลกระทบในมิติทางสิ่งแวดล้อม

                         มิติทางสิ่งแวดล้อม พบว่า มีผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรจากการใช้สารเคมีมาใช้สารอินทรีย์แทนมากขึ้น รวมถึงการใช้สารเคมีเฉพาะเวลาจำเป็น เช่น ช่วงที่มีโรคและแมลงระบาด ส่งผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น สุขภาพ    ของเกษตรกรดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง

               ๔.๖.๔ ความพึงพอใจของสมาชิกต่อผลกระทบของโครงการ

                         สำหรับผลการศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อผลกระทบของโครงการพบว่า สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นโดยภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๑ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ซึ่งประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ การผลิตอาหารในชุมชนมีความหลากหลายและมีประโยชน์ทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้นและความพึงพอใจต่อการเพิ่มรายได้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือ ๔.๔๔ คะแนน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ครอบครัวมีสุขภาพดีขึ้น และการประสานงาน ความร่วมมือช่วยเหลือในชุมชนมากขึ้น   มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือ ๔.๓๓ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนประเด็นที่มีความพึงพอใจต่ำสุด คือ   การลดค่าใช้จ่ายมีคะแนนเฉลี่ย ๓.๓๓ มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ดังตารางที่ ๑๓

 

ตารางที่ ๑๓  ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในโครงการต่อผลกระทบของโครงการ

 

รายการ

ระดับความพึงพอใจ

เฉลี่ย

S.D.

ระดับ

น้อยที่สุด

น้อย

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

ไม่ระบุ

๑. ครอบครัวมีสุขภาพดีขึ้น

(๖๖.๗๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๓๓

๐.๕๐

มากที่สุด

๒. การมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น

(๑๑.๑๐)

(๖๖.๗๐)

(๒.๒๐)

๔.๑๑

๐.๖๐

มาก

๓. การประสานงาน ความร่วมมือ

    ช่วยเหลือในชุมชนมากขึ้น

(๖๖.๗๐)

(๓๓.๓๐)

๔.๓๓

๐.๕๐

มากที่สุด

๔. การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

    ให้เกิดประโยชน์

(๔๔.๔๐)

(๓๓.๓๐)

(๒.๒๐)

๓.๗๘

๐.๘๓

ปานกลาง

๕. การผลิตอาหารในชุมชน

    มีความหลากหลายและมีประโยชน์

    ทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น

(๕๕.๖๐)

(๔๔.๔๐)

๔.๔๔

๐.๕๓

มากที่สุด

๖. การเพิ่มรายได้

(๑๑.๑๐)

(๓๓.๓๐)

(๕๕.๖๐)

๔.๔๔

๐.๗๓

มากที่สุด

๗. การลดค่าใช้จ่าย

(๑๑.๑๐)

(๔๔.๔๐)

(๓๓.๓๐)

(๑๑.๑๐)

๓.๓๓

๑.๑๒

ปานกลาง

                   

  

๔.๗  ผลการวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินวิถีชีวิตของชุมชน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด เพื่อประเมินความพร้อมในการพัฒนาต่อให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง     อาจสามารถประมวลผลเพียงสังเขปได้ดังนี้

 

เกณฑ์

ตัวชี้วัด

ข้อสังเกต

๑. ด้านการลดรายจ่าย

    (ด้านเศรษฐกิจ)

๑.๑ ครัวเรือนทำสวนครัว

 

๑.๒ ครัวเรือนปลอดอบายมุข

๑.๑ ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว แต่อาจไม่ทั้งหมด

      ที่ต้องใช้บริโภค ยังคงซื้อจากตลาดบ้างบางส่วน

๑.๒ ไม่สามารถสังเกตพบได้

๒. ด้านการเพิ่มรายได้

    (ด้านเศรษฐกิจ)

 

๒.๑ ครัวเรือนมีอาชีพเสริม

 

 

 

 

 

๒.๒ ครัวเรือนใช้เทคโนโลยี         ที่เหมาะสม

๒.๑ ครัวเรือนมีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ ปลา หมู ซึ่งมี

      ความหลากหลายในประเภทของพืชและสัตว์

      ที่เลี้ยงเป็นอาหารและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้

      เพิ่ม มีการจักสานภาชนะสำหรับใส่ของจำหน่าย

      มีการแปรรูปอาหารบ้างในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่

      ใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือนและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน

๒.๒ หลังจากได้รับการอบรมจากศูนย์ฯ และศึกษาดูงาน

      ในประเทศไทยแล้ว ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้นำเกษตรกร

      และเกษตรกรในโครงการได้นำความรู้ไปปรับใช้

      ในการปรับปรุงการปลูก พืช เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่

      ของตนเองได้ในระดับหนึ่ง เช่น การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์และสารชีวภาพ โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น

๓. ด้านการประหยัด

    (ด้านเศรษฐกิจ)

๓.๑ ครัวเรือนมีการออมทรัพย์

๓.๒ ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์

๓.1 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ยังไม่มี     

      การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน     

      ทำให้ไม่สามารถทราบข้อมูลการประหยัดที่แท้จริงได้

๓.๒ เกษตรกรไม่ได้มีการรวมกลุ่มออมทรัพย์

      มีเพียงแต่การรวมกลุ่มการผลิตทางการเกษตร

๔. ด้านการเรียนรู้

    (ด้านวัฒนธรรม)

 

๔.๑ ชุมชนมีการสืบทอดและ

      ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๔.๒ ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิต ประจำวัน

๔.๑ พบว่าเกษตรกรยังมีการสืบทอดวิธีการผลิตทางการเกษตร และการทำหัตถกรรมจาก   บรรพบุรุษอยู่ แต่ผสมผสานเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ได้รับความรู้เข้ามาใช้ร่วมด้วย

๔.๒ มีแผนภาพในศูนย์เรียนรู้ฯ แต่ไม่เห็นกระบวนการถ่ายทอดในสถานการณ์จริง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรแสดงความคิดเห็นว่า มีความเข้าใจในการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน

     เช่น การลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ สุรา การพิจารณา  ใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

 

๔๒

 

เกณฑ์

ตัวชี้วัด

ข้อสังเกต

๕. ด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ    อย่างยั่งยืน

    (ด้านสิ่งแวดล้อม)

๕.๑ ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน     ในการประกอบอาชีพ

๕.๒ ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น         เป็นหมู่บ้านน่าอยู่

๕.๑ เกษตรกรเริ่มมีการใช้สารชีวภาพเพิ่มมากขึ้น     ร่วมกับการใช้สารเคมี เพราะทราบถึงโทษของ   สารเคมีที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

๕.๒ มีการปลูกต้นไม้ ร่มรื่นตามธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้จัด

      สัดส่วนที่เหมาะสมให้ดูสวยงามน่าอยู่อย่างเห็นได้เด่นชัด

๖. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน

    (ด้านสังคม)

๖.๑ ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือ      คนจน คนด้อยโอกาส และ    คนประสบปัญหา

๖.๒ ชุมชน “รู้รักสามัคคี”

๖.๑ มีความร่วมมือร่วมใจกันหาทางแก้ปัญหาและดำเนินการร่วมกัน โดยเฉพาะการประกอบอาชีพทางการเกษตร

๖.๒ - มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น การลงแรง   ช่วยกันในฤดูการเก็บเกี่ยว

      - มีจิตอาสา ซึ่งเป็นนักเรียนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่งมาช่วยเป็นล่าม      ในการสื่อสารกับกลุ่มเกษตรกรในช่วง              การสัมภาษณ์เกษตรกร และพาลงพื้นที่ปลูกผัก       ซึ่งสามารถสังเกตเห็นถึงความยินดีและเต็มใจ   จากสีหน้า แววตา และอัธยาศัยที่ยิ้มแย้มเป็นมิตร

 

                    ด้านความพร้อมในการพัฒนาต่อให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า โครงการได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในการทำเกษตรพอเพียง ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์และประมง บนพื้นฐานการดำเนินงานให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเป็นการดำเนินงานที่บ้านผู้จัดการโครงการ (Mr. Alex) ซึ่งเป็นเกษตรกรต้นแบบ และใช้บริเวณบ้านตนเองเป็น     ศูนย์เรียนรู้ เนื่องจากคณะประเมินผลไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมครัวเรือนของเกษตรกรรายอื่นในชุมชน จึงทำการสรุปข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรดังข้อสังเกตจากตารางข้างต้นซึ่งแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรมีการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ทั้ง ๖ ด้าน แม้จะไม่ครบทั้ง ๑๒ ตัวชี้วัด แต่เกษตรกรแสดงความคิดเห็นว่า มีความเข้าใจในการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน และเล็งเห็นประโยชน์จากการนำความรู้ที่ได้จากโครงการมาใช้

                        ประเด็นสำคัญที่พบ คือ Mr. Alex และครอบครัวสามารถเป็นผู้นำการพัฒนา (change leader)  และครัวเรือนต้นแบบในการนำเกษตรกร/คนในชุมชนทำกิจกรรมเพื่อขยายผลและขับเคลื่อนการพัฒนาครัวเรือนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน สร้างความเปลี่ยนแปลงของชุมชนไปสู่สิ่งที่ชุมชนต้องการหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ และสามารถใช้ประโยชน์จากศูนย์ฯ ที่มีอยู่แล้วเพื่อการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การทำงานในหมู่บ้านด้วยคน ๆ เดียว หรือกลุ่มเดียวอาจเกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติ เช่น ขาดทรัพยากร ความรู้ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญยังไม่มาก      และงบประมาณ จึงต้องอาศัยความรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ ความชำนาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมสนับสนุนจากรัฐบาลติมอร์-เลสเตเองด้วย

 

ส่วนที่ ๕                                               ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ

                                                             

 

 

๕.๑ ปัญหาและอุปสรรค

          คณะผู้ประเมินผลโครงการฯ มีข้อสรุปในด้านปัญหาและอุปสรรค ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการประเมินผล ดังนี้

๑.  ช่วงเวลาที่ประเมินผลโครงการ เป็นการดำเนินการหลังโครงการสิ้นสุดไปแล้ว ๒ ปี บุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทางฝ่ายติมอร์หลายท่านไม่ได้รับผิดชอบหรืออยู่ในพื้นที่เดิมแล้ว จึงมีข้อจำกัดในการติดต่อสอบถามหาข้อมูลของโครงการได้อย่างครบถ้วน

๒.  ข้อจำกัดด้านการสื่อสาร แม้จะมีล่ามชาวติมอร์-เลสเต แต่ภาษาท้องถิ่นในติมอร์-เลสเตมีหลากหลาย และความเข้าใจในคำศัพท์เฉพาะอาจไม่ถูกต้อง ทั้งการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาท้องถิ่น จึงอาจทำให้เกิดการตีความที่คลาดเคลื่อนได้

๓.  ในช่วงเวลาที่คณะผู้ประเมินเดินทางไปศูนย์ฯ ไม่มีการจัดกิจกรรม จึงไม่สามารถสังเกตกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ได้อย่างชัดเจน

๔.  แม้ว่าชื่อโครงการจะเป็น “โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ เมืองเฮรา” แต่การดำเนินงานโครงการเป็นไปในลักษณะศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร มุ่งเน้น          การฝึกอบรม สาธิต และปฏิบัติ เพิ่มพูนความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพทางการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการผลิตเป็นสำคัญในเบื้องต้น จึงอาจไม่สามารถจัดกิจกรรมที่สอดแทรกแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ

๕.  การเปลียนนโยบายของผู้บริหารและการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของฝ่ายติมอร์-เลสเต ทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่องเมื่อโครงการสิ้นสุด

 

๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

          จากผลการประเมินในแต่ละมิติ คณะผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการปรับปรุง พัฒนา และขยายโครงการ ดังต่อไปนี้

          ๑. โครงการควรนำสาระสำคัญในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเกษตรกรต้องคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม         มาสอดแทรกเป็นองค์ความรู้ในกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ หรือจัดทำเป็นฐานการเรียนรู้ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้สมาชิกของศูนย์ฯ และเกษตรกรที่มาเยี่ยมชมศูนย์ฯ ได้เข้าใจในสาระสำคัญดังกล่าว เพื่อนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตและการประกอบการเกษตร รวมทั้งการปฏิบัติตนในทางที่ควร     โดยให้สอดคล้องกับภูมิสังคมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของติมอร์-เลสเต เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตจริง   ที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกเหนือจากองค์ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์   การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น

๒.  การขับเคลื่อนโครงการให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้อย่างยั่งยืนนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและประมงในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระดับนโยบาย ตลอดจนการมีแผนงานต่าง ๆ รองรับกรณีเกิดการปรับเปลี่ยนบุคลากรที่รับผิดชอบในโครงการ เนื่องจากพบว่า การเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการบ่อยครั้ง ทั้งในระดับนโยบาย ระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประจำในพื้นที่ ทำให้การดำเนินงานโครงการบางครั้งหยุดชะงักและล่าช้าออกไป

๓.  ควรสร้างกลไกการขับเคลื่อนและขยายการมีส่วนร่วมในโครงการออกไปยังชุมชนโดยรอบศูนย์ฯ    อย่างเป็นรูปธรรม  นอกเหนือจากกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่โครงการกับคณะกรรมการศูนย์ฯ      เพราะการขับเคลื่อนโครงการให้เป็นไปตามความต้องการของสมาชิกในศูนย์ฯ และเกษตรกรในชุมชนได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ต้องทำให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) ว่า โครงการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน          และประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการสามารถทำให้สมาชิกในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

๔.  ควรนำกระบวนการศึกษาและวิจัยอย่างมีส่วนร่วมมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศูนย์ฯ และขยายผลองค์ความรู้ของศูนย์ฯ ไปสู่ชุมชนมากขึ้น เพื่อให้ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ของโครงการได้เข้าใจถึงแนวคิด         และหลักปฏิบัติที่นำมาใช้ในโครงการ  รวมถึงความเข้าใจในบริบทของชุมชน เพื่อให้สามารถเข้าถึงการพัฒนาชุมชน  ได้อย่างแท้จริง

๕.  ควรดำเนินงานในมิติอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากมิติด้านการเกษตร เพราะการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ       ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนและทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนได้นั้น จำเป็นที่จะต้องพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาในมิติอื่น ๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๖.  การเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องพิจารณาปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จอย่างถี่ถ้วน หากเลือกพื้นที่กันดารขาดแคลนสาธารณูปโภคที่จำเป็น การคมนาคมลำบาก โอกาสที่จะดำเนินโครงการได้ประสบความสำเร็จจะน้อยลง