วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565
โครงการความร่วมมือระหว่างไทย – โซโลมอน เพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ เกาะกัวดัลคาแนล หมู่เกาะโซโลมอน
ภูมิหลัง
วันที่ ๑๓ – ๑๙ ม.ค. ๒๕๖๑ นางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ อธิบดีกรมความร่วมมือฯ (ในขณะนั้น) ได้เดินทางไปกรุงโฮนีอารา เกาะกัวดัลคาแนล หมู่เกาะโซโลมอน เพื่อหารือการริเริ่มโครงการไทย-โซโลมอน เพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
อธิบดีฯ ได้เข้าพบหารือกับนายวิลเลี่ยม แม็คโดนัลด์ โซอากิ (Mr. William McDonald Soaki) รองปลัด กระทรวงการต่างประเทศและการค้าต่างประเทศของโซโลมอน และนายจิมมี่ ซาเอเล่ (Mr. Jimmy Saelea) ปลัดกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์โซโลมอน โดยการหารือดิฉันได้แจ้งแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยกับประเทศต่าง ๆ ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ใช้ตามบริบทของแต่ละประเทศ พร้อมทั้งได้มอบเอกสารเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้บริหารทั้งสองราย ฝ่ายโซโลมอนได้ขอบคุณฝ่ายไทยในการตอบรับคำขอการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของฝ่ายโซโลมอนและยินดีที่ฝ่ายไทยได้มอบหมายผู้แทนไปหารือ และเชื่อมั่นว่าการหารือในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน
ฝ่ายโซโลมอนได้นำคณะผู้แทนไทยไปสำรวจพื้นที่และพบเกษตรกรที่มีศักยภาพที่จะสามารถ เข้าร่วมโครงการได้ ๕ ราย คือ ๑) Mr. John Kauvera Maeli ๒) Mr. Jack Chottu และ Mrs. Sophia Chottu ๓) Mr. David Kambu ๔) Mr. Wilson Halisa และ Mr. Michael Kalibiu และ ๕) Mr. Paul
ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ดำเนินงานรวม ๓ โครงการย่อย ดังนี้
๑. The Development of Model Farmers based on the application of Sufficiency Economy Philosophy (Mr. John Kauvera Maeli Farm) หรือ โครงการพัฒนา Mr. John Kauvera Maeli ณ ชุมชนซาซ่า (Sasa village) ตำบลซาฮาลู (Sahalu Ward) เขตตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest District) เกาะกัวดัลคาแนล (Guadalcanal Island) ให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ
๒. The Development of Sustainable Farming (Grassroots Farmers’ Association) หรือ โครงการพัฒนาการทำเกษตรอย่างยั่งยืน เน้นการปลูกพืชผสมผสานในพื้นที่ของกลุ่มเกษตรกรปลูกผัก (Mr. Wilson Halisa และ Mr. Michael Kalibiu หมู่บ้าน Burns Creek village)
๓. Chottu’s Coconut Product Capacity Building on Coconut Production and Coconut Processing (Mr. Jack Chottu and Mrs. Sophia Chottu) หรือ โครงการฝีกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์มะพร้าว กลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรปลูกมะพร้าว Mr. Jack Chottu และ Mrs. Sophia Chottu ในพื้นที่หมู่บ้าน Tarou
ปัญหาที่หมู่เกาะโซโลมอนประสบ
๑. เกษตรกร (Mr. John Kauvera Maeli) มีการทำเกษตรแบบผสมผสานอยู่แล้ว (และได้สร้างอาคารศูนย์เรียนรู้/ฝึกอบรมในพื้นที่ของตนเองเรียบร้อยแล้ว) ได้มาศึกษาดูงานที่ประเทศไทยด้วยแล้ว และมีความตั้งใจสูงที่จะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงการขาดแคลนเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
๒. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักมิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ทำการเกษตรอยู่ แต่เป็นพื้นที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยต่างคนต่างเพาะปลูกผลผลิตออกจำหน่าย ซึ่งบางครั้งเป็นการปลูกพืชอย่างเดียวกันออกมาขายแข่งกันเอง
๓. เกษตรกรท้องถิ่นยังไม่ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๔. ควรมีการให้ความรู้และการพัฒนาเรื่องการจัดการขยะ สุขอนามัย และการจัดการน้ำในพื้นที่โครงการด้วย
ร่างแผนงานโครงการ
จุดส่งหมาย (Overall Goal)
เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาระดับชุมชนที่ยั่งยืนในหมู่เกาะโซโลมอน
วัตถุประสงค์ (Purposes)
๑. มีศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานต้นแบบการพัฒนาตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ของเกษตรกร (Mr. John Kauvera Maeli ณ ชุมชนซาซ่า)
๒. มีแปลงสาธิตการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน Burns Creek (กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก)
๓. มีกลุ่มเกษตรกร/ผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรตัวอย่างด้านการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์มะพร้าวที่มีศักยภาพ สามารถเป็นต้นแบบแก่กลุ่มเกษตรกรในชุมชนอื่นบนเกาะกัวดัลคาแนลและเกาะอื่นของหมู่เกาะโซโลมอนได้
ผลลัพธ์ตามแผนงานโครงการ
๑. การร่วมสำรวจพื้นที่โครงการและออกแบบพื้นที่แปลงเกษตรและศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โครงการ
๒. การส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรโซโลมอน (เมื่อสำรวจพื้นที่โครงการ)
๓. การจัดทำร่างแผนการดำเนินงานโครงการ (work plan) และหลักสูตรฝึกอบรม
๔. การจัดการศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการของหมู่เกาะโซโลมอน ณ ประเทศไทย (สวนสามพราน โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
สถานะการดำเนินงาน
สถานะล่าสุด
ผู้แทนหมู่เกาะโซโลมอนพร้อมเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในทั้ง ๓ โครงการข้างต้น ได้เข้าศึกษาดูงานด้านการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการแปรรูปอาหารที่ไทย ระหว่างวันที่ ๒๕ พ.ย. – ๓ ธ.ค. ๒๕๖๑
กรมความร่วมมือฯ ได้หารือกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมพัฒนาชุมชน และกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจัดทำร่างแผนงานดำเนินโครงการข้างต้นแล้ว
การดำเนินการต่อไป
โดยที่หมู่เกาะโซโลมอนกับไทยยังมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์ร่วมกันไม่มากนัก และการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างสองประเทศอาจยังส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของไทย เพื่อให้การดำเนินนโยบายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเป็นไปอย่างสมดุลโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของไทยในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับระดับนัยสำคัญของความร่วมมือของไทยกับประเทศต่าง ๆ อย่างรอบด้าน กรมความร่วมมือฯ อาจพิจารณาปรับรูปแบบและขอบเขตการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับหมู่เกาะโซโลมอนให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น
ส่วนให้ฯ ๑ ประสานงานกับกลุ่มงาน SEP เพื่อปรับรูปแบบและขอบเขตการดำเนินงานกับหมู่เกาะโซโลมอนให้เหมาะสม โดยอาจพิจารณาปรับการดำเนินการจากรูปแบบโครงการ เป็น “รายกิจกรรม” โดยขอให้หมู่เกาะโซโลมอนเสนอกิจกรรมที่ต้องการประมาณ ๑ – ๒ กิจกรรม ทดแทนการดำเนินการโครงการ ๑ โครงการย่อย
หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (นายพัลลภ ตันจริยภรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์ กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน และ น.ส. ขวัญดาว ลือเปี่ยม)
หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายโซโลมอน
กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์หมู่เกาะโซโลมอน (Ministry of Agriculture and Livestock of Solomon Islands: MAL)
ระยะเวลาโครงการ
โครงการย่อยที่ ๑ ระยะเวลา ๓ ปี
โครงการย่อยที่ ๒ ระยะเวลา ๓ ปี
โครงการย่อยที่ ๓ ระยะเวลา ๑ ปี
งานอาสาสมัคร
ยังไม่มีการจัดส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน ณ พื้นที่โครงการ
ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ
นายสิงห์ สิงหเตโช Email: [email protected]
***************************
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
๑๕ มกราคม ๒๕๖๔