เคนยา

เคนยา

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 ก.ค. 2565

| 4,355 view

สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya)

ข้อมูลทั่วไปความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความตกลง (Agreement)

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงสาธารณสุขเคนยา 

กรอบแผนงาน (Framework)

แผนงานเพื่อการพัฒนาไทยไทย-เคนยา (3 ปี)

วิธีการดำเนินงานความร่วมมือ (Modality)

1) ความร่วมมือทวิภาคี (Bilateral)

2) ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral)

3) ความร่วมมือภายใต้ทุน AITC และทุน TIPP   

รูปแบบความร่วมมือ (Form)

๑) โครงการความร่วมมือทวิภาคี 2)โครงการความร่วมมือไตรภาคี  3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุนฝึกอบรมAITC/ทุนศึกษาTIPP)

 

 

ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรอย่างยั่งยืน ไทย-เคนยา
(Project on Thailand - Kenya Sustainable Agro-technologies Development)

01

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตร ไทย-เคนยา

ที่มา

เสนอโดย Kenya School of Agriculture (KSA) ซึ่งเป็นผลจากการเยือน KSA ของ ออท. ณ

กรุงไนโรบีเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 ตามคำแนะนำของปลัดกระทรวงเกษตรเคนยา

เอกสารลงนาม
ที่เกี่ยวข้อง

ไม่มี

หน่วยงานดำเนินโครงการ

ฝ่ายไทย: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฝ่ายเคนยา: Kenya School of Agriculture

ระยะเวลาโครงการ

2565-2567

งบประมาณ

๓๐๒,๔๗๙.๒๖ บาท (ปีงบประมาณ ๒๕๖๔)

ผลผลิต

ประกอบด้วย ๓ ผลผลิต

กิจกรรม

 

ผลผลิตที่ การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเคนยา (โดยมีสาขาที่เน้น 7 ด้าน ได้แก่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การเพาะปลูกและการจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว การปรับปรุงคุณภาพดิน การชลประทาน พลังงานแสงอาทิตย์ การทำธุรกิจเกษตร และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) 

- สำรวจพื้นที่
- จัดฝึกอบรมบุคลากรเคนยาทั้ง
7 ด้านข้างต้นในลักษณะ Training
of Trainers

 

ผลผลิตที่ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตร ไทย-เคนยา

- ออกแบบศูนย์ฯ
- จัดทำฐานการเรียนรู้ 7 ด้าน
- การทำฟาร์มสาธิต
- สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
- ขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง

 

ผลผลิตที่ การสนับสนุนในพื้นที่ (อาสาสมัครเพื่อนไทย ณ KSA)

- คัดเลือกและจัดส่งอาสาสมัคร
- จัดการด้านโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้อง

สถานะปัจจุบัน กองความร่วมมืออยู่ระหว่างการประสานกับ สอท. ณ กรุงไนโรบี เรื่องการยกเว้นภาษีขาเข้าและการส่งออกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำไปจัดแสดง ณ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตร ไทย-เคนยา ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ ๖ ก.ค. ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา