ตุรกี

ตุรกี

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,651 view

สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey)

ข้อมูลทั่วไปความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความตกลง (Agreement)

บันทึกความเข้าใจ คือ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี (Agreement on Economic and Technical Cooperation) ลงนามเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2532

กรอบแผนงาน (Framework)

ยังไม่มีการกำหนดกรอบแผนงานความร่วมมือฯ ระหว่างกัน

 

วิธีการดำเนินงานความร่วมมือ (Modality)

1) ความร่วมมือทวิภาคี/ไตรภาคี

2) ความร่วมมือภายใต้กรอบ CICA

3) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)

รูปแบบความร่วมมือ (Form)

๑) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุนฝึกอบรมAITC/ทุนศึกษาTIPP) 2) ผู้เชี่ยวชาญ (แลกเปลี่ยน)

 

สถานะการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความร่วมมือ

รายละเอียด

1) ทวิภาคี/ไตรภาคี

 

      - ในปัจจุบันไทยและตุรกียังไม่มีกิจกรรมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างกันอย่างไรก็ดีผู้แทนของกรมความร่วมมือฯ ตุรกี (Turkish Cooperation and Coordination Agency – TİKA) ได้พบหารือกับผู้บริหารของกรมความร่วมมือในหลายโอกาส ดังนี้

      - เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๐ นายไพศาลฯ รองอธิบดีฯ (รักษาราชการแทนอธิบดีฯ ณ ขณะนั้น) ได้ให้การต้อนรับ Mr. Rahman Nurdun, Head of South and East Asia, Pacific and Latin America Department and Special Adviser to the President of the Turkish Cooperation and Coordination Agency (TIKA) ในโอกาสเดินทางมาดูงานที่ภูมิภาค ASEAN โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าไทยและตุรกีมีศักยภาพสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อาทิ ในสาขาเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะตุรกีเคยได้ส่งผู้แทนเข้าพบ รมว.กษ. ของไทย เนื่องจากเห็นศักยภาพด้านการเกษตรของไทยและประสงค์จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนี้ ฝ่ายตุรกียังได้เชิญผู้แทน TICA ไปเยือนตุรกีเพื่อศึกษาความเป็นไปได้และศักยภาพของตุรกีอย่างละเอียดอีกครั้งหากมีโอกา

      - เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2562 อธิบดีกรมความร่วมมือฯ ได้พบหารือกับ Mr. Rahman Nurdun รอง ปธ. TIKA ในโอกาสเข้าร่วมการประชุม 2019 High-level Forum of Directors General for Development Cooperation ที่ตุรกี และทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติในการดำเนินโครงการทวิภาคีและไตรภาคี รวมทั้งแสดงความสนใจที่จะมีความร่วมมือไตรภาคีให้กับประเทศที่สาม

 

ข้อมูลเพิ่มเติม       สาขาที่กรมความร่วมมือประเมินศักยภาพของทั้งสองประเทศมีดังนี้

  • ฝ่ายไทย Agriculture, Food security, tourism management, public health, community development, and Disaster management.
  • ฝ่ายตุรกี ด้าน Social Infrastructures and Services ได้แก่ สาขา Education, Health, Demographic Policies, Water and Sanitation, Government and Civil Society

                     ด้าน Economic Infrastructure and services ได้แก่ สาขา Transport and Storage, Communication, Energy, Banking and Finance, Business and Other Services

                     ด้าน Production Sector ได้แก่ สาขา Agriculture (Forestry and Fisheries) และ industry (Mining and Construction)

                     ด้าน Multi-Sector/Cross-Cutting ได้แก่ สาขา General Environmental Protection

2) ความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือ Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia (CICA)

      - ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน กรมความร่วมมือฯ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมพิเศษให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก CICA ในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. (ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนแล้ว) และการพัฒนา SMEs บนรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับ ม.เกษตรฯ มีรายละเอียดดังนี้

  1.  การจัดฝึกอบรมหลักสูตร International Narcotics Law Enforcement ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๑ มิ.ย. ๒๕๕๖ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๑๒ ราย จากกัมพูชา อียิปต์ จอร์แดน คาซัคสถาน มองโกเลีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ ทาจิกิสถาน ตุรกี ประเทศละ ๑ คน สำนักงานเลขาธิการ CICA และไทย (๒ คน)
  2. การจัดฝึกอบรมหลักสูตร The Training Course for Concerned Officials on Drug Treatment and Rehabilitation ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๓๑ ส.ค. ๒๕๕๘ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๑๘ ราย จากกัมพูชา (๒) จีน (๓) อินเดีย (๒) ปาเลสไตน์ ปากีสถาน (๒ คน) รัสเซีย จอร์แดน คาซัคสถาน สำนักงานเลขาธิการ CICA (๒) และไทย (๓) ไม่มีผู้แทนจากตุรกีเข้าร่วม
  3. การจัดฝึกอบรมหลักสูตร International Narcotics Law Enforcement Training Course for CICA Member States ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๑ ต.ค. ๒๕๕๙ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๑๕ ราย กัมพูชา จีน อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย ทาจิกีสถาน อิหร่าน จอร์แดน  คาซัคสถาน  สำนักงานเลขาธิการ CICA  และไทย (๕) ไม่มีผู้แทนจากตุรกีเข้าร่วม
  4. การฝึกอบรมหลักสูตร Promoting Small and Medium Enterprises (SMEs) for Sustainable Development Training Program for CICA member countries ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๖ ม.ค. ๒๕๖๑ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ ม. เกษตรศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน ๑๓ ราย จากบังกลาเทศ ๒ ราย, จีน ๑ ราย, กัมพูชา ๒ ราย, จอร์แดน ๒ ราย, คาซัคสถาน ๑ ราย, มองโกเลีย ๒ ราย, ปากีสถาน  ๒ ราย และทาจิกิสถาน 2 ราย ไม่มีผู้แทนจากตุรกีเข้าร่วม

 

     - โดยตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยได้เน้นการสนับสนุน CICA ผ่านการให้ priority ในทุนฝึกอบรมระยะสั้นประจำปี (AITC) ของกรมฯ เป็นหลัก โดยในปี 2563 กรมความร่วมมือฯ ได้ให้ priority แก่กลุ่ม CICA 2 หลักสูตรประกอบด้วย

       1) หลัดสูตร Sufficiency Economy for Community Sustainability

       2) หลัดสูตร Community Empowerment to Strengthen Maternal and Neonatal HealthCare

 

 

3) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC)

          ในปี 2560 กรมความร่วมมือฯ ได้มีการขยายขอบข่ายประเทศที่แจ้งเวียนทุนภายใต้หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses – AITC) โดยตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่กรมความร่วมมือฯ แจ้งเวียนทุนดังกล่าวให้เป็นปีแรก (2560) ทั้งนี้ ใน 3 ปีที่ผ่านมา (2560 - 2562) มีชาวตุรกีได้รับทุนฝึกอบรม AITC แล้ว จำนวน 14 คน ดังนี้

 

No.

รายละเอียดหลักสูตร

2017

2018

2019

International Training on “Sustainable Community-based Ecotourism Development

1

 

 

2

International Training on “Tropical Medicine, Community Health Care and Research”

1

 

 

3

Food Security - Postharvest, Processing and Quality Assurance of Selected Agro-Industrial Products

 

1

 

4

Natural Disasters Management

 

1

 

5

Sustainable Animal Production and Resource Management for Sustainable Agriculture and Food Safety

 

1

 

6

R&D in Postharvest and Processing Technology for Food Security

 

 

1

7

Best Available Technique (BAT) and Best Environmental Practice (BEP) under the Context of United Nations Industria Development Organization (UNIDO)

 

 

1

8

Sustainable Animal Production and resource Management for Sustainable Agriculture and Food Safety

 

 

1

9

Postharvest Technology of Fruit and Vegetable Crops for Developing Countries

 

 

1

10

The Principle Concept and Practice of One Health for Emerging Disease Management

 

 

1

11

Natural Disasters Management

 

 

1

12

Adapting to Climate Change: Facing the Consequence

 

 

1

13

Best Available Technique (BAT) and Best Environmental Practice (BEP) under the Context of United Nations Industria Development Organization (UNIDO)

 

 

1

14

Low Carbon City Scenario Development and Implementation

 

 

1

 

รวมทั้งสิ้น 14 ราย (ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา)

2

3

9

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ตุรกีมีสถานะทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก มี GDP สูงถึงร้อยละ 3 และรายได้ประชาชาติต่อคนสูงถึง 10,609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่าไทยประมาณ 2 เท่า) อีกทั้ง ขณะนี้ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย – ตุรกี เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการจัดทำ FTA ระหว่างกันด้วย
  • ตุรกีจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ Upper middle income ตามรายงานของ World Bank list of economies (update ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562)

 

 

สถานะ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ