ศรีลังกา

ศรีลังกา

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,694 view

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (The Democratic Socialist Republic of Sri Lanka)

ข้อมูลทั่วไปความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความตกลง (Agreement)

บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๙ มี.ค. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖))

กรอบแผนงาน (Framework)

แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ศรีลังกา ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) ครอบคลุม ๕ สาขา ได้แก่ ๑) สาขาการพัฒนาชนบท ๒) สาขาเกษตรและประมง ๓) สาขาการจัดการการท่องเที่ยว ๔) สาขาสาธารณสุข และ ๕) สาขาอื่น ๆ

 

วิธีการดำเนินงานความร่วมมือ (Modality)

๑) ความร่วมมือทวิภาคี

๒) ความร่วมมือไตรภาคี

๓) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)

๔) ความร่วมมือภายใต้ทุนศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (TIPP)

รูปแบบความร่วมมือ (Form)

๑) โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

๒) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุน AITC ทุน TIPP และอื่น ๆ)

๓) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ

 

 

สถานะการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความร่วมมือ

รายละเอียด

๑) ทวิภาคี

ฝ่ายไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับฝ่ายศรีลังกาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖)

แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ศรีลังกา ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) – สาขาการพัฒนาชนบท : โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐาน                  การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกา (The Sustainable Community Development Model based on the Application of the Philosophy of Sufficiency Economy for Sri Lanka) ภายใต้แผนงานโครงการระยะ ๓ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๑๙)

พื้นที่เป้าหมายโครงการ ๑) หมู่บ้าน Delthota Pahalagama เมือง Kandy ๒) หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa ๓) หมู่บ้าน Wathupola เมือง Puttalam

เป้าหมาย เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบทางเลือกสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา  

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้กับหุ้นส่วนการพัฒนาในศรีลังกา

ผลผลิตตามแผนงานโครงการระยะ ๓ ปี

ผลผลิตที่ ๑ การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง

ผลผลิตที่ ๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผลผลิตที่ ๓ การพัฒนาตลาดท้องถิ่นเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผลผลิตที่ ๔ การพัฒนาหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องให้สามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน                         

               และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้

ผลผลิตที่ ๕ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Community Learning Centre – CLC)

สถานะล่าสุด ได้มีการดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับผลผลิตที่ ๑-๔ แล้ว ได้แก่ การศึกษาดูงานและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ในประเทศไทย
การจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ อาทิ การตัดเย็บกระเป๋าจากผ้า เบเกอรี่ แปรรูปผลไม้ รวมถึงการให้วัสดุและอุปกรณ์ในการแปรรูปอาหาร ทำเบเกอรี่ อุปกรณ์/เครื่องเขียนสำหรับการประชุมกลุ่ม ทั้งนี้ ตามผล
การประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการครั้งที่ ๑ เมื่อเดือน ก.พ. ๒๕๕๓ (๑) สองฝ่ายเห็นควรขยายระยะเวลาดำเนินโครงการถึงเดือน มิ.ย. ๒๕๖๔ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการที่คงค้างอยู่ให้แล้วเสร็จในลักษณะการเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนโครงการและผู้นำชาวบ้านในประเทศไทยและศรีลัวกา โดยฝ่ายไทยจะให้ความสำคัญและเน้นย้ำการพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการคิดเพื่อเตรียมความพร้อมให้ฝ่ายศรีลังกาสามารถต่อยอดและขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ได้ด้วยตนเองภายหลังโครงการเสร็จสิ้น (๒) ฝ่ายศรีลังกาขอรับการสนับสนุนการจัดตั้ง/สร้างศูนย์ CLC
ในพื้นที่เมือง Polonnaruwa (ฝ่ายไทยรอหนังสืออย่างเป็นทางการ)

- สาขาการเกษตรและประมง :

  ๑) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จำนวน ๕ – ๗ คน ไปศึกษาพื้นที่และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของศรีลังกาในการพัฒนาการเกษตรสาขาต่าง ๆ ในภาพรวมระดับมหภาค (macro agriculture) ในศรีลังกาภายในปี ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗)
ตามคำขอรับการสนับสนุนจากฝ่ายศรีลังกา โดยฝ่ายไทยได้กำหนดสาขา ๒ อันดับแรกในการดำเนินการ ได้แก่

๑.๑ ความช่วยเหลือด้านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านดินและยากำจัดศัตรูพืช  (Assistance in post- harvest technology, value addition and product development) ดำเนินการโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมพัฒนาที่ดิน ๑ คน

๑.๒ ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การเพิ่มมูลค่า และการพัฒนาการผลิต    

      (Establishment of Soil and Pesticide Testing Laboratories, in the interest of Food

      Safety) ดำเนินการโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิชาการเกษตร ๓ คน และประกอบด้วย ๒    

      โครงการย่อย ดังนี้

๑.๒.๑ โครงการการทำเกษตรสมัยใหม่เพื่อการตรวจสอบยากำจัดศัตรูพืชและสิ่งปนเปื้อน                         

         ที่เป็นพิษในอาหารและสิ่งแวดล้อมของศรีลังกา (Agricultural Modernization through  

         Food and Environmental Advocacy Testing for Pesticides & Toxic       

         Contaminants in Sri Lanka)

๑.๒.๒ โครงการการทดลองดินเพื่อทำปุ๋ยสำหรับใช้ในแปลงเกษตรเพื่อคงสภาพแวดล้อมและ

         ผลิตผลที่ปลอดภัยกว่าของอาหารที่มุณภาพ (Soil Testing for Better Fertilizer Use in      

         Agricultural Fields Towards Maintaining Safer Environment and Production of   

         Quality Foods)

๒) กรมความร่วมมือฯ อนุมัติให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คน จากกรมพัฒนาที่ดินการเกษตร เดินทางไปศึกษาดูงาน 

    ด้านเกษตรที่ศรีลังกา ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๘ ม.ค. ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

    ๒.๑ ฝ่ายศรีลังกาประสงค์ผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทย – ศรีลังกา มากขึ้นและ

         ขอให้ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ศรีลังกาต้องการมีความร่วมมือ โดยเฉพาะด้าน Post-Harvest

         Technology การพัฒนาดิน ปุ๋ย และการกำจัดแมลงโรคพืชเพื่อเพิมผลิตผลด้านการเกษตรของศรีลังกา  

    ๒.๒ ผู้เชี่ยวชาญไทยเห็นว่า ฝ่ายศรีลังกายังขาดอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการพัฒนาผลิตผลและ

          แปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร แต่อุปกรณ์และเครื่องมือด้านดิน ปุ๋ย และการกำจัดแมลงโรคพืช
          มีความใกล้เคียงกับไทย ฝ่ายไทยจึงขอความร่วมมือฝ่ายศรีลังกาศึกษาและวางแผนด้านวัตถุดิบเพื่อ          

          ป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปตลอดปี โดยทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้   

          ผู้เชี่ยวชาญไทยประมวลข้อมูลและจัดทำรายงานข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายศรีลังกาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง 

          ต่อไป

   ๒.๓ ฝ่ายศรีลังกาศึกษาและวางแผนด้านวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปตลอดปี โดยทั้ง
          สองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญไทยประมวลข้อมูลและจัดทำรายงาน

         ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายศรีลังกาในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

   ๒.๔ ฝ่ายศรีลังกามีความชัดเจนเกี่ยวกับสาขาที่ต้องการความร่วมมือมากขึ้น และหวังว่าจะได้รับ

          ความร่วมมือจากไทยในด้านการฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ 

          และเครื่องมือโดยเฉพาะในกระบวนการแปรรูปอาหาร (Food Processing) นอกจากนี้ ฝ่ายศรีลังกา

          ต้องการมีโครงการนำร่องในด้านการเกษตรร่วมกันระหว่างสองประเทศอีกด้วย

- สาขาอื่น ๆ ได้แก่ การฝึกอบรมหลักสูตร Public Finance and Budgeting สำหรับเจ้าหน้าที่ศรีลังกา ๘ คน ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสร์ (นิด้า)

ทั้งนี้ ไม่มีการจัดกิจกรรมในสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและสาขาสาธารณสุข

 

โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ (Buakaew Roundtable International Programme)

ในปี 2556 ศรีลังกาได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมรวม 5 ราย ณ ประเทศไทยเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการ OTOP ภายใต้โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้จัดการศึกษาดูงานโครงการดังกล่าวให้แก่กลุ่มประเทศต่าง ๆ ในระหว่างปี 2550 - 2559 เป็นประจำทุกปี

โดยเริ่มจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และต่อมาได้ขยายไปยังกลุ่มประเทศอื่น ๆ  ได้แก่ ลาตินอเมริกาหมู่เกาะแปซิฟิก แคริบเบียน CIS ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียกลาง แอฟริกา และตะวันออกกลาง

เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการต่างประเทศกับไทย เพื่อขยายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างกัน โดยการแบ่งปันองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีของไทย

 

กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค BIMSTEC (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation)

ระหว่างปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๖ กรมความร่วมมือฯ ได้จัดการฝึกอบรมในสาขาต่าง ๆ ตามความสนใจของประเทศสมาชิก ได้แก่ สาขาการประมง ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน และสาธารณสุข โดยมีผู้แทน
ชาวศรีลังกาเข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน ๒๖ คน

๒) ความร่วมมือไตรภาคี

สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุนในลักษณะไตรภาคีแก่ฝ่ายศรีลังกาแล้วจำนวน ๗๗ ทุน  (ระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑) (ค.ศ. ๒๐๐๙ – ๒๐๑๘)

๓) ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (Annual International Training Course - AITC)

สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุน AITC แก่ฝ่ายศรีลังกาแล้วจำนวน ๒๗๗ ทุน  (ระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑)

(ค.ศ. ๒๐๐๙ – ๒๐๑๘)

 

๔) ทุนศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme - TIPP)

สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุน TIPP แก่ฝ่ายศรีลังกาแล้วจำนวน ๓๙ ทุน (ระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑)
(ค.ศ. ๒๐๐๙ – ๒๐๑๘)

 

สถานะ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ