ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 4,478 view

สาธารณรัฐฝรั่งเศส (France)

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

1) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศส

    ลงนามเมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๒๐

2) ความตกลงในการจัดตั้งสำนักงาน Agence Francaise de  

    Developpement (AFD)/ปทท. ลงนามเมื่อ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

๓) บันทึกความร่วมมือ (MOC) ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ   

    กับ AFD ลงนามเมื่อ ๒ กันยายน ๒๕๖๒

รูปแบบความร่วมมือ

  1. ทวิภาคี
  2. ไตรภาคี

 

ความร่วมมือในปัจจุบัน

ความร่วมมือ

รายละเอียด

 

ความร่วมมือกับ สอท. ฝศ.

๑. ความร่วมมือในรูปโครงการ

   ที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างไทย–ฝรั่งเศสจะเป็นในลักษณะของการวิจัยระหว่างหน่วยงาน/สถาบันศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งมีกว่า ๒๐ โครงการ โดยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยทางด้านเกษตร  สาธารณสุข พลังงาน การศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม  เทคโนโลยีนวัตกรรม และหน่วยงานไทยที่ร่วมมือด้วย ได้แก่ ม.มหิดล ม.เกษตรฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.เชียงใหม่  โดยมี Institute of Research for Development สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (EFEO) สถาบัน CIRAD เป็น implementing partnerฝ่ายฝรั่งเศส โดยในแต่ละโครงการหน่วยงานไทยจะร่วมสมทบงบประมาณด้วย และมีกรมความร่วมมือฯ ร่วมสบทบงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้โครงการ (บางโครงการ) ตามความตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศส ลงนามเมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๒๐ รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านสิทธิพิเศษให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ติดตาม รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ภายใต้โครงการ ปัจจุบันมีโครงการ on–going จำนวน ๗ โครงการ   

๒. ความร่วมมือในรูปทุน: ฝศ. สนับสนุนทุนศึกษา ใน ๒ รูปแบบ

   - ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา (Bureau de Cooperation pour le Français: BCF) เน้นการเรียน/การสอนภาษาฝรั่งเศส วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว โดยมีสมาคมครูภาษา ฝศ.  ศธ. และ สกอ. เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับการสนับสนุน

   - ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย–ฝรั่งเศส (Thai–French Scientific and Technical Cooperation Programme: STC) เป็นทุนศึกษาระดับปริญญาโท/เอก ทุนฝึกอบรมและดูงาน โดยเน้นสาขา Judicial Science, Public Administration, Social Science and Archaeology,Architecture & Town and Country Planning, Agronomy, Engineering, Aeronautic and Space Technology, Telecom และ Medical Science and Pharmacy

๓. ความร่วมมือไตรภาคี

    -โครงการปริญญาเอก:  กรมความร่วมมือฯ สนง.กองทุนสนับสนุนการวิจัย และ สอท. ฝศ./ปทท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการฯ เมื่อปี ๒๕๕๐ เพื่อสนับสนุนทุนให้แก่กลุ่มประเทศ CLMV เป็นระยะเวลา ๕ ปี ใน ๗ สาขาหลักภายใต้ ACMECS ซึ่งมีผู้ได้รับอนุมัติทุนจำนวน ๑๐ ราย และได้ขยายระยะเวลาโครงการฯ ออกไปถึง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ (Phase II) และดำเนินการได้เพียงรุ่นเดียว (ผู้รับทุน ๑ ราย อยู่ระหว่างศึกษาและคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปี ๒๕๖๓) เนื่องจาก สอท. ฝศ. ขอยุติโครงการฯ เนื่องจาก ฝศ. มีนโยบายเน้นการสนับสนุนความร่วมมือในกรอบทวิภาคี

 

 

ความร่วมมือกับ Agence Française de Développement

- MOU จัดตั้ง สนง. Agence Française de Développement (AFD) ในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ เป็นกรอบสนับสนุนความร่วมมือของสองฝ่าย/ในสาขาที่สนใจร่วมกัน (ไตรภาคี) เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศอาเซียน อาทิ ลาว กัมพูชา และภูมิภาค อฟก.

- กรมความร่วมมือฯ อำนวยสิทธิพิเศษให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาปฏิบัติงานที่ AFD/ปทท. (ตาม MOU)

- ปี ๒๕๕๐ กรมความร่วมมือฯ และ AFD รวมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่ง ผชช. จากการรถไฟ

ไปศึกษาความเป็นได้ในการสร้างทางรถไฟเส้นทางท่านาแล้ง–เวียงจันทน์

- ปี ๒๕๕๖ กรมความร่วมมือฯ และ AFD ร่วมกันรับผิดชอบ คชจ. ในการส่งผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ๓ คน ไปให้คำปรึกษา ก.ประมง โมซัมบิก เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคจุดขาวในกุ้ง (Prevention and Rehabilitation of White Spot Disease in Shrimp) ต่อมา ก.ประมง โมซัมบิก แจ้งความประสงค์ขอมาศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ไทย แต่ไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีการระบาดของเชื้ออีโบลาในภูมิภาค อฟก. (สนับสนุนมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันการระบาดของไวรัสอีโบลา)

- ปี ๒๕๖๒ ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Cooperation เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๒ เพื่อสนับสนุนการดำเนินความร่วมมือของ AFD กับไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาในสาขาต่างๆ อาทิ Climate Change Protection, Energy Efficiency and Renewable Energy, STI, Public Health, Food Security, Agriculture and Community Development และร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งผู้เชี่ยวชาญ มก. ไปจัดการฝึกอบรมหลักสูตร “mosquito taxonomy” ในโครงการ Economic Development, Ecosystem Changes, and Emerging Infectious Diseases Risks Evaluation (ECOMORE) Phase II ภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีไทย–ฝศ. ให้แก่นักกีฏวิทยากัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ จำนวน ๒ ครั้ง

               ครั้งที่ ๑ : วันที่ ๒๗ – ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ 

               ครั้งที่ ๒ : วันที่ ๒๘ – ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓

 

ความร่วมมือกับสมาคมความร่วมมือการแพทย์ฝรั่งเศส–เอเชีย (AMFA)

- กรมความร่วมมือฯ และ AMFA ได้ร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้แพทย์เมียนมามาฝึกอบรมด้าน  Orthopedic Surgery ระยะเวลา ๓ เดือน ที่ รพ. ศิริราช จำนวน ๒ คน

- กรมความร่วมมือฯ กับ AMFA มีแผนจะร่วมกันสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขของเมียนมา เป็นระยะเวลา ๒ ปี (อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการทำงาน) เกี่ยวกับ

          (๑) การฝึกอบรมศัลยแพทย์ด้านการผ่าตัดเนื้อเยื่อขนาดเล็ก การผ่าพิสูจน์ trauma electronic simulator ศัลยกรรมกระดูก ใน ปทท. ระยะเวลา ๓ เดือน

          (๒) การส่งผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต (FIRE AND RESCUE ASSOCIATION: FARA) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติไปฝึกอบรม จนท. หน่วยกู้ชีพฉุกเฉินของ รพ. ในเนปิดอว์ ระยะเวลา ๓ เดือน