สวีเดน

สวีเดน

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,667 view

ราชอาณาจักรสวีเดน (Sweden)

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

1) ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษกิจ วิชาการ และวิทยาศาตร์

    ลงนามเมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๒

๒) ความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนา

   ลงนามเมื่อ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๘

๓) Memorandum of Understanding on Joint Fellowship  

   Programme for Doctoral Studies

   ลงนามเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

รูปแบบความร่วมมือ :  ไตรภาคี

 

ความร่วมมือในปัจจุบัน

ความร่วมมือ

รายละเอียด

 

ความร่วมมือไตรภาคี

          รัฐบาลของ ๒ ปท. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๘  (2005) เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาค

ลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ในสาขาที่ทั้งสามฝ่าย (ไทย–สวีเดน–ประเทศผู้รับ) มีความพร้อม และเป็นประเด็นท้าทายของภูมิภาค ได้แก่  สิ่งแวดล้อม/ป่าไม้  การค้ามนุษย์  HIV/AIDS  และการเสริมสร้างศักยภาพด้านการเจรจาทางการค้า และกฎ/ระเบียบทางการค้า ในรูปแบบของการฝึกอบรม สัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยรวม theme ที่เกี่ยวกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน และด้านธรรมาภิบาลด้วย

             ต่อมา กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และ Uppsala Universitet ได้ลงนาม MOU on Joint Fellowship  Programme  for  Doctoral  Studies เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (2015) เพื่อเป็นกรอบการสนับสนุนทุนศึกษาระดับปริญญาเอกให้แก่กลุ่มประเทศที่มีรายได้ประชาชาติน้อยในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสาขา Basic Science ปีละ ๓ ทุน (ไม่กำหนดโควต้าว่าจะต้องเป็นประเทศละ ๑ ทุน)

โครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยากรมมนุษย์แก่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาแห่งสหัสวรรษตามแนวทางของ  Busan  Declaration ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ โดยมี สกว. และ Uppsala Universitet เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการฯ ฝ่ายไทยและสวีเดน ตามลำดับ ซึ่งผู้ได้รับทุนจะศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทยเป็นระยะเวลา ๒ ปี  และไปศึกษาที่สวีเดนอีก ๑ ปี โดยดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ มีผู้ได้รับอนุมัติทุน ๕ ราย และอยู่ระหว่างการจัดทำ MOU เพื่อขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอีก ๕ ปี (Phase II) โดยมีสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการฯ ฝ่ายไทย แทน สกว.