สหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,382 view

สหภาพยุโรป (European Union)

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

๑) ขอบข่ายความตกลงว่าระหว่างไทยและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

    ปี ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖)

 

รูปแบบความร่วมมือ

๑) ความร่วมมือทวิภาคี

๒) ความร่วมมือระดับอาเซียน

๓) ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับโลก

 

ความร่วมมือทางวิชาการในปัจจุบัน

ความร่วมมือ

รายละเอียด

ภูมิหลัง

- EU มองไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (middle-income country) ซึ่งความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนจากเดิมที่เป็นแบบผู้ให้-ผู้รับ มาเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดย EU เป็นผู้แบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ
- ที่ผ่านมา EU ได้ดำเนินความร่วมมือในระดับทวิภาคีภายใต้โครงการ Thailand-EU Policy Dialogues Support Facility (PDSF) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐและเอกชนไทยใน ๔ สาขา ได้แก่ (๑) การค้าการลงทุน (๒) การศึกษาระดับอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (๓) สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (๔) ธรรมาภิบาล โดยโครงการฯ ได้สิ้นสุดลงเมื่อปี ๒๕๖๐

๑) ทวิภาคี

- ปัจจุบัน EU ได้จัดสรรงบประมาณบางส่วนจากความร่วมมือระดับอาเซียนในกรอบ ARISE Plus ออกมาเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในแบบทวิภาคีเฉพาะบางประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย และไทย โดยไทยได้รับงบประมาณที่จัดสรรจำนวน ๒ ล้านยูโร มาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในด้านเศรษฐกิจการค้าของไทย โครงการฯ จะประกอบด้วย ๓ ด้าน ได้แก่ (๑) การส่งเสริมศักยภาพ ให้ภาครัฐไทยในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง (๒) การส่งเสริมศักยภาพให้ภาครัฐไทยในเรื่องการแข่งขันทางการค้า (๓) การส่งเสริมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และจะขยายความร่วมมือในสาขานี้เป็นความร่วมมือในแบบไตรภาคีกับประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจ อาทิ สปป. ลาว โดยคาดว่าโครงการฯ จะเริ่มดำเนินการใน พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายหลังจากการลงนามระหว่าง EU และไทยในข้อตกลงทางการเงิน (FA) ของโครงการดังกล่าว

๒) ระดับอาเซียน

- ความร่วมมือในระดับอาเซียนดำเนินผ่านกรอบความร่วมมือ EU-อาเซียน ซึ่งมีกรมอาเซียนเป็นหน่วยงานประสานงานของไทย ในปีงบประมาณ ค.ศ. ๒๐๑๔-๒๐๒๐ EU ได้จัดสรรงบประมาณ ดังนี้ (๑) Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (E-READI) จำนวน ๓๐ ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนความร่วมมือกับอาเซียนในด้านที่ไม่เกี่ยวกับการค้า อาทิ การขนส่ง circular economy (๒) ARISE Plus (จำนวน ๙๔ ล้านยูโร) เพื่อสนับสนุนการบูรณาการอาเซียนในด้านที่เกี่ยวกับการค้า อาทิ การบูรณาการมาตรฐานและระบบต่าง ๆ  ในอาเซียน เช่น ศุลกากร การบินพลเรือน ทรัพย์สินทางปัญญา (๓) SHARE เพื่อสนับสนุนด้านอุดมศึกษา (๔) อื่น ๆ อาทิ การสนับสนุน ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management (AHA Centre)

๓) ระดับภูมิภาคและระดับโลก

- EU มีการดำเนินความระดับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไทยสามารถเข้าร่วมได้ อาทิ โครงการ SWITCH-Asia ซึ่งมีเป้าหมายในการสนับสนุนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อธรรมชาติในภูมิภาคเอเชีย โดยมี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ประสานงาน

- ในระดับโลก EU มีโครงการความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ การจัดสรรทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษา อบรม วิจัย (Erasmus Mundus และ Erasmus+) และทุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม (Horizon 2020) ให้แก่นักศึกษา นักวิจัย และสถาบันการศึกษาและวิจัยทั่วโลก รวมถึงไทย ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานประสานงาน


 

สถานะ ณ เมษายน ๒๕๖๓

 

ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ