ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 10,834 view

ญี่ปุ่น (Japan)

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

๑) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับ

    รัฐบาลญี่ปุ่น (ลงนามเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑)        

๒) บันทึกช่วยจำว่าด้วยกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่าง

    ญี่ปุ่นกับไทย

     ระยะที่ ๑ (ลงนามเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๗) (ค.ศ. ๑๙๙๔)

     ระยะที่ ๒ (ลงนามเมื่อ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖) (ค.ศ. ๒๐๐๓)

     ระยะที่ ๓ (ลงนามเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๒) (ค.ศ. ๒๐๑๙)        

๓)  Partnership Arrangement (PA) ลงนามเมื่อวันที่ ๑๕

     กันยายน ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗)

รูปแบบความร่วมมือ

๑) ความร่วมมือทวิภาคี

๒) ความร่วมมือไตรภาคี

 

กลไกการดำเนินงาน

การประชุมหารือนโยบาย (Policy Dialogue) และแนวทางการจัดทำ ข้อเสนอขอรับความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลญี่ปุ่นประจำปี ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับ Japan International

Cooperation Agency (JICA) ประจำประเทศไทย

(ทุกปี ประมาณเดือนเมษายน) 

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในปัจจุบัน

ความร่วมมือ

รายละเอียด

ภูมิหลัง

 

 

        ญี่ปุ่นได้เริ่มให้ความช่วยเหลือทางวิชาการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยเริ่มต้นจากการให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้ง ศูนย์ฝึกอบรมโทรคมนาคมของกระทรวงศึกษาธิการ และการจัดตั้งสถาบันวิจัยไวรัสของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแผนโคลัมโบในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔) ญี่ปุ่นได้เริ่มต้น ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance – ODA) แก่ประเทศไทย ผ่าน หน่วยงานบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศคือ Japan International Cooperation Agency (JICA) สังกัดกระทรวงการ ต่างประเทศญี่ปุ่น โดยให้ทุนฝึกอบรมที่ประเทศญี่ปุ่นแก่บุคลากรของไทย จำนวน ๒๑ คน 

        เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย ได้ร่วมลงนาม ในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น (Agreement on Technical Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Japan) เพื่อเป็นกรอบใหญ่ใน การดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน

        ในระยะแรก ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในรูปของเงินกู้ (Soft Loan) และความช่วยเหลือแบบ ให้เปล่า (Grant Aid) โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย รวมทั้งความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation) ในระดับทวิภาคีในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข จนทำให้ประเทศไทยมีระดับ การพัฒนาที่สูงขึ้น และมีศักยภาพที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

        หลังจากประเทศไทยยกฐานะขึ้นเป็นประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนลักษณะความ ร่วมมือกับไทยแบบทวิภาคีไปเน้นการสนับสนุนโครงการที่เป็นภูมิภาครวมถึงในกรอบอาเซียนมากขึ้น โดย JICA ได้จัดทำ นโยบายในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย (Country Assistance Policy for Thailand) โดยให้ความร่วมมือแก่ ประเทศไทยในฐานะที่เป็น “Upper-Middle-Income Country” และมุ่งเน้น “the New Growth Strategy” เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย นำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน และความก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์ และความร่วมมือในภูมิภาค โดยกำหนดสาขาที่ให้ความสำคัญหลัก ๆ ไว้ ๓ ประการ คือ (๑) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัย เป็นต้น (๒) การเผชิญประเด็นท้าทายใหม่ ๆ ทางสังคม เช่น สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และ (๓) ความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะกรอบอาเซียน เช่น การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน การสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน และการลดช่องว่างระหว่างการพัฒนาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน  ในขณะ เดียวกัน ประเทศไทยก็ได้มีการปรับบทบาทจากประเทศผู้รับมาเป็นการสร้างหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partnership) กับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ จึงทำให้ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในระยะหลังมุ่งเน้นความร่วมมือแบบ ไตรภาคี (Triangular Cooperation) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่สามด้วย

๑) ทวิภาคี

๑. ความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation)

    ตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ในปัจจุบัน รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความร่วมมือทางวิชาการ ในด้านที่มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (เช่น ระบบคมนาคมขนส่งทางราง และการส่งเสริม SMEs) การพัฒนาเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (เช่น ระบบสาธารณสุขเพื่อผู้สูงอายุ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า) การสร้างขีดความสามารถใน การทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการภัยพิบัติ และการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

    รูปแบบความร่วมมือทวิภาคีกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบด้วย

    ๑.๑ โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation Project: TCP) ที่ให้แก่หน่วยงานไทยต่าง ๆ ตาม คำขอ ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการประมาณปีละ ๑๕-๒๐ โครงการ กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย (๑) การจัดหลักสูตรฝึกอบรมในประเทศไทย (In-country Training) (๒) การให้ทุนฝึกอบรม (Country-focused Training) ณ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสมทบภายใต้โครงการ ปีละประมาณ ๑๐๐ ทุน (๓) การส่งผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นระยะสั้น และระยะยาวมาปฏิบัติงานภายใต้โครงการในประเทศไทย ประมาณ ๒๐ คนต่อปี และ (๔) การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ภายใต้โครงการ

    ๑.๒ โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวางแผนพัฒนา (Technical Cooperation for Development Planning : TCDP) ขณะนี้มี ๑ โครงการ ด้าน Promoting Sustainability in Future Cities ของสำนักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    ๑.๓ โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยด้าน Science and Technology Cooperation of Global Issues ภายใต้ Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development (SATREPS) โดยสนับสนุนการทำวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงานและมหาวิทยาลัยของไทยกับญี่ปุ่น ขณะนี้มีโครงการอยู่ ๘ โครงการ ในสาขาต่าง ๆ เช่น พลังงานชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปราบศัตรูพืช การเพาะเลี้ยงปลา Smart Transport (Thailand 4.0) การกำจัดขยะพลาสติกในทะเล และการผลิตอาหารปลอดภัย เป็นต้น 

    ๑.๔ ผู้เชี่ยวชาญประเภทนอกโครงการ (Individual Expert : IR) ปัจจุบันมี ๖ คน ปฏิบัติงานในสาขาการจัดการมลพิษ ในอุตสาหกรรม เภสัชศาสตร์ การพัฒนาสถานีรับสัญญาณดาวเทียม การรถไฟ ระบบข้อมูลศุลกากร 

    ๑.๕ การให้ทุนฝึกอบรม (Country-focused Training) ณ ประเทศญี่ปุ่น ตามคำขอเฉพาะของหน่วยงานไทย โดย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔ จะมีการให้ทุนด้าน climate change mitigation and adaptation แก่สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ๑.๖ การส่งอาสาสมัครญี่ปุ่น Japan Overseas Cooperation Volunteers (JOCV) มาปฏิบัติงาน ณ หน่วยงาน และสถาบันการศึกษาของไทย ระยะเวลา ๑-๒ ปี โดยมี JOCV ตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑) จนถึงปัจจุบัน ประมาณเกือบ ๑,๐๐๐ คน ขณะนี้มีอาสาสมัครมาปฏิบัติงานประมาณปีละ ๒๕ คน ใน ๑๑ สาขา ได้แก่ การดูแลผู้พิการ การดูแลผู้สูงวัย การศึกษา การป้องกันการค้ามนุษย์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี การฝึกวิชาชีพ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเมือง สิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น การพัฒนาชุมชน การสอนภาษาญี่ปุ่น และการสอนวิทยาศาสตร์

    ๑.๗ ทุนฝึกอบรม/ดูงานหลักสูตรนานาชาติ ณ ญี่ปุ่น (Group and Region-focused Training Courses) ในลักษณะที่มีผู้เข้ารับการอบรมหลายประเทศรวมกัน ในปัจจุบัน ญี่ปุ่นจะแจ้งเวียนทุนให้แก่ประเทศไทยปีละประมาณ ๓๕ หลักสูตร (๕๐ ทุน)

 

๒. ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Grant Aid)

    ในอดีต รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มต้นให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศไทยในรูปของการสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้าง พื้นฐาน อาคารสถานที่ และจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้ยุติความร่วมมือในรูปแบบนี้ไป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓) เมื่อประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้กลับมาให้การสนับสนุน ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทยอีกครั้งในปีงบประมาณญี่ปุ่น ค.ศ. ๒๐๐๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ในลักษณะความช่วยเหลือ ให้เปล่าที่ไม่อยู่ในรูปโครงการ (Non – Project Grant Aid) เพื่อจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้แก่หน่วยงานไทยต่าง ๆ และในปัจจุบันมีดังนี้

    ๒.๑ ความช่วยเหลือให้เปล่าที่ไม่อยู่ในรูปโครงการ (Non – Project Grant Aid)

          ๒.๑.๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านเยน (หรือประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท) ประกอบด้วย (๑) ด้าน Provision of Japanese SME’s Products จำนวน ๕๐๐ ล้านเยน และ (๒) ด้าน Provision of Japanese Next-Generation Vehicle จำนวน ๕๐๐ ล้านเยน วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่น และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีการผลิตโดย SME ของญี่ปุ่น และการใช้รถยนต์ ลดมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมและลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติข้อเสนอจากหน่วยงานไทยที่สนใจ รวม ๒๔ ข้อเสนอ (๑๒ หน่วยงาน) 

          ๒.๑.๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้าน Economic and Social Development Program (Counterterrorism and public security) มูลค่า ๒๐๐ ล้านเยน (หรือประมาณ ๖๒ ล้านบาท) ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อสนับสนุน รัฐบาลไทยในการต่อต้านการก่อการร้ายและสนับสนุนมาตรการด้านความมั่นคง โดยการจัดซื้อชุดเครื่องมือจดจำและตรวจสอบ บุคคลเฝ้าระวังทางความมั่นคง (Standalone Facial Recognition System และ Central Facial Matching System) ตามคำขอของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บชส.)

 

    ๒.๒ ความช่วยเหลือให้เปล่าในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Grant Aid)

          ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ให้ความ ช่วยเหลือ ให้เปล่าในด้านการจัดการแก้ไขและป้องกันอุทกภัยภายใต้ความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้

          ๒.๒.๑ Programme Concerning the Mitigation and Relief Efforts to Restore Loss from the Recent Flood Disaster in the Kingdom of Thailand วงเงินมูลค่า ๑,๐๐๐ ล้านเยน ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

          ๒.๒.๒ Project for Comprehensive Flood Management Plan for the Chao Phraya River Basin) ของกรม ชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำ ระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๕ – ธันวาคม ๒๕๕๖ ประกอบด้วย ๒ โครงการย่อย ได้แก่ การก่อสร้างประตูระบายน้ำที่ จ.อยุธยา มูลค่า ๒,๕๕๐ ล้านเยน (หรือประมาณ ๘๘๓ ล้านบาท) และการปรับปรุงฟื้นฟูถนน วงแหวนรอบนอกของกรมทางหลวง มูลค่า ๕,๔๘๐ ล้านเยน (หรือประมาณ ๑,๙๐๐ ล้านบาท) 

     ๒.๓ ความช่วยเหลือให้เปล่าเพื่อการพัฒนาขั้นพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (Grant Assistance for Grassroots Human Security Projects : GGP)

           รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือให้เปล่าในโครงการขนาดย่อม (Small-scale) วงเงินไม่เกิน ๑๐ ล้านเยน (หรือ ประมาณ ๓ ล้านบาทต่อโครงการ) ให้แก่องค์กรขนาดย่อมของไทย เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น และสถาบันที่ดำเนินงานค้นคว้าวิจัยทางสาธารณสุข เพื่อดำเนินโครงการในชุมชนของไทย อาทิเช่น การก่อสร้างหรือปรับปรุง อาคาร (เช่น โรงเรียน ศูนย์อนามัย) การจัดซื้อยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น (เช่น รถพยาบาล รถดับเพลิง อุปกรณ์ทาง การแพทย์) การฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ผู้พิการ ผู้ยากไร้) การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน การใช้พลังงาน ทดแทน และงานสังคมสงเคราะห์อื่น ๆ สำหรับปีงบประมาณญี่ปุ่น ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒) มีโครงการได้รับอนุมัติ รวม ๑๗ โครงการ

2) ไตรภาคี

    รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามในกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างกัน (Japan-Thailand Partnership Programme : JTPP) เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๗ (ค.ศ. ๑๙๙๔) เพื่อร่วมกันสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชการและประสบการณ์ด้าน การพัฒนาที่เหมาะสมให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดย การจัดหลักสูตรฝึกอบรมในประเทศไทยให้แก่ประเทศที่สาม (Third Country Training Programme : TCTP) และการจัดส่ง ผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานในประเทศที่สาม (Third Country Expert Programme : TCEP) ซึ่งภายในระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๓) ได้มีการจัดฝึกอบรมถึง ๒๒ หลักสูตร และจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานถึง ๗๑ คน และจากผลสำเร็จ ดังกล่าว จึงได้มีการลงนามกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนอีกครั้ง ในระยะที่ ๒ (JTPP II) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)

    เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วน ระยะที่ ๓ (JTPP III) โดยขยายกรอบ การดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนและลุ่มน้ำโขง ให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการรวมตัวของ ประชาคมอาเซียน แนวคิดเรื่องการเปิดเสรีอินโด-แปซิฟิก ความร่วมมือแม่โขง–ญี่ปุ่นตามกรอบยุทธศาสตร์โตเกียว พ.ศ. ๒๕๖๑ และแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๖ รวมทั้งเพื่อสนับสนุน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ กิจกรรมจะประกอบด้วย (๑) ความร่วมมือทางวิชาการ ผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยร่วมกันจัดหลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินโครงการพัฒนา การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ การทำวิจัย เป็นต้น และ (๒) การสนับสนุนทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแก่ประเทศที่สาม ผ่านสำนัก งานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศ  เพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดยยึด หลักความเท่าเทียมกัน

    รูปแบบความร่วมมือไตรภาคีกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบด้วย

๑. การจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ประเทศที่สาม (Third Country Training Programme : TCTP)

    โดยร่วมกับ JICA ในการจัดฝึกอบรมในประเทศไทยให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ โดย เฉพาะกลุ่มประเทศ อาเซียน และประเทศเพื่อนบ้าน (เน้นการส่งเสริมประชาคมอาเซียน) ปีละ ๕-๑๐ หลักสูตร โดยในระยะ ๓ ปีข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) จะร่วมกันจัดฝึกอบรม ๔ หลักสูตร (ปีละ ๑ หลักสูตร ๆ ละ ๒๐-๒๕ ทุน) ได้แก่

    ๑.๑ หลักสูตร Modernization of Power Distribution System in ASEAN Countries ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน

          โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 

    ๑.๒ หลักสูตร Strengthening Disability Inclusive Disaster Risk Reduction in the ASEAN Region ให้แก่ผู้พิการ

          จากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD)

    ๑.๓ หลักสูตร Workshop on Investment Promotion Policy and Enhancing Industrial Competitiveness for

          the Mekong and South Asian Countries ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศเอเชียใต้ โดยสำนักงาน

          คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 

    ๑.๔ หลักสูตร International Road Infrastructure Development for ASEAN and BIMSTEC Networks

          ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศเอเชียใต้ โดยกรมทางหลวง 

 

 

๒. โครงการความร่วมมือไตรภาคี

    ๒.๑ ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ญี่ปุ่น-เมียนมา

          ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและ JICA ได้ตกลงร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ แก่เมียนมา รวม ๔ สาขา ตามความต้องการของเมียนมา และระหว่างปี ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๓) ได้มีการดำเนิน กิจกรรมไปแล้ว ดังนี้

          ๒.๑.๑ สาขา Tourism Promotion เน้นการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่เมืองพุกาม โดยจัดฝึกอบรมใน ประเทศไทย ด้าน hotel management (Front Office Operation และ Restaurant Service) ที่วิทยาลัยดุสิตธานี รวมทั้งสิ้น ๔ หลักสูตร ให้แก่บุคลากรในภาคธุรกิจท่องเที่ยวของเมียนมา รวม ๓๘ คน รวมทั้งจัดศึกษาดูงาน ด้าน Tourism   Promotion  for Sustainable Development ให้แก่เจ้าหน้าที่เมียนมาและเจ้าของธุรกิจโรงแรมในพุกาม รวม ๑๕ คน ณ จังหวัดสุโขทัย 

          ๒.๑.๒ สาขา Foot and Mouth Disease (FMD) เพื่อถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้ง FMD Free Zone ในพื้นที่ชายแดนระหว่างไทย-เมียนมา โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น ๓ หลักสูตร ให้แก่เจ้าหน้าที่เมียนมา รวม ๑๕ คน 

          ๒.๑.๓ สาขา Disaster Prevention and Management เน้นเรื่องการป้องกันและบริหารจัดการอุทกภัย โดยกรม อุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมชลประทานได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมในประเทศไทย ด้าน Hydrology (Flood Forecasting) และด้าน Water Resources Management รวมทั้งสิ้น ๓ หลักสูตร ให้แก่เจ้าหน้าที่เมียนมา รวม ๑๕ คน 

          ๒.๑.๔ สาขา Aquaculture เน้นการพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลาพันธุ์พื้นเมืองของเมียนมา Giant Butter Catfish (Silonia Silondia) และการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (Marine Shrimp Culture) โดยกรมประมงได้จัดฝึกอบรมใน ประเทศไทย รวมทั้งสิ้น ๕ หลักสูตร ให้แก่เจ้าหน้าที่เมียนมา รวม ๖๔ คน 

          ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันจัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญไปประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้ง ๔ สาขาให้แก่เมียนมา เพื่อเสนอกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินการต่อไปในอนาคต

    ๒.๒ ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ญี่ปุ่น-ปาเลสไตน์

          สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าร่วมการประชุม Conference on Cooperation among East Asian Countries for Palestinian Development (CEAPAD) Ministerial Meeting ครั้งที่ ๑ ที่กรุงโตเกียว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ และเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบ CEAPAD ประเทศไทยได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือไตรภาคี กับญี่ปุ่นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์ โดยริเริ่มในสาขาการท่องเที่ยว ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาส่งคณะไปสำรวจสภาพแวดล้อมและความต้องการของปาเลสไตน์ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๗ และเชิญคณะผู้แทนปาเลสไตน์นำโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวมาดูงานที่ประเทศไทยในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗

          จากนั้น กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและ JICA จึงได้ตกลงที่จะร่วมกันจัดฝึกอบรมในประเทศไทยตามความต้องการ ของปาเลสไตน์ เป็นเวลา ๓ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ ซึ่งที่ผ่านมา ได้จัดอบรมโดยมีผู้เข้าร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน (ส่วน กลางและเมือง Jericho) และมหาวิทยาลัยของปาเลสไตน์ รวม ๒ หลักสูตร ได้แก่ ด้าน Regulation and Standardization โดยกรมการท่องเที่ยว ในเดือนเมษายน ๒๕๕๘ (๑๐ คน) และด้าน Hospitality โดยวิทยาลัยนานาชาติ (ภาควิชาบริหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ (๑๐ คน) รวมทั้งได้จัดบรรยายผ่านระบบ TV Conference ณ สำนักงาน JICA ประจำประเทศไทย ไปยังปาเลสไตน์ อีก ๒ หลักสูตร คือ ด้าน Tourism Marketing โดยรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ (มีผู้เข้าร่วมฟังบรรยาย ๑๘ คน) และด้าน Tourism Marketing เน้น Community Tourism โดยรองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๒

          ในการประชุม CEAPAD Ministerial Meeting ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๑ ที่กรุงเทพฯ ไทยได้ยืนยันที่จะ ร่วมมือกับญี่ปุ่นในการต่อยอดความร่วมมือให้แก่ปาเลสไตน์ออกไปอีกเป็นระยะที่ ๒ เป็นเวลา ๓ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ ภายใต้กรอบ CEAPAD

          กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและ JICA ได้ร่วมกันจัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญจาก Mekong Institute (MI) ไปประเมิน ผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้แก่ปาเลสไตน์ เมื่อปลายเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ซึ่งจะได้นำผลสรุปมาพิจารณากิจกรรมที่ จะดำเนินการในระยะต่อไป

    ๒.๓ ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ญี่ปุ่น-แอฟริกา

          ๒.๓.๑ โครงการด้านการเพิ่มผลผลิตข้าวให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก Coalition for African Rice Development (CARD)

                   กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและ JICA ได้สนับสนุนศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตกำแพงแสน) ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมภายใต้โครงการด้านการเพิ่มผลผลิตข้าวเพื่อ แก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและบรรเทาความยากจนให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก Coalition for African Rice Development (CARD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในการประชุม Tokyo International Conference on African Development (TICAD) ครั้งที่ ๔ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ ที่เมืองโยโกฮาม่า ซึ่งประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม TICAD ในฐานะประเทศที่ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่แอฟริกา

                   ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ ได้มีการจัดศึกษาดูงานระดับ Policy Maker ร่วมกับฝึกอบรม Training of Trainer ระดับ Technician ในประเทศไทย ทั้งด้าน Mechanization และด้าน Rice Production รวมทั้งสิ้น ๗ หลักสูตร ให้แก่ เจ้าหน้าที่จากกลุ่มประเทศเป็นสมาชิก CARD รวม ๑๕๒ คน จากทั้งหมด ๒๑ ประเทศ ประกอบด้วย (๑) ประเทศที่ใช้ภาษา อังกฤษ (Anglophone) รวม ๑๐ ประเทศ ได้แก่ เอธิโอเปีย แกมเบีย กาน่า เคนยา ไลบีเรีย ไนจีเรีย แทนซาเนีย ยูกันดา แซมเบีย และโมซัมบิก และ (๒) ประเทศที่  ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophone) รวม ๑๑ ประเทศ ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กินี มาดากัสการ์ มาลี รวันดา เซเนกัล และโตโก 

                   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแผนงานที่จะจัดฝึกอบรมดังกล่าวข้างต้นให้แก่กลุ่มประเทศเป็นสมาชิก CARD อีกในระยะ ๓ ปีข้างหน้า ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ 

          ๒.๓.๒ โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนที่ประเทศเซเนกัล (Project on Sustainable Community Development in Lompoul and Thieppe Communities of Louga Region)

                  สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๐ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ JICA ได้ร่วมลงนามใน Partnership Arrangement (PA) ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานระหว่างกัน ในการขยายความร่วมมือหุ้นส่วนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งภูมิภาคแอฟริกา และสนองตอบประเด็นสำคัญที่เกิด ขึ้น ในปัจจุบัน เช่น การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  (SDGs) การสนองตอบต่อผลการประชุม TICAD ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทยไปประยุกต์ใช้ ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมกันดำเนิน โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และคัดเลือกเซเนกัลที่มีความสนใจต่อโครงการ ในลักษณะนี้ของไทยอยู่แล้ว โดยได้ร่วมกันจัดส่งคณะพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปสำรวจพื้นที่ ๒ แห่ง ตามที่ฝ่ายเซเนกัลเสนอมา คือ เมือง Thippe และ Lampoul เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ และขณะนี้ อยู่ระหว่างจัดทำ ร่างแผนงานและรายละเอียดโครงการ  

 

 

สถานะ ณ เมษายน ๒๕๖๓

 

ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ