เกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือ

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,433 view

ความร่วมมือทางเพื่อการพัฒนาไทย – เกาหลีเหนือ

 

๑. ความเป็นมา

                    ๑.๑ รัฐบาลไทยได้ริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมกับเกาหลีเหนือเมื่อปี ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘) ภายหลังจากการหารือระหว่าง Mr. Ri Sam Ro ออท. เกาหลีเหนือ/ปทท. กับ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยฝ่ายไทยได้เริ่มต้นให้ความร่วมมือฯ ในลักษณะการจัดหลักสูตรฝึกอบรม/ดูงานในสาขาต่าง ๆ ในประเทศไทยให้แก่ผู้รับทุนเกาหลีเหนือ

                   ๑.๒ อย่างไรก็ตาม ภายหลังเหตุลักพาตัวนักการทูตเมื่อปี ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙) ฝ่ายไทยได้ชะลอการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่เกาหลีเหนือ

                   ๑.๓ ต่อมาเมื่อเดือน ต.ค. ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) นายพิรุณ ลายสมิต ผอ. สพร. ได้นำคณะผู้แทนเดินทางเยือนกรุงเปียงยาง เพื่อหารือฟื้นฟูความร่วมมือทางวิชาการระดับทวิภาคีอีกครั้ง โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะ รมว. กต. อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนีย กต. และผู้แทนจากหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการศึกษาธิการ ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เสนอขอรับความร่วมมือจากไทยในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การท่องเที่ยว การเกษตร สาธารณสุข โดยจะจัดส่งรายละเอียดคำขอความร่วมมือให้ฝ่ายไทยพิจารณาเพื่อริเริ่มความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้น ฝ่ายไทยได้จัดการศึกษาดูงานด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้แก่อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนีย พร้อมกับผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวจาก National General Bureau of Tourism เมื่อเดือน เม.ย. ๒๕๕๗

 

๒. ความร่วมมือทวิภาคีที่ผ่านมา

                             ๒.๑ กรมความร่วมมือฯ ให้ความร่วมมือทางวิชาการตามคำขอของเกาหลีเหนือในลักษณะแผนงานรายปี ดังนี้

 

หลักสูตร

ช่วงเวลา

หน่วยงานจัด

ผู้เข้าร่วม

ปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕)                                                            

- Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP)

- Forestry Reserve Management   

 

  ๑๔-๒๗ ธ.ค.

  ๑๒–๒๗ ธ.ค.

 

 สถาบันอาหาร

 กรมป่าไม้

 

    ๗ คน

    ๗ คน

ปี ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖)

- Strategic Management in Economics

- Capacity Building & Expert Study Tour on

  Establishment of Overall Environment Protection    

  Standard

- Tourism Management

- Developing Livestock Breeding

- Capacity Building on Extension Services for

  Sustainable Agricultural Development

 

 ๒๕ ก.ค.– ๕ ส.ค

   ๗–๑๘ พ.ย

 

 

   ๙–๑๙ พ.ย.

 ๑๗ พ.ย.– ๒ ธ.ค.

    ๙-๑๙ พ.ย.

 

      นิด้า  

      นิด้า

 

 

ม. เกษตรศาสตร์

สถาบันอาหาร

ม. เกษตรศาสตร์

 

   ๑๐ คน

     ๖ คน

 

 

     ๖ คน

     ๘ คน

     ๖ คน

ปี ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗)

- การฝึกอบรมภาษาไทย

  (Mr. Ku Hyon Su และ Mr. Kim Yong Hyon)

- Sports Medicine

- Fishery processing

- Bread producing and processing

- Diary Milk Processing

- การเรียนภาษาไทยระยะที่ ๒

 

๖ ก.พ.–๓๑ ก.ค.

 

   ๘-๑๒ มิ.ย.

  ๑๔-๒๒ ก.ย.

  (ยังไม่ได้จัด)

  (ยังไม่ได้จัด)

  (ยังไม่ได้จัด)

 

มศว.

 

    ม.บูรพา

ม.เกษตรศาสตร์

 

     ๒ คน

 

     ๗ คน

     ๗ คน

    รวมจำนวนผู้รับทุน

 

 

๖๖ คน

    

                   ๒.๒  ปี ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) เกาหลีเหนือได้เสนอหลักสูตร จำนวน ๕ หลักสูตร ดังนี้

                             - Training on Executive Framework and Legal System for the Development of SEZs in Thailand

                             - Study Tour on the Establishment of Food Safety Management System (FSMS) audit Methodology

                             - Training & Expert Study Tour on the Establishing Vegetable Seed Test and Process System

                             - Training Course on City Management (road, street lamp, roadside plants)

                             - Training Experts for Developing, Managing and Operating Economic Development Zone and Study Tour in the Economic Zone

                   ๒.๓  โดยที่ระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๖ – ๒๐๑๗) สหประชาชาติมีมติคว่ำบาตร กลน. ดังนั้น กระทรวงฯ จึงมีนโยบายให้ชะลอการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับเกาหลีเหนือทุกรูปแบบไว้ก่อน ตั้งแต่ พ.ย. ๒๕๖๐ เพื่อมิให้มีการดำเนินการใด ๆ ที่ขัดแย้งกับข้อมติดังกล่าว

                   ๒.๔ เมื่อวันที่ ๒ ก.ค. ๒๕๖๑  H.E. Mun Song Mo ออท. กลน. ปทท. ได้เข้าพบอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และได้แจ้งข้อเสนอความร่วมมือ ดังนี้

                             (๑) ขอเพิ่มกิจกรรม “การพัฒนาเจ้าหน้าที่การทูต กลน.” ในคำขอฯ ประจำปี ๒๕๖๑ โดย ฝ่าย กลน. จะจัดทำข้อมูลความต้องการส่งให้กรมฯ ต่อไป

                             (๒) ขอให้กรมความร่วมมือฯ พิจารณาจัด ผชช. ไทย ไปหารือกับฝ่าย กลน. ในประเด็นที่ รมช.กต. ของทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือกันเมื่อวันที่ ๒๘ พ.ค. ๒๕๖๑ คือ เรื่องหญ้าแฝกและข้าว ซึ่งอธิบดีกรมความร่วมมือฯ ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่าย กลน. ดังนี้

                             - การปลูกหญ้าแฝกสามารถดำเนินการได้ทันที แต่ฝ่ายไทยจะต้องส่ง ผชช.ไทยไปสำรวจพื้นที่เป้าหมายก่อน

                             - การปลูกข้าว ขอให้ฝ่าย กลน. ส่งตัวอย่างดิน และเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการปลูกอยู่ ตัวเลข สถิติ และพื้นที่  ทำการเกษตร ชนิดพันธุ์พืชที่ปลูกบนไหล่เขา (หากมี) ข้อมูลสำหรับทั้งการปลูกข้าวตามไหล่เขา และการปลูกข้าว ในพื้นที่น้ำเค็ม เพื่อส่งให้ ผชช.ไทยเตรียมการต่อไป        

 

****************************

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๑

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ธันวาคม ๒๕๖๒