เกาหลีใต้

เกาหลีใต้

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 6,392 view

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับสาธารณรัฐเกาหลีใต้

 

ความร่วมมือรูปแบบทวิภาคี

  • ความเป็นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี (กลต.) ได้ลงนามใน Agreement on

Scientific and Technological Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Korea เมื่อวันที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๒๘ (๑๙๘๕)

ซึ่งกำหนดรูปแบบกิจกรรมความร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ ไว้ ได้แก่ (๑) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (๒) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ (๓) การจัดสัมมนาและประชุมร่วมกัน (๔) การทำ joint researches ในหัวข้อที่    มีความสนใจร่วมกัน และ (๕) ความร่วมมือรูปแบบอื่น ๆ ตามแต่จะตกลงกัน 

  • กิจกรรม/การดำเนินงาน ปัจจุบัน กลต. ได้ให้ความร่วมมือระดับทวิภาคีแก่ไทย  ประกอบด้วย

          ๑. ทุนศึกษาและฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติ ณ กลต. ในลักษณะที่มีผู้เข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหลายประเทศรวมกัน ปัจจุบัน ปทท. ได้รับการแจ้งเวียนทุนระดับปริญญาโท ปีละ ๑ หลักสูตร (๒ ทุน) ด้าน Integrated Chemical and Environmental Technology และทุนฝึกอบรมระยะสั้น (๒-๓ สัปดาห์) ปีละประมาณ ๕ หลักสูตร (หลักสูตรละ ๑-๒ ทุน) ในระยะ ๓ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๙–๒๕๖๑) ได้รับแจ้งเวียนทุนดังนี้

    ๑.๑ ทุนศึกษา ๑ หลักสูตร (รวม ๕ ทุน) แต่ไม่มีผู้สมัคร เนื่องจากหน่วยงานไทยไม่เสนอชื่อ

    ๑.๒ ทุนฝึกอบรม รวม ๑๑ หลักสูตร (๒๐ ทุน) ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาที่อยู่อาศัย (land and housing) การประมง (fisheries products) การแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ด้านยาเสพติดการย้ายถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระบบเตือนภัยธรรมชาติ พลังงาน (petroleum quality) ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี และการพัฒนานักการทูตด้านกฎหมายระหว่างประเทศ

          - โดยได้รับ ๑๓ ทุน จาก ๗ หลักสูตร  

สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ ปทท. ได้รับแจ้งเวียนทุน รวม ๑๐ หลักสูตร (๑๔ ทุน) ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่

§ Educational Administrators (ไม่เสนอชื่อ)

§ Insurance Policy (ไม่เสนอชื่อ)

§ Korean Language & Culture (ได้รับ ๑ ทุน)  

§ Illegal Drugs Control (ไม่เสนอชื่อ)

§ Human Security in Asia – Pacific (ไม่เสนอชื่อ)

§ Water Resources Management (ได้รับ ๒ ทุน)  

§ SDGs Indicators & Big – Data (ได้รับ ๑ ทุน)  

§ Water Data in Mekong Region (ไม่เสนอชื่อ)

§ Women Leadership (ได้รับ ๑ ทุน)  

§ Early Warning System (ได้รับ ๔ ทุน)  

(รายชื่อผู้รับทุน/หลักสูตรที่แจ้งเวียน/หน่วยงานไทย ตามเอกสารแนบ)   

- ซึ่งได้รับอนุมัติทุนแล้ว รวมทั้งสิ้น ๙ ทุน จาก ๕ หลักสูตร 

๒. โครงการ World Friends Korea (WFK)

๒.๑ ความร่วมมือผู้เชี่ยวชาญ สอท. กลต./ปทท. แจ้งสนับสนุนความร่วมมือด้าน ผชช. (ระยะ ๑ ปี)

ให้แก่ ปทท. เป็นประจำทุกปี ๆ ละ ๕-๑๐ คน ภายใต้โครงการ WFK ซึ่งดำเนินการโดย KOICA ร่วมกับ National IT Industry Promotion Agency (NIPA) กระทรวง Knowledge Economy ใน ๗ สาขา ได้แก่

§ Education

§ Health

§ Governance

§ Rural Development

§ Industry and Energy

§ Environment, Gender, and etc.

§ Information and Communication

 

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ส่งคำขอรับ ผชช. ภายใต้ WFK ประจำปี ๒๐๑๕ (๒๕๕๘) โดยจัดทำเป็นแผน ๓ ปี (๒๕๕๘-๒๕๖๐) รวม ๔๑ คำขอ ไปยัง สอท.กลต.ฯ และจนถึงปัจจุบัน ฝ่าย กลต. ได้แจ้งอนุมัติคำขอและจัดส่ง ผชช. ใหม่ มาปฏิบัติงาน (รวมทั้งขยายระยะเวลา ผชช.ที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว) ตามหน่วยงานไทย รวมทั้งสิ้น ๑๗ ราย ในด้านต่าง ๆ เช่น IT, consumer protection, INTERPOL, child & youth development, rural development, E-Court, tax administration (รายชื่อ/สาขา/หน่วยงานไทยตามแนบ)   

ในปี ๒๕๖๑  KOICA/ปทท. ได้แจ้งเวียนคำขอ ผชช. ภายใต้ WFK ระยะ ๒ ปี ประจำปี ๒๐๑๙-๒๐๒๐ (๒๕๖๒-๒๕๖๓) ซึ่งกรมความร่วมมือฯ ได้รวบรวม/จัดส่งคำขอจากหน่วยงานไทย รวมทั้งสิ้น ๖๔ คำขอ ไปยัง KOICA แล้ว เมื่อเดือน ก.ย. ๒๕๖๑ และได้แจ้งผลการพิจารณา/ส่ง ผชช. มาแล้ว ๒ คำขอ ด้าน IT (ของ ก.ดิจิทัลฯ และ ก.การอุดมศึกษาฯ (สวทน.))

๒.๒ ความร่วมมืออาสาสมัคร KOICA ส่งอาสาสมัคร กลต. เข้ามาปฏิบัติงานใน ปทท. รวม ๓

ประเภท ปัจจุบัน (เดือน ธ.ค. ๖๒) มีอาสาสมัคร กลต. ปฏิบัติงานอยู่ (ที่ดำเนินการผ่านกรมความร่วมมือฯ) รวมทั้งสิ้น ๕๒ ราย (ข้อมูล ครม. ด้านอาสาสมัคร และรายชื่อ อสม./หน่วยงานไทยตามแนบ) ประกอบด้วย

๒.๒.๑ Korea Overseas Volunteer (KOV) ปฏิบัติงานสาขา Korean Language

Education ที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในสังกัด สกอ. และ สอศ. เป็นเวลา ๒ ปี ปัจจุบันมีอาสาสมัคร อยู่ระหว่างปฏิบัติงาน จำนวน ๔๓ ราย

๒.๒.๒ Dream Volunteers (เป็นเยาวชนซึ่งสำเร็จการศึกษาสายอาชีพ) ปฏิบัติงานเป็น  

กลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ ราย สาขาการทำอาหารเกาหลี เบเกอรี่ เสริมสวย และสปา ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในสังกัด สอศ. เป็นเวลา ๑ ปี ปัจจุบันมีอาสาสมัครปฏิบัติงานอยู่ รวม ๙ ราย   

         ๒.๒.๓ KOICA International Development Volunteer (KIDV) โดย KOICA ดำเนินงานร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศโดยตรง เช่น UN Women โดยไม่ผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

๓. โครงการ Knowledge Sharing Program (KSP) รัฐบาล กลต. (ผ่าน สอท.กลต./ปทท.) mจะแจ้งเวียนให้หน่วยงานไทยจัดส่งข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจาก Ministry of Strategy and Finance (MOSF) สำหรับโครงการความร่วมมือทางวิชาการภายใต้ Knowledge Sharing Program (KSP) ทุก ๒ ปี ใน ๕ สาขา ได้แก่ ๑) Economic Development Strategy ๒) Industrialization and  Export Promotion ๓) Knowledge-based Economy ๔) Economic Crisis Management และ ๕) Human Resource Development ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานไทยได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์และวางแผนเพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศึกษาตัวอย่างความสำเร็จของเกาหลี รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรและศักยภาพของหน่วยงานไทย โดยปี พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมความร่วมมือฯ แจ้งให้หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำข้อเสนอและได้จัดส่งให้ฝ่าย กลต. พิจารณาแล้ว รวม ๑๑ คำขอ และได้รับแจ้งจาก สอท. กลต./ปทท. ว่าทั้ง ๑๑ ข้อเสนอไม่ได้รับการอนุมัติ

 

ความร่วมมือไตรภาคี

  • ความเป็นมา กรมความร่วมมือฯ และ KOICA ได้ลงนาม MOU between KOICA and TICA to

Strengthen Partnership for International Development Cooperation ระหว่าง ประธาน KOICA (Mr. Kim Young Mok) และอธิบดีกรมความร่วมมือฯ (น.ส.สุชาดา ไทยบรรเทา) เมื่อวันที่ ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๗ โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาบนหลักการ Partnership โดยรวมทั้งกิจกรรมความร่วมมือในรูปทวิภาคีและไตรภาคีที่รัฐบาลไทยและสาธารณรัฐเกาหลีจะร่วมมือกันดำเนินงานได้อย่าง  เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

(๑) การส่ง ผชช./อาสาสมัคร

                   (๒) การจัดฝึกอบรม joint training

                   (๓) ทุนศึกษาอบรม

                   (๔) โครงการ/แผนงาน ครม.เพื่อการพัฒนา

                   (๕) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ

                   (๖) การวิจัยในประเด็นการพัฒนา

                   (๗) การจัดประชุม/สัมมนาฯ และ

                   (๘) กิจกรรมอื่นที่ตกลงกัน

  • กิจกรรม/การดำเนินงาน

๑. การจัดฝึกอบรม Joint Training Program

     ภายหลังการลงนามใน MOU ดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำ Action Plan on Joint

Training Program เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานแล้ว ๒ ฉบับ และจนถึงปัจจุบัน (ปี ๒๕๖๒) ได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมใน ปทท. ไปแล้ว รวม ๖ หลักสูตร มีผู้เข้าร่วมจากอาเซียน/ติมอร์ฯ รวมทั้งสิ้น ๖๙ ราย ดังนี้

๑.๑ Action Plan ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๔ – ๒๐๑๖ (๓ ปี) ลงนามโดย Mr. Yung-Soo Doo,

Vice President, KOICA เมื่อวันที่ ๑๗ ส.ค. ๒๕๕๗ กับรองอธิบดีกรมความร่วมมือฯ (น.ส. อังสนา สีหพิทักษ์)  เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๗ สำหรับการจัดฝึกอบรม KOICA-TICA Joint Training ใน ปทท. โดย KOICA ได้ส่ง ผชช. มาร่วมบรรยายให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน (ยกเว้นบรูไนและสิงคโปร์) สาขา Public Health และสาขา Rural Development ซึ่งที่ผ่านมา ได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมไปแล้ว ๓ หลักสูตร มีผู้เข้าร่วม รวม ๒๙ ราย ดังนี้    

                   ๑.๑.๑ ด้าน Rural Development

          (๑) ปี ๒๕๕๘ หลักสูตร Sustainable Rural Development Based on

Sufficiency and Creative Economy ระหว่างวันที่ ๒ – ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๘ ณ ม.ขอนแก่น มีผู้เข้าร่วมรวม ๑๑ ราย กัมพูชา (๓) สปป.ลาว (๑) มาเลเซีย (๑) เมียนมา (๒) เวียดนาม (๒) และ ปทท. (๒)

(๒) ปี ๒๕๕๙ หลักสูตร Sustainable Rural Development and Sufficiency

Economy ระหว่างวันที่ ๕ – ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๙ โดย ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตกำแพงแสน) มีผู้เข้าร่วม ๙ ราย กัมพูชา (๓) สปป.ลาว (๒) มาเลเซีย (๑) และเมียนมา (๓)

                   ๑.๑.๒ ด้าน Public Health

ปี ๒๕๕๙ หลักสูตร Integrated Healthcare Management based on Primary

Healthcare and Health System Strengthening Approach ระหว่างวันที่ ๑๙ มิ.ย. – ๒ ก.ค. ๒๕๕๙  โดยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเชียน (ASEAN Institute for Health Development: AIHD) ม.มหิดล มีผู้เข้าร่วม รวม ๙ ราย มาเลเซีย (๓) ฟิลิปปินส์ (๑) เมียนมา (๒) และกัมพูชา (๓)  

     ๑.๒ Action Plan ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๗ – ๒๐๑๙ (๓ ปี) ลงนามโดย Mr. Sul Kyung Hoon,  

Vice President, KOICA เมื่อวันที่ ๒๐ มี.ค. ๒๕๖๐ กับรองอธิบดีกรมความร่วมมือฯ (นายไพศาล หรูพาณิชย์กิจ) ในวันที่ ๘ มิ.ย. ๒๕๖๐ สำหรับการจัดฝึกอบรม KOICA-TICA Joint Training ทั้งใน ปทท. และ กลต. ระยะเวลา ๓ สัปดาห์ และให้ทุนหลักสูตรละ ๑๘ ทุน แก่ ๙ ประเทศ (คือ ๘ ประเทศสมาชิกอาเซียน ยกเว้นบรูไนและสิงคโปร์ และติมอร์-เลสเต) โดยแต่ละฝ่ายจะส่ง ผชช. ไปร่วมบรรยายในหลักสูตรที่อีกฝ่ายเป็นประเทศ ผู้จัด ปีละ ๒ หลักสูตร (กลต. จะจัดหลักสูตรด้าน Water Resources และ ปทท. จะจัดหลักสูตรเกี่ยวกับ SEP) ซึ่งระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ ได้ร่วมกับ กลต. จัดฝึกอบรมเสร็จสิ้นไปแล้ว รวม ๖ หลักสูตร ดังนี้   

                   ๑.๒.๑ การจัดอบรมที่ ปทท. หลักสูตร Sustainable Agriculture and Environmental Management based on Sufficiency Economy Philosophy รวม ๓ ครั้ง คือ ปีที่ ๑ (ระหว่างวันที่ ๓๑ ต.ค.–๒๒ พ.ย. ๖๐) ปีที่ ๒ (ระหว่างวันที่ ๓๑ ต.ค.–๒๒ พ.ย. ๖๑) และปีที่ ๓ (ระหว่างวันที่ ๒๙ ส.ค.–๒๐ ก.ย. ๖๒) ณ จ.เพชรบุรี โดย ม.ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๔๐ ราย จาก ๘ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา (๑)สปป.ลาว (๑๐) เมียนมา (๓) เวียดนาม (๗) อินโดนีเซีย (๓) มาเลเซีย (๑) ติมอร์-เลสเต (๑๔) และ ปทท. (๑)

๑.๒.๒ การจัดอบรมที่ กลต. หลักสูตร Water Resources Development and

Management โดย KOICA ณ เมือง Daejeon  ซึ่งกรมความร่วมมือฯ ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทย (คณบดี/อาจารย์ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ไปเป็นวิทยากรร่วมบรรยาย รวม ๓ ครั้ง ในปี ๒๕๖๐ (ระหว่างวันที่ ๑๒–๑๓ พ.ย. ๖๐) ปี ๒๕๖๑ (ระหว่างวันที่ ๒๖–๒๗ ส.ค. ๖๑) และปี ๒๕๖๒ (ระหว่างวันที่ ๑๙–๒๒ ต.ค. ๖๒)

    ๑.๓ การจัดทำ Action Plan ฉบับที่ ๓ ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๒๐ – ๒๐๒๒ (๓ ปี)

                   เมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๖๒ นาย Song Jinho, Vice President ของ KOICA ได้เข้าพบกับ รอธ. ศศิธรฯ และหารือประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำ Action Plan ฉบับที่ ๓ โดย รอธ. ศศิธรฯ ได้เสนอแนะสาขาที่ควรจัดอบรมร่วมกันให้แก่อาเซียนที่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญภายใต้กรอบ ASEAN และ SDGs ตามเอกสาร Complementarities between the ASEAN Community Vision 2025 and the United Nations 2030 Agenda for Sustainable Development (กต. จัดทำร่วมกับ UNESCAP และ สลธ.อาเซียน) ซึ่งระบุ priority areas ไว้ ๕ สาขา ได้แก่ ๑) Poverty eradication ๒) Infrastructure and connectivity ๓) Sustainable management of natural resources ๔) Sustainable consumption and production และ ๕) Resilience ทั้งนี้ ฝ่ายไทยยังคงเน้นเรื่อง Poverty eradication / การเผยแพร่หลักปรัชญาของ ศก.พอเพียง เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมาย SDGs (SEP for SDGs Partnership)

          ๒. โครงการ Joint Development Project กรมความร่วมมือฯ ได้จัดส่ง Concept เพื่อริเริ่ม Joint Development Project on Rural Development ในโมซัมบิก ให้แก่ KOICA/HQ พิจารณา เพื่อจะมีการจัดส่ง Joint Mission เพื่อไปหารือกับฝ่ายโมซัมบิกถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโครงการต่อไป ซึ่งต่อมา KOICA แจ้งไม่สนับสนุน เนื่องจากเห็นว่า ภูมิภาคแอฟริกาไม่ใช่ ปท. เป้าหมายที่ประสงค์จะมี    ความร่วมมือกับไทย

. การจัดส่งอาสาสมัคร Joint Volunteers จะดำเนินการโครงการ Joint Volunteers

ระหว่างกรมความร่วมมือฯ กับ KOICA เพื่อจัดส่งอาสาสมัครไทยและ กลต. ไปปฏิบัติงานในประเทศที่สาม รวมทั้งในประเทศที่มีโครงการของไทยหรือ กลต. ดำเนินการอยู่ เพื่อช่วยปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ KOICA ได้ขอให้ จนท.กรมฯ ที่ปฏิบัติงานที่ สอท. ในประเทศเพื่อนบ้านไปหารือกับ KOICA ประจำประเทศนั้น เพื่อพิจารณา/เสนอแนะสาขาที่เหมาะสมในการจัดส่งอาสาสมัครร่วมกันก่อน (กรมความร่วมมือฯ ได้แจ้งขอความอนุเคราะห์ สอท. ในประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ แล้ว อยู่ระหว่างรวบรวมการแจ้งผล)    

 

ความร่วมมือในกรอบภูมิภาค

  • Mekong-ROK Cooperation (กรม ศก.รปท. เป็นหน่วยงานหลัก) มีสาขาความร่วมมือ คือ

๑) Infrastructure ๒) Information Communication Technology (ICT) ๓) Green Growth ๔) Water Resource Development ๕) Agriculture and Rural Development และ ๖) Human Resource Development (HRD) โดยประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาที่ ๕ (เกษตร/พัฒนาชนบท)

  • ที่ประชุม รมต.ตปท. ลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๕ ส.ค. ๕๘ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

สนับสนุนการลงนาม MOU ระหว่าง กต. กลต. กับ Mekong Institute (MI) (ซึ่งกรมความร่วมมือฯ มีบทบาทในฐานะเป็นผู้แทน ปทท. ใน Steering Committee และ Council ที่มีผู้แทน ปท.สมช.ลุ่มน้ำโขงร่วมเป็นกรรมการด้วยเพื่อกำกับดูแล MI) เพื่อเพิ่มบทบาทของ MI ในการเป็นผู้ประสานงานหลัก นอกเหนือจากการเป็นผู้บริหารกองทุน Mekong-ROK Cooperation Fund (MRCF) โดย MI จะเป็นผู้ประสานงานข้อเสนอโครงการระหว่างผู้เสนอโครงการและ ปท.สมช.อื่น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบ/จัดทำร่างหลักเกณฑ์การเสนอโครงการให้มีรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้ง ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ

 

-----------------------------------------------------

 

ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

(ณ วันที่ ๖ ธ.ค. ๒๕๖๒)