เวียดนาม

เวียดนาม

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 5,280 view

ข้อมูลทั่วไป

ความเป็นมา : ไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงเวียดนามตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ โดยเริ่มมีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับทวิภาคีอย่างเป็นรูปธรรมในปี ๒๕๓๖

ความตกลง : บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗

แผนงานความร่วมมือฯ : ไม่มี

หน่วยงานกลางของเวียดนามที่รับผิดชอบ : ก.วางแผนและการลงทุนเวียดนาม

กลไกความร่วมมือฯ :

(๑) กปช.คณะกรรมาธิการร่วม (JC) เพื่อดำเนินความสัมพันธ์ไทย – เวียดนามในภาพรวม (รมว.กต.ของทั้งสองประเทศเป็นเจ้าภาพ)

(๒) กปช.ความร่วมมือทางวิชาการประจำปี (Consultation on Technical Cooperation) เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการไทย – เวียดนาม มีการประชุมทุก ๑๘ เดือน โดยแต่ละฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ ๑๒) จัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ ที่ไทย ทั้งนี้ เวียดนามจะเป็นเจ้าภาพ กปช.ความร่วมมือทางวิชาการครั้งต่อไป

รูปแบบความร่วมมือฯ ปัจจุบัน เวียดนามมีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับไทย จึงควรพัฒนาความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership แบบ Cost-sharing basis) มากกว่าที่เวียดนามจะเป็นผู้รับความช่วยเหลือจากไทยฝ่ายเดียวเช่นที่ผ่านมา

(๑) ความร่วมมือทวิภาคี (การให้ทุนศึกษาและอบรม/ การดำเนินโครงการพัฒนาในพื้นที่/ การจัดส่ง ผชช. ไปให้คำปรึกษา/ การส่งอาสาสมัครไปสนับสนุนโครงการ/

การมอบวัสดุอุปกรณ์)

(๒) ความร่วมมือไตรภาคี

(๓) ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค

(๓) หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC)

(๔) ทุนศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (TIPP)

 

สถานการณ์ดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

๑.  ความร่วมมือทวิภาคี

รัฐบาลไทยเริ่มให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งเวียดนาม มาตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ โดยการให้ทุนฝึกอบรม/ดูงานในประเทศไทย และต่อมาในปี ๒๕๓๖ ได้เริ่มให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับทวิภาคีอย่างเป็นรูปธรรม การดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการของไทยอยู่บนพื้นฐานความต้องการของประเทศคู่ร่วมมือ (Demand Driven Approach) และความเชี่ยวชาญของไทย ซึ่งมีประสบการณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่ร่วมมือในสาขาที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ การเกษตรและการพัฒนาชนบท การศึกษา สาธารณสุข ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามสามารถเสนอคำขอรับความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลไทยผ่าน กระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment – MPI) ของเวียดนาม ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่ดูแลการรับความร่วมมือทางวิชาการจากต่างประเทศ และจัดส่งให้ฝ่ายไทย คือ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณา

กลไกขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการ ได้แก่ การประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปี (Consultation on Technical Cooperation) ประธานฝ่ายไทย คือ อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ประธานฝ่ายเวียดนาม คือ Director-General of Foreign Economic Relations Department ก.วางแผนและการลงทุนเวียดนาม โดยมีการประชุมฯ ทุก ๑๘ เดือน และต่างฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพ โดยไทยเป็นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ ๑๒) ระหว่างวันที่ เมื่อวันที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ ที่ไทย

๒. รูปแบบการให้ความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วย (๑) การดำเนินโครงการพัฒนา (๒) การจัดส่ง ผชช. ไปให้คำปรึกษาแนะนำ (๓) การให้ทุนศึกษา/ฝึกอบรม และดูงาน (๔) การส่งอาสาสมัครไทยไปปฏิบัติงานตามคำขอ (๕) การมอบวัสดุอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบัน เวียดนามมีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับไทย ทั้งสองฝ่ายจึงควรพัฒนาความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership แบบ Cost sharing basis) มากกว่าที่เวียดนามจะเป็นผู้รับความช่วยเหลือจากไทยเพียงฝ่ายเดียวเหมือนที่ผ่านมา โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทยได้ดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในเวียดนามรวม ๓ โครงการ ได้แก่

     ๑. โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยในเวียดนาม (ใน ๔ มหาวิทยาลัย)

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย : มหาวิทยาลักศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว.) หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายเวียดนาม : (๑) University of Social Sciences and Humanities, Ho Chi Minh (USSH) (๒) University of Languanges and International Studies (ULIS), Vietnam National University, Hanoi (๓) Hanoi University (๔) University of Danang ระยะเวลาดำเนินโครงการ : ๓ ปี (๒๕๖๒ -  ๒๕๖๔) ผลการดำเนินโครงการ :

๑. พัฒนาศักยภาพและทักษะการสอนของครูผู้สอนชาวเวียดนาม (ปัจจุบันมีผู้รับทุนชาวเวียดนาม

จำนวน ๒ ราย ได้แก่ อาจารย์จาก ม. USSH ศึกษาระดับ ป. เอก สาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (ระหว่าง ก.ค. ๒๕๖๑-พ.ย. ๒๕๖๕) และอาจารย์จาก ม.ดานังศึกษาระดับ ป. โท สาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (ระหว่าง ส.ค. ๒๕๖๒ - ก.ค. ๒๕๖๕) ที่ คณะมนุษยศาสตร์   ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ

๒. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับคนเวียดนาม อาทิ การมอบหนังสือภาษาไทยด้านต่าง ๆ แก่มหาวิทยาลัยเวียดนาม ๔ แห่งที่เป็นพื้นที่โครงการ

๓. ส่งอาสาสมัครเพื่อนไทยไปเป็นผู้ช่วยสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยในเวียดนาม โดยปัจจุบันมีอาสาสมัครไทยปฏิบัติงานรวม ๕ รายที่ ม. USSH นครโฮจิมินห์ (ที่ภาควิชาไทยศึกษา ๒ ราย และศูนย์ไทย ๒ ราย) และ ม. ดานัง (๑ ราย)

๔. จัดอบรมภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มข้นให้นักศึกษาเวียดนามที่เรียนภาษาไทย

๕. กิจกรรมทางวิชาการที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ อาทิ อนุมัติจัดกิจกรรมวิจัยเพื่อพัฒนาหนังสือ ตำรา สื่อการเรียนการสอนสำหรับ นศ. ชาวเวียดนาม

สถานะล่าสุด

- โครงการลุล่วงแล้ว โดยยังมี (๑) นศ.ระดับปริญญาเอก ๑ คน และ (๒) น.ศ.ระดับปริญญาโท ๑ คน ศึกษาที่ มศว.ข้างต้น 

- ฝ่ายเวียดนามขอรับทุนการศึกษาระดับ ป.โท และขอรับอาสาสมัครเพิ่มเติมเพื่อช่วยสอนภาษาไทยใน    ม.USSH (๑ คน) ม.ดานัง (๑ คน) ม.ฮานอย (๒ คน) ซึ่งฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยอาจดำเนินในลักษณะกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทย

      ๒. โครงการติดตั้งปะการังเทียมที่จังหวัดก่าเมา

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย : กรมประมง

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายเวียดนาม : Department of Agriculture and Rural Development, Ca Mau Provincial Peoples Committee

ระยะเวลาดำเนินโครงการ : ๓ ปี (๒๕๖๑ -  ๒๕๖๓)

ผลการดำเนินโครงการ :

๑. จัดฝึกอบรม จนท.ฝ่ายเวียดนามที่เกี่ยวข้องกับการจัดวางปะการังเทียมในทะเล การประเมินความหลากหลายทางชีวภาพแนวปะการัง และการจัดประเภทสัตว์น้ำ (ดำเนินการในปี ๒๕๖๒)

๒. จัดสร้างปะการังเทียม จำนวน ๕๐๐ แท่ง ในทะเลฝั่ง ตต.ของ จ.ก่าเมา เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรทางทะเล (ดำเนินการในปี ๒๕๖๓) ป้ายบอกสัญญาณ ทุ่นลอย สายเคเบิล หัวหมุด และป้ายบอกตำแหน่ง

๓. สนับสนุนอุปกรณ์การถ่ายภาพใต้น้ำ ๔ รายการ ได้แก่ กล้องถ่ายภาพนิ่งระบบดิจิตัล กล้องสำหรับถ่ายภาพใต้จ้ำ เครื่องบอกพิกัดตำแหน่ง เครื่องหาความลึกและฝูงปลา

๔. ส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-๑๙ ซึ่งเกิดมาตรการจำกัดการเดินทาง จึงให้ฝ่ายเวียดนามดำเนินการเอง โดยฝ่ายไทยได้จัดทำแนวปฏิบัติและคู่มือให้แก่ฝ่ายเวียดนาม

สถานะล่าสุด โครงการใกล้ลุล่วง โดยเหลือเพียง ๑ กิจกรรม ได้แก่ การจัด กปช.ทางไกลเพื่อติดตามผลการปล่อยปะการังเทียมลงสู่ทะเลไปแล้ว ๑ ปี กำหนดจัดในวันที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๖๔ โดยจะใช้โอกาสดังกล่าวในการปิดโครงการด้วย

        ๓. โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจจังหวัด Thai Nguyen

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวทางของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่หมู่บ้าน Dong Bong และหมู่บ้าน Dong Xien อ. Phu Luong จ.Thai Nguyen ให้ได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาด้านการเกษตร ผสมผสานและวนเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายเวียดนาม : The People’s Committee of Thai Nguyen Province

ระยะเวลาดำเนินโครงการ : ๓ ปี (๒๕๖๓ – ๒๕๖๕)

ผลการดำเนินโครงการ :

๑. การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้นำชุมชน เน้นการถ่ายทอดและให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ SEP โดยมีการปรับกิจกรรมให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-๑๙ เช่น การฝึกอบรมและการจัดส่งสื่อการเรียนการสอนให้ฝ่ายเวียดนาม 

๒. ฝึกอบรมด้านการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าชา ตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด (เน้นตลาดในประเทศ) 

๔. ฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน 

๕. การสำรวจการใช้ประโยชน์จากป่าเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์จากป่าตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖. การส่งผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัครเพื่อนไทย (๓ ราย) ร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามสาขาที่ได้รับมอบหมาย

สถานะล่าสุด

- อยู่ระหว่างการเตรียมการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการติดตามผลการดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจจากสื่อการเรียนการสอน และจัดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในลักษณะ interactive online ก่อนพิจารณาทาบทามฝ่ายเวียดนามจัดการประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ (PSC) ในโอกาสแรกต่อไป

- สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-๑๙ กรมความร่วมมือฯ ได้อนุมัติให้อาสาสมัครฯ เดินทางกลับไทยในปี ๒๕๖๓ ซึ่งต้องติดตามประเมินสถานการณ์เพื่อพิจารณาส่งอาสาสมัครฯ กลับไปปฏิบัติหน้าที่อีกครั้ง

- นอกจากนี้ ไทยและเวียดนามเห็นชอบในหลักการในการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ จ.เบ็นแจ (Sustainable Development of Coastal Community based on Ecotourism and the Application of SEP) เป็นโครงการด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของ ศก.พอเพียงไปประยุกต์ใช้เป็นแห่งที่ ๒ ในเวียดนาม สถานะล่าสุด เมื่อวันที่ ๓๑ พ.ค. ๒๕๖๔ สกญ. ณ นครโฮจิมินห์ ได้นำส่งร่าง Concept Paper โครงการฯ ของฝ่ายไทยให้ฝ่ายเวียดนามพิจารณาแล้ว อยู่ระหว่างการรับข้อคิดเห็น

อนึ่ง ฝ่ายไทยได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ไทย (Thai Center) ณ University of Social Sciences and Humanities (USSH) เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมภาษาไทยที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม โดยจัดส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ และสนับสนุนคำขอของฝ่ายเวียดนามตามที่เหมาะสม

 

๒) ทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses  - AITC)

กรมความร่วมมือฯ ได้แจ้งเวียนทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติประจำปี (AITC) แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งเวียดนาม ประมาณปีละ ๑๕ - ๒๐ หลักสูตร

     - ปี ๒๕๕๙ มีผู้รับทุนชาวเวียดนามได้รับการอนุมัติทุนจำนวน ๒ ทุน

     ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ แจ้งเวียน ๓๕ หลักสูตร ใน ๕ สาขา ได้แก่ ๑) Sufficiency Economy Philosophy (SEP) ๒) Food Security ๓) Climate Change ๔) Public Health และ ๕) สาขาอื่นที่ไทยมีศักยภาพในการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีหรือประสบการณ์และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

     - ปี ๒๕๖๐ มีผู้รับทุนชาวเวียดนามได้รับการอนุมัติทุนจำนวน ๑๔ ทุน

     - ปี ๒๕๖๑ มีผู้รับทุนชาวเวียดนามได้รับการอนุมัติทุนจำนวน ๑๕ ทุน

     - ปี ๒๕๖๒ มีผู้รับทุนชาวเวียดนามได้รับการอนุมัติทุนจำนวน ๒๗ ทุน

     - ปี ๒๕๖๓ เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - ๑๙ จึงจัดการฝึกอบรมรูปแบบออนไลน์ในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักสูตร Food security – Postharvest, Processing and Product Development of Selected Agro-Industrial Products มีผู้รับทุนชาวเวียดนามได้รับการอนุมัติทุนจำนวน ๒ ทุน

     - ปี ๒๕๖๔ จะแจ้งเวียนทุนที่เลื่อนมาจากปี ๒๕๖๓ และที่จะจัดใหม่ในปี ๒๕๖๔ ให้แก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเวียดนาม ประมาณ ๖๑ หลักสูตร

 

๓) ทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Program - TIPP)

ระหว่างปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ กรมความร่วมมือฯ แจ้งเวียนทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท (TIPP) ซึ่งเป็นทุนแข่งขันให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเวียดนาม ประมาณปีละ ๒๐ ทุน เน้นหลักสูตรการศึกษาในสาขาหลัก ๕  สาขาเช่นเดียวกับทุนฝึกอบรม AITC โดยมีผู้ร้บทุนชาวเวียดนาม ๑ ราย ได้แก่

     - ปี ๒๕๖๐ เจ้าหน้าที่เวียดนามผ่านการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษา จำนวน ๑ คน หลักสูตร Master of Bioscience for Sustainable Agriculture

     - ปี ๒๕๖๓ เลื่อนการเข้ารับศึกษาออกไปในปี ๒๕๖๔ เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - ๑๙ (อยู่ระหว่างการรวบรวมใบสมัครรับทุนจากประเทศต่าง ๆ/จัดส่งให้มหาวิทยาลัยพิจารณา)

     - ปี ๒๕๖๔ จะแจ้งเวียนทุน TIPP ให้แก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเวียดนาม

 

๔) ความร่วมมือไตรภาคี

กรมความร่วมมือฯ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือไตรภาคีร่วมกับ Development partners ต่าง ๆ อาทิ เยอรมนี จีน ฝรั่งเศส ชิลี สิงคโปร์ JICA KOICA อิสราเอล และ UNFPA จัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมาย รวมทั้งเวียดนาม มาอย่างต่อเนื่อง โดย

     - ปี ๒๕๕๘

          - ร่วมกับสิงคโปร์จัดฝึกอบรมจำนวน ๕ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คมนาคม การค้า/การลงทุน โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๑๒ ทุน

          - ร่วมกับ GIZ เยอรมนี จัดฝึกอบรมหลักสูตร Third Country Training Programme on Strengthening of Measurement Standards Institues of CLMV Countries towards ASEAN Integration โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๕ ทุน และหลักสูตร Strengthening Cooperative and SMEs in Central Vietnam โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๗ ทุน

          - ร่วมกับ JICA จัดฝึกอบรมจำนวน ๔ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ พลังงาน อุตสาหกรรม สาธารณสุข พัฒนาสังคม โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๑๖ ทุน

          - ร่วมกับ KOICA จัดฝึกอบรมหลักสูตร Joint Training Programme on Sustainable Rural Development on Sufficient and Creative Economy โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติ จำนวน ๒ ทุน

     - ปี ๒๕๕๙

          - ร่วมกับสิงคโปร์จัดฝึกอบรมหลักสูตร Beyond GAP Postharvest Processing and Quality Assurance of Selected Agro – Industrial Product โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๕ ทุน

          - ร่วมกับอิสราเอล จัดฝึกอบรมหลักสูตร Construction Guidelines for Standards and Competency Framework of Early Childhood Education โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๔ ทุน และหลักสูตร Integrated Approaches for Small Scale Water Resource  Management โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๓ ทุน 

         - ร่วมกับ JICA จัดฝึกอบรมจำนวน ๓ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ พลังงาน อุตสาหกรรม การค้า/การลงทุน โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๑๑ ทุน

     - ปี ๒๕๖๐

          - ร่วมกับสิงคโปร์จัดฝึกอบรมหลักสูตร Building Food Security โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๓ ทุน Food Hygiene Management for Food Services โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๗ ทุน

          - ร่วมกับอิสราเอลจัดฝึกอบรมหลักสูตร Postharvest Technology of Perishable Crops โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๓ ทุน

         - ร่วมกับ JICA จัดฝึกอบรมจำนวน ๖ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ เกษตร พลังงาน แรงงาน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี ท่องเที่ยว การค้า/การลงทุน โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๒๔ ทุน

     - ปี ๒๕๖๑

          - ร่วมกับชิลีจัดฝึกอบรมหลักสูตร DNFBP Regulation and Supervision โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๒ ทุน

          - ร่วมกับฝรั่งเศสในโครงการให้ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (Royal Golden Jubilee) โดยมีผู้รับทุนชาวเวียดนาม ๒ คน

         - ร่วมกับ GIZ จัดฝึกอบรมหลักสูตร Access to High Quality and Affordable Medicine Project in Vietnam โดยมีผู้รับทุนชาวเวียดนาม ๙ คน

         - ร่วมกับ JICA จัดฝึกอบรมจำนวน ๕ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ พลังงาน ท่องเที่ยว สาธารณสุข พัฒนาสังคม การค้า/การลงทุน โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๑๘ ทุน

          - ร่วมกับ KOICA จัดฝึกอบรมหลักสูตร Sustainable Agriculture and Environment Management based on Sufficiency Economy Philosophy โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๑ ทุน

          - ร่วมกับอิสราเอล จัดฝึกอบรมหลักสูตร Irrigation Development and Management โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๓ ทุน

     - ปี ๒๕๖๒

          - ร่วมกับจีนจัดฝึกอบรมหลักสูตร Sampling Methods for Rice Plant hoppers and Rice Virus โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๓ ทุน

          - ร่วมกับฝรั่งเศสในโครงการให้ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (Royal Golden Jubilee) โดยมีผู้รับทุนชาวเวียดนาม ๑ คน

         - ร่วมกับ JICA จัดฝึกอบรมจำนวน ๗ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ พลังงาน แรงงาน อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาสังคม การค้า/การลงทุน โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๒๕ ทุน

          - ร่วมกับ KOICA จัดฝึกอบรมจำนวน ๓ หลักสูตร ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน การศึกษา โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๘ ทุน

          - ร่วมกับอิสราเอล จัดฝึกอบรมหลักสูตร Overcoming the Challenges of Early Childhood Education (ECE) ๒๑ Century โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๔ ทุน

          - ร่วมกับ UNFPA จัดฝึกอบรมหลักสูตร Community Empowerment to Strengthen Maternal and Newborn Health Care โดยเวียดนามได้รับการอนุมัติทุน จำนวน ๒ ทุน

 

๕) กรอบอนุภูมิภาค

กรมความร่วมมือฯ มีแผนงานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศสมาชิกกรอบอนุภูมิภาคให้แก่ ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเวียดนาม ดังนี้

๑. ACMECS: กรมความร่วมมือฯ ให้ทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมแก่ สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา รวมทั้ง เวียดนาม ในกรอบ ACMECS ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การค้าการลงทุน สาธารณสุข รัฐประศาสนศาสตร์ โดย

     - ปี ๒๕๕๘ จัดฝึกอบรมหลักสูตร The ๒nd  ACMECS BioEnergy Workshop มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๖ คน

     - ปี ๒๕๕๙ จัดฝึกอบรมหลักสูตร Enhancing Cross-Border Trade Facilitation Towards AEC ๒๐๑๕ มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๖ คน

     - ปี ๒๕๖๐ จัด กปช. วิชาการของทันตแพทย์จากประเทศลุ่มน้ำโขง ผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๗ คน

     - ปี ๒๕๖๑ จัดฝึกอบรมหลักสูตร Developing Farm Forestry Network for Small-scale Economic Plantation Management ผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๒ คน และสนับสนุน กปช. วิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ ๑๙+๒๐ ผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๒ คน

     - ปี ๒๕๖๒ สนับสนุน กปช. วิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ ๒๐ ผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๑ คน

๒. ASEAN: ไทยสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ รวมทั้งเวียดนาม ในสาขาต่าง ๆ อาทิ สาธารณสุข รัฐประศาสนศาสตร์ โดย

     - ปี ๒๕๕๙ สนับสนุน กปช. วิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ ๑๗ ผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๒ คน

     - ปี ๒๕๖๒ จัด กปช. DG Forum of ASEAN Countries on Development Cooperation ผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๓ คน

๓. GMS: จัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนานานาชาติตามแผนงานภายใต้สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาต่าง ๆ อาทิ สาธารณสุข การพัฒนาฝีมือแรงงาน โดย

     - ปี ๒๕๕๘ จัดฝึกอบรมหลักสูตร International Dental Collaboration of the Mekong River Region มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๑๕ คน

     - ปี ๒๕๕๙ จัดฝึกอบรมหลักสูตร ๑๑th Scientific Meeting on the Asian Academy of Osseo integration (AAO ๒๐๑๖) มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๑๕ คน

     - ปี ๒๕๖๐ จัดฝึกอบรมหลักสูตร Enhancing the Utilization of Free Trade Agreement by SMEs ครั้งที่ ๑+๒ มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๒ คน และหลักสูตร Regional Capacity Building Programme on Comprehensive Labor Migration Management in the Greater Mekong Sub-region มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๕ คน

     - ปี ๒๕๖๑ จัดฝึกอบรมหลักสูตร  Regional Capacity Building Programme on Comprehensive Labor Migration Management in the Greater Mekong Sub-region  มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๔ คน และหลักสูตร Enhancing the Utilization of Free Trade Agreement by SMEs ๑+๒ มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๔ คน

     - ปี ๒๕๖๒ จัดฝึกบรมหลักสูตร Strategic Management to Labor Migration in the Greater Mekong Sub-region มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๔ คน

๔. CICA ปี ๒๕๖๑ จัดฝึกอบรมหลักสูตรสาขาการค้า/การลงทุน Promoting Small and Medium Enterprises SME's for Sustainable Development Training Program for CICA Member Countries มีผู้แทนจากเวียดนามเข้าร่วม ๑ คน