จีน

จีน

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 8,625 view

สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)

ข้อมูลทั่วไป       

ความตกลง

ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่าง

รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน

(ลงนามเมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑) (ค.ศ. ๑๙๗๘)

รูปแบบความร่วมมือ

ความร่วมมือทวิภาคี

 

กลไกการดำเนินงาน มี ๒ ระดับ

๑) การประชุมคณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วย   

    ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (คกร.) ไทย-จีน

    (ทุก ๒ ปี โดยทั้งสองฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพ)

๒) การประชุมระดับคณะทำงาน (Joint Working Group)

    (ทุกปี โดยทั้งสองฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพ)

 

ความร่วมมือทางวิชาการปัจจุบัน

 

ความร่วมมือ

รายละเอียด

ภูมิหลัง

        เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ (ค.ศ. ๑๙๗๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและจีน ได้ร่วมลงนาม ในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน (Agreement on Scientific and Technical Co-operation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ซึ่งถือเป็นกรอบความร่วมมือแรกระหว่างไทยกับจีนที่ได้จัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการภายหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘

        ทั้งสองฝ่ายยังได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (คกร.) ไทย-จีน (Sino-Thai Joint Committee of the Scientific and Technical Cooperation) โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีเป็นประธานร่วม เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทางความร่วมมือและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามความตกลงฯ ดังกล่าวข้างต้น โดยมีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานประสานงานหลักของฝ่ายไทย สำหรับฝ่ายจีน คือ Department of International Cooperation กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีการจัดประชุมใน ๒ ระดับ คือ

          ๑. การประชุมระดับรัฐมนตรี จัดขึ้นทุก ๒ ปี โดยทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ประธานฝ่ายไทย คือ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และประธานฝ่ายจีน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

          ๒. การประชุมระดับคณะทำงาน ทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพปีละ ๑ ครั้ง โดยประธานฝ่ายไทย คือ อธิบดี  กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และประธานฝ่ายจีน คือ อธิบดี Department of International Cooperation ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

        ความร่วมมือระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นลักษณะต่างตอบแทนและอำนวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยตกลงแบ่งความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งเป็นหลักการและแนวทางตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries : TCDC) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้แก่ การแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยประเทศที่ส่งเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญจะออกค่าเดินทางระหว่างประเทศ ขณะที่ประเทศผู้รับหรือประเทศเจ้าภาพจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศ ได้แก่ ค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมดูงาน เป็นต้น ซึ่งในระยะแรก ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับจีน ประกอบด้วย

                       (1) การแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่ดูงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน การแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาชนบท พัฒนาชุมชนและบริการสังคม

                       (2) การแลกเปลี่ยนการให้ทุนศึกษาระยะยาวแก่เจ้าหน้าที่ระหว่างกันในระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตร ระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป และ

                       (3) โครงการทำวิจัยร่วมด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างหน่วยงานของไทยและจีน

        ในปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดสาขาความร่วมมือไว้ ๕ สาขา ประกอบด้วย (๑) เกษตรกรรม (๒) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๓) พลังงาน (๔) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ (๕) สาธารณสุข และมีรูปแบบความร่วมมือ ๒ รูปแบบ ได้แก่

                       (๑) โครงการศึกษาดูงาน โดยใน ๑ โครงการ หน่วยงานของไทยและจีนที่จับคู่กันร่วมดำเนินโครงการ จะแลกเปลี่ยนการส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานคนละครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๖ คน ระยะเวลา ๕ วัน และ

                       (๒) โครงการความร่วมมือทวิภาคี โดยหน่วยงานของไทยและจีนที่จับคู่กันดำเนินโครงการ จะทำวิจัยร่วมหรือดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างกัน เช่น ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ในหัวข้อที่สนใจร่วมกัน

        ฝ่ายไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม คกร. ไทย-จีน ครั้งล่าสุด สมัยที่ 22 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561          (ค.ศ. ๒๐๑๘) ที่กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน เป็นประธานร่วมกัน ซึ่งได้เห็นชอบแผนงานความร่วมมือในระยะ ๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓) ประกอบด้วย (๑) โครงการแลกเปลี่ยนดูงาน ๖ โครงการ และ (๒) โครงการความร่วมมือทวิภาคี ๗ โครงการ

ใน ๕ สาขาดังกล่าวข้างต้น

ทวิภาคี

        ขณะนี้ มีโครงการที่ดำเนินการอยู่ตามผลการประชุม คกร. ไทย-จีน สมัยที่ ๒๒ (ครั้งล่าสุด) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้   
        ๑. โครงการศึกษาดูงาน (Study Visit) รวม ๖ โครงการ

            ๑.๑ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว (จัดดูงานทั้งที่ไทยและจีน) จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่

  ๑.๑.๑ China – Thailand Rubber Research and Technology Exchange Visits

ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ Beijing Research and Design Institute of Rubber Industry Co., Ltd.

  ๑.๑.๒ Micro Energy Management System for Micro Grid with Renewable Energy

ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับ NR Electric Co., Ltd.

  ๑.๑.๓ Medicinal Plant DNA Barcoding Technology ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับ

Kunming Institute of Botany, Chinese Academy of Sciences

            ๑.๒ อยู่ระหว่างดำเนินการ (จัดดูงานที่จีนแล้ว) จำนวน ๑ โครงการ คือ

  ๑.๒.๑ Rice Seed Production Technology ระหว่าง กรมการข้าว กับ Division of Program

Management and International Cooperation, China National Rice Research Institute

            ๑.๓ อยู่ระหว่างประสานงาน/ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่

           ๑.๓.๑ Advanced Laboratory in the field of Medicinal Herbs Research and Development

(Medicinal herbs) ระหว่าง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กับ Guangxi Botanical Garden of

Medicinal Plants

                 ๑.๓.๒ Dual-Purpose Mulberry Variety Breeding for Silkworms and Vegetable and Related

Application Technology Research and Development (Mulberry) ระหว่าง กรมหม่อนไหม กับ Sericulture

and Agri-Food Research Institute of Guangdong Academy of Agriculture Sciences

        ๒. โครงการความร่วมมือทวิภาคี (Bilateral Cooperation) รวม ๗ โครงการ

            ๒.๑ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน ๖ โครงการ ได้แก่

                  ๒.๑.๑ Earth Magnetic Field Shielding System R&D for JUNO ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กับ Institute of High Energy Physic

                  ๒.๑.๒ Ni-based Advanced Catalysts for Dry Reforming of Methane

ระหว่าง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กับ Shanghai University

                  ๒.๑.๓ Chinese – Thai Neural Machine Translation ระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กับ Institute of Computing Technology, Chinese Academy of Sciences

                  ๒.๑.๔ Individual Behavior Recognition based Multi-Sensor Network for Intelligent Elderly Care System ระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กับ Shanghai Advanced Research Institute, Chinese Academy of Sciences   

                  ๒.๑.๕ The Development of Smart Windows for Energy Saving in Buildings

ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ Wuhan University of Technology

                  ๒.๑.๕ Radio Astronomy Network and Geodesy for Development ระหว่าง สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับ Chinese Electronics Technology Group Corporation  

            ๒.๒ อยู่ระหว่างประสานงาน/ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน ๑ โครงการ คือ

                  ๒.๒.๑ Project Collaboration on Community Water Run off Management for Climate Change Adaptation Phase II ระหว่าง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กับ Institute of Agriculture Economics and Development, Chinese Academy of Agriculture Science (CAAS)

        ทั้งนี้ ฝ่ายจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม คกร. ไทย-จีน ครั้งต่อไป สมัยที่ 2๓ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) โดยในส่วนของฝ่ายไทยได้มีการเตรียมการที่สำคัญแล้ว ได้แก่ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้แจ้งเวียนให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับทั้ง ๕ สาขา ส่งข้อเสนอโครงการศึกษาดูงานและโครงการความร่วมมือทวิภาคี และนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะประธาน คกร.ฯ ฝ่ายไทย ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทั้ง 5 สาขา เมื่อวันที่ ๗ มกราคม 25๖๓ รวมทั้งจัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอที่หน่วยงานไทยต่าง ๆ จัดส่งมาแล้ว เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศจะยื่นเสนอต่อฝ่ายจีนในการประชุมระดับคณะทำงานและการประชุม คกร. ไทย-จีน ที่ฝ่ายจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น เพื่อพิจารณาแผนงานความร่วมมือในระยะ ๒ ปีข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕) ต่อไป

 

                                                                                                สถานะ ณ เมษายน ๒๕๖๓

 

ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

                                                                                                   กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ