ทุนรัฐบาลอินเดีย ปี ๒๐๑๙ - ๒๐๒๐

ทุนรัฐบาลอินเดีย ปี ๒๐๑๙ - ๒๐๒๐

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 4,868 view

ทุนรัฐบาลอินเดีย ปี ๒๐๑๙ - ๒๐๒๐


๑. หนังสือกลางแจ้งเวียนทุนรัฐบาลอินเดีย ปี 2019 – 2020 ถึงหน่วยงานต่าง ๆ

๒. ทุนรัฐบาลอินเดีย ปี ๒๐๑๙ - ๒๐๒๐
       ๒.๑ วิธีการสมัครทุนรัฐบาลอินเดีย
              ๑) สมัครก่อนหลักสูตรเริ่ม ๓ เดือน
              ๒) ผู้สมัครสามารถสมัครได้ครั้งละ ๑ หลักสูตร
              ๓) หน่วยงานสามารถเสนอผู้สมัครได้มากกว่า ๑ หลักสูตร ๆ ละไม่เกิน ๒ คน ในกรณีที่หน่วยงานเสนอชื่อ
ผู้สมัครขอรับทุนมากกว่าจำนวนที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น กรมความร่วมมือฯจะพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ
เรียงตามลำดับที่ปรากฏในหนังสือเสนอชื่อจากหน่วยงานตามจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นเท่านั้น บุคคลที่ปรากฏชื่ออยู่ในลำดับหลังซึ่งเกินจำนวนที่กำหนดไว้ กรมความร่วมมือฯไม่อาจพิจารณาให้เป็นผู้สมัครขอรับทุนได้
              ๔) ได้รับการคัดเลือกจากต้นสังกัดในระดับกระทรวง หรือกรม หรือเทียบเท่าให้เป็นผู้สมัครรับทุน โดยจะต้องมี
หนังสือเสนอชื่อไปที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
        
       ๒.๒ คุณสมบัติของผู้สมัครทุนที่รัฐบาลอินเดียกำหนด
           
   ๑) มีอายุระหว่าง ๒๕ – ๔๕ ปี
              ๒) ไม่เคยได้รับทุนรัฐบาลอินเดีย ภายใต้ ITEC Programme และ TCS of Colombo Plan มาก่อน
              
๓) มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษชุด DIFA TES หรือ TOEFL IELTS หรืออื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เทียบเท่า
เกณฑ์วัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของ Common European Framework of Reference (CEFR)
อย่างน้อยระดับ B1 โดยผลการทดสอบดังกล่าวต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับจากวันที่เข้ารับการทดสอบ

             ๔) มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๕ ปี หรือตามที่หลักสูตรกำหนด                                                               ๕) มีคุณสมบัติอื่นตามที่หลักสูตรกำหนด ในรายละเอียดหลักสูตร

 
        ๒.๓ คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุนที่ฝ่ายไทยกำหนด
       
       ๒.๓.๑  ก. สำหรับผู้ที่เป็นข้าราชการ
                               ๒.๓.๑.๑  ผู้สมัครขอรับทุนจะต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไปหรือเทียบเท่า
หรือมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ (กขต.)
                               ๒.๓.๑.๒ จะต้องได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการหรือโอนมาปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เสนอชื่อสมัครรับทุนแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับถึงวันปิดรับสมัครของกรมความร่วมมือฯ
                          ข. สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานเอกชน
                               ๒.๓.๑.๓ จะต้องปฏิบัติงานหรือโอนมาปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เสนอชื่อสมัครรับทุนแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
นับถึงวันปิดรับสมัครของกรมความร่วมมือฯ
              ๒.๓.๒  ไม่อยู่ในระหว่างการสมัครขอรับทุนอื่นที่อยู่ในความดูแลของกรมความร่วมมือฯ {ทุนประเภท ๑ (ข)}
              ๒.๓.๓  กรณีเคยได้รับทุนประเภท ๑ (ข) ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ จะต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่ต่ำกว่า ๒ ปี
(ยกเว้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัย ต้องกลับมาปฏิบัติงาน แล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี)
และในกรณีที่เคยได้รับทุนไปฝึกอบรม จะต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี และในกรณีที่เคยได้รับทุนสัมมนา / ดูงาน
ที่มีระยะเวลาเกินกว่า ๑ เดือน จะต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี นับถึงวันปิดรับสมัครของหลักสูตรฯ
              ๒.๓.๔  กรณีเคยได้รับทุนประเภท ๑ (ข) เพื่อศึกษาในประเทศ จะต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี (ยกเว้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัย ต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน) และในกรณีที่เคยได้รับทุนไปฝึกอบรม และสัมมนาหรือดูงาน จะต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่ต่ำกว่า ๖ เดือนและ ๓ เดือนตามลำดับนับถึงวันปิดรับสมัครของกรมความร่วมมือฯ
              ๒.๓.๕  กรณีเคยสละสิทธิ์การสมัครรับทุนที่ดำเนินการผ่านกรมความร่วมมือฯ จะต้องสละสิทธิ์มาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี
นับแต่วันที่ที่ยินยอมให้สละสิทธิ์ถึงวันปิดรับสมัครของกรมความร่วมมือฯ
              ๒.๓.๖  กรณีที่เคยได้รับทุนและได้ยุติการรับทุนก่อนที่จะสำเร็จหลักสูตร โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต
จากกรมความร่วมมือฯและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะไม่มีสิทธิ์สมัครรับทุนใด ๆ เป็นเวลา ๒ ปี นับแต่วันที่ผู้รับทุนได้ยุติการรับทุน
ถึงวันปิดรับสมัครของกรมความร่วมมือฯ และในกรณีที่แหล่งทุนแจ้งยุติการให้ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน/สัมมนา หรือปฏิบัติการวิจัยจะไม่มีสิทธิสมัครรับทุนใด ๆ เป็นเวลา ๕ ปี นับจากวันที่กรมความร่วมมือฯแจ้งหน่วยงานที่ผู้รับทุนสังกัด
              ๒.๓.๗  กรณีที่แหล่งผู้ให้ทุนกำหนดระดับของผู้สมัครรับทุนไว้ ให้ถือเกณฑ์เปรียบเทียบระดับ ดังนี้
                              - ระดับต้น (Junior Level)               เทียบเท่าข้าราชการระดับปฏิบัติการ
                              - ระดับกลาง (Middle Level)          เทียบเท่าข้าราชการระดับชำนาญการ
                              - ระดับอาวุโส (Senior Level)         เทียบเท่าข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ
                              - ระดับบริหาร (Executive Level)    เทียบเท่าข้าราชการระดับเชี่ยวชาญ

        
         ๒.๔ ขั้นตอนการสมัครทุนรัฐบาลอินเดีย
                     
๑. ดูรายละเอียดหลักสูตรทุนรัฐบาลอินเดีย ปี 2019 - 2020 พร้อมทั้งสมัครออนไลน์ที่ www.itecgoi.in/index.php
                   ๒. จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สมัครรับทุน (แบบพิมพ์ทุน ๑)
                   ๓. จัดทำ Medical Report ตามโรงพยาบาลที่รัฐบาลอินเดียกำหนด
                   ๔. นำส่งหนังสือเสนอชื่อให้เข้าสมัครรับทุนจากต้นสังกัดฉบับจริงพร้อมทั้งเอกสารต่าง ๆ ให้กับกรมความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ ดังนี้
                               ๔.๑ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้สมัครรับทุน จำนวน ๑ ชุด
                               ๔.๒ ใบสมัครออนไลน์  จำนวน ๒ ชุด
                               ๔.๓ Medical Report   จำนวน ๒ ชุด
                               ๔.๔ ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ  จำนวน ๒ ชุด
                   ๕. สแกนเอกสารทั้งหมดในข้อ ๔ ส่งไปที่ 
[email protected]
                   ๖. เจ้าหน้าที่รับผิดชอบทุนรัฐบาลอินเดีย คือ นายพิเชษฐ เข็มทอง โทรศัพท์ ๐๒ ๒๐๓ ๕๐๐๐ ต่อ ๔๓๑๐๒ หรือ ๐๙ ๘๒๖๒ ๙๗๙๗ และ/หรือโทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๓๒๕      
        
        ๒.๕ หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครขอรับทุน
            
       จำนวนผู้สมัครที่จะได้รับการเสนอชื่อให้แหล่งทุนพิจารณาในขั้นสุดท้าย มีจำนวนไม่เกินหลักสูตรละ ๓ ราย  

        ๒.๖ ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับทุนในขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแหล่งผู้ให้ทุน