FEALAC

FEALAC

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 ส.ค. 2556

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 5,835 view

Forum for East Asia – Latin America Cooperation (FEALAC)  

 

FEALAC มีชื่อเดิมว่า เวทีหารือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (East Asia – Latin America Forum : EALAF) มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกันยายน 2542 โดยมีประเทศสมาชิก 27 ประเทศ (ฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝ่ายลาตินอเมริกา 12 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ปานามา อุรุกวัย และเวเนซุเอลา)  

วัตถุ ประสงค์ของการจัดตั้ง EALAF คือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาใน ทุกด้าน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ ฯลฯ โดยประเทศสมาชิกสามารถเสนอโครงการความร่วมมือในด้านที่ตนมีความพร้อม และให้ประเทศสมาชิกผู้สนใจสมัครเข้าร่วมได้ การดำเนินงานของ EALAF จะกระทำผ่านประเทศผู้ประสานงานของแต่ละภูมิภาค (ประเทศผู้ประสานงานชุดแรก คือ สิงคโปร์และชิลี มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และมีภารกิจที่จะต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ SOM หรือระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ 1 ครั้ง) โดยมีเอกสาร Framework Document เป็นกรอบ/ทิศทางการดำเนินการซึ่งมีลักษณะกว้างๆ

การประชุม EALAF SOM ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงซันติอาโก เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง ประเทศ EALAF ครั้งที่ 1 โดยที่ประชุมคาดหวังว่าการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกนี้จะเป็นจุดเริ่ม แห่งศักราชใหม่ของความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นระหว่างภูมิภาคทั้ง สอง    


การประชุม EALAF SOM ครั้งที่ 3 และการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 1 มีขึ้นที่กรุงซันติอาโก ระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2544 (หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการกระชุมระดับรัฐมนตรีฯ คือ ฯพณฯ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) สรุปผลการประชุมที่สำคัญได้ ดังนี้    

   - ที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้ชื่อ  Forum for East Asia – Latin America Cooperation (FEALAC) แทน EALAF ทั้งนี้ เพื่อเน้นความร่วมมือระหว่างกันมากกว่าการแบ่งประเทศสมาชิกตามที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์   

   - ที่ประชุมเห็นชอบให้รับ เอล ซัลวาดอร์ คอสตาริกา และคิวบา เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ FEALAC ทำให้มีสมาชิกรวม 30 ประเทศ แบ่งเป็นภูมิภาคละ 15 ประเทศเท่ากัน 

   - ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้น 3 ชุดพื่อเป็นกลไกในการประสานความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดและเป็นรูปธรรม มากยิ่งขึ้น ได้แก่

     1) คณะทำงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ญี่ปุ่น และเปรูเป็นประธานร่วม      2) คณะทำงานด้านการเมืองและสังคม สิงคโปร์และชิลีเป็นประธานร่วม และ 3) คณะทำงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ออสเตรเลียและคอสตาริกาเป็นประธานร่วม