ความร่วมมือทวิภาคี

ความร่วมมือทวิภาคี

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ต.ค. 2556

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 4,980 view


รัฐบาลญี่ปุ่นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในโครงการด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามสาขาการพัฒนา Development Issues ดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาเพื่อสังคมที่ยั่งยืน การจัดการภัยพิบัติ การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบทวิภาคี ในปัจจุบันประกอบด้วย

ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น
ลำดับ ชื่อโครงการ
       ๑. โครงการความร่วมมือทางวิชาการ
       ๒. โครงการร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวางแผนพัฒนา


ที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างไทย–ฝรั่งเศสในกรอบทวิภาคี มีกว่า ๓๐ โครงการ ซึ่งเป็นโครงการด้านเกษตร การพัฒนาพื้นที่ดิน สาธารณสุข การศึกษา วัฒนธรรม การโยธา เทคโนโลยี/นวัตกรรม  เป็นต้น ปัจจุบันมีโครงการที่ on–going  กว่า ๑๐ โครงการ โดยแต่ละโครงการจะมีลักษณะการร่วมดำเนินงานของหน่วยงาน/สถาบันศึกษาของไทย เช่น ม.มหิดล ม.เกษตร  จุฬาฯ สถาบันพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.เชียงใหม่  โดยมี Institute of Research for Development  (IRD) สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (EFEO) สถาบัน CIRAD เป็น implementing ฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละโครงการหน่วยงานไทยจะร่วมสมทบงบประมาณด้วย และหลายโครงการที่ สพร.จะร่วมสบทบงบประมาณด้วยเช่นกัน

ความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส
ลำดับ ชื่อโครงการ
      ๑. Impact Assessment of Planting Rubber–trees
      ๒. Optimization of HIV prevention and treatment


ในปี ๒๕๔๔ (๒๐๐๑) รัฐบาลเยอรมันได้ปรับนโยบายและกลยุทธ์ความร่วมมือกับไทย โดยได้พัฒนาไปเป็นรูปของแผนงาน (Programme Approach) ซึ่งเน้นการดำเนินงานในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnership) และเน้นในสาขาหลัก คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาด โดยอยู่ภายใต้กรอบแผนงานส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Enhancing the Competitiveness of SMEs by Improving the Sector of Business Development Services and Introducing Eco-efficiency in Industry) หรือเรียกโดยย่อว่า Programme for Enterprise Competitiveness (PEC)

ความร่วมมือไทย-เยอรมนี

 
ลำดับ โครงการ DICP โครงการ IMEE โครงการ SCP4LCE
       
       

 

รัฐบาลเดนมาร์กโดย  DANIDA ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือไทยในการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ แต่เมื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น จำนวนโครงการความช่วยเหลือได้ลดลงตามลำดับ รัฐบาลเดนมาร์กได้ยุติความร่วมมือทวิภาคีด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดนับแต่ปี ๒๕๕๒ โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบความร่วมมือไปสู่ความร่วมมือแบบไตรภาคี (Trilateral Cooperation) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

ความร่วมมือไทย-เดนมาร์ก
ลำดับ ชื่อโครงการ
   
   

 

ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN Project) เป็นโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันภายใต้ German Support of the ASEAN Initiative for Environmentally Sustainable Cities ซึ่ง BMZ ได้มอบหมายให้ GIZ (เปลี่ยนชื่อจาก GTZ เป็น GIZ ตั้งแต่เดือน ม.ค. ๒๕๕๔) เป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการประกอบด้วย ๒ โครงการ ได้แก่

ความร่วมมือในกรอบอาเซียน
ลำดับ ชื่อโครงการ                    
    ๑. Clean Air for Smaller Cities in the ASEAN Region  
    ๒. Sustainable Port Development in the ASEAN Region