บรูไน

บรูไน

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,740 view

โครงการเพิ่มผลผลิตในการปลูกข้าวในบรูไนโดยการจัดการดินที่เป็นกรดและการปรับปรุงการจัดการแหล่งน้ำ และจัดตั้งสถานีเรียนรู้เทคนิคทางการเกษตรและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในบรูไนดารุสซาลาม

ภูมิหลัง

         - สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารของบรูไน และมีพระราชดำรัสบ่อยครั้งในเรื่องดังกล่าว ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘

         - ระหว่างการเยือนบรูไนของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๓๑ ต.ค. – ๑ พ.ย. ๒๕๖๑) สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนได้มีรับสั่งถึงพระราชประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านการศึกษาและความช่วยเหลือ   ด้านการเกษตรกับบรูไน

         - ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๙ ธ.ค. ๒๕๖๑ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร รมช. กษ. ได้เยือนบรูไน ลงพื้นที่แปลงนาและจัดบรรยายเรื่อง ศก. พอเพียง ให้แก่ชาวนาและ ขรก. บรูไน ที่สถาบันการพัฒนาเกษตรบรูไน และ น.ส. มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. กษ. และคณะได้เข้าร่วม ปช. ๔๑st Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry อย่างไรก็ตาม สอท. ได้ประสานหารือเบื้องต้นกับ กษ. ของไทย และได้รับแจ้งว่า กษ. มีภารกิจ/โครงการต่าง ๆ ภายใน ปทท. เป็นจำนวนมากและไม่พร้อมที่จะออกไปทำโครงการใน ปตท. จึงขอให้กรมความร่วมมือฯ พิจารณาดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งกรมฯ ไม่ขัดข้อง

ปัญหาที่บรูไนฯ ประสบ

         ๑. ปัญหาดินเป็นกรด (ดินเปรี้ยว) มีการแก้ปัญหาโดยการสั่งซื้อหินปูนจากการระเบิดภูเขาในอินโดนีเซีย มีค่าใช้จ่ายสูงซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน

         ๒. ปัญหาเรื่องน้ำ มีระบบการชลประทานแบบเดิมและลงทุนสูง คือ การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และวางท่อเพื่อส่งน้ำ แต่ไม่ทั่วถึง และไม่สามารถจัดสรรน้ำเพื่อทำการเกษตรได้เหมาะสม

         ๓. ปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว บรูไนจำเป็นต้องมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สูงเชิงเขา พื้นที่ราบและพื้นที่ดินเป็นกรด

         ทั้งนี้ ระหว่างการเยือนของ ดร. วิวัฒน์ฯ ฝ่ายบรูไนจัดให้เยี่ยมชมพื้นที่ทำการเกษตร ๓ แห่ง ซึ่งภูมิประเทศเป็นภูเขา และมีป่าล้อมรอบ ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการทำการเกษตร อีกทั้งยังมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง ๒,๘๐๐ มม. ต่อปี (สูงกว่าไทยประมาณ ๓ เท่า) ถือได้ว่ามีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม บรูไนขาดองค์ความรู้ในการจัดการน้ำและดินที่เป็นกรดสูง ทำให้ทำการเกษตรได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค

ร่างแผนงานโครงการ

จุดส่งหมาย (Overall Goal)

         เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างยั่งยืนให้กับบรูไนโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ (Purposes)

         ๑. เพิ่มศักยภาพในการปลูกข้าว ผ่านการพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการน้ำและการปรับสภาพดิน ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่

         ๒. ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ตามแผนงานโครงการ

         ๑. การถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมทักษะด้านการปลูกข้าวการปรับสภาพดิน การบริหารจัดการน้ำตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

             ๑.๑ การจัดการศึกษาดูงานใน ปทท. ให้กับเจ้าหน้าที่และเกษตรกร/ยุวเกษตรกรบรูไน ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประโยชน์และความสำคัญของบัญชีครัว-เรือน และการบริหารจัดการสถานีเรียนรู้ฯ / แปลงสาธิต

             ๑.๒ การร่วมสำรวจพื้นที่โครงการตามที่บรูไนจัดสรรให้ ประเมินความพร้อมของพื้นที่และวางแผนการจัดตั้ง / ก่อสร้างศูนย์ฯ ร่วมกับคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายบรูไนฯ และผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่

             ๑.๓ การจัดทำร่าง work plan และหลักสูตรฝึกอบรม

             ๑.๔ การส่ง ผชช. / อสม. ไปฝึกอบรม / ให้คำแนะนำ / ประสานงานและดำเนินกิจกรรมตามแผนงานเพิ่มเติม / เผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน ตามความจำเป็นและเหมาะสม

         ๒. การจัดตั้งและวางระบบบริหารจัดการสถานีเรียนรู้ฯ / แปลงสาธิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

             ๒.๑ การปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งสถานีเรียนรู้ฯ / แปลงสาธิต

             ๒.๒ การก่อสร้างสถานีเรียนรู้ฯ / แปลงสาธิต และการวางระบบบริหารจัดการ / เตรียมบุคลากร / วางแผนการเผยแพร่องค์ความรู้เทคนิคการเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

             ๒.๓ การเสริมสร้างเครือข่ายกับสถาบันการศึกษา / วิจัย / ชุมชนเกษตรกร

         ๓. การติดตามและประเมินผล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Steering Committee – PSC) จัดการประชุม PSC ตามความจำเป็นและเหมาะสม

สถานการณ์ดำเนินงาน

         - เมื่อวันที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๓ สอท. ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ได้นำส่งข้อเสนอโครงการ Increasing Rice Productivity in Brunei Darussalam through the Effective Management of Acid Sulphate Soil and Improvement of Water Resource Management โดยเสนอ Limau Manis Rice Production Area, Pengkalan Batu เขต บรูไน-มัวรา เป็นพื้นที่เป้าหมายและ Department of Agriculture and Agrifood, Ministry of Primary Resourses and Tourism เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ

         - ภายหลังการหารือกับ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีต รมช. กษ. และ ปธ. มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กรมความร่วมมือฯ ได้เสนอร่างแผนงานโครงการ (Project Logical Framework) และร่าง คกก. กำกับโครงการพร้อมอำนาจหน้าที่ ผ่านทาง สอท. เมื่อ ๒ พ.ย. ๒๕๖๓ เพื่อฝ่ายบรูไนพิจารณาให้ความเห็นแล้ว

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

         อยู่ในระหว่างการพิจารณา ในชั้นนี้ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ แสดงความพร้อมที่จะดำเนินโครงการฯ

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายบรูไน

         Department of Agriculture and Agrifood, Ministry of Primary Resourses and Tourism

ระยะเวลาโครงการ

         พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖

งานอาสาสมัคร

         ระหว่างการพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น

ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ

         วิทิดา ศิวะเกื้อ Email: [email protected]

 

***************************

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓