คีร์กีซสถาน

คีร์กีซสถาน

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,441 view

โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศคีร์กิซ

ภูมิหลัง

        ในการประชุม SEP in Business: A G-๗๗ Forum on the Implementation of the SDGsเมื่อ ๑-๒ มิ.ย. ๒๕๕๙ ที่ประเทศไทย นาย Aziza Turdueva, Advisor of First Political Deaprtment กระทรวงการต่างประเทศคีร์กิซ แสดงความสนใจร่วมมือกับไทยในสาขาต่าง ๆ ภายใต้ SEP อาทิ เกษตร ศึกษา สาธารณสุขธุกิจและการท่องเที่ยว เมื่อ ๘ ก.ค. ๒๕๕๙ กรมความร่วมมือฯ ได้ส่ง concept paper โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ SEP ให้ฝ่ายคีร์กิซพิจารณาผ่าน สอท. ณ กรุงอัสตานา (ชื่อขณะนั้น)

        เมื่อ ๑ ธ.ค. ๒๕๕๙ กระทรวงการต่างประเทศคีร์กิซแจ้งความประสงค์จะดำเนินโครงการร่วมกับไทย โดยหน่วยงานที่จะดำเนินการคือ State Agency for Local Self-Government and Inter-Ethnic Relations และเชิญผู้เชี่ยวชาญไทยเยือนคีร์กิซเพื่อคัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการฯ

        นาง Dzhumagul Egamberdieva, Director of the State Agency for Local Self-Government and Inter-Ethnic Relations (เทียบเท่า รมต.) เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร Sufficiency Thinking in Sustainable Development (STiSD) จัดร่วมกับมูลนิธิมั่นพัฒนาและมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ ๑๔-๑๙ พ.ค. ๒๕๖๐ โดยในการหารือระหว่างอาหารกลางวันโดยอธิบดีกรมความร่วมมือฯ (นางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ ขณะนั้น) เป็นเจ้าภาพเมื่อ ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๐ นาง Dzhumagul แจ้งว่า จะหาพื้นที่โครงการให้ใหม่ที่ไม่ไกลจากเมืองหลวงมาก ซึ่งน่าจะเป็นชุมชนทางตอนใต้ที่มีอากาศอบอุ่นกว่า

        นาย Moldobave Abdyrashid Satievich นายอำเภอหมู่บ้าน Zhany Alish (เจ้าหน้าที่ประสานงาน) พร้อมด้วยนาย Nazarbeck Yrsaliev อธิบดีกรม Inter-Ethnic Management และ น.ส. Venera Davletbakova  ผอ. ฝ่าย Planning and Coordinator of State Programes and Projects, State Agency for Local Self-Government and Inter-Ethnic Relations ได้เข้าร่วมการอบรม AITC หลักสูตร SEP: Thailand’s Path towards Sustainable Development จัดโดยกรมฯ และ NIDA เมื่อ ๑๒-๒๓ ก.พ. ๒๕๖๑ ที่ ปทท. โดยฝ่ายคีร์กิซได้เสนอโครงการพัฒนาโรงเรือนกระจกสำหรบเพิ่มผลผลิตการทำเกษตรกรรม (การปลูกผัก) ที่หมู่บ้าน Zhany Alish

        อธิบดีกรมความร่วมมือฯ (นางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ ขณะนั้น) นำคณะผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชนและกรมส่งเสริมการเกษตรเดินทางไปพบหารือและสำรวจพื้นที่สำหรับดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ สาธารณรัฐคีร์กีซ ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ ส.ค. ๒๕๖๑

        สรุปผลการสำรวจพื้นที่และวางแผนการดำเนินงานระยะต่อไปของโครงการข้างต้น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

        ๑. จากการเก็บข้อมูลจากพื้นที่ชุมชนฝ่ายไทยประเมินว่า ข้อท้าทายของชุมชน Zhan Alish [1] ได้แก่

            ๑.๑ ขาดแคลนรายได้ในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้

            ๑.๒ ขาดการสนับสนุนเงินทุน เทคโนโลยี/องค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร หรือการแปรรูปและการถนอมอาหาร ซึ่งเป็นตัวแปรร่วมที่ทำให้ประสบปัญหาข้อ ๑.๑

            ๑.๓ ขาดการส่งเสริมอาชีพที่หลากหลาย (ประชากรส่วนมากทำการเกษตรเชิงเดี่ยวและผลผลิตเหมือนกันทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ)

        ๒. โครงการสร้างเรือนกระจกเพื่อปลูกพืชในช่วงฤดูหนาวที่ฝ่ายคีร์กีซเสนอมานั้น เห็นควรไม่สนับสนุนเนื่องจากไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ไทยมีศักยภาพ และนโยบายด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนเป็นหลัก

        ๓. อย่างไรก็ดี จากการวิเคราะห์ปัญหาตามนัยข้อ ๑ ฝ่ายไทยสามารถให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามแนวทางของ SEP ได้ดังนี้

            ๓.๑ การถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ลดต้นทุนการผลิต โดยเริ่มจากการสร้างเกษตรกรต้นแบบ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนในการทำการเกษตรที่หลากหลายและยั่งยืนมากขึ้น

            ๓.๒ การให้ความรู้แก่ชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรให้เกิดความหลากหลาย และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปและถนอมอาหารให้ทุกครัวเรือนสามารถมีอาหารบริโภคเพียงพอในฤดูหนาว

            ๓.๓ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนตามแนวทาง OTOP ของไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชุมชน

            ๓.๔ การส่งเสริมอาชีพที่หลากหลาย โดยเฉพาะการผลักดันให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ซึ่งชุมชนมีศักยภาพเนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงและมีความสวยงามตามธรรมชาติ รวมถึงมีวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์และเก่าแก่

        ๔. ฝ่ายไทยได้จัดทำแผนการดำเนินโครงการระยะต่อไปรายละเอียดตามเอกสารแนบ หากฝ่ายคีร์กีซเห็นชอบด้วยกับแผนงานดังกล่าว ฝ่ายไทยจะส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปดำเนินกิจกรรมแรกตามแผนงานฯ ในช่วงเวลาที่ฝ่ายคีร์กีซเห็นเหมาะสม

        ๕. ฝ่ายคีร์กิซแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม (ตาม ทล. TSE ๕๑๑/๒๕๖๓ ลว. ๑๕ พ.ย. ๒๕๖๒) ได้แก่

            ๕.๑ ผลลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ต้องการจะเพิ่มขีดความสามารถ ได้แก่ พืชสมุนไพรประเภทยืนต้น ผักกาดฝรั่ง พืชให้เมล็ด นอกจากนี้ ในพื้นที่มีการเลี้ยงปศุสัตว์ (โคเนื้อและม้า) อย่างไรก็ตามความท้าทายหลักที่ชุมชนประสบคือการปลูกพืชผักในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว

            ๕.๒ อยู่ระหว่างรอข้อมูลเพิ่มเติมด้านการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารในการผลิตและการแปรรูป ซึ่ง State Agency for Local Self-Government and Inter-Ethnic Relations (GAMSUMO)เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก 

ข้อมูลเพิ่มเติม

        ๑. USAID ดำเนินโครงการพัฒนาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารในคีร์กิซ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) เพื่อพัฒนาพื้นฐานและระบบสำหรับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรคีร์กิซ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในภาคใต้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้ชนบท พัฒนาด้านพืชสวนและปสุสัตว์ซึ่งสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อย โดย USAID ร่วมมือกับรัฐบาลคีร์กิซเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้อต่อการลงทุนและอำนวยความสะดวกให้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของคีร์กิซสามารถเข้าถึงตลาดภายในประเทศและเพื่อการส่งออกได้

        ๒. KOICA ได้เริ่มสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ Organic Agriculture และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการเกษตรให้คีร์กิซ

        ๓. นาย Moldobave Abdyrashid Satievich นายอำเภอหมู่บ้าน Zhany Alish (เจ้าหน้าที่ประสานงาน) พร้อมด้วยนาย Nazarbeck Yrsaliev อธิบดีกรม Inter-Ethnic Management และ น.ส. Venera Davletbakova  ผอ. ฝ่าย Planning and Coordinator of State Programes and Projects, State Agency for Local Self-Government and Inter-Ethnic Relations ได้เข้าร่วมการอบรม AITC หลักสูตร SEP: Thailand’s Path towards Sustainable Development จัดโดยกรมฯ และ NIDA เมื่อ ๑๒-๒๓ ก.พ. ๒๕๖๑ ที่ ปทท. โดยฝ่ายคีร์กิซได้เสนอโครงการพัฒนาโรงเรือนกระจกสำหรบเพิ่มผลผลิตการทำเกษตรกรรม (การปลูกผัก) ที่หมู่บ้าน Zhany Alish

 

สถานะปัจจุบัน

        ๑. กรมฯ เห็นชอบและอนุมัติข้อแสนอโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสาธารณรัฐคีร์กีซ วัตถุประสงค์

            ๑. เพื่อเป็นการต่อยอดการสำรวจพื้นที่ของกรมความร่วมมือฯ ที่ได้ดำเนินการไว้ในปี ๒๕๖๑

            ๒. เพื่อสร้างชุมชนการเกษตรต้นแบบในสาธารณรัฐคีร์กีซ และเป็นชุมชนที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่น ๆ ในสาธารณรัฐคีร์กีซได้

            ๓. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคีร์กีซ

        ๒. วงเงินงบประมาณ ๖๖๐,๐๐๐ บาท ช่วงเวลาดำเนินโครงการ พ.ค. หรือ มิ.ย. ๒๕๖๔ (ไตรมาสที่ ๓ ของปี งปม. ๒๕๖๔) ระยเวลา ๓ วัน

        ๓. วิธีการดำเนินงาน คือ เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (๑) กระทรวงเกษตรฯ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความรู้ความสามารถด้านการปลูกพืชสมุนไพร ผักกาดฝรั่ง พืชให้เมล็ด รวมทั้ง ผู้มีความสามารถด้านปศุสัตว์ จำนวน ๒ ท่าน (๒) ผู้แทนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) จำนวน ๑ ท่าน ไปจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่พื้นที่โครงการที่ชุมชน Zhan Alish กรุงบิชเคก สาธารณรัฐคีร์กีซ จำนวน ๓ วัน (๓) ผู้แทนกรมความร่วมมือฯ ไปจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้แทนชุมชนและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของคีร์กิซ

 

ข้อพิจารณา

        ๑. เสนอปรับรูปแบบโครงการโดยเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์ที่เกี่ยวเนื่อง

        ๒. ขอรับความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายและผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา

 

***********************************

 

กลุ่มงานเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงในต่างประเทศ

๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓

 

[1] ชุมชน Zhany Alish Aiyi Aimak จังหวัด Keminskyi เขตปกครอง Chui ตั้งอยู่ห่างจากกรุงบิชเคก เมืองหลวงประมาณ ๙๒ กม. เป็นพื้นที่ราบ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ –๒๗ องศาเซลเซียสและสูงสุดประมาณ ๓๕ องศาเซลเซียส พื้นที่เป็นดินลูกรัง มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำ ได้อย่างพอเพียงผ่านระบบชลประทาน มีประชากร ๒,๖๐๑ คน ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตร อาทิ ปลูกพืช ปศุสัตว์ ประชากรมีรายได้ ๒๐๐-๔๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ในชุมชนมีผู้อาวุโส (อาจเทียบเท่าปราชญ์ชาวบ้าน) ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม สื่อสารด้วยภาษาคีร์กิซและรัสเซีย (ข้อมูลเมื่อปี ๒๕๖๒)