กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับสถาบันอาหารและสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเดินทางสำรวจศักยภาพของผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการ Development of Micro Enterprise ณ เมียนมา

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับสถาบันอาหารและสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเดินทางสำรวจศักยภาพของผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการ Development of Micro Enterprise ณ เมียนมา

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ก.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 19 ก.ค. 2567

| 340 view

ระหว่างวันที่ 8 – 12 กรกฎาคม 2567 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง นำคณะผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาหารและสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เดินทางไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เมียนมา เพื่อสนับสนุนโครงการ Development of Micro Enterprise ณ กรุงย่างกุ้ง และกรุงเนปยีดอ เมียนมา โดยมีผู้แทนหน่วยงาน Small Scale Industries Department (SSID) สังกัดกระทรวงเกษตร สหกรณ์และการพัฒนาชนบทเมียนมา เข้าร่วมด้วย

การสำรวจศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เมียนมา
ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการและตลาด โดยเฉพาะความต้องการของตลาดและมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหาร (Food) ได้แก่ 1) Green Gold 2) Minn Mahar Food Manufacturing 3) Saw Nay La และ 4) K-farm ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากไผ่ (หน่อไม้ต้มบรรจุถุง และหน่อไม้ดองอบแห้ง) ผลิตแยมหญ้าฝรั่น มะม่วงแปรรูป (น้ำมะม่วง มะม่วงแผ่น มะม่วงดอง) พริกแห้งทอดกรอบ กิมจิผัดและซอสพริก และประเภทที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food) ได้แก่  1) Nay Pyi Taw Pone Yate Thit Laser Engraving & Modern Furniture 2) Chan Myittar Jade และ 3) Alinkar Souvenir Sculpture ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อาทิ หัตกรรมและเครื่องเรือนจากไผ่ ผลิตภัณฑ์แกะสลักจากไม้ยางพารา ไม้ฟิงเกอร์ และไม้อัด โดยใช้เทคนิคเลเซอร์แกะสลักไม้ เครื่องประดับจากหยก และประติมากรรมจากรากไม้ ของผู้ประกอบการระดับ SMEs นำร่อง จำนวน ๗ ราย ณ กรุงย่างกุ้ง และกรุงเนปยีดอ

ทั้งนี้ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศจะร่วมกับสถาบันอาหารและ ISMED จัดกิจกรรมและการศึกษาดูงานให้แก่ฝ่ายเมียนมาเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล ทั้ง ๒ ประเภทดังกล่าว เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะของผู้ประกอบการนำร่องสำหรับการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล เช่น การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การรักษามาตรฐานการผลิต การผลิตเพื่อการส่งออก เป็นต้น ให้แก่ผู้ประกอบการต้นแบบของเมียนมาเพื่อนำไปปรับใช้และเป็นพื้นฐานความพร้อมในการขยายฐานการผลิตในประเทศและสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศในอนาคตต่อไป

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ