ข้อมูลความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค : กรอบอนุภูมิภาค

ข้อมูลความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค : กรอบอนุภูมิภาค

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 22,563 view

BIMSTEC

               กรอบความร่วมมือของ ๗ ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย เมียนมาร์ เนปาล ภูฎาน ศรีลังการ เเละไทย สาขาความร่วมมือที่มุ่งเน้น คือ Trade and Investment, Transport and Communication ,Tourism, Energy, HRD, Agriculture and Fisheries, Science and Technology, Culture, Counter-Terrorism and Transnational Crimes, Environment and Disaster Management, Public Health และ People to People Contact.

 

ACMECS (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy)

               กรอบความร่วมมือที่ริเริ่มจากรัฐบาลไทยที่ต้องการผลักดันให้การพัฒนาเศรษฐกิจที่ก้าวตามกันของประเทศใน ACMECS คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เวียดนามและไทย ที่ยังมีความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจกับประเทศไทยที่ต้องอาศัยการพัฒนา ทั้งในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเสริมสร้างสมรรถนะและองค์ความรู้ในด้านต่างๆ อีกมากสำหรับสาขาความร่วมมือประกอบด้วย Trade and Investment Facilitation, Agricultural and Industrial Cooperation, Transport Linkages, Tourism และ Human Resource Development ความร่วมมือเพื่อการพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างความแข้มแข็งทางด้านความรู้และวิชาการในที่จะทำให้การพัฒนาในแต่ละสาขาความร่วมมือดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การจัดการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิชาการและอาชีพ

 

Greater Mekong Sub - region

               กรอบความร่วมมือที่ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อต้องการผลักดันการพัฒนาในอนุภูมิภาคนับตั้งแต่ปี ค.ศ ๑๘๘๒ เป็นต้นมา คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และ จีนตอนใต้(ยูนนาน) และ ไทยโดยกำหนดเป็นกรอบยุทธศาสตร์ไว้ ๔ ด้าน คือ Infrastructure Linkage, Facilitate Across Border, Trade and Investment , HRD และ Environmental Protection and Sustainable Use of Share Resources ความร่วมมือของไทยต่อ GMS ในฐานะของความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนากับ ADB ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ช่วยในการประสานการดำเนินงานด้านการพัฒนามนุษย์ เพื่อการเสริมสร้างขีดสมรรถนะการดำเนินงานด้านการพัฒนามนุษย์ เพื่อการเสริมสร้างขีดสมรรถนะของบุคลากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อการนำไปสู่การพัฒนาในสาขาอื่นๆ

 

ASEAN-IAI ( ASEAN-Initiative for ASEAN Integration)

               วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ คือ ต้องการให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ คือ สปป. ลาว กัมพูชาเมียนมาร์ และเวียดนาม มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดช่องว่างด้านการพัฒนาในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม ๖ ประเทศให้การช่วยเหลือ  โดยการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาให้ความสำคัญในด้าน Infrastructure Development, HRD, Information and Communication Technology และ Regional Economic Integration ประเทศไทยได้รับการมอบหมายเป็นประธานกลุ่ม (Co-Shepherd) ด้านการคมนาคมขนส่งในการประสานการให้ความช่วยเหลือ สำหรับความร่วมมือทางด้านวิชาการนั้นได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขา ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

 

IMT - GT (Indonesia, Malaysia, Thailand - Growth Triangle)

               ความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยเน้นสาขาความร่วมมือด้าน Investment, Technology Transfer, Production, Natural Resources, Infrastructure และ Transportation Linkages จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ต้องการพัฒนาในเขตจังหวัดพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเน้นบทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ทั้งนี้ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาสหสาขา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

AEC ( ASEAN Economic Community)

               การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีปัจจัยเเห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การที่จะต้องทำให้ประเทศสมาชิกบางประเทศที่ยังต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถให้ทัดเทียมหรือได้รับการยกระดับอย่างเหมาะสมต่อการรมกลุ่มประชาคมที่ต้องสร้างความเข้มเเข็งร่วมกัน ประเทศไทยในฐานะที่มีการพัฒนามากกว่าบางประเทศได้เเก่ สปป. ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนามจึงควรมีบทบาทนำในการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเเก่ประเทศดังกล่าว และร่วมมือกับกลุ่มประเทศอื่นของอาเซียนที่มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกันในลักษณะของการร่วมมือเเบบหุ้นส่วน รวมทั้งการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าการสนับสนุนของประเทศไทย มีในรูปเเบบต่างๆ ที่มีความพยายามให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิกอาเซียนดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียนทั้งในมิติการเมืองความมั่นคงเศรษฐกิจ เเละ สังคมวัฒนธรรม รวมทั้งการดำเนินการตามเเผนเเม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน

 

TICAD

               การประชุมระดับสุดยอดระหว่างผู้นำของประเทศในแอฟริกาและหุ้นส่วนการพัฒนาต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งการประชุมดังกล่าวประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๓ โดยมีความคิดที่จะฟื้นฟูและกระตุ้นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกา เพื่อที่จะสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคแอฟริกาผ่านการดำเนินงานความร่วมมือแบบหุ้นส่วน การประชุม TICADจะร่วมกันจัดขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริกา (The African Union Commission – AUC) องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก และสำนักงานโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) โดยจะมีการจัดการประชุมขึ้นทุก ๕ ปี โดยภาพรวมกล่าวได้ว่า TICADถือเป็นผู้บุกเบิกของเวทีระหว่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๒๐ ปี ถือเป็นเวทีการหารือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งผู้ให้ บริษัทเอกชนและภาคประชาสังคมเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกา ทั้งนี้ โดยมีจุดเน้นอยู่ที่ ‘ความเป็นเจ้าของของแอฟริกาในการพัฒนา’ (Africa’s Ownership) และ ‘ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภูมิภาคแอฟริกากับประชาคมระหว่างประเทศ’(Partnership) เป็นสำคัญ

 

CARICOM CARICOM (Caribbean Community and Common Market)

               หรือ ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน โดยได้เริ่มพัฒนาขึ้นจากสมาคมการค้าเสรีแคริบเบียน (Caribbean Free Trade Association : CARIFTA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ประกอบด้วยสมาชิก ๑๕ ประเทศ คือ แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์เบโดส เบลีซ โดมินิกา เกรเนดา กายอานา เฮติ จาเมกา มอนต์เซอร์รัต เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ซูรินาเม และตรินิแดดและโตเบโก มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดร่วมภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ก่อนก้าวสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) ต่อไป

 

Forum for East Asia – Latin America Cooperation (FEALAC) FEALAC

               มีชื่อเดิมว่า เวทีหารือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (East Asia – Latin America Forum : EALAF) มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๒ โดยมีประเทศสมาชิก ๒๗ ประเทศ (ฝ่ายเอเชีย ๑๕ ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝ่ายลาตินอเมริกา ๑๒ ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ปานามา อุรุกวัย และเวเนซุเอลา) วัตถุ ประสงค์ของการจัดตั้ง EALAF คือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาใน ทุกด้าน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ ฯลฯ โดยประเทศสมาชิกสามารถเสนอโครงการความร่วมมือในด้านที่ตนมีความพร้อม และให้ประเทศสมาชิกผู้สนใจสมัครเข้าร่วมได้ การดำเนินงานของ EALAF จะกระทำผ่านประเทศผู้ประสานงานของแต่ละภูมิภาค (ประเทศผู้ประสานงานชุดแรก คือ สิงคโปร์และชิลี มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี และมีภารกิจที่จะต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ SOM หรือระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ๑ ครั้ง) โดยมีเอกสาร Framework Document เป็นกรอบ/ทิศทางการดำเนินการซึ่งมีลักษณะกว้างๆ การประชุม EALAF SOM ครั้งที่ ๒ จัดขึ้นที่กรุงซันติอาโก เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๓ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง ประเทศ EALAF ครั้งที่ ๑ โดยที่ประชุมคาดหวังว่าการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกนี้จะเป็นจุดเริ่ม แห่งศักราชใหม่ของความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นระหว่างภูมิภาคทั้ง สอง การประชุม EALAF SOM ครั้งที่ ๓ และการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ ๑ มีขึ้นที่กรุงซันติอาโก ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔ (หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการกระชุมระดับรัฐมนตรีฯ คือ ฯพณฯ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) สรุปผลการประชุมที่สำคัญได้ ดังนี้ - ที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้ชื่อ  Forum for East Asia – Latin America Cooperation (FEALAC) แทน EALAF ทั้งนี้ เพื่อเน้นความร่วมมือระหว่างกันมากกว่าการแบ่งประเทศสมาชิกตามที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์ - ที่ประชุมเห็นชอบให้รับ เอล ซัลวาดอร์ คอสตาริกา และคิวบา เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ FEALAC ทำให้มีสมาชิกรวม ๓๐ ประเทศ แบ่งเป็นภูมิภาคละ ๑๕ ประเทศเท่ากัน - ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้น ๓ ชุดพื่อเป็นกลไกในการประสานความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดและเป็นรูปธรรม มากยิ่งขึ้น ได้แก่ ๑) คณะทำงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ญี่ปุ่น และเปรูเป็นประธานร่วม ๒) คณะทำงานด้านการเมืองและสังคม สิงคโปร์และชิลีเป็นประธานร่วม และ ๓) คณะทำงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ออสเตรเลียและคอสตาริกาเป็นประธานร่วม