ข้อมูลความร่วมมือไตรภาคีกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา : UNICEF

ข้อมูลความร่วมมือไตรภาคีกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา : UNICEF

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 7,067 view

ความร่วมมือระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ 
United Nations Children’s Fund (UNICEF)

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

๑) กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนสหประชาชาติ ๒๕๖๐-๒๕๖๔ (United Nations Partnership Framework (UNPAF) 2017-2021 (ระดับประเทศ)

๒) Country Programme Document 2017-2021 (ระดับประเทศ)

๓) แผนการดำเนินงานร่วม (Joint Work Plan) (ปี 2563-๒๕๖๔ อยู่ระหว่างจัดทำ) (ระดับหน่วยงาน)

 วิธีการดำเนินความร่วมมือ

๑) ความร่วมมือไตรภาคี

รูปแบบการดำเนินความร่วมมือ

๑) โครงการ

๒) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตร/การประชุมเชิงปฏิบัติการ)

 

ความร่วมมือทางวิชาการในปัจจุบัน

๑) ความร่วมมือไตรภาคี 

  • ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ UNICEF มีความร่วมมือกันในกรอบไตรภาคี (Triangular Cooperation) โดยดำเนินกิจกรรมร่วมกันในลักษณะการจัดการฝึกอบรมด้านสิทธิเด็ก สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก และการป้องกันและดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี  โดยมีสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดการฝึกอบรม
  • ปี ๒๕๕๙ การดำเนินงานด้านการยุติเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก (Elimination of Mother-to-Child Transmission - EMTCT) ของไทยประสบความสำเร็จและได้รับเกียรติบัตรรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า สามารถบรรลุเป้าหมายการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในอัตราต่ำกว่าร้อยละ ๒ เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นประเทศที่สองของโลกรองจากคิวบา และสามารถรักษาคุณภาพจนได้รับการประกาศอย่างต่อเนื่อง
  • เมื่อปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ UNICEF จึงเห็นความสำคัญในการต่อยอดความสำเร็จของไทยในเรื่องดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ เข้าถึงองค์ความรู้ของไทยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี (good practices) ที่ทำให้ไทยประสบความสำเร็จผ่านการดำเนินงานในลักษณะความร่วมมือใต้-ใต้ (ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา) และไตรภาคี โดยการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศคู่ร่วมมือต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับความพยายามของนานาชาติด้าน EMTCT โดยสนับสนุนให้เข้าถึงความรู้ของไทยและร่วมแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีอย่างเป็นระบบ ยั่งยืน และเกิดผลในวงกว้างยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพหน่วยงานไทยให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ระดับโลกในด้าน EMTCT และสนับสนุนบทบาทไทยในกรอบความร่วมมือใต้-ใต้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง โดยมีกิจกรรมที่ได้ร่วมมือกันดำเนินการในปี ๒๕๖๒ ผ่านโครงการความร่วมมือด้านการยุติการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก (EMTCT): ประสบการณ์ไทยสู่โลก มีดังนี้

๑) งานแถลงความร่วมมือ ไทย-UNICEF ด้าน EMTCT : ประสบการณ์ไทยสู่โลก เพื่อเชิญชวนให้หน่วยงานจากภาครัฐ คณะทูต เอกชน สถาบันการศึกษา NGOs องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานด้านเอดส์จากแขนงต่าง ๆ   เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทยในการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส และร่วมรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “EMTCT of HIV and Syphilis in Thailand: yesterday’s effort, today’s success, and future prospect”

๒) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Multi-Country Capacity Building Workshop on Elimination of Mother-to-Child Transmission (EMTCT) Validation ให้กับกลุ่มประเทศที่มีความต้องการเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของไทยเป็นกลุ่มแรก ได้แก่ อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และยูเครน ซึ่งรวมถึงการศึกษา ดูงานที่โรงพยาบาลตากสินเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงมีกระบวนการการรักษาและการดูแลที่เอื้อต่อการคัดกรองและการป้องกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อลด  ความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อ

  สถานะ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓

ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ