ข้อมูลความร่วมมือไตรภาคีกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา : The Rockefeller Foundation

ข้อมูลความร่วมมือไตรภาคีกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา : The Rockefeller Foundation

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 7,212 view

สหรัฐอเมริกา (United States): The Rockefeller Foundation

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

Memorandum of Understanding ระหว่างรัฐบาลไทยโดยสำนัก

นายกรัฐมนตรีกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ลงนามเมื่อปี ๒๕๐๗

รูปแบบความร่วมมือ : ทวิภาคี

 

ความร่วมมือทางวิชาการในปัจจุบัน

ภูมิหลัง

        สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ลงนาม MOU กับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เมื่อวันที่ ๓๐ ต.ค. ๒๕๐๗ (๑๙๖๔) เพื่อจัดตั้งสำนักงานใน ปทท. และดำเนินงานด้านการพัฒนา โดยช่วงแรกมูลนิธิฯ ดำเนินกิจกรรมในสาขาการแพทย์ สาธารณสุขและการศึกษา โดยสนับสนุนงบประมาณการศึกษาในสาขาแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่อมาได้เปลี่ยนมาให้ทุนการศึกษา/วิจัยและเงินทุนสำหรับการจัดประชุม สัมมนาและดำเนินงานโครงการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันดำเนินงานด้านสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชนเมือง พลังงานทดแทน การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และงานการกุศลอื่น ๆ 

        ต่อมากรมความร่วมมือฯ ได้แจ้งมูลนิธิฯ ให้ยื่นขอจดทะเบียนกับ ก.แรงงาน (เป็นหน่วยงานที่ดูแล NGOs ต่างประเทศที่มีการดำเนินงาน/จัดตั้ง สนง. ภูมิภาคใน ปทท.) ขณะนี้ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการของมูลนิธิฯ

การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ที่ผ่านมา

        มูลนิธิฯ สนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องภายใต้ยุทธศาสตร์โลกของมูลนิธิฯ (Global Strategies) โดยในปี ๒๕๖๐ ใช้งบประมาณดำเนินงานใน ปทท. จำนวน ๒,๒๐๖,๑๖๘ ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารมูลนิธิฯ ใน ปทท. จำนวน ๑,๒๔๑,๒๑๕ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังนี้

        ๑. Transforming Health Systems (THS) เป็นโครงการเพื่อพัฒนาการบริการด้าน High Quality health service ไปสู่ Universal Health Coverage (UHC) ในประเทศกำลังพัฒนา โดยสนับสนุนการจัดประชุม Prince Mahidol Award Conference (PMAC) อย่างต่อเนื่อง

        ๒. Smart Power for Rural Development เป็นโครงการจัดหากระแสไฟฟ้าและพัฒนาเศรษฐกิจแก่หมู่บ้านในรัฐบีฮาร์ (Bihar) และรัฐอุตราประเทศ (Uttar Pradesh) ของอินเดีย กว่า ๑,๐๐๐ แห่ง

        ๓. Regional Opportunities Fund จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ใน ปทท. และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เพื่อดำเนินงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่อประเทศและภูมิภาค/สนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาคเอกชน สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ของไทย

        ๔. Strengthening Local Philanthropy เป็นโครงการใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม NGOs ท้องถิ่น

        ๕. Global Resilience Partnership (GRP) มูลนิธิฯ เป็นหุ้นส่วนกับ USAID และ SIDA เพื่อช่วยเหลือประชากรผู้ยากไร้หลายล้านคนที่เขตรอยต่อซาเฮล (Sahel) แหลมแอฟริกา เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือต่อโรคเครียดเรื้อรัง ภัยพิบัติและปัญหาต่าง ๆ และนำไปสู่ความมั่นคงในอนาคต

         ๖. ๑๐๐ Resilience Cities เป็นโครงการเนื่องในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการก่อตั้งมูลนิธิฯ ซึ่งทำการคัดเลือกเมือง ๑๐๐ แห่งจากทั่วโลก กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งใน ๓๒ เมืองแรกที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นิเวศบริการ สังคมและชุมชน

         ๗. ๒๐๑๗ Day of Service, Asia Office Team เป็นกิจกรรมจิตอาสาของ จนท. มูลนิธิฯ

พื้นที่ดำเนินงานเป้าหมาย : ประเทศเมียนมา อินเดีย และไทย

แหล่งสนับสนุนงบประมาณให้แก่มูลนิธิฯ : เงินทุนของมูลนิธิฯ

หน่วยงานที่มีความร่วมมือกับมูลนิธิฯ

ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทย อาทิ ก. สาธารณสุข ม. มหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Asian Cities Climate Change Resilience Network (ACCCRN) มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย รวมถึง หน่วยงานระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ ADPC USAID SIDA และ GIZ

สถานะปัจจุบัน

เจ้าหน้าที่ต่างชาติมูลนิธิฯ ที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานประเทศไทย มี ๒ ราย คือ

๑. Mrs. Deepali Khanna, Managing Director, Asia 

๒. Ms. Ferlicity Tan, Association Director (ปฏิบัติงานเมื่อ ๑ ก.ย. ๒๕๖๑)

การอำนวยความสะดวกของกรมฯ

  กรมฯ ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ จนท. ต่างชาติของมูลนิธิฯ ในเรื่องการขยายระยะเวลาพำนักใน ปทท. ตามมาตรา ๑๕ แห่ง พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ และชดเชยภาษีเงินได้ปี ๒๕๖๑