การหารือทางไกล เพื่อให้การปรึกษาทางการแพทย์แก่เมียนมา ครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ Strengthening Preparedness and Response to Pandemic of COVID-19

การหารือทางไกล เพื่อให้การปรึกษาทางการแพทย์แก่เมียนมา ครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ Strengthening Preparedness and Response to Pandemic of COVID-19

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 พ.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 680 view

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดการหารือทางไกล เพื่อให้การปรึกษาทางการแพทย์แก่เมียนมา ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ Strengthening Preparedness and Response to Pandemic of COVID-19 โดยมี พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญหลักของฝ่ายไทยในการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 โดยมีประเด็นหลักคือการแบ่งปันประสบการณ์การรักษาของไทยและแนวเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline –CPG) สำหรับการรักษาและดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 โดยเฉพาะการใช้ยา Favipiravir ที่ไทยได้ให้การสนับสนุนไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยมี นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ ผอ. แผนงาน ครม. เพื่อการพัฒนาด้าน สธ. ของกรมความร่วมมือฯ เข้าร่วมในฐานะ ผชช. ด้วย

ทั้งนี้ ฝ่ายเมียนมามีผู้แทนระดับอาจารย์แพทย์จาก มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ รพ. ต่าง ๆ จำนวนประมาณ 25 คนจากโรงพยาบาลศูนย์แพทย์ในกรุงย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ได้แก่ Yangon General Hospital South Okkalapa Hospital Mandalay General Hospital University of Medicine 1 และ 2 รวมถึงผู้แทนจากกระทรวง สธ. มม. ที่เป็น COVID -19 management committee และผู้แทนฝ่าย มม. ได้แสดงความสนใจกับการแบ่งปันประสบการณ์ของฝ่ายไทยเป็นอย่างมาก และได้สอบถามข้อมูลเชิงเทคนิคเกี่ยวกับแนวทางการรักษา ได้แก่

- การรักษาโรค COVID-19 โดยการใช้ยา Favipiravir ร่วมกับการใช้ยา steroid
- การรักษาผู้ป่วยหนัก
- แนวทางการในการบริหารจัดการผู้ป่วยโรค COVID-19 เช่นการรับผู้ป่วยโรค COVID-19 ทั้งหมด (ทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ) เป็นผู้ป่วยใน
- หลักเกณฑ์การกำหนด CPG
- บทบาทของ รพ. เอกชนในการร่วมการรักษาคนไข้ รวมถึงภาคเอกชน
- การกำหนดเกณฑ์การวัดระดับ oxygen เพื่อประกอบการพิจารณาว่าคนไข้กำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติหรือไม่
- การดูแล ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ และการลดอัตราการตายของคนไข้ COVID-9

แพทย์ มม. ได้แจ้งว่ามีความสนใจในแนวทางการรักษาของไทยมากกว่าของตะวันตกเนื่องจากเป็นแนวทางการรักษาที่น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะอัตราการตายของคนไข้ COVID-19 ใน ปทท. ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ อีกทั้งไทยยังได้รับการยอมรับจาก WHO ในการบริหารจัดการเฝ้าระวัง และรักษาโรค COVID-19

การจัด Medical Consultation ครั้งนี้ ใช้เวลาถึง 3 ชม. เนื่องจากแพทย์ มม. ได้มีข้อสอบถาม ผชช. ไทยหลายประการ และผู้เข้าร่วมการปรึกหารือเห็นควรให้ดำเนินการต่อเนื่อง ดังนี้

1) การจัดกิจกรรม Medical Consultation ครั้งที่ 2 ในวันศุกร์ที่ 27 พ.ย. 2563 โดยจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการรักษาผู้ป่วยวิกฤตและการติดเชื้อในปอด
2) การจัดตั้งคณะทำงาน Myanmar-Thailand Expert Group on COVID-19 (MTEG19) โดยเป็นผู้แทนจากภาครัฐและองค์กรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวัง/รักษา ซึ่งจะมีหน้าที่ในการกำหนดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการแพทย์และข้อเสนออื่น ๆ ของฝ่าย มม.
3) การจัดตั้งช่องทางการสื่อสารระหว่างแพทย์ไทยกับแพทย์ มม. โดยในชั้นต้น กรมความร่วมมือฯ จะเป็นผู้ประสานงานกลางในการรวบรวมรายชื่อและเบอร์ติดต่อแพทย์

โดยแพทย์ฝ่าย มม ได้แสดงความขอบคุณฝ่ายไทย ที่ริเริ่มการจัดตั้งกลุ่มการหารือดังกล่าว

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ