มูลค่าภาพรวม ODA ประเทศไทย

มูลค่าภาพรวม ODA ประเทศไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 8,323 view

มูลค่าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ภาพรวม)

 

               กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้รายงานข้อมูล ODA ของไทยต่อ OECD ทุกปี ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖) โดยความสมัครใจ (voluntary basis) ซึ่ง OECD กำหนดให้กลุ่มประเทศ donors เท่านั้น ที่ต้องรายงาน และจากมูลค่าการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยในช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๖๑ เห็นได้ว่า มูลค่าที่ไทยให้ความช่วยเหลือเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี ๒๕๖๑ มีมูลค่า ๔,๕๖๑.๗๘ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๙ มีมูลค่าสูงถึง ๗,๑๐๔.๒๐ ล้านบาท เนื่องจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้รายงานปริมาณเงินที่ร่วมการลงทุนใน Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) ซึ่ง OECD ให้นับเป็น ODA ได้ร้อยละ ๘๕

มูลค่า1

               เมื่อจำแนกตามประเภทการให้ความช่วยเหลือ ในปี ๒๕๖๑ มีมูลค่า 4,561.78 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของมวลรวมรายได้ประชาชาติ โดยแบ่งเป็น  ๑) เงินกู้ ๔๔๗.๐๑ ล้านบาท (ร้อยละ ๙.๘) ๒) เงินให้เปล่าและความร่วมมือทางวิชาการ ๑,๖๖๒.๔๕ ล้านบาท (ร้อยละ ๓๖.๔๔) และ ๓) เงินบริจาคให้แก่องค์การระหว่างประเทศ ๒,๔๕๒.๓๒ ล้านบาท (ร้อยละ ๕๓.๗๖)

 

               หากจำแนกตามรายหน่วยงาน ในปี ๒๕๖๑ ในส่วนของความร่วมมือทางวิชาการและเงินให้เปล่า (๑,๖๖๒.๔๕ ล้านบาท) เห็นได้ว่า แม้โดยลักษณะงาน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนความร่วมมือในส่วนนี้ อย่างไรก็ดี กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ต่างประเทศมากที่สุด ๘๐๓.๗๒ ล้านบาท (จากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามพรมแดนแห่งใหม่ที่บ้านหนองเอี่ยน-สตึงบท กัมพูชา และโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ของกรมทางหลวง)

การให้

               ในด้านเงินกู้ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ NEDA  ในปี ๒๕๔๘ – ๒๕๖๑   โดย  NEDA  ได้มีความร่วมมือในด้านการเงินใน ๗ ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ภูฏาน ศรีลังกา และติมอร์-เลสเต รวมจำนวน ๗๘ โครงการ มูลค่ารวม ๑๗,,๕๙๑.๓๓ ล้านบาท จำนวน ๗๘ โครงการ  โดยเป็นความช่วยเหลือด้านการเงิน (เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน) จำนวน  ๒๔ โครงการ เป็นเงิน ๑๗,๒๙๒.๗๘ ล้านบาท  การพัฒนาบุคลากรโดยการอบรม จำนวน ๔๐๖ คน รวม ๓๖ โครงการ มูลค่า ๒๓.๒๙ ล้านบาท  และความร่วมมือทางวิชาการจำนวน ๑๙ โครงการ มูลค่า ๒๗๕.๒๖ ล้านบาท สำหรับสาขาความร่วมมือในปัจจุบันมี ๔ สาขา ได้แก่ สาขาความเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม  ด้านพลังงาน การพัฒนาเมือง และพัฒนาบุคลากร โดยในระยะแรกนั้น โครงกาจะอยู่ในประเทส สปป.ลาว จำนวนมากที่สุด คือ ๓๐ โครงการ มูลค่า ๑๔,๐๘๘.๘๒  ล้านบาท รองลงมาคือ กัมพูชา จำนวน ๖ โครงการ มูลค่า ๓.๑๔๑.๓๒ ล้านบาท และเวียดนาม

NEDA3_1

               ปัจจุบัน แม้ว่าไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของ Development Assistance Committee/ OECD  หรือ Non-DAC และ OECD ยังคงจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศผู้รับในกลุ่มประเทศ Upper-Middle Income Country แต่ OECD ได้มีการบันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศของไทยไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงถึงสถานะและบทบาทของไทยที่ประจักษ์ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว OECD สนับสนุนให้ประเทศผู้ให้ต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือที่เกณฑ์ร้อยละ ๐.๗ ของ GNI โดยล่าสุดในปี ๒๕๖๑ มูลค่า ODA ของไทย (ซึ่งยังอยู่ในกลุ่มประเทศผู้รับ) อยู่ที่ร้อยละ ๐.๐๓๐๙ ของ GNI

ดัชนี1

               ในส่วนการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศของไทย ในปี ๒๕๖๑ มูลค่าการรับความร่วมมือของไทยอยู่ที่ ๑,๕๘๒.๙ มีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน ๆ หน้า (ในปี ๒๕๕๕ มูลค่าการรับความช่วยเหลือของไทยสูงถึง ๖๘,๑๐๗.๕๒ ล้านบาท จากการที่ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือแบบ grant กับไทยเพื่อบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย) โดยแบ่งเป็นการรับในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการรับทุนศึกษาและ   ทุนฝึกอบรม โดยสาขาที่รับความช่วยเหลือมากที่สุดคือด้านการศึกษา สาธารณสุข และพัฒนาสังคม (ซึ่งสาขาสาธารณสุขและพัฒนาสังคมเป็นสาขาเดียวกับสาขาหลักที่ไทยให้ความช่วยเหลือ แต่ในด้านการรับไทยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก) โดยประเทศหลัก ๆ ที่ไทยรับความช่วยเหลือ คือ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี (ซึ่งให้ความช่วยเหลือทวิภาคีกับไทยโดยตรง) สหรัฐฯและฝรั่งเศส (ให้ไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคโดยใช้ไทยเป็นฐาน)

รับ1_2