สรุปผลการจัดหลักสูตร AITC ปี 2566

สรุปผลการจัดหลักสูตร AITC ปี 2566

วันที่นำเข้าข้อมูล 31 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 31 ต.ค. 2566

| 586 view

TICA ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะ “คน” คือ ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนา คือ คน และหนึ่งในภารกิจหลักของ TICA คือ “การเชื่อมไทยสู่โลก” โดยถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ องค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของประเทศไทยให้แก่ประเทศคู่ร่วมมือในรูปแบบการจัดหลักสูตรฝึกอบรมประจำปีนานาชาติ หรือ Annual International Training Programme : AITC

ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ TICA ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของไทยจัดหลักสูตรฝึกอบรมประจำปีนานาชาติ หรือ หลักสูตร AITC โดยจัดทำแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศระยะสามปี ปัจจุบันเป็นแผนงานฉบับที่ ๒ (๒๕๖๖-๒๕๖๘) ใน ๖ หัวข้อหลัก (Theme) ได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข โมเดลเศรษฐกิจ BCG และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในปี ๒๕๖๖ จัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติในรูปแบบออนไลน์ รวมทั้งสิ้น ๑๕ หลักสูตร มีจำนวนผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรม และผ่านเกณฑ์การอบรมได้รับ E-certificate (เข้าร่วมการอบรม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ของระยะเวลาการอบรม) จำนวน ๕๐๒ ราย จาก ๖๐ ประเทศ จากจำนวนผู้สนใจลงทะเบียนออนไลน์ทั้งสิ้น จำนวนรวม ๑,๕๑๘ ราย จาก ๘๗ ประเทศ โดยจำแนกเป็นภูมิภาคได้ดังนี้

🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน ๑๙๖ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๙๕ ราย จาก ๙ ประเทศ (กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย ติมอร์-เลสเต และเวียดนาม) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๓๗) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๒๗) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๑๕) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๒) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๘)หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๑)

🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๑ ราย จากประเทศมองโกเลีย ในสาขาโมเดลเศรษฐกิจ BCG

🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคเอเชียใต้ จำนวน ๑๒๙ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๗๕ ราย จาก ๗ ประเทศ (บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๔๘) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๒๓) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๗) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๙) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๓)

🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคเอเชียกลาง จำนวน ๓๕ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๗ ราย จาก ๓ ประเทศ (คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๔๓) สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๒๙) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๔) และการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๑๔)
 
🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน ๒๐๕ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๖๔ ราย จาก ๔ ประเทศ (บาห์เรน อิรัก จอร์แดน และซาอุดิอาระเบีย) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๔๖) สาธารณสุข (ร้อยละ ๒๘) การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๑๔) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๙) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๓)
 
🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคแอฟริกา จำนวน ๖๘๔ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๑๗๓ ราย จาก ๒๐ ประเทศ (บุรุนดี แคเมอรูน อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย เคนยา โมร็อกโก นามิเบีย ไนเจอร์ ไนจีเรีย รวันดา โซมาเลีย แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย โตโก ตูนีเซีย ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๒๘) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๒๘) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๒๑) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๗) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๖)
 
🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคยุโรป จำนวน ๑๐๕ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๒๙ ราย จาก ๖ ประเทศ (อาร์เมเนีย ออสเตรีย อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย รัสเซีย และทูร์เคีย) สาขาที่ได้รับความสนใจโดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๓๕) สาธารณสุข (ร้อยละ ๒๑) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๑๗) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๑๐) สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๑๐) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๗)
 
🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคอเมริกา จำนวน ๑๒๙ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๔๖ ราย จาก ๙ ประเทศ (คอสตาริกา เอกวาดอร์ กัวเตมาลา กายอานา ฮอนดูรัส เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาเม และตรินิแดดแอนด์โตเบโก) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ สาธารณสุข (ร้อยละ ๓๙) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๒๐) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๒๐) การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๑๕) สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ร้อยละ ๔) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ ๒)
 
🌎 มีผู้สมัครเข้าร่วมจากภูมิภาคแปซิฟิกใต้ จำนวน ๓๔ ราย โดยผ่านเกณฑ์การอบรม จำนวน ๑๒ ราย จาก ๒ ประเทศ (หมู่เกาะคุกซ์ และซามัว) สาขาที่ได้รับความสนใจ โดยจัดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ร้อยละ ๕๐) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (ร้อยละ ๒๕) สาธารณสุข (ร้อยละ ๑๗) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๘)
 
ℹ️ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า
(๑) ความสอดคล้องและการนำหลักสูตรไปใช้ความพึงพอใจร้อยละ ๘๙
(๒) ความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตร ความพึงพอใจร้อยละ ๙๐
(๓) การออกแบบหลักสูตร ความพึงพอใจร้อยละ ๘๗
(๔) การประสานงาน/การจัดการของผู้จัดหลักสูตรความพึงพอใจร้อยละ ๙๑
 
❤️ ผลการวิเคราะห์ความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมพบว่า เนื้อหาหลักสูตร การประสานงาน/จัดการ มีความเหมาะสมและผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะเรื่องความแตกต่างของเวลาระหว่างประเทศไทยและประเทศที่อยู่ในภูมิภาคห่างไกล (Time Zone) กระทบต่อการปรับเวลา และเสนอให้มีการจัดฝึกอบรมต่อเนื่องในพื้นที่ปฏิบัติจริง (ในประเทศไทย) เพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อหลักสูตรมากยิ่งขึ้น
 
🛜การจัดฝึกอบรมนานาชาติ AITC ในรูปแบบออนไลน์ เป็นช่องทางในการถ่ายทอดความรู้จากหน่วยงานของไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญใน ๖ หัวข้อหลัก ให้แก่บุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ และเสริมสร้างความตระหนักรู้ของไทย สร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานไทยกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ