หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SEP for SDGs Partnership) : ภาพรวม

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SEP for SDGs Partnership) : ภาพรวม

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 23,846 view

การทูตเพื่อการพัฒนาและนโยบาย SEP for SDGs Partnership

 

              การทูตเพื่อการพัฒนาและการสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินงานส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศ ตามพันธกิจ ข้อ ๗. ส่งเสริมและดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency หรือ TICA) เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบภารกิจดังกล่าว

              TICA ได้เริ่มเผยแพร่และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy หรือ SEP) ไปประยุกต์ในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓)


p4  

              ต่อมาเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และไทยได้เสนอหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) โดยเน้นเป้าหมายที่ ๑๗ (Partnership for the Goals) เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายอีก ๑๖ ข้อ ภายใต้นโยบาย SEP for SDGs Partnership

p1

p2

              นโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับ ๑) แผนแม่บทด้านการต่างประเทศ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ในประเด็นสำคัญทั้ง ๕ ด้าน คือ มีความมั่นคง (Security) มีความมั่งคั่งยั่งยืน (Sustainability) มีมาตรฐานสากล (Standard) มีสถานะและเกียรติภูมิ (Status) และ มีพลัง (Synergy) โดยเฉพาะด้าน ความมั่งคั่งยั่งยืน ข้อ ๑๓ เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา และ ๓) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ข้อ ๔.๔.๓ การร่วมมือทางการพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาค โลก รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ

p3