อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เข้าร่วมเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อ “Creating Opportunities to Deliver Effective South-South and Triangular Cooperation at Country Level” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เข้าร่วมเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อ “Creating Opportunities to Deliver Effective South-South and Triangular Cooperation at Country Level” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ธ.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 19 ธ.ค. 2565

| 818 view

เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม 2022 Effective Development Co-operation Summit ณ นครเจนีวา เข้าร่วมเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อ “Creating Opportunities to Deliver Effective South-South and Triangular Cooperation at Country Level” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามคำเชิญของรัฐบาลสมาพันธรัฐสวิส และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP)

เวทีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความเห็นต่อการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในรูปแบบใต้-ใต้และไตรภาคี โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นวิทยากร ได้แก่ H.E. Dr. Ir. Slamet Soedarsono, Deputy Minister of Political Affairs, Law, Defense and Security, Indonesia, H.E. Mr. Francisco André, State Secretary for Foreign Affairs and Co-operation, Portugal , H.E. Mr. Jonathan Titus-Williams, Deputy Minister, Ministry of Planning and Economic Development, Sierra Leone , Mr. Pedro Manuel Moreno, Deputy Secretary General, UNCTAD , Mr. José Antonio González Norris, Executive Director, Peruvian Agency for International Co-operation, Peru, Ms. Marita Gonzalez, Co-Chair, CSO Partnership for Development Effectiveness (CPDE) และ Mr. Xu Wei, Director-General of International Cooperation Department, Chinese International Development Cooperation Agency (CIDCA), China โดยอธิบดีอุรีรัชต์ฯ ได้แบ่งปันองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยกับต่างประเทศ ตั้งแต่ระดับนโยบายและการดำเนินงาน

นอกจากนี้ อธิบดีอุรีรัชต์ฯ ยังได้แลกเปลี่ยนบทเรียน (lesson learned) การดำเนินงานด้านการพัฒนาของไทย ที่สอดคล้องกับเอกสารผลลัพธ์ BAPA+40 (BAPA+40 Outcome Document) ได้แก่ (๑) การใช้ภูมิปัญญาของประเทศ โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs) (๒) การทำงานร่วมกับหน่วยงานความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งจากประเทศแหล่งผู้ให้เดิม (Global North) องค์กรระหว่างประเทศ และคู่ร่วมมือใหม่ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (South- South-South) (๓) การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และ (๔) การมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development - HRD) โดยอธิบดีอุรีรัชต์ฯ ได้เน้นย้ำปัจจัยที่สำคัญสำหรับความสำเร็จของการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลกต่อไป ได้แก่ 3Cs (การประสานงานที่ดีในทุกระดับ (Coordination) การทำงานที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันในทุกรูปแบบ (Complementarities) และความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับนโนบายจนถึงการดำเนินงาน (Coherence)

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ