กัมพูชา

กัมพูชา

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 6,840 view

สอนไทย-กัมพูชา_1

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยพระตะบอง

ภูมิหลังโครงการ

   นายกรัฐมนตรีไทยและกัมพูชาเห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม (Joint Committee on Border Area Development and Connectivity between Thailand and Cambodia; JCBD) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธาน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชา ให้มีความสงบ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ประชาชนมีงานทำและมีรายได้ โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยกัมพูชา ตามจังหวัดชายแดน และได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีให้เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยพระตะบอง เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมฯ

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายกัมพูชา

มหาวิทยาลัยพระตะบอง

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย และเปิดสอนภาษาไทยระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยพระตะบอง

ระยะเวลาโครงการ

กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ – ธันวาคม ๒๕๖๓

แผนงานโครงการ

๑) ทุนศึกษาระดับปริญญาโทสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยพระตะบอง

๒) การไปปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัคร (สอนภาษาไทยระยะสั้น และวิชาเลือก)

๓) ผลการสำรวจความต้องการเรียนภาษาไทย (Market survey)

๔) จัดทำร่างหลักสูตรภาษาไทยระดับปริญญาตรี

แผนการเรียนการสอน

๑) ดำเนินการเตรียมความพร้อมจัดทำหลักสูตร (ระยะสั้น 4 ช่วงชั้น) (ธันวาคม 2558 – กุมภาพันธ์)

๒) การจัดการเรียนการสอน เพื่อทดลองสอนวิชาภาษาไทยให้กับมหาวิทยาลัยพระตะบอง โดยใช้หลักสูตรระยะสั้นเพื่อทดลองสอนในระยะเวลา 2 ปี เน้นภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร โดยมีหลักสูตรระยะสั้น (มีนาคม – พฤษภาคม 2559) ดังนี้

           - หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ ๑ ภาษาไทยพื้นฐาน  

           - หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ ๒ การพัฒนาทักษะการฟัง และการพูด  

           - หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ ๓ การพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียน  

           - หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ ๔ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

๓) หลักสูตร Elective Course โดยมีจำนวนนักศึกษา

           - รุ่นที่ ๑: นักศึกษาลงทะเบียนเรียน จำนวน ๒๖ คน จากสาขาวิชาอักษรศาสตร์ภาษาแขมร์ คณะศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์

           - รุ่นที่ ๒: นักศึกษาลงทะเบียนเรียน จำนวน ๑๑๑ คน จากสาขาเกษตร คณะเกษตร (ชั้นปีที่ ๒ และชั้นปีที่ ๓

Project Logical Framework

 (๓ ปี ระยะที่ ๒) ๒๐๒๐ – ๒๐๒๒

ผลผลิต (Output)

๑) ร่างหลักสูตรวิชาภาษาไทยระดับปริญญาตรี ๔ ปี

           ๑.๑ หลักสูตรวิชาภาษาไทยระดับปริญญาตรีได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงอบรม ยุวชน และกีฬา ราชอาณาจักรกัมพูชา

๒) หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้น (Short course) ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน

          ๒.๑ หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้น ระดับพื้นฐาน และระดับสูง ปีละ ๓ ครั้ง

          ๒.๒ หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้นเฉพาะทางสำหรับประกอบอาชีพ ปีละ ๑-๒ ครั้ง

           ๒.๓ เอกสารประกอบการสอนครบถ้วน

๓) หลักสูตรภาษาไทยวิชาเลือก (Elective course) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

           ๓.๑ หลักสูตรภาษาไทยวิชาเลือก (elective course) เปิดสอนระดับปริญญาตรีอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้เรียนในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่า...... คน

           ๓.๒ เอกสารประกอบการสอนครบถ้วน

๔) อาจารย์ผู้สอน (ชาวกัมพูชา) มีคุณวุฒิตามมาตรฐานและมีจำนวนเพียงพอที่จะทำการสอน ตามหลักสูตร

           ๔.๑ จำนวนอาจารย์ผู้สอนจบระดับมหาบัณฑิตด้านภาษาไทย จำนวน ๒ คน ภายในปี ๒๐๒๐

๕) มีทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอ

           ๕.๑ ห้องเรียน

                - จำนวนห้องเรียนตามตารางเรียนที่มหาวิทยาลัยจัดให้

                - มุมศึกษาภาษาไทยภายในภาควิชาภาษาไทย

          ๕.๒ หนังสืออ่านนอกเวลาและหนังสือส่งเสริมการอ่านด้านภาษาไทย

          ๕.๓ สื่อการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๖) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง

          ๖.๑ กิจกรรมเสริมทักษะด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ กิจกรรมต่อปี

          ๖.๒ หลักสูตรฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มที่ประเทศไทยปีละ ๑ ครั้ง

ความคืบหน้าในการดำเนินงาน

๑) จัดการเรียนการสอนวิชาเลือกเสรี รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน จำนวน ๓ หน่วยกิต จำนวน ๑๕ – ๒๐ สัปดาห์ (ระหว่างวันที่ ๒๒ ต.ค. ๒๕๖๒ – ๑๘ ก.พ. ๒๕๖๓) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน ๔๑ คน

๒) จัดการเรียนการสอนภาษาไทย หลักสูตรระยะสั้น จำนวน ๒๐ สัปดาห์ (ระหว่างวันที่ ๒ ก.ย. ๒๕๖๒ – ๒๒ ม.ค. ๒๕๖๓) นักศึกษาที่ลงทะเบียน จำนวน ๗๐ คน

๓) ทุนศึกษาภาษาไทยสำหรับอาจารย์ ม. พระตะบอง

           - รุ่นที่ ๑ Ms. Sou Fatimafaty และ Ms. Meas Marine หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ระยะเวลารับทุนตั้งแต่วันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๖๒ – ๓๑ ธ.ค. ๒๕๖๕

ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ

๑) ดร. พรโชค พิชญ อู๋สมบูรณ์ อ.ประจำคณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏรําไพพรรณี (ผู้เชี่ยวชาญภายใต้โครงการฯ) เบอร์ติดต่อ : ๐๘๙-๐๙๗-๔๘๔๙ อีเมล : [email protected]

๒) นางสาวพิณ ศรีดุรงคธรรม นักวิเทศสหการชำนาญการพิเศษ, กรมความร่วมมือฯ (จนท. รับผิดชอบโครงการ) เบอร์ติดต่อ : ๐๘๑-๖๙๔-๕๑๙๑ อีเมล : [email protected]

๓) นายซัดดัม สะแต จนท. โครงการฯ, กรมความร่วมมือฯ (จนท. ประสานงานโครงการ) เบอร์ติดต่อ : ๐๘๕-๖๒๘-๑๐๐๗ อีเมล : [email protected]

สอนไทย-กัมพูชา_2

โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ

ประวัติ

       รัฐบาลไทย โดยโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัครผู้ช่วยไปสอนภาษาไทยในสถาบันภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ระยะแรกได้เปิดสอนวิชาภาษาไทยขั้นพื้นฐาน ระดับ ๑-๔  โดยเป็นวิชาไม่นับหน่วยกิต ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ทางมหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรวิชาโท สาขาวิชาภาษาไทย เป็นวิชาเลือกเสรีของหลักสูตรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับการอนุมัติจากสถาบันภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญให้เปิดสอนหลักสูตรภาษาไทยระยะสั้น ระดับ ๑-๔

        ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬากัมพูชาได้ลงนามอนุมัติให้จัดตั้งภาควิชาภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ในวันที่ ๙  กันยายน  ๒๕๕๗ และให้มีการเปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาภาษาไทย ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗-๒๕๕๘ เป็นต้นไป ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬากัมพูชาอนุมัติให้เปิดหลักสูตรภาษาไทยระดับปริญญาตรี เมื่อเดือน ก.ย. ๒๕๕๗ เริ่มสอนในปีการศึกษา ๑/๒๕๕๗  สำหรับปีแรกมีนักศึกษา จำนวน ๒ ห้อง ๆ ละ ๓๐ คน ปัจจุบันมีนักศึกษารุ่นแรกได้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว และโครงการอยู่ระหว่างดำเนินงานภายใต้แผนงาน ๓ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔)

หน่วยงานดำเนินงานฝ่ายไทย

ระยะที่ ๑: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ระยะที่ ๒: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยงานดำเนินงาน

ฝ่ายกัมพูชา

มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ

วัตถุประสงค์

ระยะที่ ๑:  เพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย และเปิดสอนภาษาไทยระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ (บรรลุวัตถุประสงค์)

ระยะที่ ๒:  เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยระดับปิญญาตรี

ระยะเวลาโครงการ

ระยะที่ ๑:  ๒๕๔๘ - ๒๕๕๗

ระยะที่ ๒:  ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔

แผนงานโครงการ

โดยแผนงานโครงการประกอบด้วย

๑) การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยระดับปริญญาตรี

๒) พัฒนาบุคลกรโดยสนับสนุนทุนศึกษาระดับปริญญาโท

๓) ส่งผู้เชี่ยวชาญระยะสั้นไปดูแลการสอน

๔) ส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงานช่วยสอนภาษาไทยปีละ ๒ คน

๕) สนับสนุนอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน

แผนการเรียนการสอน

 

การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ๒ ระดับ ได้แก่

๑) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย (Bachelor of Arts in Thai Language)

           ๑.๑ จำนวนคาบเรียนของนักศึกษาทุกชั้นปีมีคาบเรียน จำนวน ๘๗ คาบ/สัปดาห์ และรายวิชาฝึกประสบการณ์ จำนวน ๖ หน่วยกิต (๓๒๐ ชม.)

                - นิสิตปีที่ ๑ เรียน ๑๘ คาบ/สัปดาห์

                - นิสิตปีที่ ๒ เรียน ๓๐ คาบ/สัปดาห์

                - นิสิตปีที่ ๓ เรียน ๓๐ คาบ/สัปดาห์

                - นิสิตปีที่ ๔ เรียน ๑๒ คาบ/สัปดาห์ และรายวิชาฝึกประสบการณ์ ๓๒ ชม./สัปดาห์

๒) หลักสูตรภาษาไทยระยะสั้นเปิดสอนแก่นักศึกษาและบุคคลภายนอก โดยแบ่งการสอนเป็น ๔ ระดับ

๑) ภาษาไทยพื้นฐาน ๑ (แบบเรียนภาษาไทย ป.๑ – ๓) (ภาษาไทยพื้นฐานระดับ ๑)

๒) ภาษาไทยพื้นฐาน ๒ (แบบเรียนภาษาไทย ป. ๔ – ๖) (ภาษาไทยพื้นฐานระดับ ๒)

๓) ภาษาไทยระดับกลาง ๑ (แบบเรียนภาษาไทย ม.๑ – ๓) (ภาษาไทยพื้นฐานระดับ ๓)

๔) ภาษาไทยระดับกลาง ๒ (แบบเรียนภาษาไทย ม.๔ – ๖) (ภาษาไทยพื้นฐานระดับ ๔)

Project Logical Framework ระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔)

Output ๑ มีอาคารภาควิชาภาษาไทย จำนวน ๑ หลัง

Output ๒ พัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย

           ๒.๑ ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี ๔ ปี ให้สอดคล้องกับความต้องการของวิชาชีพ ด้านภาษาไทย

           ๒.๒ มีร่างหลักสูตรระดับปริญญาโท

           ๒.๓ ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทย

Output ๓ ครูผู้สอนมีคุณวุฒิตามมาตรฐานและมีจำนวนเพียงพอที่จะทำการสอนตามหลักสูตร

           ๓.๑ สนับสนุนทุนศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแก่ครูผู้สอนชาวกัมพูชาเพื่อพัฒนาคุณวุฒิตามรายวิชาที่กำหนดในหลักสูตร

            ๓.๒ ส่งอาสาสมัครผู้ช่วยสอนภาษาไทยไปช่วยสอน

           ๓.๓ จัดอบรมและสัมมนาการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่อาจารย์ของภาควิชาภาษาไทย

Output ๔ มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอ

           ๔.๑ ปรับปรุงตำรา/เอกสารประกอบการสอนทุกรายวิชาตามหลักสูตร

           ๔.๒ จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็น

Output ๕ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง

            ๕.๑ สนับสนุนทุนฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นในประเทศไทย

           ๕.๒ สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ช่วยพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของผู้เรียน

           ๕.๓ สนับสนุนกิจกรรมการฝึกประสบการณ์พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของผู้เรียน

Output ๖ ภาควิชาภาษาไทยได้รับการประชาสัมพันธ์ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย

          ๖.๑ เลือกโรงเรียนเป้าหมาย

          ๖.๒ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์

          ๖.๓ จัดกิจกรรมในโรงเรียนเป้าหมาย

ความคืบหน้าในการดำเนินงาน

๑) สนับสนุนทุนการศึกษาระดับ ป.โทและ ป.เอก หลักสูตรภาษาไทย ให้กับบุคลากรกัมพูชา ๖ คน เพื่อกลับไปเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยที่ ม. ภูมินท์พนมเปญ

          ๑.๑ รุ่นที่ ๑ Mr. Bundet CHOUM และ Mr. Pisal Lay หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ระยะเวลารับทุนระหว่าง ๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๕ – ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๘

          ๑.๒ รุ่นที่ ๒ Mr. Eng Tola และ Mr. Eng Sopheap หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ระยะเวลารับทุนระหว่างวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๖ – ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๙

          ๑.๓ รุ่นที่ ๓ : Mr. Phat Peng และ Mr. Tim Poev หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ระยะเวลารับทุนระหว่างวันที่ ๑ ส.ค. ๒๕๕๘ – ๓๑ พ.ค. ๒๕๖๑

          ๑.๔ รุ่นที่ Mr. Hem Samphos กำลังศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ระยะเวลารับทุน ระหว่างเดือน ม.ค. ๒๕๖๐ – ก.ค. ๒๕๖๓

๒) สนับสนุนทุนฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มแก่นิสิตที่เรียนภาษาไทย ชั้นปีที่ ๓

           ๒.๑ รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๓ ราย ระหว่างวันที่ ๑๕ ส.ค. – ๑๕ ก.ย. ๒๕๖๐

           ๒.๒ รุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๑ ราย ระหว่างวันที่ ๑๕ ส.ค. – ๑๕ ก.ย. ๒๕๖๑

           ๒.๓ รุ่นที่ ๓ จำนวน ๒๑ ราย ระหว่างวันที่ ๑๕ ส.ค. – ๑๕ ก.ย. ๒๕๖๒

           ๒.๔ รุ่นที่ ๔ เลื่อนกิจกรรมออกไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) คลี่คลาย

๓) ส่งอาสาสมัครผู้ช่วยสอนภาษาไทยไปสอนภาษาไทยภายใต้โครงการ

           ๓.๑ รุ่นที่ ๖ น.ส. เฟื่องฟ้า แสงชมพู และ น.ส. นางสาวมัลลิกา วิรุฬธรรม ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ก.ย. ๒๕๖๐ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๑ 

           ๓.๒ รุ่นที่ ๗ น.ส. เฟื่องฟ้า แสงชมพู และ น.ส. มณีนุช สุครีพ ตั้งแต่วันที่ ๗ ต.ค. ๒๕๖๑ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๒

           ๓.๓ รุ่นที่ ๘ (ปัจจุบัน) น.ส. มณีนุช สุครีพ และ น.ส. กฤตติกา ประสงค์ดี ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ต.ค. ๒๕๖๒ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๓

ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ

๑) ผศ. ดร. บัญญัติ สาลี อ.ประจำคณะมนุษยศาสตร์ฯ ม. มหาสารคาม (ผู้เชี่ยวชาญภายใต้โครงการฯ เบอร์ติดต่อ : ๐๘๙-๒๗๗-๕๐๔๕ อีเมล : [email protected]

๒) นางสาวพิณ ศรีดุรงคธรรม นักวิเทศสหการชำนาญการพิเศษ, กรมความร่วมมือฯ (จนท. รับผิดชอบโครงการ) เบอร์ติดต่อ : ๐๘๑-๖๙๔-๕๑๙๑ อีเมล : [email protected]

๓) นายซัดดัม สะแต จนท. โครงการฯ, กรมความร่วมมือฯ (จนท. ประสานงานโครงการ) เบอร์ติดต่อ : ๐๘๕-๖๒๘-๑๐๐๗ อีเมล : [email protected]