Nepal

Nepal

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 686 view

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-เนปาล

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ความเป็นมา - เริ่มตั้งแต่ปี 2520

1.2 จุดเน้น - การให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก

1.3 สาขาความร่วมมือ - สาธารณสุข เกษตร สิ่งแวดล้อม และการบินพลเรือน

 

2. รูปแบบความร่วมมือ

2.1 ความร่วมมือทวิภาคี

2.1.1 ทุนศึกษาระดับปริญญาโท

สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ Ms. Bintia Puri ครูพยาบาล สังกัด National Academy of Medical Sciences, Nursing Campus เข้าศึกษาหลักสูตร Master of Nursing Science (Maternity Nursing and Midwifery Pathway) ระหว่างวันที่ 1 ส.ค. 2559-31 ก.ค. 2561 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

2.1.2 ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC) ครอบคลุม 5 สาขาหลัก ได้แก่ Sufficiency Economy Philosophy (SEP), Food Security, Climate Change, Public Health, Other etc. Sustainable Development Goals (SDGs)

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศแจ้งเวียนทุนฝึกอบรมประจำปีให้แก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเนปาล โดยเนปาลได้รับทุนฝึกอบรมในสาขาต่าง ๆ ในไทย รวมแล้ว 46 ทุน (2556-2561)

 

2.1.3 ทุนศึกษาระดับปริญญาโท (TIPP) ครอบคลุม 5 สาขาหลัก ได้แก่  Sufficiency Economy Philosophy (SEP), Food Security, Climate Change, Public Health, Other etc. Sustainable Development Goals (SDGs)

        กรมความร่วมมือระหว่างประเทศแจ้งเวียนทุนศึกษาระดับปริญญาโทให้แก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเนปาลซึ่งได้รับทุนศึกษาระดับปริญญาโทในไทย รวมแล้ว 17 ทุน (2556-2561)

 

2.1.4 โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลแม่และเด็ก

        - ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2540 เห็นชอบในหลักการต่อโครงการโดยในช่วงปี 2542 – 2553 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประกอบกับฝ่ายเนปาลยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่ดำเนินงานโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตร Mother and Child Health ให้แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลของเนปาล จำนวน 5 ราย

         - ในการประประชุม JC ไทย – เนปาล ครั้งที่ 4 ในปี 2547 ฝ่ายไทยยืนยันการสนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปสำรวจพื้นที่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 และพบว่าพื้นที่ที่ฝ่ายเนปาลจัดให้อยู่ห่างจากชุมชนและทุรกันดาร จึงขอให้ฝ่ายเนปาลพิจารณา/ใช้พื้นที่ในเขตลุมพินีพัฒนา

         - ในปี 2550 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้จัดส่งคณะผู้แทนไทยจากกรมฯ และกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปสำรวจพื้นที่ดินผืนใหม่ตามที่ฝ่ายเนปาลแจ้งเชิญ ผลสรุปคือขอใช้พื้นที่ก่อสร้างในเขตลุมพินีพัฒนาบริเวณกึ่งกลาง ด้านทิศเหนือขนาด 160 x 160 เมตร

         - ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 Mr. Gopal Kiranty รมว. ก. วัฒนธรรมเนปาล  และคณะได้เยือนไทยอย่างเป็นทางการและได้หารือเรื่องการดำเนินการก่อสร้าง โรงพยาบาลฯ กับกรมอนามัย โดยมีข้อสรุปการหารือดังนี้ (1) การเลือกพื้นที่ที่จะสร้าง รพ. ต้องได้รับความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเนปาลได้เสนอพื้นที่ 32 ไร่ในบริเวณลุมพินี (2) การก่อสร้างเป็นรพ. ทั่วไปขนาด 30 เตียง (3) การก่อสร้างจะสร้างตามแบบแปลนของทางกระทรวงสาธารณสุข โดยฝ่ายเนปาลขอเปลี่ยนการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเป็นการเทคอนกรีตเนื่องจากสภาพลมพายุแรงในลุมพินี

         - ในปี 2556  ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปหารือเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะสร้าง รพ. 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 คณะผู้แทนไทยประกอบไปด้วยกรมการแพทย์ ออท. ณ กรุงกาฐมาณฑุ และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้เดินทางไปหารือกับคณะผู้แทน Lumbini Development Trust (LDT) ณ วัดไทยลุมพินี ซึ่งมีข้อสรุปว่า ฝ่ายเนปาลจะส่งหนังสือยืนยัน   ผ่านทางสอท. ณ กรุงกาฐมาณฑุ  ในการให้พื้นที่ก่อสร้างตามที่ได้มีการตกลงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันฝ่ายเนปาลไม่ได้ส่งหนังสือยืนยันถึงรัฐบาลไทยผ่าน สอท. ณ กรุงกาฐมาณฑุ แต่อย่างใด

 

2.2 ความร่วมมือไตรภาคี

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ UNICEF UNFPA ICAO CPS และ JICA ในการแจ้งเวียนหลักสูตรการฝึกอบรมไปยังเนปาลปีละ 2-3 หลักสูตร

 

2.3 ความร่วมมืออนุภูมิภาค - ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC

         - กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้จัดการฝึกอบรมในหลักสูตรเช่นหลักสูตรการป้องกันไข้หวัดนก นอกจากนี้ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศยังได้สนับสนุนการจัดฝึกอบรมด้านการทางและด้านประมงปีละ 1 หลักสูตร/สาขาด้วย

         - ในปี 2556 ได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำขั้นสูง ระหว่างวันที่ 15 ต.ค. – 13 พ.ย. 2556 ฝ่ายเนปาลส่งเจ้าหน้าที่จำนวน 1ราย เข้าร่วมการฝึกอบรม (แต่แจ้งภายหลังว่าไม่สามารถเข้าร่วมการฝึกอบรมได้)

 

2.4 โครงการบัวแก้วสัมพันธ์

         - กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้จัดดูงานภายใต้โครงการฯ สำหรับประเทศ  ในภูมิภาคเอเชียใต้ในปี 2550 ฝ่ายเนปาลได้จัดส่งผู้แทนมาเข้าร่วมโครงการ 2  คน ต่อปีจนถึงปี 2553

         - ปี 2556 -2558 เนปาลได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการศึกษาดูงานภายใต้โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ โดยมีผู้แทนเนปาลมาเข้าร่วมโครงการปีละ 1 คน

2.5 ความร่วมมืออื่นๆ

2.5.1 โครงการ e-learning การศึกษาทางไกลของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนในเนปาลและอินเดีย โดยการติดตั้งระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในวัดไทยในเนปาล 1 แห่ง (วัดไทยลุมพินี) และวัดไทยในอินเดีย 4 แห่ง

 

2.5.2 ความช่วยเหลือจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเดือน เม.ย. 2558

         - รัฐบาลไทยได้ดำเนินการดังนี้ (ข้อมูลจากการประชุมหารือพิจารณาแนวทาง ในการบริหารจัดการสิ่งของบริจาคช่วยเหลือแก่เนปาล ครั้งที่ 1/2558 กับสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 22 กรกฎาคม 2558)

1) ส่งมอบเงินบริจาคช่วยเหลือแก่สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลเบื้องต้น โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีมอบเงินบริจาคดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558 ณ ทำเนียบรัฐบาล ให้แก่รัฐบาลเนปาลและองค์การระหว่างประเทศ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ (1) สถานเอกอัครราชทูตเนปาล ปทท. จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2) International Flash Appeal for Nepal ของ United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (UN OCHA) จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) จำนวน  1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 4) องค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งสิ้น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 135,030,000 บาท

2) จัดส่งของบริจาค ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และอื่น ๆ ไปยังเนปาล รวม 8 เที่ยวบิน น้ำหนักสิ่งของรวม 64.81 ตัน

3) สอท. ณ กรุงกาฐมาณฑุ รายงานความคืบหน้า ดังนี้

3.1) โทรเลข KTM 93/2561 ลว. 22 มี.ค. 2561 กต. เนปาลแจ้งว่าการส่งมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 1.49 ล้านดอลลาร์ สรอ. ที่รัฐบาลไทยจะบริจาค ในบัญชี “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” นั้น จะนำไปใช้ในการฟื้นฟูบูรณะวิหารมหาเทพ (Mahadev Temple Complex) และ Sattals (อาคารที่พักผู้ประกอบพิธีทางศาสนาในบริเวณฟื้นที่ข้างวิหาร) ซึ่งตั้งอยู่ในเขต Tripureshwor กรุงกาฐมาณฑุ ที่เสียหายจากแผ่นดินไหวโดยจะมอบให้มหาวิทยาลัยกาฐมาณฑุเป็นผู้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ National Reconstruction Authority (NRA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลเนปาลที่รับผิดชอบด้านการบูรณะฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหว

3.2) โทรเลข KTM 228/2561 ลว. 12 ก.ค. 2561 การบริจาคและการขอยกเว้นภาษีนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่รัฐบาลไทย จะส่งมอบให้รัฐบาลเนปาลนั้น ก.สาธารณสุขภูฏานจะรับผิดชอบการจ่ายภาษีนำเข้าดังกล่าว และจะมีหนังสือแจ้งยืนยันผ่าน กต.เนปาลต่อไป

3.3) โทรเลข KTM 235/2561 ลว. 19 ก.ค. 2561

- IOM สนง.ปท.เนปาลขอตอบรับการรับเงินบริจาค จำนวน 2 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ จากรัฐบาลไทย เพื่อสนับสนุนโครงการ “People to People Support for Building Community Resilience through Recovery and Reconstruction in Nepal” เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 และจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการภายใน 2 ปี และจะจัดส่งรายงานประจำปีและงบการเงินที่ได้รับการรับรองภายใน 6 เดือน

- มหาวิทยาลัยกาฐมาณฑุ แจ้งว่า ได้มีการโอนเงินจากรัฐบาลไทย เข้าบัญชีของมหาวิทยาลัยตามที่ได้มีการแจ้งจาก ก.การคลังเนปาลเป็นจำนวนเงิน 167,553,067.63 รูปีเนปาล (ปรมาณ 1.529 ล้านดอลลาร์ สรอ.

          - นาย Renaud Meyer, Country director, UNDP สนง.ปท.เนปาล  ได้รับ แจ้งว่า มีการโอนเงินจากรัฐบาลไทยไปยัง สนง.ใหญ่ UNDP แล้ว

 

2.5.3 การหารือระหว่าง ออท. เนปาล ปทท. กับอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2558 H.E. Mr. Khaga Nath Adhikari เอกอัครราชทูตเนปาล ปทท. เข้าเยี่ยมคารวะอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยกรมฯ ได้แจ้ง ยืนยันการสนับสนุนการพัฒนาประเทศของเนปาลต่อไป โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการของไทย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual  International Training Courses – AITC) และหลักสูตรศึกษานานาชาติประจำปี (Thai International Postgraduate Programme - TIPP) รวมทั้งอาจพิจารณาร่วมกับ UNFPA เกี่ยวกับความร่วมมือที่จะให้แก่เนปาลในด้านสตรีและเด็กในช่วงฟื้นฟูประเทศ  ในระยะยาวภายหลังประสบภัยพิบัติ

 

          เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561 นายชคนาถ อธิการี ออท.เนปาล/ปทท. เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ อธ. กรมเอเชียใต้ฯ สรุปผลได้ดังนี้

          - ออท.เนปาล/ปทท. แจ้งว่า ตนได้พบหารือกับ อธ. กรมความร่วมมือฯ  และขอบคุณที่ให้ความช่วยเหลือและทุนการศึกษาแก่ชาวเนปาลมาโดยตลอด อาทิ การนำโครงการ OTOP ของไทยเป็นต้นแบบในโครงการ One District, One Product ของเนปาล  และเห็นว่า โครงการส่งเสริมหลัก SEP เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs) เป็นโครงการที่ดีและเนปาลต้องการเรียนรู้จากไทย และที่ผ่านมายังไม่เคยมีการจัดทำโครงการในลักษณะดังกล่าว จึงประสงค์จะขอรับความร่วมมือจากไทย

          - อธ.กรมเอเชียใต้ฯ ขอให้ฝ่ายเนปาลจัดทำข้อเสนอโครงการและระบุสาขาความต้องการส่งให้ TICA (กรมเอเชียใต้ฯ ได้นำส่ง Concept Paper และ Preparation Form ให้ฝ่ายเนปาลตามที่ได้รับจากกรมความร่วมมือฯ)

 

2.5.4 การหารือระหว่าง ออท. เนปาล ปทท. กับอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

          - สถานะล่าสุด สอท. เนปาล ปทท. ส่งร่างข้อเสนอโครงการ “Development for Sustainable Community Development Model based on the Application of the Philosophy of Sufficiency Economy” ที่ Deurali, Ribdikot Municipality sub-district, Palpa District ทั้งนี้ ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายเนปาลพิจารณาเลือกพื้นที่เป้าหมายโครงการและระบุหน่วยงาน (ภาครัฐ)ภาคีร่วมดำเนินโครงการกับกรมความร่วมมือฯ มาเพื่อพิจารณาต่อไป

 

2.5.5 การหารือระหว่างออท. เนปาล/ ปทท. กับอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

          เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2563 นายคเณศ ประสาท ธกาล (Mr. Ganesh Prasad Dhakal) ออท. เนปาล/ปทท. เข้าเยี่ยมคารวะ อธ. กรมเอเชียใต้ฯ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ สรุปสำระสำคัญประเด็นเกี่ยวกับ ครม. เพื่อการพัฒนา/ทางวิชาการ ดังนี

          - ออท. เนเปาล/ปทท. ประสงค์หารือกับ อธ. กรมความร่วมมือฯ เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ครม. ทางวิชาการในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเกษตร ทั้งนี้ ในด้านการท่องเที่ยว ออท.ฯ ขอให้ฝ่ายไทยช่วยผลักดันให้สายการบินไทยเปิดบริการเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-ลุมพินี ตามที่การก่อสร้างสนามบินใหม่ที่ลุมพินีคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2563 นี้ ทั้งนี้ เส้นทางบินดังกล่าวจะช่วยให้นักแสวงบุญชาวไทยเดินทางไปลุมพินีสะดวกขึ้น และจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวระหว่างกัน

           - ออท.ฯ เสนอให้สองฝ่ายเร่งรัดการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน ตามที่มีนักท่องเที่ยวชาวเนปาลสนใจมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ และเดินทางมาเที่ยวมาขึ้นทุกปี ทั้งนี้ อธิบดีกรมเอเชียใต้ฯ แนะให้ ออท.ฯ ไปพบ รมว. การท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อผลักดันเรื่องนี้

 

2.5.6 การหารือระหว่าง ออท. เนปาล/ปทท. กับอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

          - เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 นายคเณศ ประสาท ธกาล (Mr. Ganesh Prasad Dhakal) ออท. เนปาล/ปทท. เข้าเยี่ยมคารวะ อธ. กรมความร่วมมือฯ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ สรุปสำระสำคัญประเด็นเกี่ยวกับ ครม. เพื่อการพัฒนา/
ทางวิชาการ ดังนี้

       - สองฝ่ายหารือเกี่ยวกับประเด็นที่จะส่งเสริมและสานต่อ ครม. เพื่อการพัฒนาระหว่างกัน โดย ออท.ฯ เห็นว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นประเด็นที่ฝ่ายไทยมีความเชี่ยวชาญและจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อฝ่ายเนปาล รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ฝ่ายไทยได้ให้การสนับสนุนตลอดมา โดย อธ. กรมความร่วมมือฯ ยินดีให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวโดย ออทงฯ จะหารือกับหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอ priority ของฝ่ายเนปาลให้กรมความร่วมมือฯ พิจารณาแนวทางการดำเนินการและรูปแบบ ครม. ดังกล่าวทั้งในกรอบทวิภาคีและไตรภาคี

       - ออท.ฯ ขอบคุณความช่วยเหลือจากรัฐบาลและชาวไทยที่มีให้กับเนปาลในช่วงเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 2558 ซึ่งแสดงถึง “มิตรไมตรี” ที่สำคัญที่สองฝ่ายมีต่อกันเสมอมา 

 

3. มูลค่าความร่วมมือ

ปี 2556 – 2557 เนปาลได้รับทุนภายใต้กรอบความร่วมมือข้างต้น จำนวนทั้งสิ้น 75 ทุน มูลค่ารวมประมาณ 13.21 ล้านบาท

 

หน่วย: ล้านบาท

ปี

ความร่วมมือทวิภาคี

ทุนศึกษานานาชาติ (TIPP)

ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)

ความร่วมมือไตรภาคี

ทุนกรอบความร่วมมือต่างๆ

รวม

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

โครงการ

ทุน

มูลค่า

โครงการ

ทุน

 

โครงการ

ทุน

2556

-

2

0.10

-

1.36

11

1.36

-

3

0.15

-

-

-

16

2.97

2557

-

-

-

2

0.15

10

1.11

-

-

-

-

-

-

12

1.27

2558

-

1

0.09

-

0.59

3

0.30

-

-

-

-

-

-

4

0.98

2559

-

1

0.05

2

0.61

2

0.26

-

2

0.15

-

-

-

7

1.07

2560

-

-

0.41

3

1.30

12

1.31

-

3

0.07

-

-

-

18

3.09

2561

-

-

0.44

10

2.50

8

0.78

-

-

0.12

-

-

-

18

3.83

รวม

-

4

1.09

17

6.51

46

5.12

0

8

0.49

0

0

0

75

13.21

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ 2

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ข้อมูล ณ 17 มกราคม 2563