Sri Lanka

Sri Lanka

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 พ.ย. 2565

| 799 view

 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ศรีลังกา

.กรอบความร่วมมือทางวิชาการ

    ๑.๑ ไทยและศรีลังกาลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวันที่ ๙ มี.ค. ๒๕๕๙ (๒๐๑๖) ระหว่างการเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของรอง นรม. (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)

    ๑.๒ สองฝ่ายได้เห็นชอบแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ศรีลังกา ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๒ (๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) โดยกำหนดสาขาความร่วมมือ ๕ สาขาได้แก่ ๑) สาขาการพัฒนาชนบท ๒) สาขาเกษตร  และประมง ๓) สาขาการจัดการการท่องเที่ยว ๔) สาขาสาธารณสุข และ ๕) สาขาอื่น ๆ

๒. การดำเนินงาน

๒.๑ สาขาการพัฒนาชนบท: โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกา

เป้าหมาย เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบทางเลือกสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา  

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้กับหุ้นส่วนการพัฒนาในประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา เช่น องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรเอกชน 

      ๒.๑.๑ ภูมิหลัง

๑)    เมื่อวันที่ ๕-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖)  กรมความร่วมมือระหว่างประเทศจัดการศึกษา  ดูงาน ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและ OTOP ให้แก่นาย S.B. Dissanayake รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandyan Heritage ของศรีลังกาและคณะ โดยคณะได้ศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก โครงการ OTOP ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์มวกเหล็กและศูนย์ OTOP จ.สระบุรี  การศึกษาดูงานช่วยเอื้อให้นาย S.B. Dissanayake สนใจร่วมมือกับไทยในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในศรีลังกา ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ศรีลังกา ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๑๙) ในสาขาการพัฒนาชนบท จากทั้งหมด ๕ สาขา ได้แก่ (๑) สาขาการพัฒนาชนบท (๒) สาขาเกษตรและประมง (๓) สาขาการจัดการการท่องเที่ยว (๔) สาขาสาธารณสุข และ (๕) สาขาอื่น ๆ

๒)    เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศเสนอ Concept Paper โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sustainable Community Development Model based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy) ให้แก่ประเทศที่สนใจพิจารณา รวมทั้งศรีลังกา เพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อส่งเสริม การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนโยบาย   SEP for SDGs Partnership ของรัฐบาลไทย

๓)    เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) นาย S.B. Dissanayake รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandyan Heritage ของศรีลังกา ตอบตกลงร่วมมือกับไทยเพื่อดำเนินโครงการฯ เนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลศรีลังกา โดยในเบื้องต้นสนใจคัดเลือกหมู่บ้าน ๑๐ แห่ง ที่เป็นชุมชนเกษตรและประมงในศรีลังกา และเสนอร่วมมือกับ NGOs และบริษัทเอกชนของศรีลังกาที่สนใจในลักษณะภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคประชาสังคม (Public Private Partnership) เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้

๔)    เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ฝ่ายศรีลังกากำหนดหมู่บ้านนำร่อง ๒ แห่ง ที่จะพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบของโครงการฯ ได้แก่ (๑) หมู่บ้าน Delthota Pahalagama เมือง Kandy ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรบนภูเขาและเป็นเขตเลือกตั้งของนาย S.B. Dissanayake และ (๒) หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรพื้นที่ราบ มีการทำหัตถกรรมพื้นบ้าน และเป็นภูมิลำเนาของนาย Maithripala Sirisena ประธานาธิบดีศรีลังกา

๕)    เมื่อวันที่ ๕-๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศนำคณะผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการฯ ที่มีประสบการณ์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาชุมชนต้นแบบในประเทศไทย เดินทางไปสำรวจและศึกษาพื้นที่เป้าหมายหมู่บ้าน ๒ แห่งดังกล่าว โดยฝ่ายศรีลังกาได้แจ้งข้อมูลกลุ่มการผลิต สมาชิกหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่รับผิดชอบ เพื่อฝ่ายไทยนำไปออกแบบแผนงานโครงการฯ ระยะ ๓ ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๑๙) พร้อมกำหนดตัวชี้วัด

๖)    เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗) กระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandyan Heritage ของศรีลังกาเห็นชอบแผนงานโครงการฯ ตามที่ไทยเสนอ และเสนอเพิ่มกิจกรรมเกี่ยวกับ microfinance และการสนับสนุนด้าน IT เพิ่มเติมในแผนงานโครงการฯ  กรมการพัฒนาชุมชนไม่ขัดข้อง                   

กับข้อเสนอเกี่ยวกับ microfinance ซึ่งในแผนงานโครงการฯ ได้ครอบคลุมกิจกรรมดังกล่าวไว้แล้ว สำหรับข้อเสนอด้าน IT กรมการพัฒนาชุมชนเห็นว่า พื้นที่เป้าหมายโครงการควรมีคอมพิวเตอร์และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่พร้อมใช้งาน และจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาต่อไป

๗)    กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการฯ ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยการจัดกิจกรรม ดังนี้

    ๗.๑) เมื่อวันที่ ๙ - ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗) กรมความร่วมมือฯ ร่วมด้วยกรมการพัฒนาชุมชนจัดฝึกอบรมหลักสูตร SEP S-M-A-R-T Mobilizing Team (S-M-A-R-T ย่อมาจาก Sustainable Management and Application for Resilience Thinking) ให้แก่บุคลากรศรีลังการวม ๒๓ คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จาก Department of Samurdhi Development (ระดับวางแผนจากส่วนกลาง ระดับปฏิบัติจากส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนจาก ๓ หมู่บ้านพื้นที่เป้าหมาย) ที่กรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่ จ.พระนครศรีอยุธยา กองทุนชุมชนและการระดมเงินทุนในชุมชนที่ จ.สิงห์บุรี และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและ OTOP ที่ จ.ราชบุรี โดยในโอกาสนี้ กระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandyan Heritage ของศรีลังกาเสนอให้เพิ่มหมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam เป็นพื้นที่เป้าหมายอีก ๑ แห่ง (แต่เดิมสองฝ่ายได้ตกลงดำเนินโครงการฯ ใน ๒ พื้นที่เป้าหมาย) และขอให้เพิ่มบุคลากรจากหมู่บ้านนี้ในการอบรมที่ประเทศไทยด้วย โดยหลังการอบรมที่ประเทศไทย หมู่บ้าน Delthota Pahalagama เมือง Kandy หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa และหมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam รายงานผลการดำเนินงาน เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมในในการจัดทำแผนชุมชน

    ๗.๒) ในโอกาสที่นางบุษยา มาทแล็ง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมการประชุมหารือทางการเมืองทวิภาคีไทย – ศรีลังกา ครั้งที่ ๔ ที่กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ – ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๗) มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ดังนี้

             (๑) วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) นายพัลลภ ตันจริยภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เดินทางไปสำรวจพื้นที่หมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและการจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านตามกิจกรรมของแผนงานโครงการ

         (๒) วันที่ ๑ - ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) ปลัด กต. พร้อมด้วย ผอ.ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ นายพัลลภฯ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ กำหนดติดตามผลการดำเนินงานที่หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa ตามแผนงานโครงการ

         (๓) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศมอบวัสดุอุปกรณ์ให้แก่หมู่บ้านทั้ง ๓ แห่ง ได้แก่ กระดาน  flip chart พร้อมกระดาษและปากกา เพื่ออำนวยความสะดวกการจัดทำแผนชุมชนและการเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการในชุมชน และป้าย x-stand เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการฯ  ประชาสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างไทย – ศรีลังกา เพื่อส่งเสริมการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs Partnership) และใช้เป็นสื่อประกอบการบรรยายให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมทั้งจากในชุมชนและชุมชนอื่นที่มาเรียนรู้

๗.๓) ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ กรมความร่วมมือฯ นำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนตามหลัก SEP จากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน ๓ คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน ๓ คน เดินทางไปติดตาม และประเมินความก้าวหน้าของโครงการฯ โดยได้จัดสัมมนาเพิ่มศักยภาพทีมขับเคลื่อนระดับหมู่บ้านในการสร้างชุมชนเข็มแข็งและการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดฝึกพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่โครงการโดยการฝึกอบรมเพิ่มทักษะให้กับกลุ่มชาวบ้านในด้าน ๑) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ๒) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วย มะพร้าว มะม่วง และขนมหวาน และ ๓) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าและการตัดเย็บในศรีลังกาหลังการฝึกอบรมการพัฒนาทักษะอาชีพ กรมความร่วมมือฯ ได้มอบวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับชาวบ้าน   ทั้ง ๓ หมู่บ้าน เช่น เตาปิ้งวาฟเฟิล เตาอบลมร้อน เครื่องผนึกปากถุง บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เครื่องสไลด์กล้วย สำหรับการทำเบอเกอรี่ กล้วยทอด กล้วยอบ และอุปกรณ์สำหรับตัดเย็บกระเป๋า ผลิตภัณฑ์จากผ้า เป็นต้น  เพื่อนำกลับไปพัฒนาทักษะกลุ่มอาชีพตามความต้องการและความถนัดของชุมชนต่อไป

                   ๗.๔) เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ ฝ่ายศรีลังกาได้เสนอ Action Plan 2019 เพื่อขอรับการอบรมและอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ (๑) การแปรรูปผลไม้ อาทิ เนื้อส้มแขก กล้วย การทำฟาร์มอินทรีย์การส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่น (เมือง Kandy) การแปรรูปกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประกอบการ (เมือง Puttalam) (๒) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและห้องปฏิบัติการเพื่อการส่งออกกล้วยไม้ (เมือง Puttalam) (๓) การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ SEP การจัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์ปลาสวยงาม การสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาหารอินทรีย์ (เมือง Polonnaruwa) ซึ่ง กรมความร่วมมือฯ ได้หารือกับผู้แทนจากกรมการพัฒนาชุมชนเกี่ยวกับแผนดำเนินการของฝ่ายศรีลังกาดังกล่าว และเห็นชอบร่วมกันว่าโครงการยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร และสองฝ่ายควรหารือร่วมกันเพื่อทบทวนกิจกรรมและแนวทางการดำเนินโครงการในโอกาสแรก ทั้งนี้ ตามการประเมินสถานการณ์การเมืองและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา (ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๒) คณะฝ่ายไทยจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางไปศรีลังกาเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการและหารือกับฝ่ายศรีลังกาเพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินโครงการออกไปหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒

          ๗.๕) วันที่ ๑๐ – ๑๕ ก.พ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) กรมความร่วมมือฯ (นำโดยรองอธิบดีศศิธรฯ) และผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน ๒ คน (นายพัลลภฯ และนายรังสรรค์ หังสนาวิน) เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Steering Committee – PSC) ครั้งที่ ๑ ณ กรุงโคลัมโบและติตดามผลการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการใน ๒ พื้นที่เป้าหมายโครงการ ได้แก่ เมือง Polonnaruwa และเมือง Kandy สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

                         (๑) Polonnaruwa ได้พัฒนา ๓ กลุ่มการผลิต (production group) ได้แก่

๑) การทำเกษตรอินทรีย์ (organic farming) ๒) การเพาะปลูก (cultivation) ๓) การเลี้ยงปลาสวยงาม (ornamental fish farming) ทั้งนี้ จากการหารือกับชาวบ้านภายหลังพบว่ากลุ่มเลี้ยงปลาสวยงามมีจำนวนสมาชิกมากที่สุด รวมถึงชาวบ้านประกอบอาชีพอื่น ๆ (เช่น ตัดเย็บกระเป๋า เลี้ยงนมวัว) แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นกิจลักษณะ

                         (๒) Kandy ได้พัฒนา ๕ กลุ่มการผลิต ได้แก่ ๑) ขนมหวาน (sweets) (อาทิ ทองพับ ท็อฟฟี่มะพร้าว ขนมแป้งทอด คัพเค้ก ผลิตภัณฑ์จากส้มแขก) ๒) การทำเกษตรอินทรีย์และพืชสวนครัว (organic farming and home garden) ๓) กลุ่มเลี้ยงสัตว์ (husbandry) ๕) กลุ่มตัดเย็บ (garments) (อาทิ กระเป๋า ปลอกหมอนและพรมเช็ดเท้า) ๕) เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ (Miscellaneous) (อาทิ แกะสลักไม้)

                         (๓) Puttalam ได้พัฒนา ๓ กลุ่มการผลิต ได้แก่ ๑) เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ (orchid farming) ๒) ปลูกกล้วย (banana cultivation) เพื่อการค้า ๓) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากกล้วย (การแปรรูป) (by products of banana)

                         (๔) ทั้ง ๓ พื้นที่เป้าหมายโครงการได้ดำเนินกิจกรรมในลักษะเดียวกันอย่างต่อเนื่องตามผลผลิต ๒-๔ ของแผนงานโครงการ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาตลาดท้องถิ่นเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชนและการพัฒนาหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องให้สามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยมีการจัดประชุมตามกลุ่มการผลิตประจำเดือนเพื่อร่วมกันระดมสมองหยิบยก/วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน การเสนอผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้การจัดทำบัญชีครัวเรือน การจัดทำแผนชุมชนและแผนการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์รวมถึงแผนการตลาดโดยมีกลุ่มชาวบ้าน SEP S-M-A-R-T เป็นผู้นำในการดำเนินการและมี จนท. DSD ท้องถิ่นซึ่งมีบทบาทเป็นfacilitator ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขัน ทั้งนี้ สำหรับผลผลิต ๕ ของแผนงานโครงการ ได้แก่ การสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน (Community Learning Center - CLC) ฝ่าย ศลก. ขอรับการสนับสนุนสร้าง CLC

                         (๕) ฝ่ายไทยเสนอที่จะขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการออกไปอีก ๑.๕ ปี เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการที่คงค้างอยู่ให้แล้วเสร็จในลักษณะการเสริมสร้างขีดความสามารถของจนท. DSD และผู้นำชาวบ้านใน ปทท. และ ศลก. และให้ความสำคัญและเน้นย้ำการพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการคิดของ จนท. DSD และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และกลุ่มผู้นำชาวบ้านเพื่อเตรียม ความพร้อมให้ฝ่าย ศลก. สามารถต่อยอดและขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้ด้วยตนเองภายหลังโครงการเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตาม ยินดีสนับสนุนการฝึกอบรมเพิ่มเติมหากฝ่าย ศลก. จะเริ่มดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ด้วยตนเองในอีก ๕ พื้นที่เป้าหมายโครงการใหม่ที่ฝ่าย ศลก. เสนอในครั้งนี้ และย้ำถึงความจำเป็นในการได้รับเอกสิทธิ์ในการใช้ที่ดินสำหรับการสร้าง CLC ตามที่ฝ่าย ศลก. เสนอและในลำดับต่อไปจะมีการจัด กปช. PSC ครั้งที่สองในอีก ๑ ปี และฝ่ายไทยจะส่งร่างการจัดกิจกรรมในประเด็นที่เหมาะสม อาทิ การจัดการ CLC กระบวนการธุรกิจและการตลาดทักษะเชิงเทคนิคในการพัฒนาอาชีพให้ฝ่าย ศลก. พิจารณาต่อไป และขอให้ฝ่าย ศลก. ส่ง concept paper แจ้งรายละเอียดข้อเสนอการสร้างศูนย์ CLC ที่เมือง Polonnaruwa มาให้ฝ่ายไทยในโอกาสแรก 

๒.๒ สาขาการเกษตร

      ๒.๒.๑ กระทรวงเกษตรศรีลังกาประสงค์มีความร่วมมือด้านการเกษตรกับไทย โดยขอให้กรมความร่วมมือฯ สนับสนุนการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จำนวน ๕ – ๗ คน ไปศรีลังกาภายในปี ๒๕๖๐ (๒๐๑๗) เพื่อการศึกษาพื้นที่และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของศรีลังกา ในการพัฒนาการเกษตรสาขาต่าง ๆ ในภาพรวมระดับมหภาค (macro agriculture) ซึ่งไทยได้กำหนดสาขาที่ไทยจะเริ่มดำเนินการก่อน ๒ อันดับแรก ได้แก่

๑)         ความช่วยเหลือด้านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านดินและยากำจัดศัตรูพืช  (Assistance in post- harvest technology, value addition and product development) โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากกรมพัฒนาที่ดิน ๑ คน

๒)         ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การเพิ่มมูลค่า และการพัฒนาการผลิต (Establishment of Soil and Pesticide Testing Laboratories, in the interest of Food Safety) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิชาการเกษตร ๓ คน โดยความช่วยเหลือในด้านนี้ประกอบด้วย ๒ โครงการย่อย ดังนี้

           ๒.๑) โครงการการทำเกษตรสมัยใหม่เพื่อการตรวจสอบยากำจัดศัตรูพืชและสิ่งปนเปื้อนที่เป็นพิษในอาหารและสิ่งแวดล้อมของศรีลังกา (Agricultural Modernization through Food and Environmental Advocacy Testing for Pesticides & Toxic Contaminants in Sri Lanka)

           ๒.๒) โครงการการทดลองดินเพื่อทำปุ๋ยสำหรับใช้ในแปลงเกษตรเพื่อคงสภาพแวดล้อมและผลิตผลที่ปลอดภัยกว่าของอาหารที่มุณภาพ (Soil Testing for Better Fertilizer Use in  Agricultural Fields Towards Maintaining Safer Environment and Production of Quality Foods)

๒.๒.๒ กรมฯ อนุมัติให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คน เดินทางไปศึกษาดูงานด้านเกษตร ระหว่างวันที่ ๙-๑๘ ม.ค. ๒๕๖๑ (๒๐๑๘) ประกอบด้วย ๑) นายรัตนชาติ ช่วยบุดดา รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเคมีดิน สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ๒) น.ส. จารุวรรณ บางแวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร และ ๓) นายพีรพงษ์ เชาวพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตร โดยมีผลการไปศึกษาดูงาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

           ๑) ฝ่ายศรีลังกาประสงค์ผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทย-ศรีลังกา มากขึ้นและขอให้ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ศรีลังกาต้องการมีความร่วมมือ โดยเฉพาะด้าน Post-Harvest Technology การพัฒนาดิน ปุ๋ย และการกำจัดแมลงโรคพืช เพื่อเพิมผลิตผลด้านการเกษตรของศรีลังกา

          ๒) ผู้เชี่ยวชาญไทยให้ความเห็นว่าศรีลังกายังขาดอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการพัฒนาผลิตผลและแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร แต่อุปกรณ์และเครื่องมือด้านดิน ปุ๋ย และการกำจัดแมลงโรคพืช มีความใกล้เคียงกับไทย ฝ่ายไทยจึงขอความร่วมมือฝ่ายศรีลังกาศึกษาและวางแผนด้านวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปตลอดปี โดยทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญไทยประมวลข้อมูลและจัดทำรายงานข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายศรีลังกาในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งข้อคิดเห็นที่ได้จากรายงานของผู้เชี่ยวชาญไทยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลสำหรับการจัดประชุมคณะทำงานร่วมด้านการเกษตรระหว่างไทย – ศรีลังกา ครั้งที่ ๑ (Joint Working Group – JWG) ต่อไป

          ๓) ฝ่ายศรีลังกามีความชัดเจนเกี่ยวกับสาขาที่ต้องการความร่วมมือมากขึ้น และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากไทยในด้านการฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์และเครื่องมือโดยเฉพาะในกระบวนการแปรรูปอาหาร (Food Processing) นอกจากนี้ ฝ่ายศรีลังกาต้องการมีโครงการนำร่องในด้านการเกษตรร่วมกันระหว่างสองประเทศอีกด้วย

๒.๓ สาขาอื่นๆ

           การฝึกอบรมหลักสูตร Public Finance and Budgeting สำหรับเจ้าหน้าที่ศรีลังกา ๘ คน ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๙ (๒๐๑๖) ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสร์ (นิด้า)

๒.๔ ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual international Training Courses – AITC)

และทุนศึกษานานาชาติ (Thai international Postgraduate Programme - TIPP)

๒.๔.๑ AITC มีผู้สมัครจากศรีลังกาได้รับคัดเลือกให้รับทุนฝึกอบรมนานาชาติระยะสั้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ (๒๐๐๙-๒๐๑๘) จำนวนทั้งสิ้น ๒๗๗ ทุน

๒.๔.๒ TIPP มีผู้สมัครจากศรีลังกาได้รับคัดเลือกให้รับทุนศึกษานานาชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ (๒๐๑๙-๒๐๑๘) จำนวน ๗๒ ทุน

* * * * * * * * * * * * * * * * *

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

สถานะ ณ วันที่ ๑๔ เม.ย. ๒๕๖๓

 

 

 โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในศรีลังกา ระยะ ๓ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๑๙)

 (The Sustainable Community Development Model based on the Application of the Philosophy of Sufficiency Economy for Sri Lanka)

 

ความเป็นมา  

               กรมความร่วมมือระหว่างประเทศจัดการศึกษาดูงานให้กับนาย S.B. Dissanayake รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandan Heritage สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาและคณะ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ณ จังหวัดสระบุรี จากการศึกษาดูงานดังกล่าว นาย S.B. Dissanayake ได้จัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตรศรีลังกา

               กระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandyan Heritage แสดงความสนใจที่จะดำเนินโครงการการพัฒนาชุมชนต้นแบบแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกาและได้จัดทำร่างโครงการฯ และเสนอพื้นที่เป้าหมายในศรีลังกา ๒ หมู่บ้าน ที่จะพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบของโครงการฯ ให้ฝ่ายไทยพิจารณา ได้แก่ ๑) หมู่บ้าน Delthota Pahalagama เมือง Kandy (เขตเลือกตั้งของ นาย Dissanayake) ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรบนภูเขา และ ๒) หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa (ภูมิลำเนาของ ปธน. ศรีลังกาในขณะนั้น) ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรพื้นที่ราบและมีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวบ้าน ต่อมาเสนอขอเพิ่มอีกหมู่บ้าน ๓) หมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam  พื้นที่โครงการจึงเป็น ๓ หมู่บ้าน

               อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สำรวจและศึกษาพื้นที่เป้าหมายดังกล่าว ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) โดยฝ่ายศรีลังกาได้เสนอข้อมูลกลุ่มการผลิต สมาชิกหมู่บ้าน และ จนท. ภาครัฐที่รับผิดชอบ ฝ่ายไทยได้นำข้อมูลไปออกแบบกิจกรรมในแผนปฏิบัติการโครงการฯ ระยะ ๓ ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๑๙) โดยใช้หลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียง พร้อมกำหนดัวชี้วัดโครงการฯ และเสนอแผนฯ ให้ฝ่ายศรีลังกาพิจารณา

เป้าหมาย  

 เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบทางเลือกสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา  

วัตถุประสงค์   

          เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้กับหุ้นส่วนการพัฒนาในประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา เช่น องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรเอกชน   

ข้อมูลพื้นฐาน ๓ หมู่บ้านพื้นที่เป้าหมายโครงการ

๑) หมู่บ้าน Deltota Pahalagama จังหวัด Kandy  มีจำนวนครัวเรือน ๑๘๖ ครัวเรือน มีประชากร ๓๖๖ คน เป็นชาย ๑๗๔ คน หญิง ๑๙๒ คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน ๑๖๐ คน ศาสนาทมิฬ จำนวน ๒๑ คน และศาสนาอิสลาม จำนวน ๕ คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ หรือทำธุรกิจส่วนตัว และอาชีพเกษตรกรรม ปศุสัตว์ เลี้ยงปลา เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่บนเขา อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๘-๒๐ องศา และมีฝนอยู่ในปริมาณที่พอเพียง 

๒) หมู่บ้าน Laksha Uyana Village จังหวัด Polonnaruwa มีประชากร ๑,๙๑๖ คน จำนวนครัวเรือน ๕๑๘ ครัวเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง การทำเกษตรยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเมล็ดพันธ์ที่ไม่ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต ในรอบปีจะสามารถทำการเพาะปลูกได้ปีละ ๒ ครั้งในหมู่บ้านมีระบบชลประทาน มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำทางการเกษตรอยู่บ้าง ประชากรส่วนใหญ่ มีรายจ่าย (ค่าอาหาร  ยารักษา โรค การศึกษา เสื้อผ้า และเป็นค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ) มากกว่ารายได้ (จากการขาย ผลผลิตทางการเกษตร ทำงานโรงงาน รับจ้างทั่วไป)

๓) หมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam (ผู้เชี่ยวชาญไทย (กรมการพัฒนาชุมชน) และกรมความร่วมมือฯ เดินทางไปสำรวจพื้นที่ ในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) มีประชากร ๑,๒๑๕ คน รวมทั้งหมด ๔๑๒ ครัวเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว อัลมอนด์ กล้วย มะพร้าว ข้าวโพด เพาะกล้วยไม้ และอาชีพอื่น ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ มีการจัดตั้งกลุ่ม (๑) กลุ่มแปรรูปกล้วย (๒) กลุ่มเพาะกล้วยไม้ และ (๓) กลุ่มเพิ่มมูลค่าผลผลิต

แผนปฏิบัติการโครงการ ระยะ ๓ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๑๙)

ผลผลิตที่ ๑ การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง

           กิจกรรมที่ ๑.๑ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรศรีลังกาให้เป็น “SEP S-M-A-R-T Leaders”  อาทิ จัดอบรมหลักสูตร “SEP S-M-A-R-T Mobilizing Team” ที่ประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ศรีลังการายงานผลหลังอบรม (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)

           กิจกรรมที่ ๑.๒ การจัดทำแผนชุมชน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาภายในชุมชน (กำลังดำเนินการ) อาทิ การจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนครัวเรือน กระบวนการคิดเพื่อพึ่งพาตัวเอง การจัดทำแผนชุมชน ตัวชี้วัด โดยมีผู้เชี่ยวชาญไทยและอาสาสมัครไทยไปปฏิบัติหน้าที่ภายใต้โครงการฯ เพื่อร่วมให้การสนับสนุน (หากจำเป็น)

ผลผลิตที่ ๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

            กิจกรรมที่ ๒.๑ การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน ๕ ด้าน ได้แก่ ทรัพยากร เงินทุน ความรู้ วัฒนธรรม และพื้นฐานของชุมชน

            กิจกรรมที่ ๒.๒ การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยคัดเลือกผู้ที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มจัดอบรมเกี่ยวกับรวมกลุ่ม และระดมทุนเข้ากลุ่ม

            กิจกรรมที่ ๒.๓ การจัดทำแผนธุรกิจของชุมชน โดยจัดอบรมและพัฒนาแผนธุรกิจ

            กิจกรรมที่ ๒.๔ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยจัดอบรมเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ (รวมทั้งเครื่องจักร) ด้านการผลิต หีบห่อ และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งให้สมาชิกในกลุ่มพัฒนา stories เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และสร้างแบรนด์สินค้า

ผลผลิตที่ ๓ การพัฒนาตลาดท้องถิ่นเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน

           กิจกรรมที่ ๓.๑ การสำรวจและประเมินความต้องการของตลาดท้องถิ่น

           กิจกรรมที่ ๓.๒ การศึกษาโอกาสทางการตลาด โดยจัดอบรมด้านการตลาด สำรวจช่องทางการตลาด และพัฒนาแผนการตลาด

           กิจกรรมที่ ๓.๓ การพัฒนาร้านค้าท้องถิ่น โดยพัฒนาสถานที่ จัดตั้งระบบการจัดการ คัดเลือกผู้ค้า และเปิดร้านค้า

           กิจกรรมที่ ๓.๔ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

           กิจกรรมที่ ๓.๕ การขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

           กิจกรรมที่ ๓.๖ การประเมินผล โดยการหารือร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผลผลิตที่ ๔ การพัฒนาหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องให้สามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้

           กิจกรรมที่ ๔.๑ การรวบรวมหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยจัดการหารือและแจกแจงบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน

           กิจกรรมที่ ๔.๒ การตกลงรูปแบบการดำเนินงานร่วมกัน

           กิจกรรมที่ ๔.๓ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานและบุคลากร โดยพัฒนา SEP S-M-A-R-T Officers ให้มีเพิ่มขึ้น และพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด

ผลผลิตที่ ๕ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

            กิจกรรมที่ ๕.๑ การสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน โดยคัดเลือกพื้นที่และพัฒนาสถานที่

            กิจกรรมที่ ๕.๒ การแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน อย่างน้อย ๗ คน เพื่อกำหนดกฎระเบียบ

            กิจกรรมที่ ๕.๓ การเก็บข้อมูลและรวบรวมองค์ความรู้ โดยเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาท้องถิ่น

            กิจกรรมที่ ๕.๔ การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น โดยอบรมปราชญ์ชาวบ้านและอาจารย์

            กิจกรรมที่ ๕.๕ การพัฒนาหลักสูตรการอบรมที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

            กิจกรรมที่ ๕.๖ การจัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ อาทิ อบรม สังเกตการณ์ สาธิต

            กิจกรรมที่ ๕.๗ การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

สถานการณ์ดำเนินงาน

๑. เมื่อวันที่ ๙ - ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗) กรมความร่วมมือฯ ร่วมด้วยกรมการพัฒนาชุมชน
จัดฝึกอบรมหลักสูตร SEP S-M-A-R-T Mobilizing Team (S-M-A-R-T ย่อมาจาก Sustainable Management and Application for Resilience Thinking) ให้แก่บุคลากรศรีลังการวม ๒๓ คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จาก Department of Samurdhi Development (ระดับวางแผนจากส่วนกลาง ระดับปฏิบัติจากส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนจาก ๓ หมู่บ้านพื้นที่เป้าหมาย) ที่กรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่ จ.พระนครศรีอยุธยา กองทุนชุมชนและการระดมเงินทุนในชุมชนที่ จ.สิงห์บุรี และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและ OTOP ที่ จ.ราชบุรี โดยในโอกาสนี้ กระทรวง Social Empowerment, Welfare and Kandyan Heritage ของศรีลังกาเสนอให้เพิ่มหมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam เป็นพื้นที่เป้าหมายอีก ๑ แห่ง (แต่เดิมสองฝ่ายได้ตกลงดำเนินโครงการฯ ใน ๒ พื้นที่เป้าหมาย) และขอให้เพิ่มบุคลากรจากหมู่บ้านนี้ในการอบรมที่ประเทศไทยด้วย โดยหลังการอบรมที่ประเทศไทย หมู่บ้าน Delthota Pahalagama เมือง Kandy หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa และหมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam รายงานผลการดำเนินงาน เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมในในการจัดทำแผนชุมชน

๒. ในโอกาสที่นางบุษยา มาทแล็ง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานร่วมการประชุมหารือทางการเมืองทวิภาคีไทย – ศรีลังกา ครั้งที่ ๔  ที่กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ – ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ดังนี้

    ๒.๑ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) นายพัลลภ ตันจริยภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เดินทางไปสำรวจพื้นที่หมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและการจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านตามกิจกรรมของแผนงานโครงการ

    ๒.๒ วันที่ ๑ - ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) ปลัด กต. พร้อมด้วย ผู้อำนวยการส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒ และเจ้าหน้าที่จากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ นายพัลลภฯ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน กำหนดติดตามผลการดำเนินงานที่หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa ตามแผนงานโครงการ

    ๒.๓ กรมความร่วมมือฯ มอบวัสดุอุปกรณ์ให้แก่หมู่บ้านทั้ง ๓ แห่ง ได้แก่ กระดาน  flip chart พร้อมกระดาษและปากกา เพื่ออำนวยความสะดวกการจัดทำแผนชุมชนและการเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการในชุมชน และป้าย x-stand เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการฯ  ประชาสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างไทย – ศรีลังกา เพื่อส่งเสริมการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs Partnership) และใช้เป็นสื่อประกอบการบรรยายให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมทั้งจากในชุมชนและชุมชนอื่นที่มาเรียนรู้

    ๒.๔ DSD ได้ส่งรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของ ๓ หมู่บ้านพื้นที่เป้าหมายโครงการช่วงระหว่าง ๑ กุมภาพันธ์ – ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) ดังนี้

  • หมู่บ้าน Wathupola village, Pattalum District: เพิ่มมูลค่ากล้วย (๑๑ ครัวเรือน)/                   

โรงเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ (๕๕ โรง)

  • หมู่บ้าน Phalagama village, Kandy District: ร้านจำหน่ายสินค้า ๑ แห่ง, ฝึกอบรมการ

ประกอบการ ๑ ครั้ง, ฝึกอบรมการทำสวนครัว ๑ ครั้ง, มีผลิตภัณฑ์ขนมหวาน ๑๐ ชนิด, ขนมท้องถิ่น (ทำจากแป้ง) ๑๑ ชนิด, ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า (ขนาดเล็ก) ๑๐ ร้าน, แปลงเพาะชำ (กล้าไม้ดอก) ๒ แห่ง, ผลิตภัณฑ์เบเกอรี ๑ ชนิด, ผลิตภัณฑ์จากข้าว ๑๐ ชนิด

  • หมู่บ้าน Laksha Uyana village, Polonaruwa: บ่อเลี้ยงปลาสวยงาม ๓๑ บ่อ, แปลงปลูก            

ไม้ดอก ๑๑ แปลง, ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดเล็ก ๑๒ ร้าน

๓. สอท. ณ กรุงโคลัมโบ แจ้งว่า นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ เอกอัครรทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ ได้เข้าพบและหารือกับ รมต. Daya Gamage, Minister of Labour, Trade Union Relations and Social Empowerment เกี่ยวกับการดำเนินงานขั้นต่อไปของฝ่ายไทยภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกา โดยมีนาง Anoma Gamage, Deputy Minister of Petroleum Resource Development (ภริยา รมต. Damage) นาย Anura Wellapplili, Director of Economic & Rural Development, Department of Samurdhi Development และนาย Sapumal Kapukotuwa, Coordinating Secretary to Hon. Minister of Laourฯ เข้าร่วมด้วย โดยออท. ได้สอบถามความพร้อมของ
ฝ่ายศรีลังกา และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่ฝ่ายไทยประสงค์จะส่งผู้เชี่ยวชาญไปติดตามผลการดำเนินงานทั้ง ๓ หมู่บ้าน และประชุมร่วมกับทีมศรีลังกาที่รับผิดชอบโครงการในปัจจุบัน ซึ่งนาง Anoma Gamage แจ้งว่า ฝ่ายศรีลังกาจะส่ง จนท. ไปติดตามความคืบหน้าของทั้ง ๓ หมู่บ้านโดยเร็วและขอให้ฝ่ายไทยส่งผู้เชี่ยวชาญมาติดตามผลการดำเนินงานในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

๔. ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ กรมความร่วมมือฯ (นำโดยรองอธิบดีบรรจงฯ) นำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่งเข้มแข็งตามหลัก SEP จากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน ๓ คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน ๓ คน เดินทางไปติดตามและประเมินความก้าวหน้าของโครงการฯ การจัดทำแผนชุมชน และจัดฝึกอบรมการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของชุมชนของ ๓ หมู่บ้านในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กล้วย การทำเบเกอรี่จากวัตถุดิบท้องถิ่น และการทำงานฝีมือจากผ้า (กระเป๋าสะพายและพวงกุญแจ) รวมทั้งการประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการฝ่ายศรีลังกา ณ หมู่บ้าน Wathupola ที่เมือง Puttalam ประเทศศรีลังกา ในการนี้ กรมความร่วมมือฯ ได้มอบวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาอาชีพให้กับ ๓ หมู่บ้านด้วย

๕. เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ ฝ่ายศรีลังกาได้เสนอ Action Plan 2019 เพื่อขอรับการอบรมและอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ (๑) การแปรรูปผลไม้ อาทิ เนื้อส้มแขก กล้วย การทำฟาร์มอินทรีย์ การส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่น (เมือง Kandy) การแปรรูปกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประกอบการ (เมือง Puttalam) (๒) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและห้องปฏิบัติการเพื่อการส่งออกกล้วยไม้ (เมือง Puttalam) (๓) การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ SEP การจัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์ปลาสวยงาม การสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาหารอินทรีย์ (เมือง Polonnaruwa) ซึ่ง กรมความร่วมมือฯ ได้หารือกับผู้แทนจากกรมการพัฒนาชุมชนเกี่ยวกับแผนดำเนินการของฝ่ายศรีลังกาดังกล่าว และเห็นชอบร่วมกันว่าโครงการยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร และสองฝ่ายควรหารือร่วมกันเพื่อทบทวนกิจกรรมและแนวทางการดำเนินโครงการในโอกาสแรก ทั้งนี้ ตามการประเมินสถานการณ์การเมืองและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา (ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๒) คณะฝ่ายไทยจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางไปศรีลังกาเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการและหารือกับฝ่ายศรีลังกาเพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินโครงการออกไปหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒

๖. วันที่ ๑๐ – ๑๕ ก.พ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) กรมความร่วมมือฯ (นำโดยรองอธิบดีศศิธรฯ) และผู้เชี่ยวชาญจากกรมการพัฒนาชุมชน ๒ คน (นายพัลลภฯ และนายรังสรรค์ หังสนาวิน) เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Steering Committee – PSC) ครั้งที่ ๑ ณ กรุงโคลัมโบ และติตดามผลการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการใน ๒ พื้นที่เป้าหมายโครงการ ได้แก่ เมือง Polonnaruwa และเมือง Kandy สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

             ๖.๑ Polonnaruwa ได้พัฒนา ๓ กลุ่มการผลิต (production group) ได้แก่ ๑) การทำเกษตรอินทรีย์ (organic farming) ๒) การเพาะปลูก (cultivation) ๓) การเลี้ยงปลาสวยงาม (ornamental fish farming) ทั้งนี้ จากการหารือกับชาวบ้านภายหลังพบว่ากลุ่มเลี้ยงปลาสวยงามมีจำนวนสมาชิกมากที่สุด รวมถึงชาวบ้านประกอบอาชีพอื่น ๆ (เช่น ตัดเย็บกระเป๋า เลี้ยงนมวัว) แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นกิจลักษณะ

             ๖.๒ Kandy ได้พัฒนา ๕ กลุ่มการผลิต ได้แก่ ๑) ขนมหวาน (sweets) (อาทิ ทองพับ ท็อฟฟี่มะพร้าว ขนมแป้งทอด คัพเค้ก ผลิตภัณฑ์จากส้มแขก) ๒) การทำเกษตรอินทรีย์และพืชสวนครัว (organic farming and home garden) ๓) กลุ่มเลี้ยงสัตว์ (husbandry) ๕) กลุ่มตัดเย็บ (garments) (อาทิ กระเป๋า ปลอกหมอนและพรมเช็ดเท้า) ๕) เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ (Miscellaneous) (อาทิ แกะสลักไม้)

             ๖.๓ Puttalam ได้พัฒนา ๓ กลุ่มการผลิต ได้แก่ ๑) เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ (orchid farming) ๒) ปลูกกล้วย (banana cultivation) เพื่อการค้า ๓) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากกล้วย (การแปรรูป) (by products of banana)

             ๖.๔ ทั้ง ๓ พื้นที่เป้าหมายโครงการได้ดำเนินกิจกรรมในลักษะเดียวกันอย่างต่อเนื่องตามผลผลิต ๒-๔ ของแผนงานโครงการ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาตลาดท้องถิ่นเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชนและการพัฒนาหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องให้สามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยมีการจัดประชุมตามกลุ่มการผลิตประจำเดือนเพื่อร่วมกันระดมสมอง หยิบยก/วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน การเสนอผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การจัดทำแผนชุมชนและแผนการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์รวมถึงแผนการตลาด โดยมีกลุ่มชาวบ้าน SEP S-M-A-R-T เป็นผู้นำในการดำเนินการและมี จนท. DSD ท้องถิ่นซึ่งมีบทบาทเป็น facilitator ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขัน ทั้งนี้ สำหรับผลผลิต ๕ ของแผนงานโครงการ ได้แก่ การสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน (Community Learning Center - CLC) ฝ่าย ศลก. ขอรับการสนับสนุนสร้าง CLC

             ๖.๕ ฝ่ายไทยเสนอที่จะขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการออกไปอีก ๑.๕ ปี เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการที่คงค้างอยู่ให้แล้วเสร็จในลักษณะการเสริมสร้างขีดความสามารถของจนท. DSD และผู้นำชาวบ้านใน ปทท. และ ศลก. และให้ความสำคัญและเน้นย้ำการพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการคิด ของ จนท. DSD และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และกลุ่มผู้นำชาวบ้านเพื่อเตรียมความพร้อมให้ฝ่าย ศลก. สามารถต่อยอดและขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้ด้วยตนเองภายหลังโครงการเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามยินดีสนับสนุนการฝึกอบรมเพิ่มเติมหากฝ่าย ศลก. จะเริ่มดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ด้วยตนเองในอีก ๕ พื้นที่เป้าหมายโครงการใหม่ที่ฝ่าย ศลก. เสนอในครั้งนี้ และย้ำถึงความจำเป็นในการได้รับเอกสิทธิ์ในการใช้ที่ดินสำหรับการสร้าง CLC ตามที่ฝ่าย ศลก. เสนอและในลำดับต่อไปจะมีการจัด กปช. PSC ครั้งที่สองในอีก ๑ ปี และฝ่ายไทยจะส่งร่างการจัดกิจกรรมในประเด็นที่เหมาะสม อาทิ การจัดการ CLC กระบวนการธุรกิจและการตลาดทักษะเชิงเทคนิคในการพัฒนาอาชีพให้ฝ่าย ศลก. พิจารณาต่อไป และขอให้ฝ่าย ศลก. ส่ง concept paper แจ้งรายละเอียดข้อเสนอการสร้างศูนย์ CLC ที่เมือง Polonnaruwa มาให้ฝ่ายไทยในโอกาสแรก 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ข้อมูล ณ วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓