วันที่นำเข้าข้อมูล 14 เม.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-มัลดีฟส์
๑. ข้อมูลทั่วไป
ความเป็นมา : ไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับมัลดีฟส์ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ (ค.ศ. ๑๙๙๓)
จุดเน้น : การให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สาขาที่มีความร่วมมือด้านวิชาการ : สาธารณสุข ยุติธรรม การเกษตร การทูต และอื่น ๆ
๒. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-มัลดีฟส์ ที่ผ่านมา
รูปแบบความร่วมมือ
๒.๑ ความร่วมมือทวิภาคี ดำเนินการตามแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระยะ ๓ ปี (๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ หรือ ค.ศ. ๒๐๑๕ – ๒๐๑๗) โดยเมื่อวันที่ ๕ มี.ค. ๒๕๕๙ สองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะดำเนินกิจกรรมความร่วมมือ ในสาขาสาธารณสุข ยุติธรรม การเกษตร การทูต และอื่น ๆ
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยได้จัดกิจกรรมตามแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระยะ ๓ ปีแล้วในสาขาสาธารณสุข และอื่น ๆ ได้แก่การสอนภาษาไทยให้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุดและตำรวจมัลดีฟส์ และในสาขาการทูตในลักษณะหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme – TIPP) ทั้งนี้ ไม่มีการดำเนินกิจกรรมในสาขายุติธรรม การเกษตร เนื่องจากไม่ได้รับการตอบรับกลับจากฝ่ายมัลดีฟส์ ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางด้านล่าง (สถานะ ณ วันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๖๒)
สาขา |
สถานะกิจกรรมตามแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระยะ ๓ ปี |
หมายเหตุ |
---|---|---|
สาธารณสุข |
- หลักสูตร Capacity Building for Health Workforce: Revitalization of Health Workforce between Thailand and Maldives ประกอบด้วย ๓ หลักสูตรย่อย ได้แก่
๑) Drug Demand Reduction Project ให้แก่ เจ้าหน้าที่มัลดีฟส์ ๑๐ คน ระหว่างวันที่ ๑๕–๒๙ พ.ย. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ณ ๒) Strategic Route Map (training for the trainers) ระหว่างวันที่ ๒๔ ก.ค. – ๔ ส.ค. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ณ มหาวิทยาลัย มหิดล ๓) Strategies for Health Promotion across Lifespan ระหว่างวันที่ ๕-๑๘ ก.พ. ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) ณ มหาวิทยาลัย มหิดล |
|
อื่น ๆ |
- หลักสูตรฝึกอบรมภาษาไทยแบบเร่งรัดให้ เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการและตำรวจมัลดีฟส์ จำนวน ๒ ครั้ง ได้แก่ ๑) Intensive Thai Language Course for Officers of the Prosecutor General's Office and the Maldives Police Service ให้แก่ตำรวจและอัยการมัลดีฟส์ จำนวน ๕ คน ระหว่างวันที่ ๒๐ มี.ค. – ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๒) Intermediate Thai Language Course for Officers of the Maldives Police Service ให้แก่ ตำรวจมัลดีฟส์ จำนวน ๓ คน ระหว่างวันที่ ๒๐ ก.ค. – ๓๑ ส.ค. ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) |
ตามคำขอของฝ่าย |
การทูต |
- Master of Arts in Diplomacy and International Studies |
ดำเนินการในลักษณะหลักสูตรศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme - TIPP) |
ยุติธรรม |
- มีกำหนดจัดหลักสูตร Strengthening Juvenile Justice System ในไตรมาสที่สองของปี ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) |
ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากไม่ได้รับการตอบรับกลับจากฝ่าย |
เกษตร |
- มีกำหนดจัดหลักสูตร Value Addition of Agriculture Crops Animal Husbandry และ Agro Forestry for Small Farmers |
ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากไม่ได้รับการตอบรับกลับจากฝ่าย |
๒.๒ หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Course – AITC)
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุนภายใต้ AITC ฝ่ายมัลดีฟส์แล้วจำนวน ๘๑ ทุน โดยตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ใน ๕ สาขา ได้แก่ Sufficiency Economy, Climate Change, Food Security, Public Health และ other SDGs-related areas ดัง รายละเอียดปรากฏตามตารางด้านล่าง (สถานะ ณ วันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๖๒)
ช่วงเวลา |
หลักสูตรหรือสาขา / จำนวนทุน (ผู้รับทุน) |
หมายเหตุ |
---|---|---|
๒๕๕๒–๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๓) |
๓๕ ทุน |
|
๒๕๕๗ (ค.ศ. ๒๐๑๔) |
๕ ทุน |
|
๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) |
๙ ทุน |
|
๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) |
หลักสูตร Royal Initiatives on Agriculture for Sustainable Development ๑ ทุน |
|
๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗) |
- สาขา Public Health ๑ ทุน - สาขา Climate Change ๑ ทุน |
*เมื่อปี ๒๕๖๐ กรมความร่วมมือฯ ได้เริ่มกำหนด ๕ สาขา |
๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) |
- สาขา Climate Change ๖ ทุน - สาขา Food Security ๒ ทุน - สาขา Public Health ๖ ทุน - และ other SDGs-related areas ๑ ทุน (หลักสูตร Gender Equality and Women Empowerment: Sharing Good Practices and Experiences of Thailand) |
|
๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙) |
สาขา Climate Change ๖ ทุน สาขา Public Health ๘ ทุน |
|
๒.๓ หลักสูตรศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme - TIPP)
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยได้ให้ทุน TIPP แก่มัลดีฟส์แล้วจำนวน ๓๙ ทุน ดัง รายละเอียดปรากฏตามตารางด้านล่าง (สถานะ ณ วันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๖๒)
ช่วงเวลา |
หลักสูตรหรือสาขา / จำนวนทุน (ผู้รับทุน) |
หมายเหตุ |
๒๕๕๒–๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๓) |
๒๕ ทุน |
|
๒๕๕๗ (ค.ศ. ๒๐๑๔) |
๓ ทุน |
|
๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) |
๕ ทุน |
|
๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) |
๔ ทุน |
|
๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๗) |
สาขา Public Health ๑ ทุน (Master of Science Programme in Medical Technology) |
*เมื่อปี ๒๕๖๐ กรมความร่วมมือฯ ได้เริ่มกำหนด ๕ สาขาการให้ทุน TIPP ได้แก่ Sufficiency Economy, Climate Change, Food Security, Public Health และ other SDGs-related areas |
๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙) |
สาขา Climate Change ๑ ทุน (Master of Rural Development Management) |
|
๒.๔ ความร่วมมือไตรภาคี ฝ่ายไทยให้ทุนฝ่ายมัลดีฟส์ในลักษณะไตรภาคีแล้วจำนวน ๑๗ ทุน ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางด้านล่าง (สถานะ ณ วันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๖๒)
ช่วงเวลา |
หลักสูตรหรือสาขา / จำนวนทุน (ผู้รับทุน) |
หมายเหตุ |
---|---|---|
๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙) |
- สาขาการขนส่ง ๑ ทุน (Training: Flight Operations Officer) - สาขาสาธารณสุข ๑ ทุน (Training: Diploma Course in Dermatology) - สาขาสาธารณสุข ๒ ทุน (Training: Nutrition for Maternal and Child Health) - สาขาการศึกษา ๑ ทุน (Training: Child Friendly Schools : Theory and Practice) |
- ICAO เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ - JICA เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ
- UNICEF เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ - UNICEF เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐) |
- สาขาการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ๑ ทุน (Training: Enhancing Community Capacity in Managing the Emerging Challenge) - สาขาสาธารณสุข ๑ ทุน (Training: Monitoring and Evaluation of Migration and Health-related Programmes) - สาขาการศึกษา ๑ ทุน (Training: Child Friendly Schools for Policy Making Level) - สาขาการขนส่ง ๑ ทุน (Training: Safety Management System) |
- UNFPA เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ
- UNFPA เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ
- UNICEF เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ - ICAO เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑) |
- สาขาสาธารณสุข ๑ ทุน (Training: Environmental Health and Food Safety) - สาขาสาธารณสุข ๑ ทุน (Training: Monitoring and Evaluation of Migration and Health-related Programmes) - สาขาการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ๑ ทุน (Training: Enhancing Community Capacity in Managing the Emerging Challenge) - สาขาการศึกษา ๑ ทุน (Training: Child Friendly Schools for Policy Making Level) |
- ICAO เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ
- UNFPA เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ
- UNFPA เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ
- UNICEF เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒) |
- สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓ ทุน (Training: Integrated Water Resource Management and Climate Change Adaptation ๑ ทุน Training: Natural Disaster Management ๒ ทุน) |
CPS เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) |
- สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑ ทุน (Training: Climate Change Adaptation) |
CPS เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) |
สาขาการบริหารรัฐกิจ ๒ ทุน (Training: From Sufficiency Economy to Wealthiness of the Nation) |
CPS เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) |
สาขาการท่องเที่ยว ๑ ทุน (Training: Sustainable Community-based Eco-tourism Development) |
CPS เป็นหน่วยงานคู่ร่วมมือ |
๒.๕ โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ ในปี ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) ฝ่ายมัลดีฟส์ได้ส่งผู้แทน ๖ คนเข้าร่วมการศึกษา ดูงาน ณ ประเทศไทยเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการ OTOP
๓. แผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-มัลดีฟส์ ฉบับล่าสุด (๒๕๖๓ – ๒๕๖๕)
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๑๘ พ.ย. ๒๕๖๒ นางสาวภัทรัตน์ หงษ์ทอง อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้หารือกับนางสาวฮูดา อาลี ชารีฟ อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตมัลดีฟส์ประจำประเทศไทย เกี่ยวกับแนวทางในการต่อยอดความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-มัลดีฟส์ ภายหลังแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-มัลดีฟส์ ฉบับเดิม (๒๕๕๘ – ๒๕๖๐) ได้สิ้นสุดลง โดยไทยและมัลดีฟส์มีความสนใจที่จะร่วมมือกันในหลายสาขา ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระยะ ๓ ปี โดยอาจพิจารณาในช่วงเวลาระหว่างปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๐ – ๒๐๒๒)
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างร่างแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย-มัลดีฟส์ (ฉบับล่าสุด) เพื่อเสนอให้ฝ่ายมัลดีฟส์พิจารณา ซึ่งในเบื้องต้นประกอบด้วยโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การศึกษา การทูต การสาธารณสุข (ซึ่งอาจรวม medical tourism และ maritime medicine) และ การเกษตร
* * * * * * * * * * * * * * * * *
ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
สถานะ ณ วันที่ ๑๔ เม.ย. ๒๕๖๓