ความร่วมมือทวิภาคี

ความร่วมมือทวิภาคี

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 2,167 view

ความร่วมมือทวิภาคี (Bilateral Cooperation)

 

                    รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสถาบันวิชาการ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาเพื่อสังคมที่ยั่งยืนการจัดการภัยพิบัติ และการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วย

            ๑.๑.๑ โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation Project : TCP) ประมาณ ๑๕-๒๐ โครงการ กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย (๑) การจัดหลักสูตรฝึกอบรมในประเทศไทย (In-country Training) (๒) การให้ทุนฝึกอบรม (Country-focused Training) ณ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสมทบภายใต้โครงการปีละประมาณ ๑๐๐ ทุน (๓) การส่งผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นระยะสั้นและระยะยาวมาปฏิบัติงานภายใต้โครงการในไทย ประมาณ ๒๐ คนต่อปี และ (๔) การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ภายใต้โครงการ

            ๑.๑.๒ โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวางแผนพัฒนา (Technical Cooperation for Development Planning : TCDP) จำนวน ๑ โครงการ

          ๑.๑.๓ โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยด้าน Science and Technology Cooperation of Global Issues ภายใต้ Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development (SATREPS) โดยสนับสนุนการทำวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย   ของไทย กับ ญป. ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขณะนี้มีโครงการ on-going รวม ๘ โครงการ ในสาขาต่าง ๆ เช่น พลังงานชีวภาพ การวิจัยวัณโรค การปราบศัตรูพืช การเพาะเลี้ยงปลา Smart Transport  (Thailand 4.0) การกำจัดขยะพลาสติกในทะเล และการผลิตอาหารปลอดภัย เป็นต้น  

            ๑.๑.๔ ผู้เชี่ยวชาญประเภทนอกโครงการ (Individual Expert : IR) ปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ๕ คนต่อปี

            ๑.๑.๕ การส่งอาสาสมัครญี่ปุ่นมาปฏิบัติงาน ณ หน่วยงานไทยและสถาบันการศึกษาของไทย ได้แก่ (๑) Japan Overseas Cooperation Volunteers (JOCV) และ (๒) Senior Volunteer (SV) ระยะเวลา ๑-๒ ปี โดยมี JOCV ตั้งแต่แรกเริ่มปี ๒๕๒๔ (๑๙๘๑) จนถึงปัจจุบันประมาณ ๗๐๐ คน และมี SV เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ (๑๙๙๗) จนถึงขณะนี้ประมาณ ๒๕๐ คน ซึ่งปัจจุบันมีอาสาสมัครมาปฏิบัติงานประมาณปีละ ๒๕ คน รวม ๑๑ สาขา ได้แก่ การดูแลผู้พิการ การดูแลผู้สูงวัย การศึกษา การป้องกันการค้ามนุษย์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี การฝึกวิชาชีพ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเมือง สิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น การพัฒนาชุมชน การสอนภาษาญี่ปุ่น และสอนวิทยาศาสตร์

          ๑.๑.๖ ทุนฝึกอบรม/ดูงานหลักสูตรนานาชาติ ณ ญี่ปุ่น ในลักษณะที่มีผู้เข้ารับการอบรม หลายประเทศรวมกัน (Group and Region-focused Training Courses) ปัจจุบัน ปีละ ๕๐ ทุน