ความร่วมมือรูปแบบทวิภาคี

ความร่วมมือรูปแบบทวิภาคี

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 618 view

ความร่วมมือรูปแบบทวิภาคี

·       ความเป็นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี (กลต.) ได้ลงนามใน Agreement on Scientific and Technological Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Korea เมื่อวันที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๒๘ (๑๙๘๕) ซึ่งกำหนดรูปแบบกิจกรรมความร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ ไว้ ได้แก่ (๑) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (๒)   การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ (๓) การจัดสัมมนาและประชุมร่วมกัน (๔) การทำ joint researches ในหัวข้อที่    มีความสนใจร่วมกัน และ (๕) ความร่วมมือรูปแบบอื่น ๆ ตามแต่จะตกลงกัน 

·       กิจกรรม/การดำเนินงาน ปัจจุบัน กลต. ได้ให้ความร่วมมือระดับทวิภาคีแก่ไทย  ประกอบด้วย

          ๑. ทุนศึกษาและฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติ ณ กลต. ในลักษณะที่มีผู้เข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหลายประเทศรวมกัน ปัจจุบัน ปทท. ได้รับการแจ้งเวียนทุนระดับปริญญาโท ปีละ ๑ หลักสูตร (๒ ทุน) ด้าน Integrated Chemical and Environmental Technology และทุนฝึกอบรมระยะสั้น (๒-๓ สัปดาห์) ปีละประมาณ ๕ หลักสูตร (หลักสูตรละ ๑-๒ ทุน) ในระยะ ๓ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๙–๒๕๖๑) ได้รับแจ้งเวียนทุนดังนี้

    ๑.๑ ทุนศึกษา ๑ หลักสูตร (รวม ๕ ทุน) แต่ไม่มีผู้สมัคร เนื่องจากหน่วยงานไทยไม่เสนอชื่อ

    ๑.๒ ทุนฝึกอบรม รวม ๑๑ หลักสูตร (๒๐ ทุน) ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาที่อยู่อาศัย (land and housing) การประมง (fisheries products) การแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ด้านยาเสพติดการย้ายถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระบบเตือนภัยธรรมชาติ พลังงาน (petroleum quality) ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี และการพัฒนานักการทูตด้านกฎหมายระหว่างประเทศ

          - โดยได้รับ ๑๓ ทุน จาก ๗ หลักสูตร  

สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ ปทท. ได้รับแจ้งเวียนทุน รวม ๑๐ หลักสูตร (๑๔ ทุน) ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่

Educational Administrators (ไม่เสนอชื่อ)

Insurance Policy (ไม่เสนอชื่อ)

Korean Language & Culture (ได้รับ ๑ ทุน)  

Illegal Drugs Control (ไม่เสนอชื่อ)

Human Security in Asia – Pacific (ไม่เสนอชื่อ)

Water Resources Management (ได้รับ ๒ ทุน)  

SDGs Indicators & Big – Data (ได้รับ ๑ ทุน)  

Water Data in Mekong Region (ไม่เสนอชื่อ)

 Women Leadership (ได้รับ ๑ ทุน)  

Early Warning System (ได้รับ ๔ ทุน)  

(รายชื่อผู้รับทุน/หลักสูตรที่แจ้งเวียน/หน่วยงานไทย ตามเอกสารแนบ)   

- ซึ่งได้รับอนุมัติทุนแล้ว รวมทั้งสิ้น ๙ ทุน จาก ๕ หลักสูตร 

๒. โครงการ World Friends Korea (WFK)

๒.๑ ความร่วมมือผู้เชี่ยวชาญ สอท. กลต./ปทท. แจ้งสนับสนุนความร่วมมือด้าน ผชช. (ระยะ ๑ ปี)

ให้แก่ ปทท. เป็นประจำทุกปี ๆ ละ ๕-๑๐ คน ภายใต้โครงการ WFK ซึ่งดำเนินการโดย KOICA ร่วมกับ National IT Industry Promotion Agency (NIPA) กระทรวง Knowledge Economy ใน ๗ สาขา ได้แก่

Education

Health

Governance

Rural Development

Industry and Energy

Environment, Gender, and etc.

Information and Communication

 

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ส่งคำขอรับ ผชช. ภายใต้ WFK ประจำปี ๒๐๑๕ (๒๕๕๘) โดยจัดทำเป็นแผน ๓ ปี (๒๕๕๘-๒๕๖๐) รวม ๔๑ คำขอ ไปยัง สอท.กลต.ฯ และจนถึงปัจจุบัน ฝ่าย กลต. ได้แจ้งอนุมัติคำขอและจัดส่ง ผชช. ใหม่ มาปฏิบัติงาน (รวมทั้งขยายระยะเวลา ผชช.ที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว) ตามหน่วยงานไทย รวมทั้งสิ้น ๑๗ ราย ในด้านต่าง ๆ เช่น IT, consumer protection, INTERPOL, child & youth development, rural development, E-Court, tax administration (รายชื่อ/สาขา/หน่วยงานไทยตามแนบ)   

ในปี ๒๕๖๑  KOICA/ปทท. ได้แจ้งเวียนคำขอ ผชช. ภายใต้ WFK ระยะ ๒ ปี ประจำปี ๒๐๑๙-๒๐๒๐ (๒๕๖๒-๒๕๖๓) ซึ่งกรมความร่วมมือฯ ได้รวบรวม/จัดส่งคำขอจากหน่วยงานไทย รวมทั้งสิ้น ๖๔ คำขอ ไปยัง KOICA แล้ว เมื่อเดือน ก.ย. ๒๕๖๑ และได้แจ้งผลการพิจารณา/ส่ง ผชช. มาแล้ว ๒ คำขอ ด้าน IT (ของ ก.ดิจิทัลฯ และ ก.การอุดมศึกษาฯ (สวทน.))  

๒.๒ ความร่วมมืออาสาสมัคร KOICA ส่งอาสาสมัคร กลต. เข้ามาปฏิบัติงานใน ปทท. รวม ๓ ประเภท ปัจจุบัน (เดือน ธ.ค. ๖๒) มีอาสาสมัคร กลต. ปฏิบัติงานอยู่ (ที่ดำเนินการผ่านกรมความร่วมมือฯ) รวมทั้งสิ้น ๕๒ ราย (ข้อมูล ครม. ด้านอาสาสมัคร และรายชื่อ อสม./หน่วยงานไทยตามแนบ) ประกอบด้วย

๒.๒.๑ Korea Overseas Volunteer (KOV) ปฏิบัติงานสาขา Korean Language Education ที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในสังกัด สกอ. และ สอศ. เป็นเวลา ๒ ปี ปัจจุบันมีอาสาสมัครอยู่ระหว่างปฏิบัติงาน จำนวน ๔๓ ราย

๒.๒.๒ Dream Volunteers (เป็นเยาวชนซึ่งสำเร็จการศึกษาสายอาชีพ) ปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ ราย สาขาการทำอาหารเกาหลี เบเกอรี่ เสริมสวย และสปา ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในสังกัด สอศ. เป็นเวลา ๑ ปี ปัจจุบันมีอาสาสมัครปฏิบัติงานอยู่ รวม ๙ ราย   

         ๒.๒.๓ KOICA International Development Volunteer (KIDV) โดย KOICA ดำเนินงานร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศโดยตรง เช่น UN Women โดยไม่ผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

๓. โครงการ Knowledge Sharing Program (KSP) รัฐบาล กลต. (ผ่าน สอท.กลต./ปทท.) จะแจ้งเวียนให้หน่วยงานไทยจัดส่งข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจาก Ministry of Strategy and Finance (MOSF) สำหรับโครงการความร่วมมือทางวิชาการภายใต้ Knowledge Sharing Program (KSP) ทุก ๒ ปี ใน ๕ สาขา ได้แก่ ๑) Economic Development Strategy ๒) Industrialization and  Export Promotion ๓) Knowledge-based Economy ๔) Economic Crisis Management และ ๕) Human Resource Development ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานไทยได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์และวางแผนเพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศึกษาตัวอย่างความสำเร็จของเกาหลี รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรและศักยภาพของหน่วยงานไทย โดยปี พ.ศ. ๒๕๕๘ กรมความร่วมมือฯ แจ้งให้หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำข้อเสนอและได้จัดส่งให้ฝ่าย กลต. พิจารณาแล้ว รวม ๑๑ คำขอ และได้รับแจ้งจาก สอท. กลต./ปทท. ว่าทั้ง ๑๑ ข้อเสนอไม่ได้รับการอนุมัติ

 

-----------------------------------------------------

 

ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

(ณ วันที่ ๖ ธ.ค. ๒๕๖๒)