วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentina Republic)
ข้อมูลทั่วไปความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ความตกลง (Agreement) 1) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (ลงนามเมื่อ 20 ตุลาคม 2524) (ค.ศ. 1981) 2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (ลงนามเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2552) (ค.ศ. ๒๐09) กรอบแผนงาน (Framework)
แผนงานความร่วมมือฯ ไทย - อาร์เจนตินา ระยะ 3 ปี |
วิธีการดำเนินงานความร่วมมือ (Modality) 1) ความร่วมมือทวิภาคี (Bilateral) 2) ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral) 3) ความร่วมมือภายใต้กรอบ FEALAC 4) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC) รูปแบบความร่วมมือ (Form) ๑) โครงการความร่วมมือฯ 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุนฝึกอบรมAITC/ทุนศึกษาTIPP) 3) ผู้เชี่ยวชาญ (แลกเปลี่ยน) |
|
สถานะการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ความร่วมมือ |
รายละเอียด |
1) ทวิภาคี |
- ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย – อาร์เจนตินา มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การลงนาม MOU ครม.ทางวิชาการ ล่าสุดเมื่อเดือน พ.ย. 2562 สอท. อาร์เจนตินา/ปทท. ได้พบหารือกับผู้แทนกรมความร่วมมือฯ เพื่อเสนอจัดทำร่างแผนงานความร่วมมือฯ ระยะ 3 ปี ไทยอาร์เจนตินา ปี 2020 – 2022 เนื่องจากแผนงานฯ ล่าสุดหมดอายุแล้ว โดยในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้มีการดำเนินความร่วมมือด้านการเกษตร และนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป (เป็นสาขาที่มีความ active ระหว่างกันมาโดยตลอด) รวมทั้งมีการเสนอสาขาการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบไตรภาคีเป็นสาขาใหม่ในแผนงานความร่วมมือฯ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)
- สำหรับการประชุมความร่วมมือทางวิชาการ ไทย – อาร์เจนตินา ในหลักการแล้วจะมีการสลับกันจัดประชุมทางวิชาการทุกๆ 2 ปี โดยการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย – อาร์เจนตินา (Planning Committee Meeting on Technical Cooperation) ที่เกิดขึ้นล่าสุดคือ ครั้งที่ ๔ ณ San Martín Palace กรุงบัวโนสไอเรส เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๐ จัดโดย General Direction for International Cooperation (DGCIN) สำหรับการประชุมฯ ครั้งที่ 5 จะจัดขึ้นที่ประเทศไทยในปี 2563 โดยฝ่ายไทยอยู่ระหว่างพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสม
|
2) ไตรภาคี |
- ในปี 2563 TICA สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินกิจกรรมไตรภาคีเพื่อสนับสนุนความร่วมมือ S-S-S ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะใน LAC และ ASEAN โดยฝ่ายไทยขอเสนอการจัด Workshop ไตรภาคีด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แก่กลุ่ม LAC ที่อาร์เจนตินา เนื่องจากจากการเก็บข้อมูล TICA พบว่า LAC ประสงค์จะเรียนรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวจากประเทศไทยมากที่สุด
|
3) ภายใต้เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia - Latin America Cooperation - FEALAC) |
- สำหรับปี 2563 ประเทศไทยได้สนับสนุนหลักสูตรการฝึกอบรมประจำปี (AITC) โดยให้ priority แก่กลุ่มประเทศสมาชิก FEALAC 4 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) Modern Technology for Sustainable Agricultural Systems (MoTSAS) 2) Sustainable Community-based Eco-tourism Development 3) Sufficiency Economy in Microfinance for SMEs Development 4) Disaster Risk Management in Thailand
- นอกจากนี้ ประเทศไทยได้แจ้งต่อที่ประชุม FEALAC FMM (ระดับ รมว.กต.) ครั้งที่ 9 ณ สาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2562 ว่า กรมความร่วมมือฯ (TICA) ยินดีที่จะจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (10 – 14 วัน) ในหัวข้อ Sustainable Micro, small and medium-sized enterprises (MSMEs) ในรูปแบบ cost - sharing ให้กับประเทศสมาชิก FEALAC ในปี 2563 และปี 2564 |
4) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)
|
หลักสูตร |
2014 |
2015 |
2016 |
2017 |
2018 |
2019 |
1 |
Global Warming Mitigation and Adaption by Balancing Sustainable Energy Management |
1 |
1 |
|
|
|
|
2 |
Modern Technology for Sustainable Agricultural Systems (MoTAS) |
|
1 |
|
|
|
1 |
3 |
Towards Green Growth with Waste Utilisation |
|
1 |
1 |
|
|
|
4 |
Waste Management and Wastewater Treatment for Sustainability |
|
|
|
1 |
|
|
5 |
R&D in Postharvest and Processing Technology for Food Security |
|
|
|
1 |
|
1 |
6 |
International Training on Towards Low Carbon Society via Holistic Environmental Engineering Approach |
|
|
|
|
๑ |
|
7 |
International Training on Forest-based Eco-tourism Management in Thailand |
|
|
|
|
๑ |
|
8 |
Forest-based Ecotourism Management I Thailand |
|
|
|
|
|
1 |
9 |
Tropical Medicine, Community Health Care and Research |
|
|
|
|
|
1 |
10 |
Sufficiency Economy Philosophy towards a Sustainable Development |
|
|
|
|
|
1 |
11 |
Postharvest Technology of Fruit and Vegetable Crops for Developing Countries |
|
|
|
|
|
1 |
12 |
Promoting Livelihood and Food Security through Diversified Farming Practices using Integrated System and Participatory Approaches |
|
|
|
|
|
1 |
13 |
Adapting to Climate Change: Facing the Consequence |
|
|
|
|
|
1 |
|
รวมทั้งสิ้น 17 ราย ในรอบ 5 ปีที่ผ่าน |
1 |
3 |
1 |
๒ |
๒ |
8 |
สถานะ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓
ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ