ชิลี

ชิลี

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 5,266 view

สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile)

ข้อมูลทั่วไปความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความตกลง (Agreement)

1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ

    วิชาการ เมื่อปี 2529 (ค.ศ.1986)

2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคี เมื่อเดือนตุลาคม 

    2556 (ค.ศ.2013)

กรอบแผนงาน (Framework)

แผนงานความร่วมมือฯ ไทย – ชิลี ระยะ 3 ปี (ค.ศ. 2019 – 2021)

วิธีการดำเนินงานความร่วมมือ (Modality)

1) ความร่วมมือทวิภาคี (Bilateral)

2) ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral)

3) ความร่วมมือภายใต้กรอบ FEALAC

4) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)

รูปแบบความร่วมมือ (Form)

๑) โครงการความร่วมมือฯ  2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุนฝึกอบรมAITC/ทุนศึกษาTIPP) 3) ผู้เชี่ยวชาญ (แลกเปลี่ยน)

 

สถานะการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความร่วมมือ

รายละเอียด

1) ความร่วมมือทวิภาคี

     - จากผลการประชุม Political Consultations ไทย – ชิลี ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2561 ณ ซันติอาโก ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการจัดทำแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย - ชิลี ระยะเวลา 3 (ปี 2562 - 2564) ประกอบด้วย สาขาความมั่นคงทางอาหาร การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินการเจรจาทางการค้า และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน (ม.ค. 2563) ทั้งสองฝ่ายอยู่ปรับปรุงแผนงานความร่วมมือฯ ไทย – ชิลี ระยะ 3 ปี ค.ศ. 2019 – 2021 เพื่อให้เป็นปัจจุบัน (ร่างตามแนบ)

 

     - นอกจากนี้ AGCI ได้แจ้งกับผู้แทนกรมความร่วมมือฯ ระหว่างการประชุมย่อยระดับเจ้าหน้าที่ด้านความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2561 ณ กรุงซันติอาโก ว่ารัฐบาลชิลี ไม่มีนโยบายใช้งบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในการดำเนินโครงการทวิภาคี แต่จะมุ่งเน้นความร่วมมือฯ ไตรภาคี (ให้อาเซียน หรือกลุ่มแคริเบียน) เป็นหลัก *** อย่างไรก็ดีฝ่ายชิลีได้ดำเนินโครงการด้านการปลูกควินัว (Quinoa) กับม.เกษตร และกรมการข้าว ในลักษณะทวิภาคี โดยไม่ได้ผ่านกรมความร่วมมือฯ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 และได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงกรมความร่วมมือฯ เมื่อปี ค.ศ. 2018 ขอดำเนินโครงการดังกล่าวผ่านกรมฯ เป็นลักษณะไตรภาคี (ไทย – ชิลี – อาเซียน)

 

     - การประชุม Thailand – Chile Technical Cooperation Programmes (TCTCP) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดการประชุม TCTCP ร่วมกันทุกปี (หากมีโอกาส) โดยฝ่ายไทยและชิลีจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพเพื่อพบปะหารือและติดตามความคืบหน้า รวมทั้งปรับเปลี่ยนแผนงาน โดยอาจจัดการประชุมในช่วงที่ผู้แทนของแต่ละฝ่ายเดินทางไปร่วมประชุม/ปฏิบัติงานในประเทศของอีกฝ่ายตามความเหมาะสมเช่น โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการจัดประชุม TCTCP ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยในปี 2563 back to back กับ Workshop on Trade Policy for ASEAN member states (ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2563)

 

2) ความร่วมมือไตรภาคี

การดำเนินความร่วมมือไตรภาคีฝ่ายไทยและชิลีได้ร่วมกันจัดกิจกรรม workshop ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอดเงินสำเร็จแล้ว 2 ครั้ง ในปี 2018 และ 2019 ดังนี้

     - กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ Chilean International Cooperation Agency (AGCI) ได้ดำเนินกิจกรรมไตรภาคีร่วมกันเป็นครั้งแรก (เป็นกิจกรรมไตรภาคีครั้งแรกระหว่างไทยกับประเทศ ในภูมิภาคลาตินอเมริกาฯ) โดยร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในหัวข้อ “การกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน” หรือ Workshop on Designated Non-Financial Business or Profession (DNFBP) Regulation and Supervision for ASEAN member states ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 40 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจาก The Financial Analysis Unit (UAF) สาธารณรัฐชิลี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และองค์กรต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (Asia/Pacific Group on Money Laundering - APG) ประเทศออสเตรเลีย ร่วมบรรยายด้วย ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๖ มกราคม ๒๕๖๑

 

     - ในปี 2562 กรมความร่วมมือฯ AGCI สำนักงาน ปปง. และ UAF ได้ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือไตรภาคี ไทย – ชิลี ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Thai – Chilean Joint Project ๒๐๑๙ Workshop on Strategic and Financial Intelligence: Best Practices for Enhancing FUI’s role in Preventing and Detecting of ML/FT” ระหว่างวันที่ ๒5 – 29 มีนาคม 2562 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศสมาชิกอาเซียน 33 คน

 

3) ภายใต้เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia - Latin America Cooperation - FEALAC)

     - สำหรับปี 2563 ประเทศไทยได้สนับสนุนหลักสูตรการฝึกอบรมประจำปี (AITC) โดยให้ priority แก่กลุ่มประเทศสมาชิก FEALAC 4 หลักสูตร ประกอบด้วย

       1) Modern Technology for Sustainable Agricultural Systems (MoTSAS)

       2) Sustainable Community-based Eco-tourism Development

       3) Sufficiency Economy in Microfinance for SMEs Development

       4) Disaster Risk Management in Thailand

.

      - นอกจากนี้ ประเทศไทยได้แจ้งต่อที่ประชุม FEALAC FMM (ระดับ รมว.กต.) ครั้งที่ 9 ณ สาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2562 ว่า กรมความร่วมมือฯ (TICA) ยินดีที่จะจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (10 – 14 วัน) ในหัวข้อ Sustainable Micro, small and medium-sized enterprises (MSMEs)                 ในรูปแบบ cost - sharing ให้กับประเทศสมาชิก FEALAC ในปี 2563 และปี 2564

 

 

4) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC)

หลักสูตร

2015

2016

2017

2018

2019

1

Sufficiency Economy: Learning Organic Agriculture by Doing

1

 

 

 

 

2

Towards Green Growth with Waste Utilisation

1

 

 

 

 

3

Food Security Postharvest, Processing and Quality Assurance of Selected Agro-Industrial Products

1

1

 

 

1

4

Household Food Security for Nutrition Well-being

1

 

 

 

 

5

Utilizing Indigenous Food Resources for Food Security

1

1

 

 

 

6

Early Childhood Health Care Management

1

 

 

 

 

7

Tropical Community Health Care and Research

1

2

 

 

 

8

Modern Technology for Sustainable Agricultural Systems

 

1

 

 

 

9

Global Warming Mitigation and Adaption by Balancing Sustainable Energy Management

 

4

 

 

 

10

Sufficiency Economy Philosophy towards a Sustainable Development

 

 

1

 

 

11

Natural Disasters Management 

 

 

1

 

 

12

From Sufficiency Economy to Wealthiness of the Nation

 

 

1

 

 

13

SEP: Thailand's Path towards Sustainable Development

 

 

 

2

 

14

Forest-based Eco-tourism Management in Thailand

 

 

 

1

 

15

The Integration of Sufficiency Economy for Empowerment on Mobilizing Sustainable Development

 

 

 

2

 

16

Sexually Transmitted Infections Case Management Skills

 

 

 

1

 

17

Moving towards SDGs via Corporate Social Responsibility and Sufficiency Economy Philosophy

 

 

 

1

 

18

Promoting Livelihood and Food Security through Diversified Farming Practices using integrated System and Participatory Approaches

 

 

 

1

1

19

Green Energy for Low Carbon Society

 

 

 

 

1

20

Strengthening Health System: The Key Contributing to achieve Sustainable Development Goals(SDGs)

 

 

 

 

1

21

Waste Management and Wastewater Treatment for Sustainability

 

 

 

 

1

 

รวมทั้งสิ้น 32 ราย (ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา)

7

9

3

8

5


 

สถานะ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ