วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (The Democratic Socialist Republic of Sri Lanka)
ข้อมูลทั่วไปความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ความตกลง (Agreement) บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๙ มี.ค. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖)) กรอบแผนงาน (Framework) แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ศรีลังกา ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) ครอบคลุม ๕ สาขา ได้แก่ ๑) สาขาการพัฒนาชนบท ๒) สาขาเกษตรและประมง ๓) สาขาการจัดการการท่องเที่ยว ๔) สาขาสาธารณสุข และ ๕) สาขาอื่น ๆ
|
วิธีการดำเนินงานความร่วมมือ (Modality) ๑) ความร่วมมือทวิภาคี ๒) ความร่วมมือไตรภาคี ๓) ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC) ๔) ความร่วมมือภายใต้ทุนศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (TIPP) รูปแบบความร่วมมือ (Form) ๑) โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ๒) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุน AITC ทุน TIPP และอื่น ๆ) ๓) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ
|
สถานะการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ความร่วมมือ |
รายละเอียด |
---|---|
๑) ทวิภาคี |
ฝ่ายไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับฝ่ายศรีลังกาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖) แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ศรีลังกา ระยะ ๕ ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) – สาขาการพัฒนาชนบท : โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐาน การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกา (The Sustainable Community Development Model based on the Application of the Philosophy of Sufficiency Economy for Sri Lanka) ภายใต้แผนงานโครงการระยะ ๓ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๑๙) พื้นที่เป้าหมายโครงการ ๑) หมู่บ้าน Delthota Pahalagama เมือง Kandy ๒) หมู่บ้าน Laksha Uyana เมือง Polonnaruwa ๓) หมู่บ้าน Wathupola เมือง Puttalam เป้าหมาย เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบทางเลือกสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้กับหุ้นส่วนการพัฒนาในศรีลังกา ผลผลิตตามแผนงานโครงการระยะ ๓ ปี ผลผลิตที่ ๑ การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ผลผลิตที่ ๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลผลิตที่ ๓ การพัฒนาตลาดท้องถิ่นเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลผลิตที่ ๔ การพัฒนาหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องให้สามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ ผลผลิตที่ ๕ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Community Learning Centre – CLC) สถานะล่าสุด ได้มีการดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับผลผลิตที่ ๑-๔ แล้ว ได้แก่ การศึกษาดูงานและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้ด้วยตนเองภายหลังโครงการเสร็จสิ้น (๒) ฝ่ายศรีลังกาขอรับการสนับสนุนการจัดตั้ง/สร้างศูนย์ CLC - สาขาการเกษตรและประมง : ๑) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จำนวน ๕ – ๗ คน ไปศึกษาพื้นที่และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของศรีลังกาในการพัฒนาการเกษตรสาขาต่าง ๆ ในภาพรวมระดับมหภาค (macro agriculture) ในศรีลังกาภายในปี ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗) ๑.๑ ความช่วยเหลือด้านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านดินและยากำจัดศัตรูพืช (Assistance in post- harvest technology, value addition and product development) ดำเนินการโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมพัฒนาที่ดิน ๑ คน ๑.๒ ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การเพิ่มมูลค่า และการพัฒนาการผลิต (Establishment of Soil and Pesticide Testing Laboratories, in the interest of Food Safety) ดำเนินการโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิชาการเกษตร ๓ คน และประกอบด้วย ๒ โครงการย่อย ดังนี้ ๑.๒.๑ โครงการการทำเกษตรสมัยใหม่เพื่อการตรวจสอบยากำจัดศัตรูพืชและสิ่งปนเปื้อน ที่เป็นพิษในอาหารและสิ่งแวดล้อมของศรีลังกา (Agricultural Modernization through Food and Environmental Advocacy Testing for Pesticides & Toxic Contaminants in Sri Lanka) ๑.๒.๒ โครงการการทดลองดินเพื่อทำปุ๋ยสำหรับใช้ในแปลงเกษตรเพื่อคงสภาพแวดล้อมและ ผลิตผลที่ปลอดภัยกว่าของอาหารที่มุณภาพ (Soil Testing for Better Fertilizer Use in Agricultural Fields Towards Maintaining Safer Environment and Production of Quality Foods) ๒) กรมความร่วมมือฯ อนุมัติให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คน จากกรมพัฒนาที่ดินการเกษตร เดินทางไปศึกษาดูงาน ด้านเกษตรที่ศรีลังกา ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๘ ม.ค. ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ๒.๑ ฝ่ายศรีลังกาประสงค์ผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทย – ศรีลังกา มากขึ้นและ ขอให้ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ศรีลังกาต้องการมีความร่วมมือ โดยเฉพาะด้าน Post-Harvest Technology การพัฒนาดิน ปุ๋ย และการกำจัดแมลงโรคพืชเพื่อเพิมผลิตผลด้านการเกษตรของศรีลังกา ๒.๒ ผู้เชี่ยวชาญไทยเห็นว่า ฝ่ายศรีลังกายังขาดอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการพัฒนาผลิตผลและ แปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร แต่อุปกรณ์และเครื่องมือด้านดิน ปุ๋ย และการกำจัดแมลงโรคพืช ป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปตลอดปี โดยทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ ผู้เชี่ยวชาญไทยประมวลข้อมูลและจัดทำรายงานข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายศรีลังกาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ต่อไป ๒.๓ ฝ่ายศรีลังกาศึกษาและวางแผนด้านวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปตลอดปี โดยทั้ง ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายศรีลังกาในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.๔ ฝ่ายศรีลังกามีความชัดเจนเกี่ยวกับสาขาที่ต้องการความร่วมมือมากขึ้น และหวังว่าจะได้รับ ความร่วมมือจากไทยในด้านการฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ และเครื่องมือโดยเฉพาะในกระบวนการแปรรูปอาหาร (Food Processing) นอกจากนี้ ฝ่ายศรีลังกา ต้องการมีโครงการนำร่องในด้านการเกษตรร่วมกันระหว่างสองประเทศอีกด้วย - สาขาอื่น ๆ ได้แก่ การฝึกอบรมหลักสูตร Public Finance and Budgeting สำหรับเจ้าหน้าที่ศรีลังกา ๘ คน ระหว่างวันที่ ๕ – ๑๖ ก.ย. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสร์ (นิด้า) ทั้งนี้ ไม่มีการจัดกิจกรรมในสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและสาขาสาธารณสุข |
|
โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ (Buakaew Roundtable International Programme) ในปี 2556 ศรีลังกาได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมรวม 5 ราย ณ ประเทศไทยเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการ OTOP ภายใต้โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้จัดการศึกษาดูงานโครงการดังกล่าวให้แก่กลุ่มประเทศต่าง ๆ ในระหว่างปี 2550 - 2559 เป็นประจำทุกปี โดยเริ่มจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และต่อมาได้ขยายไปยังกลุ่มประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ลาตินอเมริกาหมู่เกาะแปซิฟิก แคริบเบียน CIS ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียกลาง แอฟริกา และตะวันออกกลาง เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการต่างประเทศกับไทย เพื่อขยายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างกัน โดยการแบ่งปันองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีของไทย |
|
กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค BIMSTEC (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) ระหว่างปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๖ กรมความร่วมมือฯ ได้จัดการฝึกอบรมในสาขาต่าง ๆ ตามความสนใจของประเทศสมาชิก ได้แก่ สาขาการประมง ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน และสาธารณสุข โดยมีผู้แทน |
๒) ความร่วมมือไตรภาคี |
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุนในลักษณะไตรภาคีแก่ฝ่ายศรีลังกาแล้วจำนวน ๗๗ ทุน (ระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑) (ค.ศ. ๒๐๐๙ – ๒๐๑๘) |
๓) ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (Annual International Training Course - AITC) |
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุน AITC แก่ฝ่ายศรีลังกาแล้วจำนวน ๒๗๗ ทุน (ระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑) (ค.ศ. ๒๐๐๙ – ๒๐๑๘)
|
๔) ทุนศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme - TIPP) |
สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยให้ทุน TIPP แก่ฝ่ายศรีลังกาแล้วจำนวน ๓๙ ทุน (ระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๖๑) |
สถานะ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๒
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ