ภูฏาน

ภูฏาน

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,915 view

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับราชอาณาจักรภูฏาน

 

ข้อมูลทั่วไป

๑. ความเป็นมา - เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ (๑๙๙๒)

๒. จุดเน้น - การให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูฏานเป็นหลัก

๓. สาขาความร่วมมือ - การเกษตร การศึกษา การสาธารณสุข การท่องเที่ยว การจัดการ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิศวกรรม ประชากรศาสตร์ รัฐศาสตร์ และภาษาศาสตร์

๔. รูปแบบความร่วมมือ - (๑) ความร่วมมือภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ๓ ปี (๒) หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC) (๓) หลักสูตรศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (TIPP) (๔) ความร่วมมือไตรภาคี

 

ความร่วมมือ

แผนงาน/โครงการ/ความร่วมมือย่อย

รายละเอียด

ทุนฝึกอบรม

ระยะสั้น

การฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC)

- ระหว่างปี ๒๕๔๑-๒๕๕๖ (๑๙๙๘ – ๒๐๑๓) อนุมัติ จำนวน ๒๐๖ ทุน เช่น หลักสูตร Food Security – Postharvest, Processing and Quality Assurance of Selected Agro-Industrial หลักสูตร Early Childhood Health Care Management หลักสูตร Sufficiency Economy และหลักสูตร Waste Management for Sustainability

 

 

 

 

 

ภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน

ปี ๒๕๖๑ จัดหลักสูตร Learn Best Health Practices and Universal Health Coverage/Primary Health Care ประเภท cost-sharing จำนวน ๒๕ ทุน ระหว่างวันที่ ๓ – ๑๓ มิ.ย.๒๕๖๑ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     สำหรับประเภท full-support จำนวน ๒๐ จะดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๙ ก.ค. –                  ๘ ส.ค. ๒๕๖๑ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ทุนศึกษา

ระยะยาว

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (TIPP)

- ระหว่างปี ๒๕๔๑-๒๕๕๕ (๑๙๙๘ – ๒๐๑๒) อนุมัติ จำนวน ๙๘ ทุน เช่น หลักสูตร M.Sc. in Postharvest Technology หลักสูตร  Master in Chemical Biology หลักสูตร M.Sc. in Science and Technology Education หลักสูตร MBA หลักสูตร M.Sc. in Information Technology หลักสูตร M.Sc.in Programme in Service Innovation หลักสูตร M.Sc. in Horticulture หลักสูตร Master in Applied Biological Sciences : Environmental Health และหลักสูตร M.Sc. in Chemical Biology

หมายเหตุ

ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ (๒๐๑๔ – ๒๐๑๖) ไม่ได้แจ้งเวียนทุน AITC และ TIPP ให้แก่ภูฏาน แต่ในปี ๒๕๖๐ (๒๐๑๗) – ๒๕๖๑ (๒๐๑๘) ได้แจ้งเวียนทุน AITC ให้แก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งภูฏาน จำนวนปีละ ๓๓ หลักสูตร โดยในปี ๒๕๖๐ (๒๐๑๗) มีภูฏานได้รับทุนจำนวน ๑๑ คน และปี ๒๕๖๑ (๒๐๑๘) จำนวน ๓ คน

 

 

 

แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ภูฏาน ระยะ ๓ ปี

แผนที่ ๑ ระหว่างปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๑ (๒๐๐๕ – ๒๐๐๘) จำนวน ๑๖๐ ทุน

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ มีการลงนาม Record of Discussions on Human Resources Development กับ Royal Civil Service Commission (RCSC) ของภูฏาน เมื่อวันที่ ๑๘ พ.ค. ๒๕๔๘ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๔๘ – ๒๕๕๑) โดยเป็นการสนับสนุนทุนการศึกษาและฝึกอบรมในสาขาต่าง ๆ ตามความต้องการของภูฏาน และสอดคล้องกับศักยภาพของไทย ๑๖๐ ทุน และความช่วยเหลืออื่น ๆ ตามความจำเป็น เช่นวัสดุ อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัคร ต่อมาได้ประกาศให้ทุนเพิ่มเป็น ๑๘๐ ทุน

แผนที่ ๒ ระหว่างปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๖ (๒๐๑๐ – ๒๐๑๓) จำนวน ๒๗๐ ทุน

    ๑.๑ ทุนการศึกษาระยะยาว (full-support ๖๐ ทุน และ cost-sharing ๙๐ ทุน)

  • ผลการดำเนินงาน ประเภท full-support ๕๘ ทุน และ cost-sharing ๕๙ ทุน

    ๑.๒ ทุนการฝึกอบรมระยะสั้น (full-support ๖๐ ทุน และ cost-sharing ๖๐ ทุน)

  • ผลการดำเนินงาน ประเภท full-support ๔๔ ทุน และ cost-sharing ๔๐ ทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนที่ ๓ ระหว่างปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ (๒๐๑๔ – ๒๐๑๖) จำนวน ๒๘๕ ทุน

    ๑.๑ ทุนการศึกษาระยะยาว (full-support ๖๐ ทุน และ cost-sharing ๙๐ ทุน)

          ผลการดำเนินงาน ประเภท full-support ๕๔ ทุน (รวมทุนหลักสูตรนักบิน  

          ๒ ทุน) และ cost-sharing ๔๐ ทุน

    ๑.๒ ทุนการฝึกอบรมระยะสั้น (full-support ๖๐ ทุน และ cost-sharing ๗๕ ทุน)

  •           ผลการดำเนินงาน ประเภท full-support ๖๐ ทุน และ cost-sharing ๗๕ ทุน

แผนที่ ๔ ระหว่างปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ (๒๐๑๗ – ๒๐๑๙) จำนวน ๑๕๐ ทุน

      ๑.๑ ทุนการศึกษารระยะยาว (full-support ๒๐ ทุน/ปี และ cost-sharing ๓๐ ทุน/ปี)

            ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๖๐ (๒๐๑๗) ดำเนินการแล้วจำนวน ๓๖ ทุน ในจำนวนนี้มี  

            ๑) Ms. Tshewang Lhamo คำขอปี ๒๕๖๐ ดำเนินการในปี ๒๕๖๑ และ

            ๒) Ms. Karma Choden เดิมจัดส่งให้คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีพิจารณา แต่ RCSC

            แจ้งขอให้จัดส่งให้มหาวิทยาลัยอื่นเนื่องจากเนื้อหาหลักสูตรไม่ตรงตามความต้องการ)  

            ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๖๑ ภูฏานเสนอใบสมัคร full – support จำนวน ๒๐ คน  

          และ Cost – sharing จำนวน ๑๗ คน รวมจำนวน ๓๙ คน อยู่ระหว่างศึกษา ๓๖

          ราย (full-support ๒๑ ทุน และ cost-sharing ๑๗ ทุน สละสิทธิ์ ๑ ทุน)  

            ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๖๒ ภูฏานเสนอใบสมัคร full – support จำนวน ๑๖ คน 

          และ Cost – sharing จำนวน ๒๓ คน รวมจำนวน ๓๙ คน อนุมัติทุนแล้ว ๓๔

          ราย (full-support ๑๖ ทุน และ cost-sharing ๑๘ ทุน)

๑.๒ ทุนการฝึกอบรมระยะสั้น (full-support ๖๐ ทุน และ cost-sharing ๗๕ ทุน)

         ผลการดำเนินงาน ประเภท full-support ๒๐ ทุน และ cost-sharing ๒๕ ทุน

ศึกษาดูงาน

 โครงการบัวแก้วสัมพันธ์

- ปี ๒๕๕๐ (๒๐๐๗) ผู้แทน กต. และผู้แทน กรมความร่วมมือฯของภูฏานเข้าร่วมโครงการ ๓ คน

- ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๓ (๒๐๐๘ – ๒๐๑๐) และปี ๒๕๕๖ (๒๐๑๓) ภูฏานได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมโครงการ ปีละ ๑ คน   

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

การศึกษาดูงานตัวอย่างการดำเนินกิจกรรม ภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    - ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๙ พ.ค. ๒๕๖๐ จัดการศึกษาดูงานตัวอย่างการดำเนินกิจกรรม ภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้แทนจากราชอาณาจักรภูฏาน (Royal Civil Service Commission, Gross National Happiness Commission, Kuensel Corporation Limited,  Bhutan Broadcasting Service Corporation, Centre for Bhutan Studies and  GNH Research จำนวน ๗ ราย ณ จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพฯ

โครงการความร่วมมือ

๑.   โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนกับราชอาณาจักรภูฏานตามพระราชดำริ

      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตามแนบ)

๒.   โครงการ One Gewog One Product (OGOP Model I) Development for  

      Bhutan

  • ปี ๒๕๕๗ (๒๐๑๔) ส่งคณะผู้แทนไทย (Fact Finding Mission)

พร้อมจัดทำ Draft Project Detail Design

  • ปี ๒๕๕๘ (๒๐๑๕) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน ๒ ครั้ง จัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทยด้านการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์  จัดประชุมหารือแผนการดำเนินงานโครงการระยะสั้น และการเปิดตัวโครงการ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์วงเงิน ๑,๘๑๕,๗๐๐ บาท

 

  • สองฝ่ายเห็นชอบแผนงานระยะ ๓ ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ (๒๐๑๖ – ๒๐๑๘)    ประกอบด้วย ๗  กิจกรรมหลัก ได้แก่ ๑) การฝึกอบรมดูงาน และการประชุมปฏิบัติการ ในภูฏานและไทย ๒) การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทย ๓) การส่งอาสาสมัครไทย ๔) วัสดุและอุปกรณ์ ๕) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการส่งเสริม OGOP ๖) การตลาดและแผนธุรกิจ ๗) การติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

            • ปี ๒๕๕๙ (๒๐๑๖) จัดส่งผู้เชี่ยวชาญไทยและอาสาสมัครไทย ๒ สาขา

              ได้แก่ สาขา IT และสาขา Product Design สนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์ ประกอบด้วย ๑) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ๒) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ๓) เครื่องคอมพิวเตอร์ ๔) เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ จำนวน ๒ ชุด ๕) กระดาษสติ๊กเกอร์สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด/ใบเสร็จ และหมึกพิมพ์สำรอง และ๖) เครื่องพิมพ์กระดาษ A3  ๑ เครื่อง จัดประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการฯ ครั้งที่ ๑ และจัดฝึกอบรม/ดูงานหลักสูตร Group sensitization and formation towards social enterprise on food processing, packaging and  marketing ในประเทศไทย จำนวน ๑ ครั้ง

• ปี ๒๕๖๐ ๑) จัดฝึกอบรมหลักสูตร Food Processing and Packaging ในราชอาณาจักรภูฏาน  จำนวน ๑ ครั้ง 

             ๒) จัดฝึกอบรม/ดูงาน หลักสูตร Group sensitization and formation towards social Enterprise, Technology and Need Assessment in Bhutan ในราชอาณาจักรภูฏาน ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ ก.ย. ๒๕๖๐

              ๓) ฝึกอบรมในลักษณะ Training of the Trainer หัวข้อ Food

              Processing and Value Addition and Packing และ Laboratory

              Equipment and Food Processing Machine Operation and

              Maintenance ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๑ ธ.ค. ๒๕๖๐ โดยสถาบันอาหาร  

              ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  

           ๔) การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย

           ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๕ ธ.ค.๒๕๖๐ ณ เมืองทองธานี โดยรวมถึง

           การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้า

           OTOP ของไทยกับ OGOP ของภูฏาน และจัดให้มีการศึกษาดูงานที่ศูนย์

           ศิลปาชีพระหว่างประเทศ และศึกษาดูงาน Parabola Dome ที่ ม.ศิลปากร

           ๕) การฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์

           แก่เจ้าหน้าที่ QPO ระหว่างวันที่ ๒๙ ม.ค. – ๒๓ ก.พ. ๒๕๖๑

           ณ ม.อุบลราชธานี ๖) การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ OGOP Marketing

           Strategy Retreat in Bhutan ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๕ ก.พ. ๒๕๖๑

           (สรุปโครงการตามแนบ)

          ๖) การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย

           ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๒๕ ธ.ค. ๒๕๖๑ ณ เมืองทองธานี โดยรวมถึง

           การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้า

           OTOP ของไทยกับ OGOP ของภูฏาน และจัดให้มีการศึกษาดูงาน OTOP  

           นวัติวิถีที่ จ.เชียงรายและแม่ฮ่องสอน

๗) จัดฝึกอบรมหลักสูตร  Food Processing and Packaging และหลักสูตร  

Rural Beekeeping Enterprise Development ให้แก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน

ต่าง ๆ ของภูฏาน ได้แก่ QPO, NPHC (National Post Harvest Center),

BAFRA (Bhutan Agriculture and Food Regulatory Authority, The

National Highland Research and Development Centre (NHRDC)

กระทรวงเกษตรฯ ภูฏาน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๓๑ พ.ค. ๒๕๖๒ (๒๐๑๙)

    ๘) สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับอาคารบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ จำนวน ๗

    รายการ ประกอบด้วยเครื่องซีลและแพ็คสูญญากาศ เครื่องซีลปากถุงแบบต่อเนื่อง

     มีพิมพ์วันที่ในตัว เครื่องบรรจุของเหลวกึ่งอัตโนมัติเครื่องปิดฝากระป๋อง

          แบบมือโยกเครื่องปิดฝาล็อกกึ่งอัตโนมัติและเครื่องสีข้าว

         ๙) สนับสนุนเครื่องเก็บเงินสดอัตโนมัติพร้อมอุปกรณ์ประกอบสำหรับใช้ในร้าน

            OGOP แห่งที่ ๓ ที่พาโร ได้แก่ ๑) จอแสดงผล ๒) เครื่องพิมพ์บาร์โคด ๓) เครื่องพิมพ์ 

            ใบเสร็จ ๔) ลิ้นชักเก็บเงินและ ๕) เครื่องสแกนบาร์โคด

 ๓.   โครงการ Sustainable Community Development Model Based on the

       Application of SEP for OGOP Villages in Bhutan (OGOP Model II)

  • จัดคณะผู้เชี่ยวชาญ (มหาวิทยลัยราชภัฏเชียงใหม่ กรมการพัฒนาชุมชน ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านพัฒนาชุมชน และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ) เดินทางไปศึกษาและสำรวจพื้นที่ ๖ หมู่บ้านดังกล่าว เพื่อพิจารณาศักยภาพ ความเป็นไปได้และปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จสำหรับการดำเนินโครงการระยะที่ ๒ ในระหว่างวันที่ ๒๑-๒๘ เมษายน ๒๕๖๒ ณ ราชอาณาจักรภูฏาน
  • จัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญไปศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นที่เป้าหมายใน ๖ ชุมชน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินโครงการ Sustainable Community Development Model Based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy for the One Gewog One Product (OGOP) Villages in Bhutan ของราชอาณาจักรภูฏาน ณ ราชอาณาจักรภูฏาน
  • อนุมัติงบประมาณ จำนวน ๗๑๔,๖๓๖ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของคณะผู้แทนฝ่ายไทย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดการโครงการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเดินทางไปเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงาน แผนปฏิบัติการ (Logical Framework) โครงการ Sustainable Community Development Model Based on the Application of SEP for OGOP Villages in Bhutan (OGOP ระยะที่ ๒) ของราชอาณาจักรภูฏาน             ณ ราชอาณาจักรภูฏาน ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๑ ก.ค. ๒๕๖๒

(รวมวันเดินทาง)   

  • อนุมัติงบประมาณ จำนวน ๓๖๕,๖๐๐ งุลตรัม หรือ ๕,๓๗๖.๔๗ ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ Sustainable Community Development Model Based on the Application of SEP for OGOP Villages in Bhutan (OGOP ระยะที่ ๒) ของราชอาณาจักรภูฏาน จำนวน ๓๒ คน ประกอบด้วยผู้แทนจาก QPO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๖ คน และเจ้าหน้าที่ท้องถินและผู้แทนชุมชน Uesu Gewog จังหวัด Haa และ Patshaling Gewog, จังหวัด Tsirang จำนวน ๑๖ คน ซึ่งเป็นชุมชนเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนต้นแบบ จำนวนชุมชนละ ๔ คน และผู้แทนอีก ๔ ชุมชน ที่จะร่วมดำเนินงานในลักษณะการพัฒนาเครือข่าย (Cluster) อีกชุมชนละ ๒ คนระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ ก.ค. ๒๕๖๒
  • จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงาน แผนปฏิบัติการ (Logical Framework) โครงการ Sustainable Community Development Model Based on the Application of SEP for OGOP Villages in Bhutan (OGOP Model II) ของราชอาณาจักรภูฏาน ณ ราชอาณาจักรภูฏาน ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๑ ก.ค. ๒๕๖๒ จำนวน ๓๒ คน ประกอบด้วยผู้แทนจาก QPO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๖ คน และเจ้าหน้าที่ท้องถินและผู้แทนชุมชน Uesu Gewog จังหวัด Haa และ Patshaling Gewog, จังหวัด Tsirang จำนวน ๑๖ คน ซึ่งเป็นชุมชนเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนต้นแบบ จำนวนชุมชนละ ๔ คน และผู้แทนอีก ๔ ชุมชน ที่จะร่วมดำเนินงานในลักษณะการพัฒนาเครือข่าย (Cluster) อีกชุมชนละ ๒ คน
  1. โครงการ  Capacity Development of College of Natural Resources-

      Follow up Phase

              • จากการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ภูฏาน  ประจำปี

                ๒๕๕๘ (๒๐๑๕) ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ ก.ย. ๒๕๕๘ (๒๐๑๕)

                ณ ประเทศไทย ฝ่ายไทยแจ้ง The Royal Civil Service Commission

                (RCSC) ประสานงาน  The College of Natural Resources (CNR)

                ปรับข้อเสนอโครงการ Capacity Building for CNR ตามข้อเสนอแนะ

 ของผู้เชี่ยวชาญไทยและส่งให้ฝ่ายไทยพิจารณา

• มหาวิทยาลัยขอนแก่นแจ้งยินดีตอบรับเป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการ                

              • กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย 

                ๑. ทุนปริญญาเอก จำนวน ๔ ทุน และทุนปริญญาโท จำนวน ๓ ทุน

                ๒. ทุนฝึกอบรม จำนวน ๗ หลักสูตร โดยเป็นทุนสำหรับอาจารย์จำนวน 

                    ๖ หลักสูตร ๆ ละ ๑ คน ได้แก่ ๑) Floriculture ๒) Herbal 

                    Product Development ๓) Tissue Culture ๔) Mushroom   

 Production ๕) Bio fertilizer Production และ ๖) Meat and    

 Cereal Product Development ระหว่างวันที่ ๒๙ ม.ค. – ๒๘ ก.พ. 

 ๒๕๖๑ และ ๗) ทุนสำหรับเจ้าหน้าที่บริหาร ๑ หลักสูตร

 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๑๙ พ.ค.- ๑๐ มิ. ๒๕๖๑

                ๓. การ upgrade คอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

                   ของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะหารือกับ CNR

                   ในรายละเอียดและจะแจ้งกรมฯ การดำเนินต่อไป

  1. โครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย

      เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ (๒๐๐๙) จนถึงปัจจุบันจัดส่งอาสาสมัครเพื่อนไทยปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ของราชอาณาจักรภูฏาน รวม ๗๔ ราย (ภายใต้โครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย ๓๕ ราย ภายใต้โครงการ OGOP ๓ ราย คำขอพิเศษจากสำนักเลขาธิการพระราชวังภูฏาน ๓๖ ราย) โดยเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้ว ๖๙ ราย อยู่ระหว่างการปฏิบัติงาน ๔ ราย เป็นอาสาสมัคร ปี ๒๕๖๐ (๒๐๑๗) จำนวน  ๑ ราย คือนางสาววิภาสิริ สมนึก ปฏิบัติงานสาขา 3 D Portrait Making  (Sculpture) Instructor (๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒) และปี ๒๕๖๑ (๒๐๑๘) จำนวน ๓ ราย ได้แก่ ๑) นายกัลยวัฒน์ กาญจนาภา สาขา Auto Electrical Instructor (Senior) และ ๒) นายเปรมปรี ชูกลิ่น สาขา Carpentry Instructor และ ๓) นายพงศนันท์ จันทโรทัย (Software Developer) ซึ่งเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ – ๘ ตุลาคม ๒๕๖๒

      ปี ๒๕๖๒ (๒๐๑๙) วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภรณ์ มธ. อยู่ระหว่างดำเนินการสรรหาและคัดเลือกอาสาสมัครเพื่อนไทยไปปฏิบัติงาน ณ ประเทศภูฏาน จำนวน ๔ สาขา ได้แก่ ๑) Audio Visual Production Supervisor ๒) Laboratory Officer (Drug Analyst) ๓) Laboratory Technologist และ ๔) Micro Propagation Technician/Supervisor

โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจำนวน ๖ คน และจะคัดเลือกให้เหลือจำนวน ๔ คน ไปปฏิบัติงานประมาณระยะเวลา ๑ ปี ตั้งแต่ ๒๘ ต.ค. ๒๕๖๒ – ๒๗ ต.ค. ๒๕๖๓

 

การศึกษาข้อมูลก่อนการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการกำจัดขยะของเทศบาลกรุงทิมพู ราชอาณาจักรภูฏาน

คณะผู้เชี่ยวชาญไทยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรและประธานกรรมการบริษัท วงษ์พาณิชย์ (ที่ความเชี่ยวชาญด้านการกำจัดขยะรีไซเคิล) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เดินทางไปหารือกับนายกเทศมนตรีกรุงทิมพู และผู้ว่าการจังหวัดทิมพู พร้อมศึกษา ดูงานในพื้นที่ฝังกลบขยะ บริษัทเอกชน ๒ บริษัท ที่ได้รับสัมปทานในการเก็บขยะของเทศบาล พร้อมทั้งศึกษาพื้นที่หมู่บ้านขนาดเล็ก ในระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ โดยมีผลการศึกษาเบื้องต้น ดังนี้

      ๑. การก่อสร้างเตาเผาขยะเทคโนโลยีขั้นสูง ต้องให้งบประมาณการลงทุนสูง

ต้องมีบุคลากรและเทคโนโลยีในการบำรุงรักษาในระยะยาว รวมถึงต้องมีปริมาณขยะ

พลาสติกเพื่อเป็นเชื้อเพลิงอย่างน้อย ๑๕๐ ตันต่วัน (ปัจจุบันเทศบาลทิมพูมีขยะ

ประมาณ ๕๑ ตันต่อวัน) จึงอาจจะยังไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนสร้างเตาเผาขยะขนาดใหญ่

      ๒. การสนับสนุนโครงการการกำจัดขยะของกรุงทิมพู ควรพิจารณาจากสภาพปัญหา บริบทของสังคม ซึ่งมีทั้งเขตเมืองและชนบท ควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้กับประชาชน เน้นการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยี เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีความยั่งยืน โดยการกำหนดกิจกรรมลดปริมาณขยะ และการนำกลับมาใช้ใหม่ และ Zero waste โดยอาจเสนอการดำเนินโครงการตามกรอบแนวคิด ดังนี้       
๒.๑ เขตเมือง โดย ๑) การจัดการพื้นที่กำจัดขยะอย่างเหมาะสม ๒) การมีส่วนร่วมของประชาชน และ ๓) พัฒนาขีดความสามารถของภาคเอกชนในการจัดการขยะ

๒.๒ เขตชนบท โดย ๑) สร้างการรับรู้การจัดการขยะครัวเรือนและขยะชุมชน

 

 

๒) ปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดขยะ และ ๓) สร้างเตาเผาขยะชุมชน ขนาดเล็กในหมู่บ้านนำร่องเพื่อขยายผลต่อไป โดยคณะผู้เชี่ยวชาญได้จัดทำผลการศึกษาและข้อคิดเห็น โดยกรมความร่วมมือฯ ได้จัดส่งให้ฝ่ายภูฏานพิจารณาต่อไปด้วยแล้ว

การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

     นาย Rinchen Wangdi ผู้อำนวยการ Gross National Happiness Commission (GHNC) (อธ. พบและหรือในใช่วงเดินทางไปร่วมการจัดนิทรรศการ  ไทย-ภูฏาน เมื่อวันที่ ๘-๑๐ มิ.ย. ๒๕๖๐) ย้ำว่า หลักคิด SEP สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านของภูฏานเพื่อบรรลุเป้าหมายของ GNH โดยเฉพาะในมิติด้านการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และสามารถบรรลุเป