สหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 6,837 view

สหรัฐอเมริกา (United States)

ข้อมูลทั่วไป

ความตกลง

๑) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-สหรัฐฯ ลงนามเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๒๐ (1977)

๒) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-สหรัฐฯ ฉบับแก้ไข ลงนาม ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ (2004)

๓) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคี

ลงนาม ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ (2012) 

๔) Country Agreement ลงนาม ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ (1961)

๕) Exchange of Letters ๒ ฉบับ ลงนาม ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ (2017)

      

รูปแบบความร่วมมือ

๑) ทวิภาคี

๒) ภูมิภาค

๓) ไตรภาคี

 

ความร่วมมือในปัจจุบัน

ความร่วมมือ

รายละเอียด

1. ทวิภาคี

International Narcotics and Law Enforcement (INL)

            รัฐบาลสหรัฐฯ โดย Narcotics Affairs Section (NAS) ได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมากว่า ๔๐ ปี ทั้งงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์  ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในไทย โดยมีกรมวิเทศสหการ (กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน) ประสานความร่วมมือกับ NAS และมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) เป็นหน่วยงานกลางของไทยในการร่วมมือกับ NAS ภายใต้แผนงานต่างๆ อาทิ

– การปราบปรามยาเสพติด (Narcotics Law Enforcement) สนับสนุนการเพิ่มสมรรถนะของหน่วยปราบปรามยาเสพติดในการตรวจจับดำเนินคดีลักลอบค้าขนยาเสพติด

– การลดอุปสงค์ยาเสพติด (Drug Demand Reduction) สนับสนุนการป้องกันยาเสพติดไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูง และลดอัตราการใช้ยาเสพติด

– การควบคุมพืชเสพติด (Opium Poppy Crop Control) สนับสนุนการตัดทำลายพืชเสพติด

การลดพื้นที่ปลูก ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน

           ต่อมา NAS ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Transnational Crime Affairs Section (TCAS) และ International Narcontics and Law Enforcement (INL) โดยลำดับ เพื่อสะท้อนภารกิจที่ได้ขยายครอบคลุมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ การต่อต้านการค้ามนุษย์ การฟอกเงิน คอรัปชั่น การพัฒนากระบวนยุติธรรมทางอาญา อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการสนับสนุนการจัดตั้ง International Law Enforcement Academy (ILEA) ใน ปทท. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียในการเพิ่มประสิทธิภาพของความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อต่อต้านภัยคุกคามของอาชญากรรมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย หน่วยงานที่เคยร่วมมือกับสหรัฐฯ (ผ่านกรมฯ) ในแผนงานต่างๆ อย่างไรก็ดี INL ได้ลด/ยุติความช่วยเหลือบางแผนงานลง ในปัจจุบันมีเพียง ILEA โครงการเดียวที่ดำเนินการผ่าน

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

           นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐฯ เอง อาทิ ก.ยุติธรรม ก.กลาโหม กรมความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐประจำภูมิภาค และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาใน ปทท. และภูมิภาค โดยเน้นใน ๓ แผนงานคือ (๑) การบังคับใช้กฎหมาย (๒) การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา และ (๓) การพัฒนาทักษะและความร่วมมือในภูมิภาค ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา INL/ปทท. ได้ให้การสนับสนุนการจัดอบรมภายใต้ ๓ แผนงานดังกล่าวให้แก่ สตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ณ ILEA/ปทท. (ใช้ facility ของ ILEA และเป็นคนละส่วนกับหลักสูตรประจำปีของ ILEA) ศูนย์ฝึกอบรมทางยุทธวิธีบังคับใช้กฎหมาย (The Law Enforcement Tactical Training Center)

บทบาทของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศต่อ INL

– เป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยในการลงนาม Letter of Agreement (LOA) กับ INL

– ลงนามเอกสาร PA/T (เอกสารทางด้านงบประมาณ) เพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจาก INL

– อำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับทำกิจกรรม (ตาม PA/T) ในลักษณะการเบิกล่วงหน้า (Advance) ตลอดจนการตรวจสอบใบสำคัญการใช้เงิน (ตาม LOA)

– อำนวยความสะดวกด้านสิทธิพิเศษและยกเว้นภาษี/รับรองสิทธิการจัดซื้ออัตราร้อยละ ๐ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนควบคุมตรวจสอบการใช้พัสดุ/อุปกรณ์ จัดตั้งคณะกรรมการและจัด กปช. พิจารณาการจำหน่ายพัสดุของโครงการ

Peace Corps (หน่วยสันติภาพแห่งสหรัฐฯ)

- รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ลงนามใน Country Agreement เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ (1961) เพื่อเป็นกรอบสนับสนุนการดำเนินงานด้านอาสาสมัครอเมริกัน ซึ่งหน่วยสันติภาพฯ ได้ส่งอาสาสมัครเข้ามาปฏิบัติงาน ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๕ (1962) เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานไทยในด้านการศึกษาภาษาอังกฤษ เกษตร การพัฒนาชนบท และสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยสันติภาพฯ จะส่งอาสาสมัครมาปฏิบัติงานในประเทศไทย ปีละ ๑ ครั้ง (ในช่วงเดือนมกราคม) ครั้งละ ๕๐ ถึง ๗๐ ราย และมีอาสาสมัครเข้ามาปฏิบัติงานแล้วกว่า ๕,๕๐๐ ราย

- การดำเนินงานในประเทศไทย: กรมความร่วมมือฯ กับหน่วยสันติภาพฯ ได้ลงนามใน Exchange of Letters เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ (๒๐๑๗) ๒ ฉบับ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานโครงการส่งอาสาสมัครมาปฏิบัติงานในประเทศไทย ๒ โครงการ คือ

        Teacher Empowerment and Student Success (TESS) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างอาสาสมัครกับครูผู้สอน พัฒนาครูเพื่อความยั่งยืน สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดนักเรียน (ชั้นประถม) เป็นศูนย์กลาง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนและครอบครัวผ่านกระบวนการพัฒนาชุมชน โดยมีสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น Counterpart

ฝ่ายไทย

        Youth in Development Project (YinD) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพบทบาทเยาวชนในการเป็น ผู้ใหญ่ในครอบครัว/ในการทำงาน และในฐานะพลเมือง โดยมีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็น Counterpart ฝ่ายไทย

โดยทั้งสองโครงการมีระยะเวลาดำเนินโครงการ: ๕ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๑ – ๒๕๑๕

- ระยะเวลาการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร: คนละ ๒ ปี และขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม คราวละไม่เกิน ๑ ปี โดยความเห็นชอบของกรมความร่วมมือฯ หน่วยสันติภาพๆ และ Counterpart ฝ่ายไทย

- ปัจจุบันมีอาสาสมัครอเมริกันปฏิบัติงานภายใต้โครงการ TESS และ YinD รวมทั้งสิ้น ๑๑๘ ราย ประกอบด้วย อาสาสมัครรุ่นที่ ๑๒๙ จำนวน ๔ ราย (ปฏิบัติงานปีที่สาม) รุ่นที่ ๑๓๐ จำนวน ๕๗ ราย และรุ่นที่ ๑๓๑ จำนวน ๕๗ ราย

บทบาทของกรมความร่วมมือฯ

- บริหารจัดการความร่วมมือกับหน่วยสันติภาพฯ และอาสาสมัคร อาทิ การพิจารณาคุณสมบัติอาสาสมัคร การพิจารณาพื้นที่ปฏิบัติงานให้แก่อาสาสมัคร เข้าร่วมพิธีสาบานตน (รับ-ส่งมอบอาสาสมัคร) การพิจารณาคำขอของ คู่ร่วมมือ (หน่วยงานไทยและสหรัฐฯ) การเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์/สอดคล้องกับบทบาทของกรมฯ

- ร่วมสนับสนุนงบประมาณ (ค่าตอบแทน จนท. ที่ไทย + อุดหนุนโครงการอาสาสมัคร) และค่าใช้จ่ายอื่น ตามความเหมาะสม อาทิ ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมพิธีสาบานตน การประชุมผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน อาสาสมัคร

- อำนวยความสะดวกและอำนวยสิทธิพิเศษให้แก่บุคลากรชาวต่างชาติของหน่วยสันติภาพฯ และอาสาสมัครที่เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย อาทิ การตรวจลงตรา การจัดทำ multiple re-entry visa การพำนักในราชอาณาจักรไทย การจัดทำบัตรประจำตัว

 

 

2. ภูมิภาค

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๓. ไตรภาคี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

United States Agency for International Development (USAID)

      รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ลงนามความตกลงว่าด้วย“ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย–สหรัฐฯ” เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๒๐ (1977) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างกันรวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจและวิชาการของทังสองประเทศ  โดยที่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนามี United States Agency for International Development (USAID) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก USAID เปิดสำนักงานในไทยเมื่อปี ๒๔๙๓ (1950) ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ไทยเป็นมูลค่ากว่า ๑๑,๐๐๐ ล้าน USD และยุติการให้ความช่วยเหลือลงเมื่อปี ๒๕๓๙ (1996) โดยที่ความร่วมมือในช่วงดังกล่าว USAID สนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การพัฒนาชนบท สาธารณสุขพื้นฐาน/การวางแผนครอบครัว ตลอดจนการพัฒนาสาธารณูปโภค และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเดินทางไปศึกษา ฝึกอบรมที่สหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งฝึกอบรมภายในประเทศอีกกว่าแสนคน

             ต่อมา USAID ได้เปิดสำนักงานพัฒนาภูมิภาคเอเชียในประเทศไทยเมื่อปี ๒๕๔๗ (2004) สนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ในไทย และประเทศต่างๆ ในเอเชียภายใต้ USAID’s Regional Program อาทิ โครงการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชีย รววมทั้งการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาต่างๆ ในระดับชาติ/ภูมิภาค อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติ HIV มาเลเรีย วัณโรค ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ การค้าสัตว์ป่า รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนกระบวนการสมานฉันท์ (ภาคใต้) โดยการส่งเสริมให้ชาวมุสลิมมีโอกาสทางการศึกษา สำหรับทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทยได้ให้ความช่วยเหลือชาวเมียนมาที่เข้ามาตั้งรกรากในไทย

ให้มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับความพยายามในการลดการแพร่เชื้อ HIV ไข้หวัดนก มาเลเรีย และวัณโรค USAID สนับสนุนทั้งด้านป้องกันและการรักษา อาทิ การจัดตั้ง Centers for 

Disease Control and Prevention ที่กรมควบคุมโรค ก. สาธารณสุข (ปัจจุบันยังคงใช้ประโยชน์ร่วมกันในการวิจัย และ capacity building) การเสริมสร้างศักยภาพให้กับกรมอนามัยกะยาห์ คลินิกแม่ตาว อ.แม่สอด และศูนย์อนามัยให้บริการด้านสุขภาพ

          ภายหลังสึนามิทางฝังอันดามันของไทยเมื่อปี ๒๕๔๗ (2004) USAID ได้สนับสนุนการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับปรุงระบบการเตือนภัยของไทย และการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงด้วย

          โดยที่ไทยมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายของ USAID ทั้งในแง่การดำเนินนโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งบางประเด็นดำเนินการผ่านอาเซียน (อาเซียน–สหรัฐฯ) นอกจากนั้น ทั้งไทยและสหรัฐฯ ต่างสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าและพืชป่าในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN–WEN) อีกด้วย

 

ความร่วมมือระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับ USAID

          กรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนการดำเนินโครงการระดับภูมิภาคร่วมกับUSAID จำนวนกว่า ๒๐ โครงการทางด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน สาธารณสุข การค้าการลงทุน สังคม (การค้ามนุษย์ และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการลักลอบค้าสัตว์ป่า) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยดำเนินโครงการในประเทศไทย ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศจะอำนวยสิทธิพิเศษให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานภายใต้โครงการต่างๆ ตามความตกลงฯ ข้างต้น ปัจจุบันมี on–going program ด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม พลังงาน และการค้า/การลงทุน (สาขาที่ USAID ให้ความสำคัญ) กว่า ๑๕ โครงการ

 

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับ USAIDได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ (2012) เพื่อเป็นกรอบการให้ความช่วยเหลือภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ โดยเฉพาะกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และได้ลงนาม Mutual Declaration โครงการ Malaria Prevention and Control in Myanmar–Thailand border Area (การป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย–เมียนมา) เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ (2013) สนับสนุนค่าใช้จ่ายร่วมกันเพื่อจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านดังกล่าวให้แก่เมียนมา โดยมีกรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานดำเนินกิจกรรม รวมทั้งการเสนอ สปป.ลาว พิจารณาข้อเสนอโครงการ Water Resource Management (WRM) in Lao PDR เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว และมีแผนจะขยายความร่วมมือลักษณะดังกล่าวไปยังประเทศอื่นในอาเซียน