อินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 4,382 view

ความร่วมมือทางวิชาการไทย-อินโดนีเซีย

 

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการไทย-อินโดนีเซีย โดยมีรูปแบบกิจกรรมในลักษณะการแลกเปลี่ยนทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของทั้งสองประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือ ดังนี้

การให้ทุนประจำปีภายใต้กรอบ Thai International Cooperation Programme (TICP)

          ๑. ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ รัฐบาลไทยโดย กรมฯได้เริ่มต้นให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการให้ทุนแก่บุคลากรของประเทศต่างๆ มาศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงานในประเทศไทยในสาขาที่มีความสำคัญ เช่น การเกษตร สาธารณสุข ศึกษา การพัฒนาสังคม/สวัสดิการ การบริหารรัฐกิจ/กฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า/บริการ อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสาร คมนาคม แรงงาน/การจ้างงาน วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี ทรัพยากร ธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

          ๒. สำหรับการให้ทุนของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน แบ่งเป็น ๒ รูปแบบ คือ

                 ๒.๑ ทุนตามคำขอ เป็นทุนที่ดำเนินการตามข้อเสนอของประเทศผู้รับในกรอบทวิภาคี โดยส่งข้อเสนอผ่านหน่วยงานกลางและนำไปจัดทำแผนงานร่วมกันในที่ประชุมวิชาการ ซึ่งจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาของประเทศผู้รับ และศักยภาพของหน่วยงานไทย โดยดำเนินการทั้งทุนในระดับปริญญาโท และการฝึกอบรม/ดูงาน

               ๒.๒ ทุนที่เสนอโดยประเทศไทยเป็นสาขาที่หน่วยงานประสงค์จะเผยแพร่ Best Practice ของไทยให้ประเทศต่าง ๆ ได้แก่

                         ๑) ทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (Thai International Postgraduate Program -TIPP) (เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๓)

          ๒) หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses – AITC)

          ๓) ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral Programme) กับแหล่งผู้ให้อื่นๆ  

โดยโครงการจัดฝึกอบรมให้กับประเทศที่สาม (Third Country Training Program – TCTP)  โดยให้ความร่วมมือกับแหล่งผู้ให้อื่นๆ เช่น WHO  ESCAP และ UNDP ในการจัดรายการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนของแหล่งผู้ให้นั้นๆ                                                           

        ๓. ในปี ๒๕๖๒ กรมฯ ได้จัดหลักสูตร/แจ้งการวียนทุนให้แก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอินโดนีเซีย ดังนี้

             (๑) ทุน AITC จำนวน ๓๔ หลักสูตร ๆ ใน ๔ สาขาหลัก ได้แก่ ๑) Sufficiency Economy ๒) Global Warming ๓) Food Security ๔) Public Health

             (๒) ทุน TIPP แจ้งการเวียนทุนจำนวนทั้งสิ้น ๑๘ หลักสูตร

 

การรับทุนประจำปีภายใต้กรอบ Indonesian Technical Cooperation Assistance Programme       

ในปี ๒๕๖๐ อินโดนีเซีย ได้แจ้งให้ทุนแก่ไทย จำนวน ๑ หลักสูตร แต่ฝ่ายไทยไม่เสนอชื่อผู้รับทุน

 

ความร่วมมือทางวิชาการในกรอบทวิภาคี

๑. กลไกความร่วมมือทวิภาคี เพื่อหารือการดำเนินงานระหว่างกันมี ๒ ระดับ คือ

    ๑.๑ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission on Bilateral Cooperation) – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม

    ๑.๒ การประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปี (Annual Consultation on Technical Cooperation) เพื่อเป็นเวทีในการเจรจาหารือแผนงานความร่วมมือและกิจกรรมต่างๆ และการติดตามผลการดำเนินงานของทั้งสองประเทศ รวมทั้งพิจารณาคำขอความร่วมมือทางวิชาการจากทั้งสองฝ่าย

Ø ประธานฝ่ายไทย คือ อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

Ø ประธานฝ่ายอินโดนีเซีย คือ Director-General, Department of Asia Pacific and African Affairs, Ministry of Foreign Affairs

๒. ผลการประชุมความร่วมมือทางวิชาการฯ ครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ มิ.ย. ๕๔ ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

     ๒.๑ ที่ประชุมรับทราบโครงการ/ข้อเสนอในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านประมง เป็นต้น รวมทั้งเห็นชอบร่วมกันที่จะพัฒนารูปแบบความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral/Triangular Cooperation) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือลักษณะ South-South-South Cooperation ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแต่ละประเทศในการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศที่สาม เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม หรือประเทศอื่นๆ เช่น ติมอร์-เลสเต เป็นต้น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๑๕ และส่งเสริมแผนแม่บท ASEAN Connectivity ตามที่ฝ่ายไทยเสนอ โดยจะมีการหารือในรายละเอียดเพื่อเริ่มดำเนินกิจกรรมร่วมกันต่อไป

     กรมฯ ได้จัดส่งร่างแผนงานฯ ๓ ปี ให้ฝ่ายอินโดนีเซียพิจารณา/จัดส่งรายละเอียดคำขอเพิ่มเติม (Concept Paper) ให้ฝ่ายไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมระหว่างกันต่อไป โดยได้จัดประชุมหารือในเบื้องต้นกับ Director ของ Directorate of Technical Cooperation กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ พ.ย. ๕๖ ที่กรมฯ ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียรับที่จะจัดส่งรายละเอียดคำขอให้พิจารณาในโอกาสแรก  จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้รับผลการพิจารณา

     ๒.๒ กรมฯ ได้นำข้อเสนอกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายเสนอในการประชุมฯ ครั้งที่ ๓ มาจัดทำร่างแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-อินโดนีเซีย ระยะ ๓ ปี (๒๕๕๖-๒๕๕๘) ประกอบด้วย

            ๒.๒.๑ ความร่วมมือทวิภาคี

- กำหนดสาขาความร่วมมือ จำนวน ๔ สาขา ได้แก่ Agriculture, Fisheries, Education และ Industry/SMEs โดยขอให้ฝ่ายอินโดนีเซียจัดส่งรายละเอียดคำขอ (Concept Paper) เพิ่มเติม 

            ๒.๒.๒ ความร่วมมือไตรภาคี

๒.๒.๒.๑ กำหนดสาขาความร่วมมือ จำนวน ๔ สาขา ได้แก่ Transportation, Trade/Investment, Public Health และ Others เช่น energy, tourism, และ social welfare

๒.๒.๒.๒ เสนอรูปแบบการดำเนินงาน (Modality) ดังนี้

            (๑) จัดฝึกอบรมใน ปทท. และอินโดนีเซีย ให้แก่ ปท.ที่สาม (CLMV และ ติมอร์-เลสเต) หลักสูตรละ ๒๐-๒๕ คน บนหลักการ Technical Cooperation among Developing Countries (TCDC)/Cost-sharing โดย ปท.ผู้จัดรับผิดชอบ local cost และ ปท.ผู้เข้าร่วมจ่ายค่าเดินทาง (international airfare) โดย ปทท.จัดส่งวิทยากรไปร่วมบรรยายในหลักสูตรที่จัดใน อินโดฯ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด    ของวิทยากร และ อินโดฯ จะดำเนินการในลักษณะเดียวกันสำหรับหลักสูตรที่จัดใน ปทท.

            (๒) ใน ๓ สาขาแรก คือ Transportation, Trade/Investment และ Public Health (ซึ่งมีคำขอจากฝ่ายอินโดฯ และข้อเสนอจัดฝึกอบรมจากฝ่ายไทยแล้วฝ่ายไทยจะจัดฝึกอบรมให้แก่ CLMV และติมอร์ฯ ใน ปททโดยขอให้อินโดฯพิจารณา/จัดส่งวิทยากรมาร่วมบรรยาย (รับผิดชอบ คชจ. ทั้งหมดและจัดส่งจนท.อินโดฯ มาเข้าร่วมฝึกอบรมตามความต้องการ (รับผิดชอบค่าเดินทาง รปท

           (๓) สำหรับสาขา Others เช่น พลังงาน การท่องเที่ยว และสวัสดิการทางสังคมเสนอให้ฝ่ายอินโดฯ พิจารณา/จัดฝึกอบรมให้แก่ ปท.ที่สาม (CLMV และติมอร์ฯ) ตามหลักการข้างต้น  

สำหรับการจัดประชุมทางวิชาการครั้งที่ ๔ ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพนั้น กรมฯ ได้แจ้ง สอท. เพื่อประสานฝ่าย อซ. ว่ามีความพร้อม และเสนอกำหนดการแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากฝ่าย อซ.

 

กิจกรรมปี ๒๕๖๒

                   กระทรวงหมู่บ้านการพัฒนาพื้นที่ทุรกันดารและการอพยพถิ่นฐานของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ส่งข้อเสนอผ่าน สอท. ณ กรุงจาการ์ตา ขอให้กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดหลักสูตร Benchmarking Study on Rural Development for Village Heads and Rural Community Leader in Indonesia โดยกรมฯ ได้ขอความร่วมมือกรมการพัฒนาชุมชน จัดหลักสูตรระหว่างวันที่ ๒๘ ต.ค. – ๕ พ.ย. ๒๕๖๒

 

การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาค

                    Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) – กรมฯ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน และหน่วยงานฝ่ายเลขานุการฝ่ายไทยในคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและวัฒนธรรม (Human Resource Development, Education and Culture: HRDEC) ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) (มติครม.เมื่อวันที่ ๒๓ ม.ค. ๕๐) และตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ กรมฯ ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ประเทศสมาชิก (อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย) และได้ดำเนินกิจกรรมตาม IMT-GT Implementation  Blueprint (IB) มีระยะเวลา ๕ ปี (๒๐๑๗-๒๐๒๑) โดยไทยเป็นประธาน HRD ระหว่างปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓

 

การให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาจังหวัดอาเจะห์ อินโดนีเซีย

           - กรมฯ ได้สนับสนุนงบประมาณมูลค่ารวมทั้งสิ้น ๓๓.๒๖ ล้านบาท ให้แก่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดำเนินกิจกรรม เป็นเวลา ๕ ปี (๒๕๕๐-๒๕๕๔) ณ จ.อาเจะห์ อินโดนีเซีย เช่น โครงการการพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน โครงการนำร่องเพื่อแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมด้าน โรคมาลาเรีย โครงการฝึกอบรมช่างไม้พื้นฐาน โครงการจัดตั้งศูนย์ขาเทียม และโครงการศึกษาแนวทางการเลี้ยงและการปรับปรุงพันธุ์แพะเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงอย่างเป็นอาชีพ  

--------------------------------------------

 

ส่วนให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ ๑

กรมร่วมมือระหว่างประเทศ

ณ เมษายน ๒๕๖๓