มาเลเซีย

มาเลเซีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,133 view

ความร่วมมือทางวิชาการไทย-มาเลเซีย

 

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการไทย-มาเลเซีย โดยมี รูปแบบกิจกรรมในลักษณะการแลกเปลี่ยนทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของทั้งสองประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือ ดังนี้

  • ความร่วมมือทางวิชาการในกรอบทวิภาคี

 กลไกความร่วมมือทวิภาคี เพื่อหารือการดำเนินงานระหว่างกันมี ๒ ระดับ คือ

๑. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission on Bilateral Cooperation) – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม

๒. การประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปี (Annual Consultation on Technical Cooperation) เพื่อเป็นเวทีในการเจรจาหารือแผนงานความร่วมมือและกิจกรรมต่างๆ และการติดตามผลการดำเนินงานของทั้งสองประเทศ รวมทั้งพิจารณาคำขอความร่วมมือทางวิชาการจากทั้งสองฝ่าย

  • ประธานฝ่ายไทย คือ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

  • ประธานฝ่ายมาเลเซีย คือ Undersecretary, International Cooperation and Development Division (ICADD), Ministry of Foreign Affairs

         ผลการประชุมวิชาการไทย – มาเลเซีย

๑. การประชุมความร่วมมือทางวิชาการฯ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ พ.ย. ๒๕๕๖ ณ เมืองปุตราจายา สรุปได้ดังนี้

              ๑.๑ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ สาขาการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล และสาขาการเกษตร

              ๑.๒ ฝ่าย มซ. เสนอคำขอใหม่รวม ๖ คำขอ ได้แก่ ๑) Research Collaboration in Clearfield Technology ๒) Research Collaboration in Animal Species Identification in Raw and Thermally/Cooked Condition to Support Halal Industry ๓) Visit and Research Collaboration in Culture Collections and Integrated Nutrient Management for Rice Production ๔) Expanding Research or Biological Control Technology of fruits and Vegetable Crops ๕) Embarking on Joint Research on Genomics of Tropical Fruits and Vegetable Crops ๖) Attachments of Scientists in Selected Laboratories and Technical Visits โดย ปทท. ยินดีรับข้อเสนอและจะติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดกิจกรรมต่อไป

๒. การประชุมความร่วมมือทางวิชาการฯ ครั้งที่ ๗ เมื่อวันที่ ๔ ธ.ค. ๒๕๕๗ ณ กรุงเทพ สรุปได้ดังนี้

              ๒.๑ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะดำเนินงานคงค้างจากการประชุม ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ ดังนี้

                   ข้อเสนอฝ่ายไทย

         ๑) Exchange of Teacher and School Administrative for the Promotion of Malay Language Training (ก. ศธ.)

                      ๒) English Language Training for Public Health Staff in Five Border Southern Provinces (ก. สธ.)

        ๓) Skill Development Programme in Industrial Mechatronics and Dimensional (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)

 

                     ข้อเสนอของฝ่ายมาเลเซีย

 ๑) Characterization, Conservation and Management of Microbial Collections (Biotec) ทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอข้อเสนอจัดโครงการใหม่ ซึ่งที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเห็นชอบกับรายละเอียดข้อเสนอในเบื้องต้น ดังนี้ ข้อเสนอใหม่ฝ่ายไทย จำนวน ๓ ข้อเสนอ ได้แก่ ๑) Study Visit on Rubber and Oil Palm Production in Malaysia (กรมวิชาการเกษตร) ๒) Study Visit on Rice Production, Diversity, Research and Development (กรมการข้าว) และ ๓) Muslim Friendly Hospitality (ม.สงขลาฯ)

               ข้อเสนอใหม่ฝ่ายมาเลเซีย จำนวน ๔ ข้อเสนอ ได้แก่ ๑) Training on Breeding, Rearing and Management of Biological Control Agent (กรมวิชาการเกษตร) ๒) Study Visit Planning and Management of Technical Vocational Education and Training (สอศ.) ๓) Teacher Education Benchmark Visit Programme (ก. ศธ.) และ ๔) Short Courses on Strategies in Market Luxury; and Development and Promotion of Medical Tourism (ททท.)

๓. ผลการประชุมความร่วมมือทางวิชาการฯ ครั้งที่ ๘ เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. – ๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์  ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการในกรอบ

ทวิภาคีบนหลักการการรับผิดชอบค่าใช้ จ่ายร่วมกัน โดยประเทศที่จัดฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศและการจัดรายการ ในขณะที่ประเทศผู้ส่งจะรับผิดชอบค่าเดินทางระหว่างประเทศ ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยงของผู้รับทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบด้วยกับกิจกรรมในปี ๒๕๕๙ จำนวน ๑๔ หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรที่ยังไม่ได้ดำเนินการในปี ๒๕๕๖/๒๕๕๗ และ ๒๕๕๗/๒๕๕๘ จำนวน ๕ หลักสูตร และ หลักสูตรที่เสนอในปี ๒๕๕๙ อีก ๑๔ หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรที่เสนอโดยฝ่ายไทย จำนวน ๗ หลักสูตร และฝ่ายมาเลเซีย ๗ หลักสูตร โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว และยังไม่ดำเนินการตามเอกสารแนบ

  การให้ทุนประจำปีภายใต้กรอบ Thai International Cooperation Programme (TICP)

๑. ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ รัฐบาลไทยโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เริ่มต้นให้ความร่วมมือ

ทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการให้ทุนแก่บุคลากร

ของประเทศต่างๆ มาศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงานในประเทศไทยในสาขาที่มีความสำคัญ เช่น การเกษตร สาธารณสุข ศึกษา การพัฒนาสังคม/สวัสดิการ การบริหารรัฐกิจ/กฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า/บริการ อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสาร คมนาคม แรงงาน/การจ้างงาน วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี ทรัพยากร ธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ภายใต้                  

           ๑.๑ Thai International Cooperation Programme (TICP) ดังนี้

                   ๑.๑.๑ ความร่วมมือระดับทวิภาคี (Bilateral Programme)

๑.๑.๒ ทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (Thai International Postgraduate Program -  TIPP) (ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓)

๑.๑.๓ หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses –  AITC)

๑.๑.๔ ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries – TCDC)

๑.๑.๕ ความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral Programme) กับแหล่งผู้ให้อื่นๆ  

           ๑.๒ โครงการจัดฝึกอบรมให้กับประเทศที่สาม (Third Country Training Program – TCTP)       โดยให้ความร่วมมือกับแหล่งผู้ให้อื่นๆ เช่น WHO  ESCAP และ UNDP ในการจัดรายการศึกษา/ฝึกอบรม/      ดูงานให้แก่ผู้รับทุนของแหล่งผู้ให้นั้นๆ

๒. ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) มาเลเซียได้รับทุนต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๗๑ ทุน มูลค่ารวมมากกว่า ๔ ล้านบาท ดังนี้    

 

ปี

ทวิภาคี

AITC

ไตรภาคี

จำนวนทุน

รวม

มูลค่า/บาท

 

๒๕๕๕

-

๑๐

๙๐๔,๐๐๐

๒๕๕๖

-

๓๔๖,๘๐๐

๒๕๕๗

 

 

๒๒๖,๐๐๐

๒๕๕๘

๑๓

-

๑๕

๗๕๘,๒๐๐

๒๕๕๙

๓๐

๔๐

๑,๘๓๕,๘๗๐

รวม

๔๓

๑๙

๗๑

๔,๐๗๐,๘๗๐

 

 

๑. ในปี ๒๕๖๐ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้กำหนดจัดหลักสูตร/แจ้งเวียนทุนหลักสูตรนานาชาติประจำปีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งมาเลเซีย เพื่อเสนอชื่อ/จัดส่งผู้สมัคร มารับทุน ใน ๔ สาขาหลัก คือ เศรษฐกิจพอเพียง ภาวะโลกร้อน ความมั่นคงด้านอาหาร และสาธารณสุข ดังนี้

๑. ทุนศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติ (TIPP) แจ้งเวียนทุนจำนวนทั้งสิ้น ๑๙ หลักสูตร  – มาเลเซียไม่ได้รับทุน

๒. หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC) ได้แจ้งเวียนทุนไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น ๓๓ หลักสูตร (หลักสูตรละ ๑๕ ทุน)

                           ๓. สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปีภายใต้กรอบความร่วมมือไตรภาคี (Trilateral Program) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ จะร่วมกับแหล่งผู้ให้อื่นจัดฝึกอบรมปีละ ๒๐-๓๐ หลักสูตร และแจ้งเวียนทุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งมาเลเซีย หลักสูตรละ ๑๕-๒๐ ทุน ในสาขาตามที่ตกลงกัน เช่น Colombo Plan Secretariat  และสิงคโปร์

  • การรับทุนประจำปีภายใต้กรอบ Malaysia Technical Cooperation Programme (MTCP)            

- มาเลเซียให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ไทย โดยแจ้งเวียนทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ภายใต้โครงการ MTCP เพื่อไปฝึกอบรม ณ ประเทศมาเลเซียในสาขาต่างๆ โดยช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๗ – ๒๕๖๐) ในสาขาต่างๆ เช่น Real Estate Taxation; SMEs Development; Hazardous Material Management; Language Teaching, Property Valuation; Diagnosis of Avian Influenza at Source; Computer Forensic; Library Management; Islamic Markets; Flood Mitigation and Storm-water Management; Multimedia Management และ Vocational Training Management เป็นต้น โดยในปี ๒๕๖๐

มาเลเซียแจ้งเวียนทุน ๑๒ หลักสูตร ประเทศไทยได้รับ ๓ ทุน ในสาขา crisis management, diplomatic training และ anti trafficking

  • ความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาชายแดนไทย-มาเลเซีย (Joint Development Strategy for Border Areas : JDS)

          - กรมความร่วมมือระหว่างประทเศ ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยงานหลักของไทยในการดำเนินงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบ JDS โดยอยู่บนหลักการ cost sharing ซึ่ง สพร.จะออกค่าใช้จ่ายให้ผู้รับทุนไทยในส่วนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ค่าใช้จ่ายในการสัมภาษณ์/ปฐมนิเทศ ค่าทำหนังสือเดินทางของผู้รับทุน ส่วนฝ่ายมาเลเซียจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกิดขึ้นที่มาเลเซีย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ๓๐๐ ริงกิต (ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท/เดือน) ค่าที่พัก ค่าวัสดุฝึกอบรม อุปกรณ์การประกอบอาชีพคนละ ๑ ชุด และที่ผ่านมามีกิจกรรมที่สำคัญคือ

           ๑. ระหว่างปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒ ฝ่ายมาเลเซียได้ให้ทุนแก่เยาวชนไทยในภาคใต้ เพื่อไปฝึกอบรมวิชาชีพในสาขาช่างเชื่อมโลหะ (Metal Fabrication) ช่างทำเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Making) ช่างก่อสร้าง (Building Technology) และช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (Dressmaking) ณ สถาบันพัฒนาฝึกอาชีพ GIATMARA มาเลเซีย         เป็นเวลา ๖ เดือน จำนวน ๓ รุ่น รวมทั้งสิ้น ๙๔ คน โดยรุ่นที่ ๓ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดอบรมหลักสูตรประกอบธุรกิจส่วนตัวให้เพิ่มเติมในประเทศไทย (ระหว่างวันที่ ๑-๒ ส.ค. ๕๒)

          ๒. นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนดูงานในสาขาต่างๆ เช่น เกษตร/ประมง และชลประทาน โดยเห็นชอบร่วมกันให้มีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและการจัดฝึกอบรม Training of Trainers ซึ่งฝ่ายไทยโดย กรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนงบประมาณให้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดศึกษา/ดูงานให้เจ้าหน้าที่ GIATMARA ด้านพัฒนาฝีมือแรงงานที่ประเทศไทยใน ๕ สาขา คือ Ship Maintenance, Fashion Design, Spa and Aromatherapy, Automotive Industry และ Under Water Welding ระหว่างวันที่ ๙-๑๓ ก.ค. ๒๕๕๕

  • การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาค

๑. Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) - สพร. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน และหน่วยงานฝ่ายเลขานุการฝ่ายไทยในคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) (ตามมติครม.เมื่อวันที่ ๒๓ ม.ค. ๒๕๕๐)

๑. ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (Implementation Blueprint: IB) ปี ศ.ศ. ๒๐๑๗ – ๒๐๒๑ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

                 ๑) Improve workforce competitiveness

                 ๒) Synchronised competency skill standards

                 ๓) An efficient labour market information system

                 ๔) Enhanced collaboration between IMT – GT universities under the UNINET framwork